ชนะคนอื่นเป็นร้อย ยังไม่ยากเท่าชนะตนแค่คนเดียว...
ธนบัตรแบบต่าง ๆ (ธนบัตรแบบ ๔)

ธนบัตรแบบ ๔ (โทมัส)

             ด้านหน้าเชิญพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเมื่อ
ทรงพระเยาว์เป็นภาพประธานโดยมีภาพปูชนียสถานที่สำคัญ ได้แก่วัดพระสมุทรเจดีย์ พระปฐมเจดีย์ป้อมมหากาฬกับบรมบรรพต
พระที่นั่งดุสิดาภิรมย์กับพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท และพระปรางค์วัดอรุณราชวราราม เป็นภาพประกอบของธนบัตรแต่ละชนิดราคาตามลำดับ
ส่วนด้านหลังเป็นภาพพระที่นั่งอนันตสมาคม ธนบัตรแบบ ๔ (โทมัส) มี ๒ รุ่น รุ่นหนึ่ง พิมพ์ข้อความด้านหน้าธนบัตรว่า "รัฐบาลสยาม"
รุ่นสอง เปลี่ยนเป็นคำว่า "รัฐบาลไทย" มี ๕ ชนิดราคา ได้แก่ ๑ บาท ๕ บาท  ๑๐ บาท  ๒๐ บาท และ ๑๐๐๐ บาท
พิมพ์ที่บริษัท โทมัส เดอ ลา รู จำกัด ทยอยออกใช้เมื่อพุทธศักราช ๒๔๘๑ ในรัชกาลที่ ๘

ธนบัตรแบบ ๔ (กรมแผนที่)

    เมื่อสงครามโลกครั้งที่สอง ขยายตัวมายังทวีปเอเชียจนกลายเป็นสงครามมหาเอเชียบูรพา
โดยญี่ปุ่นได้ยกกองทัพเข้ามาในประเทศไทยเพื่ออาศัยเป็นฐานทัพในการสู้รบและ ยึดครองประเทศข้างเคียง
ซึ่งเป็นอาณานิคมของประเทศคู่สงคราม ประเทศไทยตกอยู่ในภาวะจำยอมต้องทำสัญญาเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่น 
และถูกยื่นข้อเสนอให้จัดตั้งธนาคารกลางโดยให้มีที่ปรึกษาและหัวหน้าหน่วยงานต่าง ๆ เป็นชาวญี่ปุ่น ดังนั้น
เพื่อรักษาอิสรภาพและเสถียรภาพทางการเงินของประเทศมิให้ญี่ปุ่นเข้ามามีอำนาจควบคุมระบบการเงินของไทย 
รัฐบาลในขณะนั้นจึงเร่งจัดตั้งธนาคารกลางอย่างรีบด่วน โดยสภาผู้แทนราษฎรลงมติให้ประกาศใช้พระราชบัญญัติ
ธนาคารแห่งประเทศไทย พุทธศักราช ๒๔๘๕ เมื่อวันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๕ เพื่อจัดตั้งธนาคารแห่งประเทศไทยขึ้น
ทำหน้าที่รับมอบการออกธนบัตรจากกระทรวง การคลัง และประกอบธุรกิจอันพึงเป็นงานของธนาคารกลาง

    จากการเข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่น ทำให้การสั่งพิมพ์ธนบัตรจากบริษัท โทมัส เดอ ลา รู ประเทศอังกฤษ
ไม่สามารถกระทำได้  รัฐบาลไทยจึงขอให้รัฐบาลญี่ปุ่นช่วยพิมพ์ธนบัตรให้ (ธนบัตรแบบ ๕) 
แต่เมื่อสงครามทวีความรุนแรงขึ้น รัฐบาลเห็นว่าสถานการณ์ไม่เป็นที่น่าไว้วางใจนัก
ถึงแม้จะได้สั่งพิมพ์ธนบัตรจากประเทศญี่ปุ่นแล้วก็ตาม หากญี่ปุ่นไม่สามารถขนส่งธนบัตรมาได้ 
ก็จะทำให้ประเทศไทยขาด แคลนธนบัตรอย่างยิ่ง รัฐบาลไทยจึงตัดสินใจพิมพ์ธนบัตรขึ้นใช้เอง
โดยใช้วัตถุดิบที่พึงหาได้ภายในประเทศและมอบหมายให้ กรมแผนที่ทหารบก กรมอุทกศาสตร์
และโรงพิมพ์ของเอกชนบางแห่ง เป็นผู้จัดพิมพ์ภายใต้การควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิดจากพนักงานของ
ธนาคารแห่งประเทศไทย แม้ว่าธนบัตรที่พิมพ์ขึ้นใช้เองนี้จะมีคุณภาพต่ำ แต่ก็สามารถช่วยบรรเทาปัญหา
การขาดแคลนธนบัตรได้ตลอดช่วงสงคราม ธนบัตรที่พิมพ์ขึ้นใช้เองในช่วงสงคราม ได้แก่
ธนบัตรแบบ ๔ (กรมแผนที่)  ธนบัตรแบบ ๖ ธนบัตรแบบ ๗ และธนบัตรแบบพิเศษ


ทหารญี่ปุ่นขณะเดินทัพไปยังมลายู


การลงนามกติกาสัญญาพันธไมตรีระหว่างไทย-ญี่ปุ่น

 
โรงงานกระดาษ จังหวัดกาญจนบุรี

        ธนบัตรแบบ ๔ ซึ่งพิมพ์จากกรมแผนที่ทหารบก มีรูปแบบเหมือนกับธนบัตรแบบ ๔ ที่พิมพ์จากบริษัท โทมัส เดอ ลา รู จำกัด
แต่ได้พิมพ์คำว่า "กรมแผนที่" ไว้ที่ขอบล่างของธนบัตรทั้งด้านหน้าและด้านหลัง และใช้กระดาษจากโรงงานกระดาษไทย จังหวัดกาญจนบุรี
มี ๔ ชนิดราคา ได้แก่  ๑ บาท  ๑๐ บาท  ๒๐ บาท และ ๑๐๐ บาท เริ่มทยอยออกใช้เมื่อพุทธศักราช ๒๔๘๕

ที่มา ://www.bot.or.th

Smileyขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมครับSmiley




Create Date : 18 กันยายน 2555
Last Update : 18 กันยายน 2555 10:43:17 น. 0 comments
Counter : 2544 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

kitpooh22
Location :
ตรัง Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 27 คน [?]




สวัสดีครับ
..............................
ขอบคุณที่มาเยี่ยมชม และมาเม้นให้ครับ



ขอบคุณครับ :-)
THX


วันเกิดบล็อก 25/5/2009
Google+
Group Blog
 
 
กันยายน 2555
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
 
18 กันยายน 2555
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add kitpooh22's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.