Group Blog
กุมภาพันธ์ 2559

 
1
2
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
 
 
เหตุและผลที่ต้องทำเหตุ ทาน ศีล ภาวนาให้ดี ถึงความปลงใจเห็นทุกข์ในโลก และ รู้เข้าใจในวิบากกรรม
 

_สัพเพ สัตตา กัมมัสสะกา กัมมะทายาทา 
_กัมมะโยนิ กัมมะพันธุ กัมมะปะฏิสะระณา

..สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงมีกรรมเป็นของของตน, มีกรรมเป็นผู้ให้ผล, 
..มีกรรมเป็นแดนเกิด, มีกรรมเป็นผู้ติดตาม,มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศ้ย

_ยัง กัมมัง กะริสสันติ, กัลฺยาณัง วา ปาปะกัง วา, 
_ตัสสะ ทายาทา ภาวิสสันติ

..จักทำกรรมอันใดไว้, เป็นบุญหรือเป็นบาป, 
..จักต้องเป็นผู้ได้รับผลกรรมนั้นๆ สืบไป

 
 
 
เหตุและผลที่ต้องทำเหตุใน ทาน ศีล ภาวนาให้ดี ต้องทำเหตุให้มาก และ ความปลงใจเห็นทุกข์ในโลก
 
** พระพุทธเจ้า และ พระอรหันต์สาวกทั้งหลาย ท่านย่อมเทศนาให้ชนทั้งหลายทำความเข้าใจในโลกในธรรมทั้งปวงก่อน เพื่อให้เกิดความเข้าใจจริงแล้วปลงใจเห็นถึงวิบากกรรมทั้งปวงที่มีเกิดขึ้นในวัฏฏะสงสาร เห็นคุณและโทษ เห็นสุขและทุกข์จากสิ่งทั้งปวง และ รู้ทางหลุดพ้นทุกข์ ทางสะสมกุศลบารมี เรียกว่า..เทศนาเพื่อเปิดธรรมจักษุ เห็นจริงเข้าถึงในพระอริยะสัจ ๔ นั่นเอง โดยเริ่มจาก กำหนดรู้ทุกข์ก่อน ไปถึงเห็น..สมุทัย เหตุแห่งทุกข์ที่ควรละ, เห็น..นิโรธ ความดับทุกข์,จนเข้าสู่..มรรค หนทางหลุดพ้นทุกข์
โดยเริ่มจากท่านจะเทศนาให้เราเห็นทุกข์ เห็นความลำบากยากเข็ญในสิ่งที่เราลุ่มหลงสมมติ ยึดมั่นถือมั่นอยู่ เพื่อให้เราได้ทำความเข้าใจก่อนว่าทำไมจึงต้องเรียนรู้ปฏิบัติธรรมเครื่องกุศลของพระพุทธเจ้าให้จิตเรามันอ่อนควรแก่งานแล้วปลงใจ มีใจใฝ่ธรรมเครื่องกุศล มีใจน้อมไปในธรรมเพื่อหลุดพ้นจากทุกข์ เมื่อจิตอ่อนควรแก่งานดังนี้ท่านจึงค่อยสอนกรรมฐาน ที่ท่านไม่เทศกรรมฐานเลยนั้นเพราะเหตุนี้ๆซึ่งเป้นเหตุให้นำพาผู้คนปลงใจลงใน ศีล ทาน ภาวนา ได้เป็นอันมาก แต่คนที่ไม่รู้ มักไม่เห็นค่า เพราะคิดว่าเป็นเปลือกไม่ใช่แก่น แต่หากไม่รู้ว่านี้คือ ใบ นี้คือกิ่ง นี้คือกรัพี้ นี้คือลำต้น นี้คือแก่น ก็สำคัญว่าสิ่งนั้นสิ่งโน้นสิ่งนี้เป็นแก่นไปทั่ว ซึ่งคนหมู่นี้มักจะไม่มีศีล หรือทำได้บ้างไม่ได้บ้าง หรือไม่ทำเลย ไม่มีทาน หรือทำบ้างไม่ทำบ้าง หรือไม่ทำเลย แต่บ้าภาวนาโดยการจดจำ ซึ่งไม่ใช่ภาวนาด้วยความปล่อยวางปลดเปลื้องให้ถึงปัญญา
 
พระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้าโดยมากในยุคปัจจุบันนี้ ย่อมเทศนาชี้แนะดังนี้ว่า..

จริงๆแล้วคนเราอาศัยของเก่ามา เป็นเหตุปัจจัยให้ได้รับผลกรรมจากสิ่งที่ทำในอดีตนั้นมาสู่ปัจจุบัน
- หากของเก่าทำทานมาดีจึงมีฐานะบ้าง รวยบ้าง มีเงินใช้จ่ายมากมาย มีบริวารมาก
- หากทำในศีลก็มีรูปร่างหน้าตาที่หมดจรดงดงาม ผิวพรรณดี อายุยืน ปราศจากโรคภัยเบียดเบียน
- หากทำจิตภาวนามาดี ก็มีสติปัญญามาก เป็นคนฉลาดหลักแหลม
- แต่จะมีสิ่งใดมากน้อยก็ตามแต่ของเก่าที่สะสมมา


หลวงปู่บุญกู้ อนุวัฑฒโน ท่านสอนดังนี้ว่า คนเราเกิดมาชาตินี้ เพื่อทำของเก่าให้มันดี หากไม่เสริมของเก่าให้ดีก็มีแต่วันหมดไป ซึ่งคนเราที่เกิดมาย่อมจำแนกได้ดังนี้ว่า

