เมษายน 2554

 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
27
28
29
30
 
นมแม่
1. นมแม่มีส่วนประกอบมากกว่า 300 ชนิด (เว็บนี้บอกว่ามีถึง 300 แต่ที่เราค้นเจอเพียง 200+ ค่ะ แสดงว่ายังมีอีกมากที่เรายังไม่พบ) มีทั้งอินเทอร์เฟอร์รอน เม็ดเลือดขาว สารต้านเชื้อแบคทีเรียต่างๆ ** แต่นมผงมีสารอาหารเพียง 40 ชนิด **

2. นมแม่สามารถฆ่าเซลล์มะเร็งได้ และได้ถูกนำมาใช้รักษาโรคมะเร็ง

3. นมแม่มีภูมิคุ้มกันที่สร้างเพื่อลูกโดยเฉพาะ ขึ้นอยู่กับแม่และลูกพบเจอเชื้อโรคประเภทใด นมแม่ก็จะมีสารต้านทานเชื้อประเภทนั้น

4. นมแม่สามารถนำมารักษาโรคตาแดง หูอักเสบ สิว โรคผิวหนังและแผลถลอกได้ เพราะสารต้านแบคทีเรียจะป้องกันการอักเสบได้

5. ในประเทศอื่นๆ อวัยวะที่บริจาคเพื่อการปลูกถ่าย จะถูกแช่ในนมแม่เพื่อถนอมและรักษาคุณภาพก่อนส่งต่อไปยังผู้รับ

6. การเรียกคืน (product recalls) ผลิตภัณฑ์นมผง เพราะเป็นอันตรายต่อชีวิตทารก เกิดขึ้นแล้ว 22 ครั้ง
7. แล็คโตเฟอรินในนมแม่ ถูกนำมาใช้เพื่อฆ่าเชื้อ E. Coli ในอุตสาหกรรมการบรรจุห่อเนื้อสัตว์
8. นมแม่ (บริจาค) ถูกนำมาใช้เพื่อรักษาทารกและผู้ใหญ่ที่ป่วยเป็นโรคอาหารไม่ดูดซึม อาการลำไส้สั้น โรคไตวาย อาการผิดปกติของการเผาผลาญ อาการลำไส้ใหญ่บวม โรคลำไส้ต่างๆ โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง ผิวหนังไหม้พุพอง โรคหัวใจ โรคติดเชื้อต่างๆ (ท้องร่วง ลำไส้อักเสบ โรค Botulism ในทารก การติดเชื้อในเลือด โรคปอดอักเสบ และ hemorrhagic conjunctivitis) << หากแปลผิดพลาด กรุณาช่วยแก้ด้วยค่ะ
9. แม่บุญธรรม คุณย่าและคุณยาย และผู้ชาย ก็สามารถมีน้ำนมเลี้ยงทารกได้(เนื่องจากการสร้างน้ำนม เกิดขึ้นจากฮอร์โมนสร้างน้ำนมที่ถูกกระตุ้นค่ะ ดังนั้นถ้าแม่ๆ ขยันปั๊มอย่างสม่ำเสมอ ให้ลูกดูดบ่อยๆ ไม่เสริมนมผง จะมีน้ำนมให้ลูกกินได้แน่นอนค่ะ)
แปลโดย บี มามี๊ต่าต๋า

ข้ิอมูลจาก
//forums.ivillage.com/t5/Newborn-to-6-mo-Questions/Cool-Gee-Whiz-Bf-Facts-poll/m-p/19590587

ลองเอาอันนี้ไปให้อ่านดูสิคะ


เขาบอกว่า สารอาหารในนมแม่ ลดลง (หรือหมดไป) หลังขวบปีแรก

ความจริง นมแม่ยังมีประโยชน์เป็นอย่างยิ่งแม้หลังจาก 1 ปีแรก แต่เด็กวัย 1 ขวบ (ไม่ว่ากินนมแม่หรือนมผง) จะต้องการสารอาหารจากแหล่งอาหารอื่นๆ เพื่อการเติบโตอย่างสมวัย ควรให้ลูกได้รับอาหารให้ครบ 5 หมู่ ควบคู่กับนมแม่เป็นอาหารเสริมค่ะ

*********************************************************

เขาบอกว่า ภูมิคุ้มกันในนมแม่จะหายไป ภายในไม่กี่เดือนแรก

ความจริง ภูมิคุ้มกันในนมแม่ยังมีอยู่เสมอ ตราบใดที่มีการผลิตของน้ำนม ภูมิคุ้มกันบางตัวจะเพิ่มสูงขึ้นในช่วงที่ลูกเริ่มหย่านมแม่ เด็กที่ได้กินนมแม่จะป่วยน้อยกว่าและหายเร็วกว่า American Academy of Family Physicians ระบุว่าเด็กที่หย่านมก่อน 2 ขวบจะมีความเสี่ยงของการเจ็บไข้เพิ่มมากขึ้น

