“พระพิมพ์หูยานลพบุรี”
“พระพิมพ์หูยานลพบุรี”  วัดราชบพิตร โดยสร้างล้อพิมพ์จาก “พระหูยานศิลปะลพบุรี” โดยแกะแม่พิมพ์ขึ้นใหม่ โดย นายช่างเกษม มงคลเจริญ มีศิลปสวยงาม ด้านหลังของเหรียญประดิษฐานพระปรมาภิไธยย่อ “จ.ป.ร.” โดยทางวัดจัดสร้างเป็น ๒ เนื้อ “นวโลหะ” จำนวน “๕,๐๐๐ องค์” และ “เนื้อทองแดง” จำนวน “๒๐๐,๐๐๐ องค์” 





สำหรับจำนวนการสร้าง “พระหูยาน จ.ป.ร.” นี้ผู้ที่มีหนังสือสูจิบัตร “การสร้างพระพุทธรูป-ปูชนียวัตถุ งานครบ ๑๐๐ ปี วัดราชบพิธฯ และ พิธีพุทธาภิเษก ๒๙-๓๐-๓๑ มกราคม ๒๕๑๔”

ท่านเจ้าคุณ “พระธรรมวรเมธี (อัคคชิโน)” ยืนยันว่า “แต่เดิมทางวัดได้สั่งช่างให้จัดสร้างเพียง “๑๐๐,๐๐๐ องค์” แต่ปรากฏว่าช่างได้สร้างมาทั้งหมด “๒๐๐,๐๐๐ องค์” ทางวัดจึงต้องรับไว้ทั้งหมดและเข้าพิธีพุทธาภิเศกทุกองค์

นายช่างเกษม มงคลเจริญ ซึ่งเป็นผู้ดำเนินการจัดสร้างวัตถุมงคลชุดนี้ ได้อธิบายเพิ่มเติมว่า “การจัดสร้างวัตถุมงคลฉลอง ๑๐๐ ปีของวัดราชบพิธฯครั้งนั้น มีความพิถีพิถันมากโดยกำชับให้ช่างทำการเจือ “เนื้อโลหะ” ทั้งหมดที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณเสด็จฯเททองวัตถุมงคลเป็นปฐมฤกษ์ ผสมกับแผ่นยันต์ลงอักขระของบรรดา “คณาจารย์” ผู้ทรงวิทยาคุณจากทั่วประเทศ “๑๐๘รูป” พร้อมทั้งชนวนโลหะวัตถุมงคลรุ่นเก่า ๆ ทุกรุ่นของวัดราชบพิธฯลงในวัตถุมงคล “ทุกแบบทุกเนื้อและทุกพิมพ์” ให้ทั่วถึงกัน

นายช่างเกษม ได้ดำเนินการตามวัตถุประสงค์ประกอบกับ “พระพิมพ์หูยาน” นี้จัดสร้างเป็นรายการ “สุดท้าย” อีกทั้ง “โลหะ” ที่ทำการเจือผสมไว้เผื่อเหลือเผื่อขาดนั้นก็ “เหลือเป็นจำนวนมาก” จึงนำมาจัดสร้างพระพิมพ์ “หูยาน” ทั้งหมดจึงได้จำนวน “๒๐๐,๐๐๐ องค์” ดังกล่าว ซึ่งก็นับเป็นเรื่องดีที่ทางวัดราชบพิธฯ รับพระไว้ทั้งหมด ”

พิธี พุทธาภิเษก3 วัน 3 คืนณ.พระอุโบสถวัดราชบพิธ ระหว่างวันที่ 29-30-31 มกราคมพ.ศ. 2514 โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีจุดเทียนชัยในวันศุกร์ที่29 มกราคมพ.ศ. 2514 โดยทางวัดได้อาราธนา พระเกจิผู้ทรงวิทยาคุณ ล้วนเเต่ ที่มีชื่อเสียงโด่งดังด้านพุทธคมในยุคนั้น โดยผลัดเปลี่ยนกันมาร่วมพิธีในเเต่ละวันทั้ง 108 รูปอาทิ

อาทิ


ลป.โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี
ลพ.เงิน วัดดอนยายหอม
ลป.เทศก์ เทศก์รังษี
หลวงตา มหาบัว
ลพ.เทียม วัดกษัตริยาธิราข
พระอาจารย์นำ วัดดอนศาลา