- มาสว่าง ไปสว่าง
- มาสว่าง ไปมืด
- มามืด ไปสว่าง
- มามืด ไปมืด


- มาสว่าง
ก็คือ เกิดมามีของเก่าสะสมมาดีก็เจริญด้วย โภคทรัพย์สมบัติ ร่ำรวยอยู่สบาย มีบริวารดี มีหน้าตาดีงดงาม ฉลาดหลักแหลม ทำอะไรก็มีโอกาสดีประสบโชคลาภดีงาม
- มามืด
ก็คือ เกิดมายากจนข้นแค้น นีหน้าขี้เหร่ หรือ พิการ โง่ไม่มีปัญญาไหวพริบ ทำอะไรก็ติดขัดลำบากไม่มีโชค ไม่มีลาภ มีแต่ความสะดุด ผิดที่ ผิดกาล ไม่เจริญ

1. คนมาสว่างไปมืด
ก็คือ คนที่มีของเก่ามาดี แต่ไม่สร้างไม่สั่งสมต่อให้มันดียิ่งๆขึ้น ก็พอใช้บุญเก่าจดหมด ชีวิตก็เริ่มย่ำแย่ เกิดไปชาติหน้าก็มืดมน หรือแม้ปัจจุบันจะทำทั้งบุญและบาปคละเคล้ากันไป แต่บุญและบาปที่ทำเสมอกันก็ไม่ส่งผล ก็มีแต่จะรอวันให้บุญเก่านี้ค่อยหมดไปเรื่อยๆ สุขบายแค่ในตอนนี้ แต่ลำบากในภายภาคหน้า ชาติหน้า ภพหน้า
2. คนมาสว่างไปสว่าง
ก็คือ คนที่มีของเก่ามาดี มาชาตินี้ก็ทำของเก่าให้มันดียิ่งขึ้นเป็นกำไรชีวิต ยังสั่งสมให้ของเก่ามันดีจนเต็ม ก็เป็นบารมี มีทั้งโภคทรัพย์สมบัติภายนอกและโภคทรัพย์สมบัติในภายใน จะชาตินี้ชาติหน้าก็ดี ภพนี้ภพหน้าก็ดี รอแต่วันที่อิ่มแล้วไปถึงพระนิพพาน
3. คนมามืดไปสว่าง
ก็คือ คนที่มีของเก่ามาไม่ดี ยากจนค้นแค้นลำบาก ทำอะไรก็ติดขัด ไม่ถูกที่ ไม่ถูกกาล ไม่ถูกเวลา ไม่ถูกทาง ยังความฉิบหายให้เกิดมีขึ้นอยู่ประจำๆตลอดเวลา แต่เพียรละอกุศลธรรมทั้งปวง ตั้งมั่นในกุศลธรรมทั้งปวง มีศีล ทาน ภาวนา ตั้งมั่นความดีไม่ย่อท้อ แม้เจอเรื่องร้ายๆหรือทำแล้วติดขัดติดปัญหา ไม่ร่ำรวย งดงาม ไม่มีปัญญาเหมือนเขา ไม่มีโอกาสดีๆในทุกๆเรื่อง ประสบแต่สิ่งร้ายๆ แต่ก็มีจิตตั้งมั่นไม่เสื่อมศรัทธาในกุศล ตั้งมั่นสะสมใน ศรัทธา ศีล ทาน วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ท่านเรียกว่าทำของเก่าให้มันดี แม้ปัจจุบันจะลำบากแค้น แต่ไปภายหน้าจะสุขสบายไม่มีทุกข์ ถึงแม้ชาตินี้ทั้งชาติจะลำบาก แต่ก็เป้นผู้อยู่โดยไม่มีทุกข์ เป็นผู้ที่ทุกข์หยั่งไม่ถึง แม้ไม่มีโภคทรัพย์สมบัติภายนอก แต่อัดเต็มไว้ด้วยโภคทรัพย์สมบัติในภายใน ไปชาติหน้า ภพหน้าก็สุขสบาย ร่ำรวยมีบริวารมาก มีหน้าตางดงามผิวพรรณดี มีสติปัญญาดี
4. คนมามืดไปมืด
ก็คือ คนที่มีของเก่ามาไม่ดี ยากจนค้นแค้นลำบาก ทำอะไรก็ติดขัด ไม่ถูกที่ ไม่ถูกกาล ไม่ถูกเวลา ไม่ถูกทาง ยังความฉิบหายให้เกิดมีขึ้นอยู่ประจำๆตลอดเวลา แล้วยังทำชั่วทำบาปสร้างเวรกรรมสืบไป ทำแต่ความเบียดเบียนทำร้ายผู้อื่น มีแต่ความประสงค์ร้ายต่อผู้อื่น มีความตระหนี่ขี้เหนียว เพ่งเล็งแต่สิ่งอันเป็นที่รักที่มีค่าของผู้อื่น ไม่ใช่ปัญญาแก่ไขปัญหา ใช้แต่อารมณ์ ใช้กำลัง ไม่สร้างบุญกุศลเพิ่ม มีแต่อกุศลบารมีสะสมทับถมไม่สิ้นสุด แม้ชาตินี้ในปัจจุบนหรือภายหน้า หรือชาติหน้า หรือภพหน้าก็มีแตต่ความลำบากฉิบหาย เกิดมายากจนค้นแค้น พิการ ไม่มีดีทั้งในปัจจุบันและกาลในภายหน้า

