เปิดใจ
 
มกราคม 2553
 
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
15 มกราคม 2553
 
 

มหาภารตะ

มหาภารตะ

อย่างไรก็ตาม ชาวอินเดียส่วนใหญ่มิได้รับเอาคำสอนของฮินดูโดยผ่านทางคัมภีร์อุปนิษัท แต่โดยผ่านตำนานต่าง ๆ ซึ่งผูกขึ้นเป็นโคลงเล่าเรื่องราวพื้นฐานของเทพปกรณัมอันงดงามจำนวนมาก หนึ่งในจำนวนนั้นคือ มหาภารตะ (Mahabharata) ซึ่งบรรจุอยู่ด้วยคัมภีร์ ภควัทคีตา (Bhagavad Gita) บทกวีแห่งจิตวิญญาณอันงดงามและเป็นที่ชื่นชอบของประชาชน โดยทั่วไปจะเรียกว่า คีตา คีตา เป็นบทสนทนาโต้ตอบระหว่างกฤษณเทพกับอรชุนกษัตริย์นักรบที่กำลังตกอยู่ในภาวะสิ้นหวัง เนื่องจากจำต้องต่อสู้กับญาติสายโลหิตของตนในมหาสงครามระหว่างวงศ์ญาติ อันเป็นโครงเรื่องสำคัญของมหาภารตะ พระกฤษณะซึ่งปลอมเป็นสารถีของอรชุนได้นำอรชุนไปสู่สมรภูมิในระหว่างกองทัพทั้งสองฝ่าย ณ ที่นั้น พระกฤษณะได้เปิดเผยสัจจะแห่งฮินดูธรรมต่ออรชุน เมื่อพระผู้เป็นเจ้าทรงตรัสภาพภูมิหลังสงครามระหว่างสองครอบครัวก็ได้ลางเลือนไป และที่กลับปรากฏชัดเจนก็คือความจริงที่ว่า การสัประยุทธ์ของอรชุนนั้นเป็นการต่อสู้ของมนุษย์ เป็นการต่อสู้ของนักรบเพื่อค้นหาการรู้แจ้ง พระกฤษณะได้ตรัสแนะนำอรชุนว่า:

จงสังหารซึ่งความกังขาอันมาจากอวิชชาในหัวใจของท่าน

ด้วยดาบแห่งปัญญา จงรวมร่างกายและจิตใจให้เป็นหนึ่งในโยคะ

และจงลุกขึ้นเถิด นักรบผู้ยิ่งใหญ่ จงลุกขึ้นเถิด (2)

พื้นฐานแห่งคำสอนของพระกฤษณะ เช่นเดียวกับคำสอนอื่น ๆ ในศาสนาฮินดู คือแนวคิดที่ว่าสิ่งต่าง ๆ และเหตุการณ์ทั้งหลายรอบตัวเรา ซึ่งดูเสมือนว่าหลายสิ่งแตกต่างกันออกไปนั้น แท้จริงเป็นการปรากฏในรูปลักษณ์ต่าง ๆ กันของสัจจะสูงสุดประการเดียว เรียกว่า พรหมัน (Brahman) แนวคิดนี้ทำให้ศาสนาฮินดูมีลักษณะเป็นเอกเทวนิยม แม้ว่าจะมีการบูชาเทพและเทวีที่แตกต่างกันมากมาย

สัจจะสูงสุดหรือพรหมันนั้นคือ “วิญญาณ” หรือแก่นแท้ภายในของสรรพสิ่งเป็นอนันต์ และไปพ้นความคิดทุกชนิด ไม่อาจเข้าใจได้ด้วยความชาญฉลาดทั้งไม่อาจกล่าวอธิบายได้ด้วยภาษา “พรหมันไม่มีต้นกำเนิดสูงสุด ไม่อาจกล่าวได้ว่าเป็นอะไร หรือมิใช่อะไร” (3) “ วิญญาณสูงสุดนั้น ไม่อาจเข้าใจได้ด้วยความคิดนึกสามัญ เป็นปรมัตถ์ ไม่มีเกิด อยู่เหนือเหตุผล คิดคำนึงเอาไม่ได้” (4) กระนั้นประชาชนก็ปรารถนาที่จะกล่าวถึงสัจจะนี้ นักปราชญ์ฮินดูจึงได้สร้างภาพของพรหมันในลักษณะที่เป็นพระเจ้า และกล่าวถึงโดยใช้ภาษาของเทพปกรณัมลักษณะต่างๆ มากมาย แต่ละลักษณะของพระเจ้า ถือเป็นเทพองค์หนึ่ง ๆ ซึ่งชาวฮินดู นับถือบูชา แต่ในคัมภีร์ได้ระบุไว้ชัดเจนว่า เทพเหล่านั้นเป็นแต่เพียงภาพสะท้อนของสัจจะสูงสุดเพียงประการเดียว

ซึ่งประชาชนกล่าวว่า “จงบูชาเทพองค์นี้ จงบูชาเทพองค์นั้น” ต่าง ๆ มากมายแท้จริงล้วนเป็นการรังสรรค์ของพระองค์ (พรหมัน) และพระองค์ก็คือเทพทั้งมวล (5)

พรหมันในวิญญาณของมนุษย์เรียกว่า อาตมัน (Atman) ความคิดที่ว่า อาตมันและพรหมัน ปัจเจกสัจจะและปรมัตถสัจจะนั้นเป็นหนึ่งเดียว เป็นแก่นแท้ของอุปนิษัท

สิ่งนั้นซึ่งเป็นแก่นแท้ที่ละเอียดลึกซึ้ง โลกพิภพทั้งมวลมีสิ่งนั้นเป็นวิญญาณ สิ่งนั้น คือ สัจจะ สิ่งนั้นคือ อาตมัน สิ่งนั้นคือตัวท่าน (6)

นำมาจากเต๋าแห่งฟิสิกส์ ของ ฟริตจอฟ คาปรา คุณวเนช แปล
ขอขอบคุณมากครับ





 

Create Date : 15 มกราคม 2553
0 comments
Last Update : 15 มกราคม 2553 18:46:58 น.
Counter : 2421 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

 

กาหลิบ
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




[Add กาหลิบ's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com pantip.com pantipmarket.com pantown.com