มีนาคม 2554

 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
30
31
 
 
การบีบน้ำนมด้วยมือ
วิธีบีบน้ำนมด้วยมือ

วิธีบีบน้ำนมด้วยมือ


การบีบน้ำนมด้วยมือนี้แปลและเรียบเรียงมาจาก (Marmet Technique of Manual Expression)  ซึ่งเค้าบอกว่าเทคนิคนี้มีประสิทธิภาพอย่างยิ่ง  ขนาดคุณแม่ทั้งหลายที่เคยมีปัญหากับการบีบด้วยมือ  คือ บีบไม่เป็น บีบแล้วแล้วเจ็บ บีบแล้วน้ำนมไม่ออก ยังประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี คือบีบได้มากขึ้น ไม่เจ็บ และช่วยให้มีน้ำนมมากขึ้นกว่าเดิมด้วยค่ะ ลองดูกันนะคะ

เริ่มจากมาทำความเข้าใจกับกลไกการผลิตน้ำนมของเต้านมกันก่อนนะคะ  ดูรูปประกอบไปด้วยจะได้เข้าใจง่ายขึ้นค่ะ 

Free TextEditor



น้ำนมจะถูกผลิตโดยเซลส์ผลิตน้ำนม (alveoli หรือจะเรียกว่าต่อมผลิตน้ำนมก็ได้ค่ะ)  แล้วไหลผ่านท่อน้ำนมมาเก็บไว้ที่กระเปาะน้ำนม (Milk Resevoir)  เมื่อเซลส์ผลิตน้ำนมได้รับการกระตุ้นก็จะส่งผลให้เกิดกลไกน้ำนมพุ่ง (Milk rejection reflex หรือ Let-down reflex) ถ้าใครเคยใช้เครื่องปั๊มนม จะเห็นได้ชัดว่าน้ำนมจะพุ่งปี๊ดออกมาเหมือนสเปรย์เลยค่ะ  เวลาที่ลูกดูด เหงือก ลิ้นและการดูดกลืนของลูกก็จะทำหน้าที่กระตุ้นต่อมผลิตน้ำนมนี่ล่ะค่ะ  ดังนั้นถ้าจะบีบน้ำนมออกให้เหมือนลูกดูด เราก็ต้องพยายามเลียนแบบการกระตุ้นของลูกค่ะ


วิธีการบีบน้ำนม

1. ใช้นิ้วหัวแม่มือวางด้านบน นิ้วชี้และนิ้วกลางวางด้านล่างทำมือเป็นรูปตัว C ตามรูป ซ้ายมือ  จุดที่เราวางนิ้วนั้นให้ห่างจากโคนหัวนม ประมาณ 2.5 -3.1 ซ.ม. (ไม่จำเป็นต้องอยู่นอกลานหัวนมนะคะ เพราะขนาดของลานหัวนมแต่ละคนไม่เท่ากันค่ะ)

 - ตำแหน่งที่วางนิ้วหัวแม่มือ และนิ้วชี้กับนิ้วกลางนั้นต้องอยู่ตรงข้ามกันนะคะ  (ฝรั่งเค้าจะเรียกตามตำแหน่งของเข็มนาฬิกา คือ 12.00 น.และ 6.00 น.)  ไม่ใช่เอียงๆ  แบบรูปขวามือ นะคะ 


1. ใช้นิ้วหัวแม่มือวางด้านบน นิ้วชี้และนิ้วกลางวางด้านล่างทำมือเป็นรูปตัว C ตามรูป ซ้ายมือ  จุดที่เราวางนิ้วนั้นให้ห่างจากโคนหัวนม ประมาณ 2.5 -3.1 ซ.ม. (ไม่จำเป็นต้องอยู่นอกลานหัวนมนะคะ เพราะขนาดของลานหัวนมแต่ละคนไม่เท่ากันค่ะ)