ลป.หิน วัดระฆัง
ลพ.ทูรย์ วัดโพธิ์นิมิต
ลพ.ทองอยู่
ลพ.กี๋ วัดหูช้าง

ลพ.ขอม วัดไผ่โรงวัว

ลพ.โชติ ระลึกชาติ
ลพ.นอ วัดท่าเรือ

เป็นต้น



หลัง พิธีพุทธาภิเษกได้มีบรรดานายทหารจาก กรมรักษาดินแดน และ กระทรวงกลาโหม ซึ่งอยู่ใกล้กับวัดราชบพิธฯ ได้ มาบูชาไปเป็นจำนวนมาก โดยนายทหารที่บูชาไปในสมัยนั้นได้มีการนำพระรุ่นนี้ไป เลี่ยมพลาสติกแล้วไปแขวนกับ ธงชาติจากนั้นจึงได้ชักธงชาติระดับเหนือศีรษะ แล้วทำการ ทดลองยิง” 

ปรากฏ ว่าปืนยิงไม่ออกในนัดแรก บรรดาผู้ทดลอง จึงทำการตรวจสอบปืนใหม่แล้วยิงอีกนัดคราวนี้ปรากฏว่าเกิดเสียงระเบิด ดังขึ้น และพอสิ้นเสียงระเบิดปรากฏ ปากกระบอกปืนที่ใช้ทดลองยิงแตกเป็นรอยร้าวจึงเรียก พระรุ่นนี้ว่ารุ่นปืนแตก






อนึ่งสำหรับ “พระพิมพ์หูยาน จ.ป.ร.” รุ่นฉลอง “๑๐๐ ปีวัดราชบพิธฯ” นี้ บรรดาเซียนพระยุค “ปี ๒๕๑๔” นิยมเรียกขานว่ารุ่น “ปืนแตก” โดยจากคำบอกเล่าของท่านเจ้าคุณ “พระธรรมเมธี (อัคค ชิโน)” เช่นกัน เหตุที่บรรดาเซียนพระยุคนั้นเรียกกันก็สืบเนื่องจาก “หลังการจัดทำพิธีพุทธาภิเษกแล้ว ได้มีบรรดานายทหารจาก กรมรักษาดินแดน และ กระทรวงกลาโหม ซึ่งอยู่ใกล้กับ วัดราชบพิธฯ ได้ มาบูชาซึ่งสมัยนั้นราคาถูกมากเพียง “องค์ละ ๑๐ บาท” เท่านั้นและหลังจากบูชากันไปแล้วทหารหลายรายได้นำไปพิสูจน์ “ความเข้มขลัง” ด้วยการนำ “พระหูยาน จ.ป.ร.” ที่นำไปเลี่ยมพลาสติกแล้วไปแขวนกับ “ธงชาติ” แล้วชักธงชาติระดับเหนือศีรษะขึ้นจากนั้นทำการ “ทดลองยิง” ปรากฏว่า “นัดแรก” กระสุนปืนเกิดด้าน “ยิงไม่ออก” จึงทำการตรวจสอบปืนใหม่แล้วทดลอง “ยิงอีกนัด” คราวนี้ปรากฏว่าเกิดเสียง “ระเบิด” ดังขึ้นและพอสิ้นเสียงระเบิด “ทหาร” ผู้ทำการทดลองยิงก็ออกอาการ “ตกใจ” เมื่อเห็น “ปากกระบอกปืน” ที่ใช้ทดลองยิง “แตกเป็นรอยร้าวทั้งลำกล้อง” ใช้การไม่ได้อีกเลยตั้งแต่นั้นมาบรรดา “ทหาร” ที่อยู่ในเหตุการณ์ทดลองยิงจึงเรียก “พระหูยาน จ.ป.ร.” ว่ารุ่น “ปืนแตก” เป็นที่เลื่องลือกันมากในยุคนั้น นอกจากนี้บรรดาทหารที่อาสาสมัครไปร่วมรบใน “สมรภูมิเวียดนาม” ที่รอดชีวิตกลับมาก็มีการร่ำลือว่า “เหตุที่รอดชีวิตเพราะได้พกพาพระหูยานรุ่นปืนแตกนี้ติดตัวไปด้วย” รวมทั้งบรรดาเซียนพระหลายรายรวมทั้งเซียนสายตรง “พระกริ่ง-รูปหล่อ” ที่ชื่อ “เกี๊ยก ทวีทรัพย์” ก็มีการบอกเล่ากันต่อ ๆ มาว่า “พระหูยาน จ.ป.ร.” มีพุทธคุณเข้มขลังด้าน “ยอดเหนียว” เนื่องจากมีเหตุ “วัยรุ่นยกพวกตะลุมบอนกัน” พร้อมทั้งใช้อาวุธที่มีทั้งมีดดาบและปืนฟันและยิงใส่กันแบบ “เอาเป็นเอาตาย” แต่ปรากฏว่าผู้ที่พกพา “พระหูยาน จ.ป.ร.” ติดตัวไม่มีผู้ใดได้รับบาดเจ็บเลยทั้งที่บางรายถูกฟันจนเสื้อขาดและบางรายถูกยิงจนเสื้อเป็นรูทะลุแต่จุดที่ถูกฟันและถูกยิงเป็นเพียง “รอยจ้ำ” ช้ำแดงเท่านั้น