*********************************************************

เขาบอกว่า การให้นมแม่กับเด็กวัยเตาะแตะ ก็เหมือนกับการให้นมแม่กับเด็กทารก (น่ะแหล่ะ)

ความจริง ความถี่และระยะเวลาในการให้นมแม่กับเด็กเกินขวบนั้นแตกต่างกันไปเป็นราย บุคคล ความต้องการของสารอาหารในนมแม่จะลดลงเมื่อลูกอายุมากขึ้น (เพราะลูกควรได้รับอาหาร 5 หมู่ หลัง 1 ขวบ) แต่ความอบอุ่นใจและภูมิคุ้มกันนั้นยิ่งสำคัญมากสำหรับเด็กวัยเตาะแตะ

*********************************************************

เขาบอกว่า การให้ลูกกินนมแม่หลัง 1 ขวบจะทำให้เด็กจิตใจผิดปกติ ไม่เป็นตัวของตัวเอง

ความจริง ในทางกลับกัน การให้ลูกวัยเตาะแตะกินนมแม่กลับช่วยให้ลูกมั่นใจในตนเองมากยิ่งขึ้น จากการศึกษาทางวิชาการและประสบการณ์ของแม่ทั่วโลก การให้ลูกวัยเตาะแตะกินนมแม่จะช่วยให้ลูกปรับตัวในเชิงของอารมณ์และการเข้า สังคม โดยทาง American Academy of Pediatrics ระบุว่าการให้นมแม่ไม่ควรจำกัดอายุว่าควรให้จนเด็กอายุเท่าใด และไม่พบหลักฐานว่าการให้นมแม่นานๆ นั้นจะส่งผลกระทบในทางลบต่อจิตใจและพัฒนาการของเด็ก ทั้งนี้การให้นมแม่นานๆ มีแต่ผลดี และไม่มีผลเสียกับแม่และเด็ก อายุในการหย่านมด้วยตนเองของเด็กคือประมาณ 2-7 ปี

*********************************************************

เขาบอกว่า แม่ที่ให้นมลูกนานๆ จะไม่รู้วิธีการปลอบลูกด้วยวิธีอื่น

ความจริง นมแม่เป็นอีกวิธีที่ใช้ปลอบประโลมให้ลูกสบายใจ นอกเหนือไปจากวิธีอื่นๆ เช่นการโอบกอด พูดคุย (ซึ่งเป็นสิ่งที่แม่ให้นมบุตรทำอยู่แล้ว)

*********************************************************

เขาบอกว่า แม่ที่ให้นมลูกนานๆ ทำเพื่อตอบสนองความต้องการของตัวเอง

ความจริง หากเด็กไม่ต้องการนมแม่ เด็กจะปฏิเสธนมแม่เอง การที่แม่ยังให้นมลูกอยู่นั้นเพราะลูกยังไม่พร้อมที่จะหย่านมแม่ และเป็นเพราะประโยชน์เชิงสุขภาพและเชิงจิตใจที่ลูกได้รับจากการกินนมแม่

*********************************************************

เขาบอกว่า แม่ที่ต้องการต้องครรภ์ต้องหย่านมลูกจึงจะท้องได้ และการให้นมลูกระหว่างการตั้งครรภ์นั้นไม่ปลอดภัย

ความจริง แม่สามารถให้นมลูกและตั้งครรภ์ได้ และยังสามารถให้นมลูกคนแรกได้ในขณะที่ตั้งครรภ์ลูกคนที่สอง (ในสองไตรมาสแรกลูกในท้องยังไม่ต้องการสารอาหารมากมาย คุณหมอแนะนำให้ค่อยๆ ลดให้นม และหยุดการให้นมลูกในใตรมาสที่สามค่ะ)

*********************************************************

เขาบอกว่า ให้ลูกกินนมแม่นานๆ จะยิ่งทำให้หย่านมลูกได้ยากมากขึ้น

ความจริง อายุของลูกไม่เกี่ยวกับความยากง่ายในการหย่านม เด็กแต่ละคนมีความพร้อมแตกต่างกันไป แม่อาจค่อยๆ ชวนให้ลูกหย่านมด้วยวิธีต่างๆ เบี่ยงเบนความสนใจด้วยกิจกรรมอื่นๆ เป็นต้น

*********************************************************

แปลและเรียบเรียง โดย บี มามี๊ต่าต๋า

"อยากให้เพื่อนๆ ให้นมลูกกันไปนานๆ ค่ะ"



Create Date : 26 เมษายน 2554
Last Update : 26 เมษายน 2554 12:53:57 น.
Counter : 403 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Ultra_Prince
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



น่ารัก น่าหยิก
N'Prince สุดที่รักในดวงใจแม่