สาระน่ารู้เกี่ยวกับ แอร์บ้าน และระบบไฟฟ้าในบ้าน
Group Blog
 
 
พฤศจิกายน 2552
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
 
4 พฤศจิกายน 2552
 
All Blogs
 

เทคนิค วิธีตรวจเช็คคาปาซิเตอร์(คาปาซิเตอร์แอร์)







บทความฉบับนี้ขอพูดในเรื่องของการตรวจเช็คคาปาซิเตอร์ ซึ่งก็คืออุปกรณ์ทางไฟฟ้าอย่างหนึ่ง ที่มีอยู่ในเครื่องทำความเย็นและแอร์ แต่ก่อนจะไปถึงขั้นตอนการตรวจเช็คขออธิบายในเกี่ยวกับรายละเอียดของคาปาซิเตอร์ที่ใช้ในแอร์กันก่อน


คาปาซิเตอร์ (Capacitor) ในภาษาช่างมักนิยมเรียกสั้นๆว่า แค๊ป (Cap) หรือคาปา 

แต่ในชื่อภาษาไทยได้ถูกบัญญัติไว้ว่า "ตัวเก็บประจุ" ซึ่งหน้าที่หลักของคาปาซิเตอร์ ก็เหมือนดังชื่อของมันคือมีหน้าที่เก็บประจุไฟฟ้า ในกรณีของคาปาซิเตอร์ที่ใช้กับเครื่องทำความเย็นนั้นตัวคาปาซิเตอร์จะทำหน้าที่เป็นตัวเก็บประจุไฟฟ้ากระแสสลับและจะจ่ายประจุไฟฟ้าที่เก็บสะสมให้กับโหลดประเภทมอเตอร์เพื่อเพิ่มอำนาจแม่เหล็กทำให้มีแรงบิดสตาร์ทเพิ่มขึ้น

เพราะในระบบเครื่องทำความเย็นที่ใช้มอเตอร์คอมเพรสเซอร์ซึ่งมีกำลังแรงม้าสูง หากเป็นมอเตอร์ที่ใช้ระบบไฟฟ้า 1 เฟส การสตาร์ทออกตัวด้วยตัวของมันเอง อาจจะไม่สามารถทำได้ จำเป็นต้องมีคาปาซิเตอร์เพื่อช่วยในการเริ่มเดินมอเตอร์ เพิ่มแรงบิดให้มอเตอร์คอมเพรสเซอร์เริ่มหมุน  



ส่วนประกอบของคาปาซิเตอร์ หลักๆจะมีอยู่ 3 ส่วนคือ

1. แผ่นโละ ซึ่งเป็นแผ่นโลหะประเภทอะลูมิเนียม จำนวน แผ่นวางอยู่ใกล้กันมีฉนวนหุ้มอยู่
2. ฉนวน ทำมาจากกระดาษชุบด้วยน้ำยาเคมีที่เรียกว่า น้ำยาอิเล็กโทรไลต์
3. วัสดุห่อหุ้ม(เปลือกนอก) ทำหน้าที่เป็นตัวสำหรับบรรจุชิ้นส่วนภายใน

ในตัวคาปาซิเตอร์ จะมีค่าความต้านทานของตัวมันเองอยู่ และมีค่าความจุในการเก็บสะสมประจุไฟฟ้า มีหน่วยเป็น "ไมโครฟาราด" (Microfarad =µFD) ซึ่งสามารถเขียนเทียบได้โดย 1 Farad (FD) = 10^6 µFD



สำหรับคาปาซิเตอร์ที่ใช้งานในระบบเครื่องทำความเย็นและแอร์ จำแนกได้เป็น ชนิด คือ
คาปาซิเตอร์สตาร์ท,แคปสตาร์ท (Starting Capacitor) และ คาปาซิเตอร์รัน,แคปรัน (Running Capacitor) โดยการนำคาปาซิเตอร์ทั้งสองชนิดนี้มาต่อใช้งาน จะมีวัตถุประสงค์การนำไปใช้งานที่แตกต่างกัน ขึ้นกับขนาดและของมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ 


การแยกชนิดของคาปาซิเตอร์ที่ใช้ในงานระบบเครื่องทำความเย็นและแอร์ จะใช้การแยกโดยดูที่ลักษณะภายนอกเป็นหลัก ซึ่งมีหลักในการจำง่ายๆ นั่นคือ
คาปาซิเตอร์สตาร์ท (Starting Capacitor) เปลือกหุ้มเป็นพลาสติกมีสีดำ ค่าความจุสูง ค่าทนแรงดันต่ำ
คาปาซิเตอร์รัน (Runnin Capacitor) เปลือกหุ้มเป็นโลหะมีสีเงิน ค่าความจุต่ำ ค่าทนแรงดันสูง 






การตรวจสอบคาปาซิเตอร์

ในส่วนการตรวจสอบหรือตรวจเช็คคาปาซิเตอร์ โดยทั่วไปแล้วที่นิยมใช้กันในเวลาปฏิบัติงานจริงจะมี วิธี ได้แก่


วิธีที่ 1 คือการทดสอบโดยใช้มัลติมิเตอร์ สามารถแยกออกได้อีกสองรูปแบบคือ ใช้มัลติมิเตอร์แบบอนาล็อก(มิเตอร์แบบเข็ม) และ ใช้มัลติมิเตอร์แบบดิจิตอล