นอก จากนี้พระหูยานรุ่นปืนแตกนี้ ได้ปรากฏปาฏิหาริย์ ช่วยเหลือ บรรดาทหารที่อาสาสมัครไปร่วมรบ ในสมรภูมิเวียดนามรอดชีวิตกลับมาเป็นที่ร่ำลือว่าบรรดาเซียนพระหลายราย ก็มีการบอกเล่ากันต่อ ๆ มาว่า พระหูยาน จ.ป.ร. นี้มีพุทธคุณเข้มขลัง มาก






Create Date : 09 พฤษภาคม 2556
Last Update : 10 พฤษภาคม 2556 12:41:51 น.
Counter : 5491 Pageviews.

1 comments
  
พระหูยาน หลัง จปร. รุ่นปืนแตก ปี13 เนื้อนวะแก่เงิน พระหูยานจุฬาลงกรณ์ (จ.ป.ร.) จำนวนสร้าง นวะโลหะ 5,000 องค์ , ทองแดง 200,000 องค์

“พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช” ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเททองเป็น "ปฐมฤกษ์" ในวันที่ 9 มีนาคม พุทธศักราช 2513 โดยทรงประกอบพิธีเททองหล่อ “พระกริ่งจุฬาลงกรณ์เนื้อทองคำ” เป็นปฐมฤกษ์ และ “ทองชนวน” ที่เหลือนั้นช่างได้นำไปผสมผสานกับเนื้อโลหะที่สร้าง “วัตถุมงคล” ทุกชนิดจนครบตามจำนวนที่กำหนดไว้แล้วตกแต่งให้สวยงาม โดยใช้ระยะเวลาในการดำเนินการประมาณ “9 เดือน” จึงแล้วเสร็จจากนั้นทางวัดจึงกำหนดประกอบพิธี “มหาพุทธาภิเษก” เป็นเวลา “3 วัน 3 คืน” คือระหว่างวันที่ 29-30-31 มกราคม พ.ศ. 2514 โดย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงมีพระมหากรุณา ธิคุณโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธี “จุดเทียนชัย” ในวันศุกร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2514 อันเป็นวันครบรอบวันสถาปนา “วัดราชบพิธฯ” ครบ “101 ปี กับ 2 วัน
อนึ่ง นับเป็นวาระ “อันพิเศษยิ่ง” ที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช มหาราช ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าฯ แก่ “วัดราชบพิธฯ” ยิ่งนักเพราะตามบันทึกของวัดนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช มหาราช ได้เสด็จพระราชดำเนินมายัง “พิธีพุทธาภิเษก” วัตถุมงคลฉลอง “100 ปี” ที่วัดราชบพิธฯ ถึง “2 วัน” ด้วยกันคือ
วันศุกร์ที่ 29 มกราคม 2514 อันเป็นวันเริ่มพิธี “มหาพุทธาภิเษก” ได้เสด็จฯ ทรงจุด “เทียนชัยพุทธาภิเษก, เทียนมหามงคล” และ “เทียนนวหรคุณ” ในเวลา 16.05 น.
วันอาทิตย์ที่ 31 มกราคม 2514 เวลา 24.00 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จฯ ในพิธีมหาพุทธาภิเษกและทรง “พระสุหร่าย, ทรงเจิมปูชนียวัตถุ, ทรงโปรยข้าวตอกดอกไม้” จึงนับเป็น “กรณีพิเศษยิ่ง” ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จฯ ทรงประกอบพิธีมหาพุทธาภิเษกเป็นเวลาถึง “2 วัน”
นอกเหนือจากทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ในพิธี “เททอง” เป็นปฐมฤกษ์เมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2513แล้ว ดังนั้น “วัตถุมงคล” ชุด “ฉลอง 100 ปี วัดราชบพิธฯ” นี้จึงเป็นวัตถุมงคลที่ถึงพร้อมด้วย “พระพุทธคุณ, พระธรรม คุณ, พระสังฆคุณ” และ “พระมหากษัตริยาธิคุณ” ของ “พระมหากษัตริย์” ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐแก่ประเทศไทยถึง “2 พระองค์” ด้วยกันคือ “รัชกาลที่ 5” และ“รัชกาลที่ 9” อย่างเปี่ยมล้นยิ่งนัก.