ท่านจึงสอนอยู่เสมอดังนี้ว่า
- สุขทางโลก มันอาศัยยึดเอาสิ่งไม่เที่ยงมาเป็นสุขของมัน สุขชั่วคราวก็หมดไป อยู่ได้นานสุดแค่หมดลมหายใจ ตายไปก็เอาไปด้วยไม่ได้ ...ส่วนสุขทางธรรม คือ ความฉลาดในการปล่อยวาง ทำบุญกุศล สิ่งนี้มันจะติดตามเราไปตลอดทุกชาติทุกที่ทุกหนทุกแห่ง
- สุขทางโลก นี้มันสุขจริง แต่สุขแล้วก็ค่อยๆทุกข์ไปหน้า ทุกข์จากความแสวงหาเสพย์ในสิ่งไม่เที่ยงบ้าง แม้เมื่อได้เสพย์สมดั่งใจแต่พอสุขนั้นดับไปก็ดิ้นรนทุรนทุรายแสวงมามันมาเสพย์ให้ได้อีกบ้าง ทุกข์เพราะไม่สมปารถนาบ้าง ทุกข์เพราะประสบในสิ่งอันไม่เป็นที่รักบ้าง ทุกข์เพราะความพรัดพรากบ้าง ...ส่วนสุขทางธรรม นี่มันอมตะสุข มันยากลำบากในตอนแรกที่เจริญ ต้องใช้กำลังศรัทธาที่แน่วแน่ ตั้งในกุศล ศีล ทาน ภาวนา มีกำลังความเพียรอย่างมากไม่ย่อท้อ ตั้งมั่นสั่งสมกำลังสติ ตั้งมั่นสั่งสมกำลังสมาธิ ตั้งมั่นสั่งสมกำลังปัญญา จะลำบายากเย็นเท่าไหร่ก็ไม่ท้อถอย มีแต่ต้องสู้และแน่วแน่เท่านั้น แต่เมื่อทำเหตุนี้ๆให้ดีมีกำลังแล้ว มันก็อิ่มเต็มกำลังใจ มันสุขด้วยตัวของมันเอง สุขจากความปล่อยวาง จะไปที่ใดก็เป็นสุขอิ่มเอม สงบร่มเย็น ไม่มีทุกข์ ไม่หวาดระแวง ไม่หวาดกลัว ไม่เร่าร้อน ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่ถูกโลภะ ราคะ โทสะ โมหะกลุ้มรุม ไม่เกรงกลัวความตาย..เพราะแม้จะตายจากโลกนี้ไป ก็ได้ไปเสวยสุขในสุคติภูมิเป็นเทพบุตร เทพธิดา ไปชั้นจาตุมมหาราชิกา ชั้นดุสิต ชั้นพรหมเป็นต้น เกิดชาติหน้าก็มีครบพร้อมซึ่งรูปร่างหน้าตา โภคทรัพย์สมบัติบริวาร และ สติปัญญา เมื่อเสร็จกิจสิ้นสังโยชน์ก็ไม่ต้องมาทนทุกข์อีก ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย แล้วก็ไปเสวยสุขบนแดนนิพพาน

 

ฐานะ เงินทอง หน้าที่การงาน ยศ ทั้งหลาย อยู่ในนานสุดก็แค่หมดลมหายใจเรา เมื่อตายไปแล้วก็เอาสิ่งใดติดตามไปไม่ได้

        แม้กายเรานี้ คือ ขันธ์ ๕ ก็ต้องเป็นอนัตตาต่อเรา คือ ตายไปก็ไม่มีตัวตนต่อเราอีก แม้เราเองก็ไม่มีตัวตนต่อขันธ์ ๕ เมื่อตายไปก็ไม่มีเราอยู่ในขันธ์ ๕ แล้ว เราก็เป็นอนัตตาแก่ขันธ์ ๕ ขนาด ขันธ์ ๕ ที่เราเอามโน คือ ใจเข้ายึดครองอยู่นี้มันยังไม่มีตัวตนต่อเรา ขนาดเราที่ยึดครองอาศัยขันธ์ ๕ อยู่นี้ก็ไม่อาจจะอยู่ยั่งยืนนานกับมันได้ เมื่อตายแล้วจิตที่เข้ายึดครองขันธ์ ๕ เหล่านี้ก็ไม่มีอีก ไม่มีตัวตนของเราในขันธ์ ๕ แล้วจะนับปะสาอะไรกับสิ่งภายนอกที่เราแสวงหาอยู่นั้นๆว่าเป็นตัวตนต่อเราหรือใครได้ แม้ได้ยึดครองมาก๋็อยู่ไม่ยั่งยืนนาน สุดท้ายก็ต้องสูญไป ไม่คงอยู่อีก ไม่มีตัวตนต่อกันอีก "ไม่มีขันธ์ในเรา เราไม่มีในขันธ์ ไม่มีตัวตนต่อกันและกัน"

       ทุกวันนี้เราแสวงหาอยู่กับที่ไม่เที่ยง เอาความสุขสำเร็จไปผูกขึ้นไปว้กับสิ่งไม่เที่ยงทั้งปวง ไม่ว่าจะเป็นคน สัตว์ สิ่งของ ล้วนไม่เที่ยงทั้งนั้น แต่เราเอาความสุขสำเร็จของเราเข้าไปยึดครองสิ่งไม่เที่ยงเหล่านั้นว่าเป็นความสุขตน เป็นความสำเร็จตน สุดท้ายก็ต้องพรัดพราก ไม่ด้วยกาลเวลา ก็สภาพแวดล้อม ไม่ด้วยการดูแลรักษา ก็สภาวะความปรุงแต่งแปรปรวนในภายใน และความตายในที่สุด บังคับให้เป็นดั่งใจไม่ได้ ฉุดรั้งจับต้องให้เป็นดั่งใจไม่ได้ เพราะไม่มีตัวตน