1.1 การตรวจสอบคาปาซิเตอร์โดยใช้มัลติมิเตอร์อนาล็อก(มิเตอร์แบบเข็ม)

การตรวจสอบ โดยมัลติมิเตอร์อนาล็อก(มิเตอร์แบบเข็ม) ให้ปรับย่านวัดไปที่ ค่าความต้านทาน R x 1K แล้วนำปลายสายของมิเตอร์มาจี้ที่ขั้วทั้ง 2 ของคาปาซิเตอร์ ถ้าคาปาซิเตอร์ใช้งานได้เข็มของมิเตอร์จะสวิงชี้ขึ้นมาในระดับครึ่งสเกล แล้วเข็มจะค่อยๆตกลง ถือว่าคาปาซิเตอร์ยังใช้งานได้ แต่ถ้าคาปาซิเตอร์ ขาดเมื่อวัดแล้วเข็มจะไม่กระดิกขึ้นเลย 

และหากในกรณีที่คาปาซิเตอร์ตัวนั้นลัดวงจรภายใน เมื่อวัดด้วยมิเตอร์อนาล็อก เข็มบนหน้าปัดของมิเตอร์ จะสวิงชี้ขึ้นจนสุดสเกล (ถึงเลข 0) หรือเต็มสเกล ซึ่งก็แสดงว่าคาปาซิเตอร์อันนั้นลัดวงจรภายใน




1.2 การตรวจสอบโดยใช้มัลติมิเตอร์แบบดิจิตอล

ปัจจุบันมัลติมิเตอร์แบบดิจิตอล เริ่มเข้ามามีบทบาทมากในแวดวงงานช่างไฟฟ้า เนื่องจากมีการแสดงค่าที่แม่นยำในระดับจุดทศนิยม และใช้งานง่ายกว่ามากเมื่อเทียบกับมัลติมิเตอร์แบบอนาล็อก อีกทั้งรูปทรงของมัลติมิเตอร์แบบดิจิตอลในปัจจุบันก็มีให้เลือกหลากลาย ตั้งแต่ขนาดเล็กกระทัดรัดไปจนถึงขนาดใหญ่ รวมทั้งฟังก์ชั่นการทำงานที่ถูกพัฒนาให้วัดค่าทางไฟฟ้าได้หลากหลายในเครื่องเดียว 

และที่สำคัญ...ราคาค่าตัวของมัลติมิเตอร์ในปัจจุบัน ก็มีการปรับลดราคาลงมาอยู่ในระดับที่ไม่แพงเหมือนในอดีต ทำให้สามารถหาซื้อมาใช้พกพาออกไปใช้งานนอกสนามแบบสมบุกสมบันได้โดยไม่ต้องเสียดาย 

หรือสำหรับท่านใดที่ไม่ได้อยู่ในแวดวงสายงานไฟฟ้า แต่มักจะซ่อมแซมเครื่องมือเครื่องใช้ในบ้านด้วยตนเองอยู่บ่อยครั้ง การจะจะซื้อมัลติมิเตอร์แบบดิจิตอลไว้ติดบ้านสักเครื่อง ก็มีประโยชน์ไม่ใช่น้อย

วิธีการตรวจเช็คคาปาซิเตอร์โดยใช้มัลติมิเตอร์แบบดิจิตอล ก็ไม่อยาก เพราะมิเตอร์แบบดิจิตอลหลายๆรุ่นที่วางขาย ต่างก็มีฟังก์ชั่นสำหรับวัดค่าความจุคาปาซิเตอร์มาให้พร้อม เพียงแค่กดเปลี่ยนโหมดมาเป็นโหมดวัดค่าความจุคาปาซิเตอร์ แล้วเอาสายวัดทั้งสองของมิเตอร์ไปแตะกับขั้วทั้งสองของคาปาซิเตอร์ 

ถ้าคาปาซิเตอร์ยังดีอยู่บนหน้าจอก็จะแสดงตัวเลขค่าความจุของคาปาซิเตอร์มาให้ ถ้าไม่แสดงก็แปลว่าคาปาซิเตอร์ขาด หรือถ้าแสดงค่าเป็นอินฟินิตี้ (Infinity) แสดงว่าคาปาซิเตอร์อันนั้น...ลัดวงจร





วิธีที่ 2 คือการการชาร์จประจุให้โดยตรง โดยการจ่ายแรงดันไฟฟ้าเข้า 220 โวลต์ เข้าไป เพื่อดูความสามารถในการกักเก็บประจุไฟฟ้าของคาปาซิเตอร์

แต่ต้องขอบอกไว้ก่อนว่าวิธีนี้ หากท่านใดที่ไม่มีความรู้ความชำนาญทางด้านงานช่างไฟฟ้า ก็ขอให้ข้ามวิธีนี้ไปได้เลย อ่านเพื่อเป็นความรู้ได้ แต่ไม่แนะนำให้ทำตาม เพราะอาจได้รับอันตรายจากไฟฟ้าได้

โดยวิธีนี้ก็คือการชาร์จประจุ จ่ายไฟจากแหล่งจ่าย 220 โวลต์ เข้าสู่คาปาซิเตอร์ ซึ่งพูดให้เห็นภาพก็คือ การนำขั้วของคาปาซิเตอร์ 2 ขั้ว แต่ละขั้วมาต่อเข้ากับสายไฟหรือแหล่งจ่ายไฟ โดยต่อขั้วคาปาซิเตอร์เข้ากับ L และ N โดยอาจจะเป็นสายไฟฟ้าที่เสียบมาจากเต้ารับ เป็นการจ่ายแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับ 220 โวลต์ เข้าไปที่คาปาซิเตอร์โดยตรง ในระยะเวลาสั้นๆ (แค่ 5 - 10 วินที) แล้วดึงสายออกจากแหล่งจ่ายไฟ

โดยในทางทฤษฏี นี่ก็คือการชาร์จประจุให้กับคาปาซิเตอร์นั่นเอง

แต่สิ่งที่ควรระมัดระวังหลังจากที่ชาร์จประจุให้คาปาซิเตอร์แล้ว คืออย่าเผลอจับที่ขั้วคาปาซิเตอร์เด็ดขาด เพราะมันมีประจุไฟฟ้าที่แรงดันพอๆกับไฟบ้านเก็บอยู่ ถ้าเผลอไปจับอาจได้รับบาดเจ็บได้ และก่อนจะหยิบจับคาปาซิเตอร์ไปใช้งาน ต้องไม่ลืมทำการคายประจุด้วยหลอดใส้หรือไม่ก็ลัดวงจรที่ขั้วคาปาซิเตอร์เสียก่อน เพื่อคายประจุที่สะสมอยู่ออกมาให้หมด


และการทดสอบคาปาซิเตอร์หลังจากที่ชาร์จประจุเข้าไปแล้ว ก็คือการคายประจุออกมาจากคาปาซิเตอร์ โดยนำสายทั้ง เส้นของคาปาซิเตอร์มาต่อเข้ากับหลอดไฟ ชนิดหลอดไส้ (incandescent) ขนาด 25-40 วัตต์ หากไส้หลอดไฟสว่างขึ้นมา ก็แสดงว่าคาปาซิเตอร์ตัวนั้นยังคงมีสภาพดีอยู่ สามารถเก็บประจุและคายประจุออกมาได้ แต่ถ้าไส้หลอดไม่มีอาการตอบสนอง ก็เป็นไปได้ว่าคาปาซิเตอร์ตัวนั้นไม่สามารถเก็บประจุได้อีกแล้ว




และหากพูดถึงการตรวจเช็คในหน้างานจริง การลงไปตรวจเช็คแอร์ที่ตรงหน้างานจริงก็อาจจะมีข้อจำกัดด้านอุปกรณ์ ช่างแอร์ยุคก่อนๆจึงมักจะใช้วิธีลัด เพื่อคายประจุให้กับคาปาซิเตอร์ ซึ่งก็คือการเอาปลายสายของคาปาซิเตอร์ที่ชาร์จประจุเสร็จมาแตะกันเพื่อลัดวงจร หรือใช้ปลายไขควงลัดวงจรระหว่างขั้วของคาปาซิเตอร์ ซึ่งถ้าหากคาปาซิเตอร์ยังดีอยู่คือสามารถเก็บประจุได้ เมื่อลัดวงจรขั้วคาป่าซิเตอร์ก็จะมีประกายไฟแลบออกมาให้เห็น แต่ถ้าหากเอาปลายสายมาแตะกันหรือลัดวงจรด้วยปลายไขควงแล้ว ไม่มีอะไรเกิดขึ้นเลย ก็แสดงว่าคาปาซิเตอร์ตัวนั้นขาดไปแล้ว

ซึ่งการทดสอบโดยการชาร์จประจุให้คาปาซิเตอร์โดยตรง ในบางครั้งถ้าบังเอิญไปเจอเอาคาปาซิเตอร์ที่มีการลัดวงจรภายใน และเราดูภายนอกอาจไม่รู้ว่ามันลัดวงจรด้านใน แต่เมื่อนำคาปาซิเตอร์มาต่อเข้าแหล่งจ่ายไฟ 220 โวลต์ เพื่อชาร์จประจุ ก็จะเกิดการลัดวงจรทันที และส่งผลให้เบรกเกอร์หรือฟิวส์ที่แผงสวิทช์ก็ตัดไฟทันที อันนี้ก็ควรระมัดระวังเพราะอาจจะทำให้ตกใจและอาจจะเป็นอันตรายได้ 

ดังนั้นการชาร์จประจุด้วยแรงดันไฟฟ้า 220 โวลต์ จึงเป็นวิธีแบบลัดที่อาจจะไม่ค่อยปลอดภัยสักเท่าไหร่ หากเลี่ยงได้ก็ควรเลี่ยง


หากพูดกันตามหลักการ สำหรับการคายประจุด้วยวิธีการลัดวงจรขั้วคาปาซิเตอร์ เป็นวิธีการที่อาจจะไม่ถูกต้องสักเท่าไหร่ อีกทั้งยังเป็นวิธีที่ไม่ค่อยปลอดภัย ซึ่งถ้าใครจะเรียกว่าวิธีมักง่าย ก็คงไม่ผิด ซึ่งผู้เขียนเองก็ไม่สนับสนุนให้วิธีการชาร์จประจุแล้วทำการลัดวงจรขั้วคาปาซิเตอร์โดยตรง เพราะอาจจะเป็นอันตรายได้
ซึ่งที่นำวิธีดังกล่าวมาบอกเล่ากันในบทความนี้ก็เพื่อเป็นความรู้เท่านั้น โดยเพื่อให้รู้ว่ายังมีวิธีนี้ถูกใช้งานจริงอยู่ แต่ก็ไม่สนับสนุนให้ทำตาม



การทดสอบคาปาซิเตอร์ตามวิธีการที่ได้กล่าวมานี้ คือวธีการทดสอบที่นิยมทำกันในวงการช่างแอร์ ใช้เพื่อทดสอบคาปาซิเตอร์ที่มีในเครื่องทำความเย็นและเครื่องปรับอากาศเป็นหลัก ซึ่งการทดสอบตรวจเช็คคาปาซิเตอร์ วิธีที่ปลอดภัยสุดก็คือการใช้มัลติมิเตอร์เป็นตัววัดทดสอบ ซึ่งการใช้งานจริงถ้าหากมีมิเตอร์อยู่แล้วก็ควรใช้มิเตอร์ทำการทดสอบจะดีที่สุด







 

Create Date : 04 พฤศจิกายน 2552
51 comments
Last Update : 15 กุมภาพันธ์ 2560 20:37:40 น.
Counter : 327416 Pageviews.

 

เธ‚เธญเธšเธ„เธธเธ“เธกเธฒเธเน†เน†เธ„เธฃเธฑเธš เธ—เธฑเน‰เธ‡ 2 เธงเธดเธ˜เธต เนเธ•เนˆเธ„เธ‡เธเธฅเน‰เธฒเนเธ„เนˆเธงเธดเธ˜เธตเธ—เธตเนˆ 1 เธญเธฐเธ„เธฃเธฑเธš เธญเธฑเธ™เธ—เธตเนˆ 2 เธเธฅเธฑเธง เธญเธดเธญเธดเธญเธดเธญเธด เธขเธฑเธ‡เน„เธ‡เธเน‡เธ‚เธญเธšเธ„เธธเธ“เธญเธตเธเธ„เธฃเธฑเน‰เธ‡เธ™เธฐเธ„เธฃเธฑเธš
1. เนเธ„เธ›เธชเธ•เธฒเธ— เน€เธเน‡เธšเธ›เธฃเธฐเธˆเธธเน€เธขเธญเธฐเธ•เน‰เธฒเธ™เธ—เธฒเธ™เธ™เน‰เธญเธข
2. เนเธ„เธ›เธฃเธฑเธ™ เน€เธเน‡เธšเธ›เธฃเธฐเธˆเธธเธ™เน‰เธญเธข เธ•เน‰เธฒเธ™เธ—เธฒเธ™เน€เธขเธญเธฐ
เธขเธฑเธ‡เน„เธ‡เธเน‡เธ–เธฒเธกเธ‹เธฑเธเธเธฐเธซเธ™เนˆเธญเธขเธ™เน‰เธฒ
1. เน„เธŸ Dcv เธงเธฑเธ”เธ–เนˆเธฒเธ™เน„เธŸเธ‰เธฒเธข.เนเธšเธ•เน€เธ•เธญเธฃเธตเนˆ เธญเธฑเธ™เธ™เธตเน‰เธงเธฑเธ”เน€เธžเธทเนˆเธญเนƒเธซเน‰เธฃเธนเน‰เธงเนˆเธฒเธกเธตเธ›เธฃเธฐเธˆเธธเธเธตเนˆเนเธญเธก เธซเธฃเธทเธญเธงเนˆเธฒเธงเธฑเธ”เน€เธžเธทเนˆเธญเนƒเธซเน‰เธฃเธนเน‰เธงเนˆเธฒเน€เธเน‡เธšเน„เธ”เน‰ เธเธตเนˆเนเธญเธกเธ›เนŒ เธญเธฑเธ™เธ™เธตเน‰เธขเธฑเธ‡เธชเธ‡เธเธฐเธชเธฑเธขเธญเธฐเธ™เน‰เธฒ
2. เน„เธŸDcmA เธญเธฑเธ™เธ™เธตเน‰เธงเธฑเธ”เธญเธฒเธฃเธฒเธขเธซเธงเนˆเธฒ เนƒเธŠเน‰เธงเธฑเธ”เธเธฑเธšเธ•เธฑเธง R เน€เธงเธฅเธฒเน„เธŸเธ”เธตเธ‹เธตเธงเธดเนˆเธ‡เธœเนˆเธฒเธ™เนƒเธŠเนˆเนƒเธซเธกเธ„เธฃเธฑเธš เธงเนˆเธฒเธกเธฑเธ™เธงเธดเนˆเธ‡เธœเนˆเธฒเธ™เธเธตเนˆเธกเธดเธฅเธฅเธดเนเธญเธก เธ„เธงเธฒเธกเธ„เธดเธ”เธ™เธตเน‰เธ–เธนเธเธซเธฃเธทเธญเธœเธดเธ”เธญเธฐเธ„เธฃเธฑเธš เธกเธฒเธ‹เธญเธขเธ•เธญเธšเนเธ™เน† เธˆเธฐเธ‚เธญเธšเธ„เธธเธเธซเธฅเธฒเธขเน†เน†

 

โดย: เธŠเนˆเธฒเธ‡เธซเธฑเธ”เนƒเธซเธกเนˆ เธˆเธฒเธเนเธชเธ‡เธ—เธญเธ‡ IP: 114.128.120.240 4 ธันวาคม 2552 10:49:58 น.  

 

ขอบคุณคร้าาาาาาาาาาาาาาบ

 

โดย: เด็กสัตหีบ IP: 192.168.72.130, 119.42.98.131 21 กุมภาพันธ์ 2553 10:19:13 น.  

 

ขอบคุณครับผม

 

โดย: Benz_me IP: 117.47.12.46 28 เมษายน 2553 8:23:23 น.  

 

ขอบคุณครับ

 

โดย: บอม IP: 125.27.80.239 8 กรกฎาคม 2553 20:20:04 น.  

 

ขอบคูณมากมาย

 

โดย: บอส IP: 118.172.66.178 18 กันยายน 2553 16:48:25 น.  

 

ขอบคุนผู้มา โพร์

 

โดย: กรุงเทพเทคนิคนนท์ 21ปี IP: 192.168.200.10, 202.80.233.7 5 ตุลาคม 2553 12:38:44 น.  

 

ขอขอบคุณท่านเจ้าของบล็อคมากๆเลยครับ
ที่ได้ให้ความรู้เป็นวิทยาทาน
รบกวนช่วยเขียนหน้าที่และวิธีการตรวจเช็คอุปกรณ์ตัวอื่นๆเพิ่มเติมอีกนะครับ
ขอบคุณครับ

 

โดย: tuktuk IP: 192.168.31.148, 203.155.120.191 29 พฤศจิกายน 2553 9:26:28 น.  

 

ขอบคุณมากครับ

 

โดย: 234 IP: 192.168.1.102, 223.204.34.183 7 เมษายน 2554 8:48:30 น.  

 

อือๆๆ เป็นประโยชน์

 

โดย: ่jtnairhome IP: 115.87.112.38 18 เมษายน 2554 9:35:24 น.  

 

ขอบคุณครับ ที่ชี้แนะ

 

โดย: drsr IP: 125.26.188.147 2 สิงหาคม 2554 22:41:13 น.  

 

ขอบคุณครับ

 

โดย: chat IP: 10.0.2.20, 124.121.159.64 1 กันยายน 2554 14:04:33 น.  

 

ขอบคุณคับ..อยากทราบว่าแคปรันในรูปตัวละเท่าไรบาท

 

โดย: นึก IP: 49.49.75.194 27 มกราคม 2555 14:15:10 น.  

 

เป็นประโยชน์อย่างมากเลยครับ ถ้าไม่อ่านก่อน คงเสียเงินไปมากกว่านี้

 

โดย: เอกชัย IP: 61.7.134.170 8 กุมภาพันธ์ 2555 20:21:25 น.  

 

ขอบคุณมากค่ะ ที่ได้ให้ความรู้อันเป็นประโยชน์!

 

โดย: April15 IP: 124.121.235.232 24 กุมภาพันธ์ 2555 13:42:07 น.  

 

ขอบคุณคับ

 

โดย: นารูโตะ IP: 180.180.30.174 27 กุมภาพันธ์ 2555 18:29:47 น.  

 

ขอบคุณมากครับความรู้ที่ให้ได้นำมาใช้ประโยชน์จริง

 

โดย: แดง IP: 125.27.50.117 4 มีนาคม 2555 15:01:16 น.  

 

cap. run ตัวละ. 200. บาท ครับ ซื้อได้ที่ร้านขายอะไหล่แอร์บ้านครับ

 

โดย: แดง IP: 125.27.50.117 4 มีนาคม 2555 15:04:51 น.  

 

โดนช่างแอร์เรียกเก็บค่าเปลี่ยแคปรันตั้ง1800 บาท

 

โดย: เอก IP: 202.28.179.5 30 เมษายน 2555 18:56:33 น.  

 

คุณเอกครับ...คือราคาค่าเปลี่ยน Capacitor ต้องเข้าใจครับ ว่าคุณจะเอามาเทียบกับราคา Capacitor ที่ขายกันในร้านอะไหล่เครื่องทำความเย็นไม่ได้
ราคา Capacitor ที่ขายกันในร้านอะไหล่แอร์ ที่ว่าราคาตัวร้อยสองร้อยมันเป็ราคาส่งครับ

อยากให้มองโลกในสองมุม ไม่ใช่มองเพียงว่าโดนช่างโกง-ขูดรีด
เวลาแอร์มีปัญหา แอร์ไม่เย็น แล้วคุณเรียกช่างแอร์มาตรวจสอบ พอช่างแอร์มาถึงก็ไม่ใช้ว่าช่างแอร์จะมีญาณวิเศษ ย่างก้าวเข้าไปในบ้านปุ๊บรู้ว่า Capacitor เสียเลย
ต้องมีขั้นตอนการทดลองเดินเครื่อง แล้วปีนขึ้นไปตรวจเช็คที่ชุดคอยล์ร้อน แถมบางบ้านคอยล์ร้อนก็ติดตั้งในพื้นที่ ที่เข้าถึงยากลำบากมาก หรือมีความเสี่ยงสูง เมื่อปีนขึ้นไปแล้วต้องแกะตัวเครื่องเพื่อวัดทดสอบตามขั้นตอน ซึ่งพื้นที่ปฏิบัติงานก็มีจำกัด ตรวจเช็คแล้วจึงจะทราบว่าส่วนไหนที่มีปัญหา

ก่อนที่จะมีความรู้สึกไม่ดีว่าโดนช่างหลอก ต้องลองมองถึงค่าดำเนินการ ที่นอกเหนือจากค่าของ
ไม่ว่าจะเป็น ค่าแรงช่าง ค่าน้ำมันรถ ค่าตรวจเช็ค ค่าความเสี่ยงต่างๆ

คือมองในสองมุมนะครับ แต่ถ้าชุดคอยร้อนแอร์ตั้งอยู่กับพื้น หรือบนระเบียง เดินเข้าถึงได้สะดวกไม่ยากลำบาก ไม่ต้องปีนขึ้นสูงให้เสี่ยงอันตราย และร้านแอร์อยู่ใกล้บ้านนิดเดียว ผมว่าเปลี่ยน Capacitor ราคา 1,800 บาท ก็ถือว่าแพงเวอร์ไป

 

โดย: KanichiKoong 1 พฤษภาคม 2555 1:41:02 น.  