-----------------------------------------------
พระหูยาน ออกแบบโดยนายช่าง เกษม มงคลเจริญ สร้างในปี 2513 ในวาะครบ 100 ปี วัดราชบพิธฯ ในหลวงเสด็จพระราชดำเนิน ประกอบพิธีถึง 3 ครั้ง พิธีมหาพุทธาภิเษก 3 วัน 3 คืน โดยพระคณาจารย์ 108 รูป ซึ่งล้วนเเต่เป็นพระคณาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังด้านพุทธคมในยุคนั้นทั้ง สิ้นที่รับนิมนต์มานั่งปรกปริกรรมเจริญภาวนาโดยผลัดเปลี่ยนกันมาร่วมพิธีใน เเต่ละวันดังนี้
1. วันศุกร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2514
ระหว่างเวลา 16.30 - 20.00 น. คือ
1.) พระเทพสังวรวิมล (เจียง) วัดเจริญสุขาราม จ.สมุทรสงคราม
2.) พระราชธปรมากรณ์ (เงิน) วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม
3.) พระศูพิพิธวิหารการ (หลวงพ่อเทียม) วัดกษัตราธิราช จ.พระนครศรีอยุธยา
4.) หลวงพ่อกี วัดหูช้าง จ.นนทบุรี
5.) พระครูโสภณพัฒนกิจ วัดอัมพวา บางกอกน้อย ธนบุรี กรุงเทพฯ
6.) พระครูสุทธิการี (หลวงพ่อทองอยู่) วัดใหม่หนองพะอง จ.สมุทรสาคร
7.) พระครูโพธิสารประสาธน์ (บุญมี) วัดโพธิ์สัมพันธ์ จ.ชลบุรี
8.) พระครูอุภัยภาดาทร (หลวงพ่อขอม) วัดโพธาราม (วัดไผ่โรงวัว) จ.สุพรรณบุรี
9.) พระครูนนทกิจวิมล (หลวงพ่อชื่น) วัดตำหนักเหนือ จ.นนท บุรี
10.) พระครูสมุห์อำพล วัดประสาทบุญญาวาส กรุงเทพฯ
11.) พระอาจารย์อรุณ วัดตะล่อม ธนบุรี กรุงเทพฯ
12.) พระครูสมุห์สำรวย วัดกษัตราธิราช จ.พระนครศรีอยุธยา
เวลา 20.00 - 22.00 น.
1.) พระราชสุทธาจารย์ (โชติ ระลึกชาติ) วัดวชิราลงกรณ์จ.นครราชสีมา
2.) พระนิโรธรังสีคัมภีร์เมธาจารย์ (หลวงปู่เทสก์ เทสโก) วัดหินหมากเป้ง จ.หนองคาย
3.) พระอินทสมาจารย์ (เงิน อินทสโร) วัดอินทรวิหาร กรุงเทพฯ
4.) พระครูสภาพรพุทธมนต์ (สำเนียง อยู่สถาพร) วัดเวฬุวนาราม จ.นครปฐม
5.) พระครูกัลป์ยานุกูล (เฮง) วัดกัลยาณมิตร ธนบุรี กรุงเทพฯ
6.) พระครูภาวนาภิรม วัดปากน้ำภาษีเจริญ ธนบุรี กรุงเทพ
7.) พระครูประภัสสรศีลคุณ (เอก) วัดไผ่ดำ จ.สิงห์บุรี
8.) พระครูสมุห์หิน วัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพฯ
9.) หลวง พ่อใหญ่อภินันโท (จุล) วัดถ้ำคูหาสวรรค์ จ.ลพบุรี
10.) พระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ วัดป่านิโศธาราม จ.อุดรธานี
11.) พระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโน (พระธรรมวิสุทธิมงคล) วัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี
12.) พระครูใบฎีกาสมาน (หลวงพ่อเณร) วัดพรพระร่วง กรุงเทพฯ,
เวลา 22.00 - 24.00 น.
1.) พระราชวตาจารย์ วัดมกุฏกษัตริยาราม กรุงเทพฯ