      เมื่อตายไปแล้วก็มีแต่บุญกับบาปที่ติดตามเราไป หากทำกุศลมาเยอะก็เป็นกำไรชีวิตสืบต่อไปในภพหน้าชาติหน้า หากทำอกุศลกรรมมาเยอะกรรมนั้นก็ติดตามให้ขาดทุนสูญเสีย ล่มสลายในเหตุบารมีในภายหน้า ชาติหน้า ภพหน้า คนเราอายุมากสุดก็แค่ 100 ปี จะต้องรอให้ถึง 100 ปีก่อนจึงจะค่อยมาสะสมเสบียงไว้เลี้ยงตนในภายหน้าอย่างนั้นหรือ ถ้าทำเช่นนั้นเวลาคงไม่พอที่จะทำอะไรได้ ดังนั้นเวลาที่มีอยู่นี้เราควรที่จะค่อยๆทำไปสะสมกุศล เจริญใน ศีล ทาน ภาวนาไปเรื่อย มีทานก็ได้กำไรเหนือความโลภ มีศีลก็ได้กำไรเหนือโทสะ มีภาวนาก็ได้กำไรเหนือความโง่ ความลุ่มหลง ทำชาตินี้หากมีกำลังมากก็ได้ชาตินี้ด้วย ตายไปแล้วก็ติดตามไปในภพหน้าด้วย ท่านเรียกว่า นี่คือกำไรชีวิต ทำกำไรชีวิตให้กับตนเอง
 

 
สุขทางโลกมันมาจากกามราคะ มันสุขโดยอาศัยยึดเอาสิ่งไม่เที่ยงมาเป็นสุขของมัน มันสุขแค่ชั่วครั้งชั่วคราววูบวาบเดี๋ยวเดียวก็ดับไป ไม่ยั่งยืนคงทนอยู่ตลอดไป อยู่ได้นานสุดก็แค่หมดลมหายใจเรานี้เอง เมื่อเสพย์แล้ว ก็ต้องการเสพย์มันใหม่อีกไม่รู้จบ สุขทางโลกมันอิ่มไม่เป็น

สุขทางโลกมันอยู่ด้วยความใคร่ปารถนาจะเสพย์นั่นเสพย์นี่ อยากมีอยากได้นั่น อยากมีอยากได้นี่ พอสมปารถนาก็เป็นสุข วูบวาบชั่วคราวแล้วก็ดับ แล้วก็ติดใจปารถนาต่อไม่รู้จบ ไม่รู้อิ่ม แล้วก็ทุกข์ที่ต้องแสวงหาโหยหามันมาเสพย์ให้ได้อีก

พอไม่สมปารถนา หรือ พบเจอสิ่งอันไม่เป็นที่รักที่พอใจ หรือ ความพรัดพราก ก็จะเป็นจะตาย คับแค้นกายใจ ร่ำไรรำพัน ไม่สบายกาย ไม่สบายใจ ไม่เอาอย่างนั้น ไม่พอใจอย่างนี้ ไม่ต้องการอย่างนี้ ทนอยู่ไม่ได้ จะขาดใจตายเสียให้ได้

แม้จะเป็นอย่างนั้น ยิ่งไม่สมปารถนา ยิ่งเจอสิ่งอันไม่เป็นที่รักที่พอใจ ก็ยิ่งปารถนาที่จะได้จะมีจะพบเจอสิ่งที่ตนเองยึดว่าดีที่เป็นที่รักที่พอใจมากขึ้นไปอีก แล้วก็เฝ้าถวิลหาปารถนา ตะเกียกตะกายให้ได้มาครอบครองซึ่งสิ่งนั้น หยุดไม่ได้ อิ่มไม่เป็น

สุขทางโลกมันยึดเอาความเป็นตัวตน หลงไปว่าเที่ยงแท้ยั่งยืนนาน ทั้งๆที่มันอยู่ได้นานสุดก็แค่หมดลมหายใจเราเท่านั้น พอเราตายมันก็ไม่ได้ติดตามเราไปด้วย

ยิ่งยึดตัวตนมากก็ยิ่งปารถนามาก ยิ่งปารถนามากก็ยิ่งทำเหตุในมันมาก ยิ่งฝักใฝ่สุขทางโลกมากมันยิ่งหิวโหยไม่หยุด ไม่พอ ไม่อิ่มเป็น

สุขทางธรรมมันคือความฉลาดในการปล่อยวาง สุขทางธรรมคือสุขจากความไม่ยึดมั่นถือมั่น สุขทางธรรมคือสุขจากความไม่ปารถนา สุขทางธรรมคือวิราคะ สงัดจากกามราคะทั้งปวง สุขทางธรรมคือความที่จิตมันอยู่ได้ด้วยตัวของมันเอง สุขได้ด้วยตัวมันเอง ไม่อาศัยเครื่องยึด ไม่จับของปลอม ไม่ยึดสมมติ..ดังนี้

สุขทางโลกียะ สุขมันสุขจริง แต่มันสุขเพราะอาศัยผัสสะจากความรู้โดยสมมติจากสิ่งไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวตน สุขทางโลกมันอิ่มไม่เป็น มันไม่รู้จักอิ่ม มันไม่รู้จกพอ มันพอไม่เป็น ยิ่งหวนระลึกถึง ยิ่งคำนึงถึง ยิ่งต้องการ ยิ่งแสวงหาทะยานอยาก กระสัน หมายใจฝักใฝ่ ต้องการใคร่ได้ที่จะเสพย์ไม่มีหยุด ไม่มีอิ่ม ไม่มีพอ

สุขทางโลกตระ มันคือ อมตะสุข สุขในการไม่ยึด สุขที่ได้จากการปล่อยวาง สุขโดยความไม่มีใจเข้ายึดครองในสิ่งใด ไม่มีความหมายใจแสวงหาต้องการสิ่งไรๆ ยิ่งหวนระลึกถึง ยิ่งคำนึงถึง ยิ่งอิ่มใจ อิ่มเอม มีความสงบกายสงบใจ ร่มเย็นเป็นสุข ปล่อยวาง ไม่มีใจหมายเข้ายึดครองสิ่งไรๆให้กระสัน เงี่ยน แสวงหาทะยานอยาก เป็นทุกข์
 