 

เทพพระเจ้าคาปาซิเตอร์จริงจริง




 

โดย: เทคนิคแม่วงก์ IP: 183.89.2.3 5 มิถุนายน 2555 14:31:26 น.  

 

ขอบคุณสำหรับข้อความที่โพสมาให้

 

โดย: ปู เอกชัย IP: 125.27.216.104 24 พฤศจิกายน 2555 10:46:28 น.  

 

แล้วถ้าใช้คลิปแอมจะต้องตั้งไปที่ย่านไหนครับแล้วอ่านยังไงครับ

 

โดย: ปู เอกชัย IP: 125.27.216.104 24 พฤศจิกายน 2555 10:50:46 น.  

 

ถ้าคุณจะใช้คลิปแอมป์(แคลมป์มิเตอร์)วัดคาปาซิเตอร์
ก่อนอื่นต้องดูว่า มิเตอร์ตัวนั้นมีฟังก์ชั่นวัดความต้านทานหรือไม่ ถ้ามีก็ต้องเป็นแคลมป์มิเตอร์แบบอนาล็อก(แบบเข็ม) ก็วัดตามแบบมิเตอร์เข็มที่ผมเขียนไว้แล้วเลยครับ

แต่ถ้าเป็นมิเตอร์ดิจิตอลรุ่นใหม่ๆ จะมีฟังก์ชั่นการวัดค่าความจุตัวเก็บประจุมาให้แล้ว ก็ปรับไปที่โหมดดังกล่าวแล้ววัดโลดครับ

 

โดย: KanichiKoong 18 มกราคม 2556 12:12:30 น.  

 

อธิบายเรื่องราคาค่าช่าง กับราคาสินค้า ได้ดี ช่วยลดภาวะความโต้เถียงเรื่องขูดราคาได้บ้าง อย่างน้อยก็ต่อรองบนเหตุผลของทั้งสองฝ่าย ได้รู้ว่าทำไมบางครั้งช่างต้องเรียกแพง ได้รู้ว่าจะขอต่อรองราคาลงมาตามความยากง่ายเป็นเท่าไร ขอบคุณครับ

 

โดย: ประยงค์ วรรณเสน IP: 101.51.51.243 28 กุมภาพันธ์ 2556 23:23:59 น.  

 

ขอบคุณครับได้ความรู้เยอะเลย

 

โดย: เบียร์ IP: 203.154.158.242 17 มีนาคม 2556 0:47:34 น.  

 

มอเตอร์คอยล์เย็น มิตซู ขนาด13000BTUใช้คาปาซิเตอร์ขนาดเท่าไร

 

โดย: Theepon IP: 118.173.161.54 29 เมษายน 2556 19:18:59 น.  

 

มอเตอร์คอยล์เย็น มิตซู ขนาด13000BTUใช้คาปาซิเตอร์ขนาดเท่าไรครับ ช่วยทีครับขอบคุณครับ

 

โดย: Theepon IP: 118.173.175.164 1 พฤษภาคม 2556 14:20:52 น.  

 

ตอบคุณ Theepon
ถ้าให้ข้อมูลมาแค่นี้ ผมก็จนปัญญาจริงๆไม่สามารถบอกได้ เพราะข้อมูลรายละเอียดไม่ชัวร์ บอกไปผิดเดี๋ยวเกิดปัญหาอีก
มอเตอร์พัดลมของชุดคอยล์เย็น Fan coil Unit มันมีหลายแบบ หลายขนาด มีทั้งแบบไฟ DC และ AC
ของคุณเป็นแอร์มิตซูอะไร Electric หรือ Hevy Duty รหัสรุ่นอะไร ปีไหน เป็นมอเตอร์ AC หรือ DC และขนาดกี่ HP.

เบื้องต้น ถ้าเป็นไปได้ลองแกะบอร์ดควบคุมที่อยู่ในคอยล์เย็นออกมาดูก่อน ดูว่าของเดิมมี Capacitor ของพัดลมอยู่หรือเปล่า และถ้ามีอยู่ ลองดูขนาดของเดิมก่อน

 

โดย: KanichiKoong 3 พฤษภาคม 2556 3:15:37 น.  

 

ขอบคุณคับ

 

โดย: Theepon IP: 118.173.164.16 3 พฤษภาคม 2556 15:13:58 น.  

 

แอร์ LG ชุดแฟนคอยล์ และชุดคอนเดนซิ่งเป็น รุ่น S13-SEA6EN เหมือนกัน มีขนาด 12,474.61 BTU
ต้องใช้ capacitor รุ่นอะไร ขนาดอะไรครับ

 

โดย: เต้ IP: 110.168.138.246 31 พฤษภาคม 2556 0:03:43 น.  

 

ขอทราบการต่อพ่วงแค๊ปรัน แบบอนุกรมครับ ในกรณีแค็ปรันไม่สามารถหาซื้อได้ ขอบคุณครับ

 

โดย: มงคล IP: 110.164.136.120 27 มิถุนายน 2556 11:36:15 น.  

 

Microfarad ไมโครฟาราด สะกดแบบนี้ครับ

 

โดย: เพิ่มเติมให้ครับ IP: 110.171.85.173 6 กรกฎาคม 2556 21:54:54 น.  

 

ขอถามด้วยครับ เปิดแอร์แล้ว ชุดคอยล์เย็นทำงานปกติ ส่วนคอยล์ร้อนนั้นพัดลมหมุนปกติ แต่คอมเพรสเซอร์ไม่ทำงานได้ ซึ่งในช่วงที่เริ่มสตาร์ทคอมเพรสเซอร์นั้น จะมีเสียงดังตืดๆ มาจากตัวคอมเพรสเซอร์ด้วยครับ ลองเช็ค cap run ตามกะทู้นี้แล้วปรากฎว่ายังดีอยู่ โดยใช้มิเตอร์วัด และ ได้วัดลงกราวด์ของคอมเพรสเซอร์แล้วก็ไม่ลงกราวด์ และ วัดช๊อตเทรินของขอลวดภายใน โดยตั้งย่านวัด x1 ปรากฎว่าค่าความต้านทานที่เกิดขึ้นเท่ากันสองขด และ ขดลวดที่เหลือมีค่าความต้านทานต่างจากทั้งสองขดแรกที่วัด เป็นไปได้มั้ยครับว่า คอมเพรสเซอร์มันจะเสียแล้วครับ.....

 

โดย: toon IP: 101.108.107.244 8 กรกฎาคม 2556 16:20:48 น.  

 

ขอบคุณความรู้มากกก

 

โดย: พรช IP: 119.46.171.185 1 ตุลาคม 2556 14:14:18 น.  

 

ตู้เย็นเมื่อเสียบปลั๊กแล้ว compressor ทำงานประมาณ 5 วินาที แล้วเงียบไป แต่ไฟในตู้เย็นยังติด
เป็นเพราะอะไร คะ

 

โดย: Ate IP: 171.101.112.7 18 ตุลาคม 2556 23:25:31 น.  

 

รบกวนสอบถามเรื่อง ซี หน่อยครับ ผมมีมอเตอร์ 3เฟส 4 แรง ใช้ลากเครื่อผสมปูน ซื้อเขามาอีกทีครับ ลูกใหญ่มาก ผมจะต่อใช้กับไฟ 220 v เฟสเดียว หรือไฟบ้าน ผมใช้เทคนิคใช้ซีสตาร์ท ค่อมขา แดง-ขาว หรือ ดำ-ขาว แล้วแต่ทิศทางว่าอยากให้หมุนไปทางไหน ผลที่เกิดขึ้น มอเตอร์หมุนปกติ แต่มีปัญหาคือ แรงมอเตอร์หายไปเยอะ ไม่พอ ต่อการใช้งาน ผมก็เลยทดลองเพิ่มซี เขาไปอีกสองตัว รวมเป็น สามตัว ดังนี้ 75,50,50 ไมโคร ผลที่เกิดขึ้นพบว่ามอเตอร์มันแรงเพิ่มขึ้นชัดเจน แต่ยังไม่เพียงพอ เรียนสอบถามดังนี้ครับ ซีเป็นแบบไม่มีขั้ว มีสายต่อ 2 สาย 450 vac และเป็นเแบบ มีที่ต่อ 4 ที่ ต้องต่อคนละข้าง ไม่งั้นระเบิด อันนี้น่าจะเป็นแบบมีขั้วแน่เลย (ผมเดา) ผมสงสัยและอยากสอบถามว่า
1. ถ้าผมต้องการให้มอเตอร์มีแรงมากขึ้นจะต้องทำอย่างไรครับ เพราะซี มีแค่ 100 ไมโคร
2.ผมเห็นมีซีอีกประเภท คือ 500 ไมโคร เอามาลองต่อดู ปรากฏว่า มอเตอร์แรงดีมาก แต่มันร้อนมากครับ 300vac กลัวมันจะระเบิดก็เลยถอดออกครับ
จึงขอคำแนะนำหน่อยครับ พึ่งจับซีครั้งนี้ครั้งแรกครับไม่มีความรู้มาก่อนครับ ทำเพราะจำเป็น ไม่มีใครทำให้แล้วครับ

 

โดย: kumaret07 IP: 27.55.34.253 9 เมษายน 2557 22:29:20 น.  

 

พึ่งเปลี่ยนไปสดๆร้อนๆ แคปรันระเบิด ช่างเอามาเปลี่ยนให้ คิดราคา 1,150 บ. ขอลดราคาลงหน่อยลดให้ 1,100 บ. มาเปิดเน็ตดู...เขาขายกันตัวละไม่กี่ร้อยบาท แต่ช่างหน้างานบอกเขาก็ขายกันอยู่ที่ราคานี้ โดนช่างหลอกกันได้ เดินทางก็ไม่ได้ไกล ถนนสายไหมนี่เอง ถนนเดียวกัน คิดค่าแรง+ค่าเดินทางซะแพงเชียว คราวหน้าจะล้างแอร์หรือแอร์มีปัญหาต้องหาร้านใหม่ซะแล้ว ช่างกะเจ้าของร้านไม่จริงใจ เอาเปรียบกันเกินไป ร้านต้นๆซอยสายไหมหลังป้ายรถเมล์ท็อปซุปเปอร์มาเก็ตแหล่ะ

 

โดย: ร้านแอร์เอากำไรเกินควร IP: 1.47.164.36 21 เมษายน 2557 14:32:41 น.  

 

เอาจริงๆนะ ซี+ค่าแรง ผมให้ 500-600 ก็ว่ามันเยอะแล้ว เปลียนยากยังไง ถอดออก ใส่ใหม่ แต่ 1100+ คุณว่ามันเยอะเกินไปหรือเปล่า

 

โดย: อย่าคิดว่าโง่ IP: 171.6.143.39 6 มิถุนายน 2557 18:23:23 น.  

 

ไม่แพงครับ
ทุกสาขาวิชาชีพมันก็ต้องมีค่าวิชาความรู้ด้วยกันทั้งนั้นแหล่ะ
ถ้าอยากได้ถูกๆ ก็ทำเอง

 

โดย: DIY IP: 125.26.173.222 19 กรกฎาคม 2557 16:32:36 น.  

 

ทำตามวิธีที่สองแล้วไฟแลปครั้งแรกครั้งเดียว
หมายความว่าอย่างไรครับ
ครั้งที่สองสามก็ไม่แลบแล้วอ่ะครับ

 

โดย: โอ๊ตครับ IP: 49.230.125.99 21 กันยายน 2557 22:36:06 น.  

 

รบกวนถามว่า แคบรัน มันจะมีขั้วปลักบน -ล่าง 4 ขา ใส่สลับได้ไหมครับ สายสีอะไร อยู่ตรงไหน พอดีหาซื้อแคบรันืแบบเดิมไม่ได้ แต่ค่า uf เท่ากัน ครับ

 

โดย: ประเสริฐ IP: 182.52.163.241 4 ตุลาคม 2557 14:09:23 น.  

 

มีประโยชน์มากครับ ขอบคุณที่ให้ความรู้

 

โดย: เรน IP: 27.145.253.213 2 พฤศจิกายน 2557 19:55:17 น.  

 

คอบคุณครับได้ความรู้ขึน ไม่โง่เป็นควายเหมือนแต่ก่อน เรียนแต่กฎหมาย. ช่วยตัวเองไม่ได้ ไรสาระ คอบคุณจากใจจริง ป๊อกแป๊ก 10 กุมภาพันธ์ 2558 แต่ควรจะบอกด้วยว่าใช้อย่างไรเพราะค่าประจุไม่เท่ากัน

 

โดย: พุทธิพงษ์ ลาวัลย์ IP: 1.46.2.99 10 กุมภาพันธ์ 2558 21:06:09 น.  

 


ผมไม่แนะนำให้เอา คาปาชิเตอร์ ซ๊อตกันครับเพราะอันตรายมาก แนะนำใช้หลอดไฟ 40 W ต่อเพื่อคายประจุครับ

 

โดย: คิม IP: 101.51.54.141 19 มิถุนายน 2558 9:31:34 น.  

 

ใครสอนให้ short capacitor ความจุของ capacitor เป็น Reactive power มันเป็นpassive load อันตรายครับ กับการทำแบบนั้น ใช้มิเตอร์ดีทีสุดครับ

 

โดย: Nun IP: 58.10.56.47 30 มิถุนายน 2558 17:38:15 น.  

 

Capเก่าใช้ 31.5 ไมโคร จะเปลี่ยนมาใช้100 ไมโครได้ไหมครับ

 

โดย: สมชาย IP: 124.120.200.119 27 มีนาคม 2560 17:38:39 น.  

 

อยากถามว่า ลองเช็คคาปาแล้ว เข็มตีขึ้นสุดแล้วค่อยๆลง แบบนี้เสียไหมครับ

 

โดย: เส IP: 183.88.28.126 4 เมษายน 2560 18:13:27 น.  

 

คอมทำงาน มีเสียงตืดตืด แต่พัดลมคอยร้อนไม่ทำงาน ลองเปลี่ยน cap พัดลมแล้วแต่ของเดิมเป็นแบบ 2 ขั้วมี 4 ขา ใช้จริง 3 ขา หาไม่ได้ เลยใช้แบบ 2 ขาแทน แต่จั้มสาย 1 คู่ ไม่หายครับ อยากทราบว่า cap 4 ขา กับ cap 2ขา แต่ค่าเหมือนกันใช้แทนกันได้ไหมครับ หรือเป็นที่จุดอื่น

 

โดย: เกียรติศักดิ์ IP: 223.24.110.70 18 เมษายน 2560 16:51:39 น.  

 

Volt อะไรครับ

 

โดย: กร IP: 223.24.180.26 29 ธันวาคม 2560 12:31:27 น.  

 

ขอบคุณครับ

 

โดย: C.Kitsumpunwong IP: 101.51.85.204 13 เมษายน 2561 8:15:07 น.  

 

เป็นประโยชน์มากครับ

 

โดย: ช่างแมว IP: 159.192.187.192 11 มีนาคม 2564 21:30:57 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


KanichiKoong
Location :
สงขลา Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 275 คน [?]




ช่องทางการติดต่อผู้จัดทำ

- หลังไมค์
- E-mail : aum_tawatchai@hotmail.com
-------------------------------------
เนื้อหาที่ปรากฏ อนุญาติให้นำไปใช้เพื่อการศึกษา/หาความรู้ ซึ่งไม่เป็นการนำไปใช้ในเชิงธุรกิจ
-------------------------------------
New Comments
Friends' blogs
[Add KanichiKoong's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.