2.) พระญาณโพธิ (เข็ม) วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพฯ
3.) พระวิเชียรมุนี วัดอินทราม กรุงเทพฯ
4.) พระพุทธมนต์วราจารย์ (สุพจน์) วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพฯ
5.) พระโสภณมหาจารย์ วัดดาวดึงนาราม กรุงเทพฯ
6.) พระครูพิบูลมงคล วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพฯ
7.) พระมงคลสุรี วัดนาคกลาง กรุงเทพฯ
8.) พระครูปลัดสงัด วัดโพธิ์ท่าเตียน กรุงเทพฯ
9.) พระครูวินัยธร (เดช) วัดสระเกศฯ กรุงเทพฯ
10.) พระปลัดมานพ วัดชิโนรสราม กรุงเทพฯ
11.) พระมหาวาส วัดปทุมวนาราม กรุงเทพฯ
12.) พระอาจารย์ผ่อง จินดา วัดจักรวรรดิ (สามปลื้ม) กรุง เทพฯ,
พระสวดพุทธาภิเษก
ระหว่างเวลา 16.30 - 21.00 น. จำนวน 4 รูป จากวัดสุทัศนเทพวราราม,
ระหว่าง เวลา 21.00 - 24.00 น. จำนวน 4 รูป จากวัดบวรนิเวศวิหาร
2.วันเสาร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2514
เวลา 18.00 - 20.00 น.
1.) พระธรรมวราลังการ วัดบุปผาราม ธนบุรี กรุงเทพฯ,
2.) พระโพธิวรคุณ (ไพฑูรย์) วัดโพธิ์นิมิต กรุงเทพฯ,
3.) พระครูสีลวิสุทธาจารย์ วัดสง่างาม จ.ปราจีนบุรี
4.) พระครูประภัศระธรรมาภรณ์ (หลวงพ่อแต้ม) วัดพระลอย จ.สุพรรณบุรี
5.) พระครูประสิทธิสารคุณ (พ้น) วัดอุบลวรรณาราม จ.ราชบุรี
6.) พระครูสังฆวฒาจารย์ (หลวงปู่เย่อ) วัดอาฬาสงคราม จ.สมุทรปราการ
7.) พระอาจารย์หนู วัดบางกะดี่ กรุงเทพฯ
8.) พระอาจารย์มงคล (กิมไซ) วัดป่าเกตุ จ.สมุทรปราการ
9.) พระครูสมุห์ทองคำ วัดเสาธงทอง จ.ลพบุรี
10.) พระอาจารย์สมภพ เตชบุญโญ วัดสาลีโขภิรตาราม จ.นนทบุรี
11.) พระอาจารย์ยาน วัดถ้ำเขาหลักไก่ จ.ราชบุรี,
12.) พระอาจารย์บุญกู้ วัดอโศกตาราม จ.สมุทรปราการ
เวลา 20.00 - 22.00 น.
1.) พระสุนทรธรรมภาณ วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ
2.) พระครูโสภณกัลป์นาณวัตร (เส่ง) วัดกัลยาณมิตร กรุงเทพฯ
3.) พระครูวรพรตศีลขันธ์ (แฟ้ม) วัดป่าอรัญศิกาวาส จ.ชลบุรี
4.) พระครูปสาธน์วิทยาคม (หลวงพ่อนอ) วัดกลางท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา
5.) พระอาจารย์บุญเพ็ง วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ
6.) พระอาจารย์สุวัจน์ วัดป่าภูธรพิทักษ์ จ.สกลนคร
7.) พระอาจารย์วัน วัดป่าอภัยวัน (ภูเหล็ก) จ.สกลนคร
8.) พระอาจารย์สุพัฒน์ วัดบ้านใต้ จ.สกลนคร
9.) พระอาจารย์ทองสุข วัดถ้ำเจ้าภูเขา จ.สกลนคร
10.) พระอาจารย์ฟัก สันติธัมโม วัดเขาน้อยสามผา จ.จันทบุรี
11.) พระอาจารย์ดวน วัดมเหยงค์ จ.นครศรีธรรมราช
12.) พระอาจารย์สอาด วัดสัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ
เวลา 22.00 - 24.00 น.
1.)พระเทพเมธากร วัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพฯ
2.) พระราชวรญาณมุนี นุภพศิริมาตราม กรุงเทพฯ