เกร็ดความรู้
 
1. มีศรัทธาเป็นกำลัง ต้องศรัทธาพระพุทธเจ้าให้ได้ก่อน ศรัทธาได้ก็ถึงพุทโธได้
 
2. เมื่อศรัทธาพระพุทธเจ้าก็ย่อมถึงคำสอนของพระพุทธเจ้า คือเรื่องกรรม(ตามบทอุเบกขาที่ให้ไปข้างต้น)
 
3. เมื่อเข้าใจเรื่องกรรมแล้ว พระตถาคตนั้นย่อมสอนให้ทำเหตุแห่งกุศลให้ดี คือ ศีล ทาน ภาวนา
 
หลวงปู่บุญกู้ อนุวัฑฒโน ท่านสอนว่า
- ละโลภ.. ได้.. ทาน
- ละโทสะ, ละความเบียดเบียน.. ได้.. ศีล
- ละโมหะ, ละความหล.. ได้.. ภาวนา
 
วันที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ หลวงปู่บุญกู้ อนุวัฑฒโน ท่านสอนให้ทำความเข้าใจในธรรม รู้คุณและโทษจากการรู้ธรรมและปฏิบัติกับไม่รู้ธรรมและไม่ปฏิบัติ อานิสงส์โดยย่อ ถอดจากเทปบางส่วน หากถอดจากเทปไม่ผิดเพี้ยนเนื่องจากเสียงเบามาก ได้ความดังนี้ว่า..
 
สุขทางโลกมันคือสุขทางกาย..มันไม่เที่ยงนานสุดก็แค่หมดลม
สุขทางธรรมมันคือสุขใจ..มันอิ่มเต็มรู้จักพอด้วยบุญกุศลบารมี มันติดตามไปในทุกภพทุกชาติ
 
ขึ้นชื่อบุญนีั้..เป็นชื่อความดี ให้ผลงอกเงยเจริญมีความสุขตอบแทนเราไม่เร็วก็ช้า ตอบแทนด้านจิตใจซะก่อน ทำทานก็อิ่มใจ ศีลก็เย็นใจ ภาวนาก็มีพลังใจ เจตนาดีก็สุขใจ
 
 
ทำทาน ก็อิ่มใจ
 
(
โดยส่วนตัวที่เราพอจะเข้าถึงเห็นว่า..คือ ความอิ่มเต็มใจ อิ่
มในบุญกุศล 
อิ่มเอิบเพียงพออยู่เ
ป็นสุขใจไม่ต้องถวิลตะเกียกตะดกาย
การแสวงหา
สิ่งใดอีก)
 
- ทำศีล ก็เย็นใจ
 
(โดยส่วนตัวที่เราพอจะเข้าถึงเห็นว่า..มีจิตเป็นปกติไม่เร่าร้อน)
 
 
- ทำภาวนา ก็มีพลังใจ 
 
(โดยส่วนตัวที่เราพอจะเข้าถึงเห็นว่า..
ก. ขั้นสมถะและปัญญาในสมถะ..
..   
 
จิตมีอาการวูบเหมือนขนลุกวูบหนึ่ง เกิด
ความสงบ สติตั้งมั่น จิตจดจ่อเป้นอารมณ์เดียว วูบรวมดิ่งลงไปที่เดียวมีอาการเหมือนกำลังจะหมดสติ จะวูบหลับ นิ่ง แช่ ว่าง ..อาการนี้จิตได้เข้าไปพักปิดสวิทซ์การทำงานของจิต.. เมื่อพักเสร็จจิตเริ่มมีพลังทำให้ไม่ฟุ้งซ่านน้อมเข้าเป็นทาสของอุปกิเลสอกุศลวิตก จิตเริ่มมีกำลังอยู่ได้ด้วยตัวของมันเอง 
ไม่กระเพื่อสัดส่าย 
ไม่น้อมไป
ไม่กระเพื่อสัดส่าย 
ติดหลงอารมณ์นิวรณ์เครื่องหดหู่ฟุ้งซ่านติดหลงอกุศลให้เร่าร้อน,ร้อนรุ่มใจ..
..   
จิตตั้งมั่นมีพลังไม่เจือปนกิเลส แม้จะหวนระลึกนึกคิดถึงอกุศลเท่าไหร่ก็นึกไม่ออก ไม่ว่าจะนึกรูปผู้หญิงแก้ผ้าขึ้นมาได้แต่มันก็ไม่สำคัญใจในราคะ จิตมันก็เอาลงในธรรมหมด มีความรู้เห็นของจริงอยู่ เห็นความเป็นไป เห็นเหตุปัจจัยทั้งปวงที่ทำให้เกิดมีขึ้นซึ่งสมมติของปลอม ของแท้เป็นอย่างไร เพ่งอารมณ์ที่เกิดขึ้นไปอยู่อย่างนั้น จะโยกไปดูทางนี้ที ทางโน้นทีก็ได้ คิดนั่นคิดนี่ได้ คิดว่าดูตรงนี้ก็ได้ มุมโน้นก็ได้ ความคิดแยกจากนิมิต บังคับนิมิตให้เป็นดั่งใจได้ มีความคิดที่ไม่สำคัญใจใน ราคะ โทสะ โมหะ มีความสำคัญใจไปตาม
กิเลสน้อยมาก
..   
จนเมื่อ
จิตมีกำลังเพ่งอารมณ์นิมิตแช่อยู่ได้นานมากขึ้นไม่หลุดไปง่ายๆ จิตมันจะเกิดความตรึกหน่วงนึกจับเอานิมิตหรืออารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งโดยเฉพาะของมันเอง
(คำว่า ความตรึกหน่วงนึก ไม่ได้หมายถึงเวทนาไรๆทั้งสิ้น แต่หมายเอา..อาการความรู้สึกที่จิตมันมีอาการที่ตรึกหน่วงนึกจดจ่อตั้งมั่นในอารมณ์หรือนิมิตเดียวจมแช่อยู่ได้
นาน อันที่เราสัมผัสได้บ่อย
นั้นว่า มันเป็นความตรึกหน่วงนึก)
จิตตั้งมั่นอยู่เพียงอารมณ์เดียว มีความนึกคิดสลับกับไม่มีความนึกคิดแต่นิ่งแช่ในอารมณ์อยู่บ้าง 
เหมือนจิตกำลังวูบจมดิ่งไปในสิ่งที่เพ่งที่รับรู้อารมณ์อยู่นั้นแม้จะเป็นความว่างก็ตามแล้วสลับกับอาการมีความคิด
เมื่อจิตมันดิ่งไปกับอารมณ์มีกำลังจดจ่อตั้งมั่นมากขึ้น จิตที่เป็นตัวรู้มันก็จะเกิดขึ้นทำหน้าที่แลดูอยู่ด้วยอาการที่สักแต่ว่ารู้ 
แช่ว่างอยู่ แยกกับจิตที่มันตรึกหน่วงนึกไปกับอารมณ์หรือนิมิตที่มันเพ่งอยู่เบื้องหน้านั้น ผู้รู้ท่านเรียกอาการนี้ว่า "จิตมันสำเหนียกรู้อยู่ " บ้างมันเห็นจิตที่ตรึกหน่วงนึกมนสิการอารมณ์ต่างๆ ทำอาการต่างๆ 
จิตที่ทำความ
ตรึกหน่วงนึกมันจะอยู่เฉพาะกับนิมิตในเบื้องหน้าเท่านั้น บ้างเหมือนจิตมันตรึกนึกอารมณ์ มันตรึกนึกรู้ในอาการที่เกิดขึ้นให้มันรู้ในบื้องหน้าอยู่นั้นแต่แยกจากตัวที่ทำหน้าที่แลอาการที่ตรึกนึกนั้นิอยู่ก็ตามแต่มันจะเกิดว่างหรือมีนิมิตอะไรเกิดขึ้นเองโดยไม่กำหนดขึ้นด้วยสัญญา 
 