 - ตำแหน่งที่วางนิ้วหัวแม่มือ และนิ้วชี้กับนิ้วกลางนั้นต้องอยู่ตรงข้ามกันนะคะ  (ฝรั่งเค้าจะเรียกตามตำแหน่งของเข็มนาฬิกา คือ 12.00 น.และ 6.00 น.)  ไม่ใช่เอียงๆ  แบบรูปขวามือ นะคะ 






2. เมื่อวางนิ้วได้ตามตำแหน่งแล้วให้กดนิ้วเข้าหาตัวเองตามรูป  A   ถ้าหน้าอกใหญ่ก็ทำเหมือนยกหน้าอกขึ้นหน่อยแล้วค่อยกดเข้าหาตัวค่ะ  ระวังอย่าให้นิ้วแยกจากกัน





3. แล้วก็ค่อยๆ กลิ้งนิ้วหัวแม่มือ (เหมือนกำลังพิมพ์นิ้วมือ) ลงมายังโคนหัวนม ระหว่างนั้นก็ผ่อนแรงกดด้านล่างจากนิ้วกลางมายังนิ้วชี้ (ดูตำแหน่งที่ลูกศรชี้ตามรูป B และ C )
 -การเคลื่อนไหวของนิ้วทั้งสามจะช่วยรีดน้ำนมออกมาโดยไม่เจ็บ  คล้ายๆ การดูดของทารก

4. ทำซ้ำเป็นจังหวะ ตามรูปเพื่อรีดน้ำนมออกมาให้หมดกระเปาะ

5. เปลี่ยนตำแหน่งการวางนิ้วมือเพื่อรีดน้ำนมในกระเปาะที่เหลือ  โดยใช้ตำแหน่งของเข็มนาฬิกาเป็นหลักจากจุดเริ่มต้นที่ 12  และ 6  เป็น 11 และ 5  (ใช้มือขวา)  2 และ 8, 3 และ 9 (ใช้มือซ้าย)   ตามรูปจะแสดงการบีบน้ำนมของหน้าอกข้างขวา





สิ่งทีไม่ควรทำเป็นอย่างยิ่ง คือ บีบ ดึง หรือเค้นหน้าอก เพราะจะทำให้เจ็บ และน้ำนมก็ไม่ออกมาด้วยค่ะ  (นี่เป็นข้อผิดพลาดที่ผ่านมาของตัวเองเลยค่ะ  เมื่อก่อนจะบีบเค้นด้วยความรุนแรง  คงจะนึกถึงการคั้นน้ำส้มมากไปหน่อย  คิดว่ายิ่งบีบแรงก็น่าจะยิ่งออกมาก  ที่ไหนได้ นอกจากนมไม่ออก แล้วยังเจ็บตัวอีกด้วยค่ะ  เพราะฉะนั้นเวลาบีบน้ำนมตามขั้นตอนที่ว่ามา  ก็ทำด้วยความนุ่มนวลนะคะ  นึกถึงเวลาที่ลูกดูดน่ะค่ะ  เค้าก็ดูดแผ่วๆ  นมยังออกเลย)





วิธีช่วยกระตุ้นให้เกิด Milk Ejection Reflex


1. การนวดเต้านม  โดยการใช้นิ้วมือนวดเบาๆ เป็นวงๆ ไปรอบๆ เต้านมเหมือนในรูป  D
2. ลูบหน้าอกจากด้านบนลงมายังหัวนมเบาๆ ตามรูป E
3. ก้มตัวลงเล็กน้อยแล้วก็เขย่าๆ ค่ะ อาศัยแรงโน้มถ่วงของโลกเข้าช่วย ตามรูป F





ขั้นตอนทั้งหมดควรจะใช้เวลาประมาณ 20-30 นาที

-          บีบน้ำนมแต่ละข้างออก 5-7 นาที (หรือน้ำนมไหลน้อยลง)
-          กระตุ้นโดยการนวด  ลูบ  และเขย่า
-          บีบน้ำนมออกอีกข้างละ 3-5 นาที
-          กระตุ้นโดยการนวด  ลูบ  และเขย่า
-          บีบน้ำนมออกอีกข้างละ 2-3 นาที

***ถ้าปริมาณน้ำนมมีมากพอแล้ว ก็ใช้เวลาดังกล่าวเป็นเพียงไกด์ไลน์  ถ้าน้ำนมไหลน้อยลงก็เปลี่ยนข้างได้ค่ะ  แต่ถ้าน้ำนมยังมีน้อยอยู่ ให้ทำตามเวลาดังกล่าวอย่างเคร่งครัดนะคะ***

จบแล้วค่ะ  ปิดท้ายด้วยข้อได้เปรียบของการบีบน้ำนมด้วยมือที่ดีกว่าปั๊มด้วยเครื่องก็แล้วกันนะคะ

-          เครื่องปั๊มนมบางอย่างก็ทำให้รู้สึกไม่สบาย และปั๊มไม่ค่อยออก
-          การบีบด้วยมือเป็นธรรมชาติมากกว่า
-          ความรู้สึกสัมผัสระหว่างมือกับผิวหนังช่วยกระตุ้นการสร้างน้ำนมได้ดีกว่าฝาครอบพลาสติกสัมผัสกับผิวหนัง
-          พกพาสะดวก  ทำงานได้ทันที  ไม่มีการลืมชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์เหมือนเครื่อง  (คงไม่มีแม่คนไหนลืมเอามือของตัวเองไปหรอกนะคะ)
-          ดีที่สุดเลยก็คือ ไม่เสียเงินค่ะ

อยากให้คุณแม่ทุกท่านหัดบีบด้วยมือให้เป็นค่ะ  ถึงแม้ตัวเองจะเป็นคนขี้เมื่อย  ขี้เกียจและรู้สึกสะดวกกว่ากับการใช้เครื่องปั๊ม  ก็ยังเห็นว่าการบีบด้วยมือนี่เป็นประโยชน์มากๆ  จากประสบการณ์ก็คือ ในบางสถานการณ์เราก็ไม่สะดวกที่จะใช้เครื่อง  หรือไม่ได้เตรียมตัวไป  อาจจะเผลอช็อปปิ้งนานไปหน่อย รู้สึกคัดขึ้นมา  แค่พกถุงเก็บน้ำนมติดกระเป๋าไว้สักใบสองใบตลอดเวลา  ฉุกเฉินเมื่อไหร่ก็แว่บเข้าห้องน้ำ  บีบออกมาได้เลย  ไม่ต้องปล่อยให้ไหลซึม หรือค้างไว้นานๆ  (ซึ่งถ้าค้างบ่อยๆ ก็จะทำให้น้ำนมผลิตน้อยลงด้วยค่ะ)

แต่ถ้าใครทำไม่ได้ พยายามแล้วก็ยังไม่สำเร็จ ก็อย่าเพิ่งด่วนฟันธงว่าเป็นเพราะตัวเองไม่มีน้ำนม แล้วหันไปหานมผสมนะคะ ลองไปหาเครื่องปั๊มนมดีๆ แล้วทดลองใช้ดูค่ะ เพราะแม่หลายคนพบว่าตัวเองมีนมเยอะกว่าที่คิด เมื่อได้ใช้เครื่องปั๊มนมคุณภาพสูงเหล่านั้น







Create Date : 29 มีนาคม 2554
Last Update : 29 มีนาคม 2554 18:54:15 น.
Counter : 829 Pageviews.

1 comments
  
ขอบคุณนะคะสำหรับข้อมูลดีๆ น่าสนใจคะ จะเก็บไปใช้ในอนาคต
โดย: MeMyway วันที่: 30 เมษายน 2554 เวลา:1:12:35 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Ultra_Prince
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



น่ารัก น่าหยิก
N'Prince สุดที่รักในดวงใจแม่