3.) พระปัญญาพิศาลเถระ วัดราชประดิษฐ์ กรุงเทพฯ
4.) พระครูโสภณสมาธิวัตร วัดเจ้ามูล ธนบุรี กรุงเทพฯ
5.) พระครูวิริยะกิตติ (หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี) ธนบุรี กรุงเทพฯ
6.) พระครูพิชัย ณรงค์ฤทธิ์ วัดสิตาราม กรุงเทพฯ
7.) พระครูปลัดถวิล วัดยางระหงษ์ จ.จันทบุรี
8.) พระอธิการพัตน์ วัดเเสนเกษม กรุงเทพฯ
9.) พระอาจารย์เชื้อ หนูเพชร วัดสะพานสูง กรุงเทพฯ
10.) พระอาจารย์รัตน์ วัดปทุมคงคา กรุเทพฯ
11.) พระครูสังฆรักษ์ (กาวงค์) วัดป่าดาราภิรมย์ จ.เชียงใหม่
12.) พระอาจารย์นำ วัดดอนศาลา จ.พัทลุง (พระอาจารย์ในหลวง)
โดยมีพระสวดพุทธาภิเษก
เวลา 18.00 - 21.00 น. พระภิกษุ 4 รูป จากวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
เวลา 21.00 - 24.00 น. จากวัดราชประดิษฐ์
3.ส่วนวันอาทิตย์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2514
ก็ล้วนเเต่เป็น “พระคณาจารย์” ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิทยาคมแห่งยุคซึ่งส่วนใหญ่ได้ “มรณภาพ” แล้ว รวม 3 วัน “ครบถ้วน 108 รูป”
________________________________________
วัตถุมงคล ‘ฉลอง 100 ปีวัดราชบพิธฯ’ ปี 2513
ในหลวงเสด็จฯ ทรงประกอบพิธีเททองเป็น “ปฐมฤกษ์” และเจือด้วย “โลหะวัตถุมงคลรุ่นเก่าของวัดราชบพิธฯ” และ “แผ่นโลหะลงอักขระ” ของพระคณาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณทั่วพระราชอาณาจักร “108 รูป”
ดังนั้นในศุภวาระมหามงคลดิถีพิเศษนี้ “ท่าน เจ้าประคุณสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (วาสนมหาเถระ)” สมเด็จพระสังฆราชลำดับที่ 18 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (พ.ศ. 2517 - 2531) ครั้งยังทรงดำรงพระ สมณศักดิ์ที่ “สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์” และทรงเป็น “เจ้าอาวาสวัดราชบพิธฯ” ได้ร่วมกับ “กระทรวงมหาดไทย” ซึ่งขณะนั้น “จอมพลประภาส จารุเสถียร” (ครั้งครองยศพลเอก) รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในขณะนั้นเป็นประธานกรรมการ อำนวยการจัดงานสมโภช จึงได้ตั้งคณะกรรมการจัดหาทุนสำหรับบูรณปฏิสังขรณ์วัดราชบพิธฯ โดยจัดสร้าง “ปูชนียวัตถุ” หลายชนิดเพื่อสมนาคุณแก่ผู้บริจาคทรัพย์ในการปฏิสังขรณ์และโดยที่ “วัดราชบพิธฯ” เป็นพระอารามที่ “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5” ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สถาปนาเป็น “วัดประจำรัชกาล” จึงได้กราบบังคมทูลขอพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตอัญเชิญ “ตราสัญลักษณ์” พระปรมาภิไธยย่อ “จ.ป.