เช่น ครั้งนึงเข้าสมาธิมาในอาการนี้ จิตที่หน่วงนึกอารมณ์อยู่นั้น
มันเพ่งในที่ว่าง แล้วจิตที่เป็นผู้แลอยู่เห็นเหมือนจิตที่หน่วงนึกอารมณ์มันลอยไปบนฟ้า ที่มีแต่ว่างอยู่เท่านั้น แล้วก็เหมือนมันเห็นพระจุฬมณีเจดีย์บนสวรรค์(จิตมันรู้ของมันเอง) เหมือนเห็นพระพุทธเจ้าที่เบื้องหน้า(จิตมันรู้ของมันเองทั้งสิ้น) แล้วมันก็ทำการกราบระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้าด้วยตัวของมันเองทันที มันหน่วงนึกตรึกนึกของมันเองเหมือนไม่ได้ยินเสียงแต่เข้าใจและรู้สิ่งที่มันทำอยู่ทั้งหมดทั้งสิ้น จนเมื่อจิตที่เป็นตัวรู้มันเข้าใจว่าจิตที่มันหน่วงนึกตรึกถึงคุณพระพุทธเจ้าอยู่นั้นมันเป็นประโยคสั้นๆไม่ยาวแต่ถึงพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้ารับรู้ได้ เมื่อตัวรู้มันเห็นดังนั้นก็เกิดความยินดีเจาะจงในคำเหล่านั้น อยากจะจำคำเหล่านั้นไว้ให้หมด แล้วมันก็ได้ยินเสียง แล้วมันก็ค่อยๆวูบหลุดออกมาจากจิตที่ตั้งมั่นนั้น แล้วอาการนั้นๆหายไป กลับมาอยู่จำเพาะสมาธิที่วิเวกว่างอยู่แล้วสักพักวูบนึงก็หลุดจากสมาธิเกิดความคิดความรู้สึกมากมาย
 
 
"ทำให้เห็นธรรมชาติของจิต..ว่ามีความตรึกนึกที่สงบ ไม่มีโทษอันปราศจากอกุศลธรรมอันลามกจัญไรทั้งปวง แล้วปัญญาเห็นชอบอันเรียกว่าสัมมาทิฐิเกิดขึ้นสังขารโดยรอบด้วยความระลึกชอบนั้น..
นี่ทำให้เห็นเลยว่าธรรมชาติของจิตมันอยู่โดยปราศจากกิเลส มันไม่ได้ชอบกิเลสเลย แต่มันมีปกติที่อยู่ด้วยความปราศจากกิเลสทั้งสิ้น แต่เพราะจิตมันไม่มีพลังจึงต้องยอมน้อมไปหากิเลสตามอวิชชาอันอนุสัยกิเลสมันสร้างของปลอมทับถมมานับไม่ถ้วนไม่รู้กี่อสงไขย กี่แสนมหากัปป์ "
..   
เมื่อจิตมีพลังที่จะจดจ่อแลดูมากขึ้นความตรึกนึกมันก็ดับ 
แม้จะนึกเท่าไหร่ก็นึกไม่ออก ความคิดก็ไม่มี ไม่มีเรื่องราว นอกจากอารมณ์ความรู้สึกรอบๆที่จิตมันรู้ปัจจุบันอยู่ในเท่านั้น พร้อมอาการของจิตที่นิ่งจมแช่ไปกับอาการนั้นๆอยู่เท่านั้น 
จิตตั้งมั่นแน่วแน่ปักหลักอยู่ไม่หวั่นไหวจนเกิดความรู้เห็นตามจริงความเป็นไปทั้งปวง
..   
 
ก็จนเมื่อจิตมีกำลังคลายความเพ่ง
อารมณ์หน่วงนึกแนบแน่นซึ่งอารมณ์นั้นอยู่ได้ จิตก็จะมีกำลังขึ้นมาอีกก็จะได้รู้จักความอิ่มเต็มความอิ่มล้นจนพอของจิตจริงๆผู้รู้ท่านเรียกว่าความอิ่มใจเป็นสุขจากความที่มันไ
ม่ยึด ไม่เอาสิ่งไร ไม่มีความคิด ไม่ต้องน้อมไปหาอารมณ์ จิตได้พักเต็มที่
เปรียบเหมือนหลอดไปที่ปิดไว้ไม่ต้องเปิดใช้งาน มันก็ไม่ร้อนเพราะไม่ต้องเปิดรับกระแสไฟที่ร้อนไหม้เข้ามาอยู่ทุกๆขณะ ไม่ต้องคอยเปิดรับกระแสไฟที่ส่งมากระตุ้นให้ไส้หลอดมันร้อนเพื่อทำงานให้แสงสว่าง 
หลอดไฟนั้นมันจะอยู่ปกติของมันโดยไม่ร้อนเป็นที่เย็นสบาย
ฉันใด
 จิตที่ได้พักก็สงบอิ่มเต็มไม่เร่าร้อนกับผัสสะที่มากระทบอยู่ทุกขณะตลอดเวลาฉันนั้น
ทำให้จิตมันมีกำลังด้วยตัวของมันเองไม่อ่อนแอซ้องเสพย์สิ่งไรๆ มันอิ่มเต็มใจ
มันอิ่ม มันเต็ม มันพอ
ด้วยตัวของมันเอง มันสุขแบบที่ไม่เคยพบเจอมาก่อนในชีวิต แม้ว่าเกิดมาเราจะมีความสุขสำเร็จในทางโลกสมหวังปารถนาในทางโลกทั้งปวงดั่งใจนึก ก็ไม่สุขเท่าสิ่งนี้ ความที่มันไม่หลงติด มันไม่ยึด ไม่หลง ไม่ติดใจข้องแวะสิ่งไรๆ ไม่ต้องคอยรับผัสสะสมมติของปลอมไรๆมันเป็นสุขที่สุด ไม่เ่ราร้อน ไม่เศร้าหมอง จิตมันเป็นปกติที่สุขหาที่เปรียบไม่ได้ นี่แค่โลกียะยังขนาดนี้ถ้าเถึงโลกุตระจะสุขขนาดไหน
..   เมื่อจิตมันสุขเต็มที่แล้ว สุขมันก็ดับ จิตมันก็จะไม่ยึดสุขอีก แต่มันจะมีสติที่ตั้งมั่นบริสุทธิ์ทำให้เกิดปัญญาเห็นจริงอย่างหนึ่งว่า แม้แต่กายเรา แม้แต่โลกนี้ทั้งใบ แม้สิ่งไรๆมันคือความไม่มี มันไม่มีอะไรทั้งสิ้น เราหลงอยู่กับสิ่งที่ไม่มีตัวตน สิ่งที่จริงๆแล้วมันเกิดขึ้นเพียงวูบวาบแว๊บนึงก็ดับไป ไม่มีตัวตน นั่นไม่ใช่เรา เราไม่ใช่นั้น ในนั้นไม่มีเรา เราไม่มีในนั้น ไม่ใช่ตัวตน ไม่ว่าสิ่งไรก็ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ใคร มันไม่มีอะไรทั้งสิ้น แม้จะสว่างมองเห็นไปทั่วแต่มันว่างสุดลูกหูลูหตาไปหมดสิ้นไปไม่มีประมาณ จนหมดสิ้นนี้มันไม่มีอะไรจะให้ยึดเหนี่ยวตัวตนสิ่งใดได้เลย "สมดั่งพระพุทธเจ้าองค์สมเด็จพระบรมศาสดาตรัสแสดงธรรม มีพระอรหันต์และครูบาอาจารย์ทั้งหลายท่านถ่ายทอดมาว่า ให้ปฏิบัติเพื่อถึงความไม่มี ความดับ ความสูญสิ้น ความสละคืน เพื่อถึงที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้".. เพราะจริงๆแล้วสิ่งทั้งปวงมันไม่มี โลกนี้มันไม่มีอะไรสิ่งใดเลยทั้งสิ้น..ดังนี้จะเกิดญาณทัสสะคือปัญญา จะตัดสังโยชน์ได้ไม่ได้ก็อยู่ที่เราทำเหตุสะสมมาดีแล้วหรือยัง ขั้นต่ำก็คลายอุปาทานทั้งปวงลงได้บางครั้งบางคราวแต่ไม่เสมอไป.., "ไม่ใช่ปฏิบัติให้มันมี ให้มันเห็นนั่นเห็นนี่" อันนั้นผิดหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า ไม่ว่าจะต้องการเห็นธาตุ เห็นนามรูป เห็นแสง เห็นนั่นเห็นนี่ จะต้องเห็นต้องมีสิ่งนั้นสิ่งนี้ ก็ถ้ามีธาตุมีนามรูปมีทุกสิ่งทุกอย่าง ก็เป็นการเห็น คิดผิด พูดผิด ทำผิด เลี้ยงชีพผิด เพียรผิด ระลึกผิด ตั้งมั่นผิด ปัญญาผิด หลุดพ้นผิด
 
ข. ขั้นวิปัสสนาและปัญญาในวิปัสสนา.. ผลอันเกิดจากจิตมีกำลังการรู้เห็นตามจริงจากญาณทัสสนะในสมถะตามข้อ ก. ทำให้จิตมันรับรู้สภาพจริงเท่านั้น ขันธ์ก็แยกไม่รวมกันอยู่ใครอยู่มัน เห็นเป็นกองๆเท่านั้น  เป็นเหตุปัจจัยให้เกิดความหน่ายด้วยปัญญาที่รู้เห็นว่าทั้งหมดสิ้นโลกนี้ล้วนเป็นสมมติของปลอม หลงสมมติของปลอม หลงสิ่งไม่จริงอยู่ จิตมีกำลังก็เกิดวิราคะ อันเป็น
ปัญญา คือ ตัด ตัดสิ้นสมมติของปลอมที่อนุสัยกิเลสสร้างขึ้นมาหลอกให้จิตหลงเสพย์หลงยึดสิ้นไป
)
 
เจตนาดี ก็มีสุขใจ
(
โดยส่วนตัวที่เราพอจะเข้าถึงเห็นว่า..คือ ความตั้งใจดีก็เกิดความคิดดี พูดดี ทำดี พระตถาคตตรัสสอนว่า..เจตนาเป็นกรรม เป็นมโนกรรม การกระทำไรๆสำเร็จที่ใจก่อน เจตนาดี กาย วาจา ใจ ก็ดีทั้งนั้น เมื่อทำกรรมดีมันก็คิดแต่สิ่งดี พูดแต่สิ่งดี ทำแต่สิ่งที่ ไม่มีโทษในภายหลัง จิตก็เป็นสุข ไม่เร่าร้อน ทุกข์ร้อน ระแวง หวาดกลัวในภายหลัง ศีล ทาน ภาวนา ล้วนเป็นการสะสมเหตุสร้างเจตนาที่ดีให้เกิดขึ้นแก่จิต เมื่อเจตนาในกุศลมีมากแล้ว ก็ไม่เกิดเจตนาในกุศล ละเจตนาซึ่งอกุศลได้
 

 
หลวงพ่อเสถียร ธิระญาโณ ท่านสอนว่า
- ทาน ละกิเลสอย่างหยาบ
- ศีล ละกิเลสอย่างกลาง
- สมาธิ ละกิเลสอย่างละเอียด
 

 
4. เกร็ดความรุ้เรื่องการภาวนา
 
- พระอาจารย์ณัฐพงษ์ ท่านมาจากวัดที่อเมริกาเพื่ออัญเชิญพระพุทธรูปไปวัดที่ตั้งใหม่ที่อเมริกาท่านได้สอนไว้ว่า "ให้รู้ลมหายใจเข้า-ออก จะภาวนาพุทโธด้วยเพื่อเป็นกำลังให้จิตตั้งมั่นไปกับลมหายใจก็ได้ ที่สำคัญ คือ "ทำไว้ในใจถึงความสงบกายใจ เหมือนเราสงบนิ่งเมื่อสมัยเรียนตอนเด็กๆ" แล้วรู้ลมหายใจเข้า-ออกไปเรื่อยๆ 
- พระอาจารย์ณรงค์ ลูกศิษย์หลวงตามหาบัว ท่านกลับมาจากไปเผยแพร่ธรรมที่อเมริกาแล้วได้เทศนาสอนว่า หลวงปู่ฝั้นท่านได้สอนเอาไว้ว่า "ทำสมาธิให้เหมือนเราขับรถเดินทางไกล เปรียบรถเป็นลมหายใจ สิ่งต่างๆระหว่างทางก็แค่วิวทิวทัศน์ให้ชมพอเพลิดเพลินเล่นเวลาเดินทาง เวลาเดินทางไกลก็ขับไปตามทางเรื่อยๆ จะเจออะไรระหว่างทางก็แค่รู้ว่าคืออะไร แล้วก็ขับผ่านไป(เวลาเดินทางไกลระหว่างทางเราจะรู้เห็นอะไร เราก็แค่ดู.. พอรู้ว่าคืออะไรก็ขับรถต่อไปไม่ไปจอดรถติดแช่กับมันให้เสียเวลาเดินทาง) เดี๋ยวมันก็ถึงปลายทางเอง(กล่าวคือทำแค่รู้เท่านั้น โดยไม่มีความติดใจข้องแวะเข้ายึดครองไปร่วมเสพย์มัน แต่ปล่อยให้มันเป็นไปของมัน เราทำแค่รู้ สักแค่ว่ารู้เท่านั้นพอ รู้..แล้วก็ผ่านเลยไป แล้วจิตมันจะเห็นจริงเอง)"
- หลวงน้า..พระครูมหานกแก้ว ท่านสอนดังนี้..หากเข้าสมาธิ ฌาณแล้ว ไม่ว่าเราจะไปเจอนิมิตไรๆ สภาวะไรๆ ให้ทำแค่รู้ ปรกติ วาง
..รู้ (รู้แค่ว่านี้มันคือนิมิต มันอาการหนึ่งๆของจิตตามธรรมชาติทั่วไป)
..ปรกติ (มันเป็นอาการของจิตที่มีอยู่นับล้านๆแบบ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เป็นปรกติของจิตสังขาร ไม่มีอะไรเกินนี้)
..วาง (ไม่เอาใจเข้ายึดครองนิมิตที่รู้เห็น จนหลงยึดเอานิมิตมาเป็นตัวตนอุปาทานเป็นเครื่องอยู่ของจิต มันแค่ธรรมชาติหนึ่งๆของจิตตามปรกติเท่านั้น  แล้วก็ปล่อยวาง ไม่ให้ความสำคัญกับมัน ไม่เอาใจเข้าเกาะเกี่ยวยึดลุ่มหลงนิมิตนั้น))
 


 



Create Date : 03 กุมภาพันธ์ 2559
Last Update : 9 มกราคม 2563 16:34:40 น.
Counter : 626 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สมาชิกหมายเลข 1075032
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]