ร.” ประดิษฐานไว้ที่ปูชนียวัตถุที่สร้างขึ้นเป็นพิเศษในครั้งนี้ วัตถุมงคล ‘ฉลอง 100 ปีวัดราชบพิธฯ’ อีกหนึ่ง ‘ของดี’ ที่ถูกซ่อนเร้น ซึ่งท่าน เจ้าประคุณ “สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์” (วาสนมหาเถระ) ทรงเป็นประธานกรรมการดำเนินงานจัดทำของที่ระลึก โดยได้ปรึกษาหารือกับกรรมการท่านอื่น ๆ หลายครั้งเพื่อให้ปูชนียวัตถุที่สร้างในวาระอัน เป็นพิเศษครั้งนี้ “อุดมไปด้วย สิริมงคล” จึงได้จัดหาแผ่นทองถวาย “พระอาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณ” ทั่วพระราชอาณาจักรลง “อักขระเลขยันต์” พร้อมปลุกเสกตามถนัดของแต่ละท่าน เพื่อนำมาหลอมหล่อเจือปนในปูชนียวัตถุที่จะสร้างขึ้นโดยมีรายนาม “พระอาจารย์” รูปสำคัญ ๆ ดังนี้
“หลวงปู่ โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี, หลวงปู่เทียม วัดกษัตรา, หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม, หลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ, หลวงพ่อพรหม วัดขนอนเหนือ, หลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา, หลวงพ่อเกษมเขมโก สำนักสุสานไตรลักษณ์, หลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ, พระอาจารย์นำแก้วจันทร์ วัดดอนศาลา, หลวงพ่อมุม วัดปราสาทเยอร์เหนือ, หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่, หลวงพ่อขอม วัดไผ่โรงวัว, หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี, พระอาจารย์ทิม วัดช้างให้, หลวงพ่อนอง วัดทรายขาว, หลวงพ่อคร่ำ วัดวังหว้า, หลวงพ่อทองอยู่ วัดใหม่หนองพะอง, หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลยก์, หลวงพ่อเต๋คงทอง วัดสามง่าม, หลวงพ่อนารถ วัดศรีโลหะ บำรุง ฯลฯ” และคณาจารย์รูปอื่น ๆ จำนวน 108 รูป
ซึ่งพระคณาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณทั่วพระ ราชอาณาจักรตามรายนามข้างต้นก็ได้ “มรณภาพ” ไปแล้วได้ทำการลงอักขระในแผ่นยันต์ “108 แผ่น” เพื่อให้เป็นชนวนมวลสารอันศักดิ์สิทธิ์ผสมผสานในวัตถุมงคลชุดนี้โดยแต่ละ ท่านได้ “ตั้งใจ” ทำกันอย่างเต็มที่เพราะถือเป็น “งานใหญ่” ที่นาน ๆ จะมีขึ้นสักครั้งในยุคนั้นโดย
“วัตถุมงคล” ทั้งหมด อันได้แก่
1.พระพุทธอังดีรสจำลอง จำนวนสร้าง รมดำ,กะไหล่ทอง(ทำน้อยกว่า) 513 องค์
2.พระพุทธ รูปบูชาศิลปะไทยประยุกต์แบบคุปตะ จำนวนสร้าง รมดำ,กะไหล่ทอง 5,526 องค์
3.พระกริ่งจุฬาลงกรณ์ จำนวนสร้าง ทองคำ 1,000 องค์ , นวะโลหะ 5,000 องค์
4.พระชัยวัฒน์จุฬาลงกรณ์ จำนวนสร้าง นวะโลหะ 5,000 องค์
5.พระหูยานจุฬาลงกรณ์ (จ.ป.ร.) จำนวนสร้าง นวะโลหะ 5,000 องค์ , ทองแดง 200,000 องค์
6.พระบรมรูปรัชกาลที่ 5 ครึ่งพระองค์ จำนวนสร้าง โลหะผสม 513 องค์
7.เหรียญพระบรมรูปรัชกาลที่ 5 จำนวนสร้าง ทองคำ 209 เหรียญ , ทองแดง 100,000 เหรียญ
8.แหวนมงคล 9 ที่สร้างขึ้นในวาระ “อันเป็นพิเศษ” เดียวกันนี้ จำนวนสร้าง ทองคำ 1,000 วง , เงิน 20,000 วง
“พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช” ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเททองเป็น “ปฐมฤกษ์” ในวันที่ 9 มีนาคม พุทธศักราช 2513 โดยทรงประกอบพิธีเททองหล่อ “พระกริ่งจุฬาลงกรณ์เนื้อทองคำ” เป็นปฐมฤกษ์และ “ทองชนวน” ที่เหลือนั้นช่างได้นำไปผสมผสานกับเนื้อโลหะที่สร้าง “วัตถุมงคล” ทุกชนิดจนครบตามจำนวนที่กำหนดไว้แล้วตกแต่งให้สวยงาม โดยใช้ระยะเวลาในการดำเนินการประมาณ “9 เดือน” จึงแล้วเสร็จจากนั้นทางวัดจึงกำหนดประกอบพิธี “มหาพุทธาภิเษก” เป็นเวลา “3 วัน 3 คืน” คือระหว่างวันที่ 29-30-31 มกราคม พ.ศ. 2514 โดย พระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงมีพระมหากรุณา ธิคุณโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธี “จุดเทียนชัย” ในวันศุกร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2514 อันเป็นวันครบรอบวันสถาปนา “วัดราชบพิธฯ” ครบ “101 ปี” กับ 2 วัน อนึ่งนับเป็นวาระ “อันพิเศษยิ่ง” ที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช มหาราช ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าฯ แก่ “วัดราชบพิธฯ” ยิ่งนักเพราะตามบันทึกของวัดนั้น
พระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช มหาราช ได้เสด็จพระราชดำเนินมายัง “พิธีพุทธาภิเษก” วัตถุมงคลฉลอง “100 ปี” ที่วัดราชบพิธฯ ถึง “2 วัน” ด้วยกันคือ
“วันที่ 29 มกราคม 2514” อันเป็นวันเริ่มพิธี “มหาพุทธาภิเษก” ได้เสด็จฯ ทรงจุด “เทียนชัยพุทธาภิเษก, เทียนมหามงคล” และ “เทียนนวหรคุณ” ในเวลา 16.05 น.
และในวันอาทิตย์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2514 เวลา 24.00 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จฯ ในพิธีมหาพุทธาภิเษกและทรง “พระสุหร่าย, ทรงเจิมปูชนียวัตถุ, ทรงโปรยข้าวตอกดอกไม้”
จึงนับเป็น “กรณีพิเศษยิ่ง” ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จฯ ทรงประกอบพิธีมหาพุทธาภิเษกเป็นเวลาถึง “2 วัน” นอกเหนือจากทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ในพิธี “เททอง” เป็นปฐมฤกษ์เมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2513 แล้วดังนั้น “วัตถุมงคล” ชุด “ฉลอง 100 ปี วัดราชบพิธฯ” นี้จึงเป็นวัตถุมงคลที่ถึงพร้อมด้วย “พระพุทธคุณ, พระธรรม คุณ, พระสังฆคุณ” และ “พระมหากษัตริยาธิคุณ” ของ “พระมหากษัตริย์” ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐแก่ประเทศไทยถึง “2 พระองค์” ด้วยกันคือ “รัชกาลที่ 5” และ“รัชกาลที่ 9” อย่างเปี่ยมล้นยิ่งนัก.
โดย: thaithinker วันที่: 5 ธันวาคม 2559 เวลา:15:22:00 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

thaithinker
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



กตัญญู ขยัน ซื่อสัตย์
เป็นคุณธรรมพื้นฐาน ของการดำเนินชีวิต
ที่เราทุกคนเกิดมาเป็นคน
พึงรักษาไว้








JAVA counter clicks
พฤษภาคม 2556

 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog