ค่านิยมสร้างสรรค์

ค่านิยมสร้างสรรค์(Core Value)

ค่านิยมสร้างสรรค์ของเจ้าหน้าที่ของรัฐคือ คุณธรรมประจำใจที่ ก.พ. จัดทำขึ้นให้เจ้าหน้าที่ของรัฐพึงยึดถือ เพื่อสร้างวัฒนธรรมการทำงานใหม่ให้งานภาครัฐบังเกิดผลตามแนวทางของแผนปฏิรูประบบบริหารภาครัฐที่มุ่งสร้างคุณประโยชน์สูงสุดให้แก่ประชาชนและประเทศชาติมี ๕ ประการ ดังนี้

๑. กล้ายืนหยัดทำในสิ่งที่ถูกต้อง(Moral Courage) หมายถึง การยึดมั่นในความถูกต้องดีงามยึดหลักวิชาและจรรยาวิชาชีพ ไม่โอนอ่อนตามอิทธิพลใดๆ

๒. ซื่อสัตย์และมีความรับผิดชอบ(Integrity and Responsibility) หมายถึง การปฏิบัติหน้าที่อย่างตรงไปตรงมาแยกเรื่องส่วนตัวออกจากหน้าที่การงาน มีความรับผิดชอบต่อประชาชนต่อผลการปฏิบัติงานองค์การ และต่อการพัฒนา ปรับปรุงระบบราชการ

๓. โปร่งใส ตรวจสอบได้ (Transparencyand Accountability) หมายถึง การปรับปรุงกลไกการทำงานขององค์การให้มีความโปร่งใสเปิดเผยข้อมูลข่าวสารภายในขอบเขตของกฎหมาย มีวิธีการให้ประชาชนตรวจสอบได้

๔. ไม่เลือกปฏิบัติ(Nondiscrimination) หมายถึง การบริการประชาชนด้วยความเสมอภาคเท่าเทียมกันรักษาประโยชน์ให้แก่ผู้รับบริการทุกคน

๕. มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน(Result Orientation) หมายถึง การทำงานให้แล้วเสร็จตามกำหนดใช้ทรัพยากรของทางราชการอย่างคุ้มค่า ผลลัพธ์เกิดผลดีต่อหน่วยงานและส่วนรวม

- ให้รางวัลแก่ผู้ปฏิบัติดีและกล้าลงโทษผู้กระทำผิด

- ไม่ใช้ความสนิทสนมกันเป็นส่วนตัวปูนบำเหน็จพิเศษแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา

- มีขั้นตอนการปฏิบัติงานแผนการทำงาน และการมอบหมายงานที่ชัดเจน สามารถแจ้งลำดับขั้นตอนการปฏิบัติงาน ผู้ปฏิบัติงานและระยะเวลาให้ผู้ติดต่อได้ทราบเพื่อสามารถติดตามความรับผิดชอบได้

- ตั้งคณะทำงานหรือคณะกรรมการจะทำให้เกิดการตรวจสอบกันเองได้ดี

- มีการเปิดเผยหลักเกณฑ์และวิธีการในการปฏิบัติงานหรือข้อมูลการปฏิบัติงานให้แก่ผู้เกี่ยวข้องได้รับทราบตามสมควรแก่กรณี โดยถือว่าการเปิดเผยเป็นหลักการ การปกปิดเป็นข้อยกเว้น

- ประสานงานกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดความเข้าใจในเป้าหมายและเนื้อหาสาระของงานที่ตรงกัน

- พร้อมที่จะเสียสละทุ่มเทกำลังกายกำลังปัญญา ทรัพย์สิน และเวลาให้แก่งาน

- มีความอดทนหรือยับยั้งชั่งใจต่อผลประโยชน์ที่เย้ายวนโดยคำนึงถึงเกียรติและศักดิ์ศรี

- มีความตั้งใจปฏิบัติหน้าที่เพื่อประโยชน์แก่ส่วนรวมโดยไม่คดโกงไม่หลอกลวง

- ไม่เอาประโยชน์ส่วนตนมาทำให้ประโยชน์ส่วนรวมต้องเสียไป

- ปฏิบัติงานด้วยความรอบคอบ ไม่ประมาท รักษาผลประโยชน์ให้แก่หน่วยงานอย่างเต็มความสามารถ คำนึงถึงการใช้ทรัพยากรอย่างประหยัด มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล

- ปฏิบัติหน้าที่ให้ถูกต้องชอบธรรม ไม่ทำผิดระเบียบ กฎหมาย แม้ผู้บังคับบัญชาจะสั่งให้ทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ก็กล้าที่จะคัดค้านตามกระบวนการ

- ปฏิบัติงานตามหลักวิชาตามหลักการ และจรรยาบรรณโดยไม่ประนีประนอมกับความเลว ไม่หวั่นเกรงต่อการข่มขู่หรืออิทธิพลใดๆ

- กล้าแจ้งเหตุหรือร้องเรียนเมื่อพบเห็นการกระทำผิด แม้ผู้กระทำผิดจะเป็นเพื่อนร่วมงาน หรือผู้บังคับบัญชาในหน่วยงานตนเอง

- มีความตรงต่อเวลาทั้งการมาปฏิบัติหน้าที่และการนัดหมายไม่ให้ประชาชนหรือผู้ที่ตนนัดหมายต้องรอคอย

- หลีกเลี่ยงไม่เข้าไปอยู่ในสถานการณ์ที่ตนจะได้ประโยชน์จากการปฏิบัติหน้าที่

- มีจิตสำนึกต่อการปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็มความสามารถโดยคำนึงถึงประโยชน์ของทางราชการและประชาชน เมื่อทำงานผิดพลาดพร้อมที่จะรับผิดและยินดีแก้ไข

- เก็บหลักฐานทุกอย่างไว้หรือทำเป็นบันทึกไว้เพื่อง่ายแก่การตรวจสอบ

- ให้คำอธิบายให้เหตุผลที่เหมาะสมแก่ผู้มาขอรับบริการ กรณีไม่สามารถปฏิบัติหรืออนุญาตตามคำขอได้

- ให้บริการโดยเน้นความเสมอภาคเท่าเทียมกันเป็นธรรม และทั่วถึง โดยไม่คำนึงถึงเชื้อชาติหรือเครือญาติ ไม่บริการพิเศษเฉพาะรายที่รู้จักมักคุ้น

- ให้บริการด้วยความรวดเร็วตามลำดับก่อนหลังโดยปราศจากอคติ ผู้ที่มาก่อนจะได้รับบริการก่อน

- ให้บริการด้วยความเต็มใจยิ้มแย้ม แจ่มใสรักษาประโยชน์ให้แก่ผู้รับบริการทุกคนเท่าที่จะทำได้

- กรณีมีเหตุจำเป็นหากต้องเลือกที่จะบริการแก่ประชาชนผู้อยู่ห่างไกลและเดินทางลำบาก ก็ต้องอธิบายความจำเป็นให้แก่ผู้รับบริการคนอื่นๆที่รออยู่รับทราบทั่วกัน

- ปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายให้แล้วเสร็จตามกำหนดโดยได้ผลลัพธ์ตามเป้าหมายและคุ้มค่าทั้งในส่วนของการใช้เงินและเวลา

ทัศนคติ(Attitude) หมายถึง ความรู้สึกในเชิงประเมินค่าที่เป็นได้ทั้งด้านบวก (Positive) และด้านลบ (Negative)ทำให้บุคคลพร้อมที่จะแสดงออกและตอบโต้สิ่งต่างๆ

ค่านิยม(Value) หมายถึงสิ่งที่บุคคลพอใจหรือเห็นว่าเป็นสิ่งที่มีคุณค่า แล้วยอมรับไว้เป็นความรู้สึกนึกคิดของตนเองตลอดไปจนกว่าจะพบกับค่านิยมใหม่ซึ่งตนพอใจกว่าเมื่อบุคคลต้องเลือกหรือเผชิญกับเหตุการณ์ที่ต้องตัดสินใจอย่างใดอย่างหนึ่ง เขาจะนำค่านิยมมาประกอบการตัดสินใจทุกครั้งไปค่านิยมจึงเป็นเสมือนพื้นฐานแห่งการประพฤติ ปฏิบัติของบุคคลโดยตรง

ทัศนคติและค่านิยมเป็นความเชื่อ (Belief) ดังนั้น การสร้างค่านิยม จึงไม่ใช่การสร้างฝันหรือการตั้งเป้าหมายแต่เป็นการสร้างความเชื่อโดยผ่านทางทัศนคติที่เป็นบวก กล่าวคือ ต้องเป็นการทำให้เชื่อโดยบริสุทธิ์ใจไม่ถูกบังคับให้เชื่อ ด้วยความรู้สึกว่าตนเองไม่ได้ปฏิบัติอยู่ฝ่ายเดียวไม่ได้กำลังถูกเอาเปรียบ และจะไม่ได้รับผลกระทบในทางลบจากการกระทำนั้น ค่านิยมไม่สามารถสร้างให้เกิดขึ้นเฉพาะในระดับใดระดับหนึ่งแต่ต้องเกิดจากความมุ่งมั่น และจริงใจในการพัฒนาเพื่อยกระดับค่านิยมของสังคมในภาพรวมโดยเฉพาะผู้ที่รณรงค์ค่านิยมดังกล่าวจำเป็นต้องปฏิบัติให้เป็นตัวอย่าง

ค่านิยมหลักของคนไทย๑๒ ประการ ตามนโยบายของ คสช.

๑.มีความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

๒.ซื่อสัตย์ เสียสละ อดทน มีอุดมการณ์ในสิ่งที่ดีงามเพื่อส่วนรวม

๓.กตัญญูต่อพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูบาอาจารย์

๔.ใฝ่หาความรู้ หมั่นศึกษาเล่าเรียนทั้งทางตรง และทางอ้อม

๕.รักษาวัฒนธรรมประเพณีไทยอันงดงาม

๖.มีศีลธรรม รักษาความสัตย์ หวังดีต่อผู้อื่น เผื่อแผ่และแบ่งปัน

๗.เข้าใจเรียนรู้การเป็นประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่ถูกต้อง

๘.มีระเบียบวินัย เคารพกฎหมาย ผู้น้อยรู้จักการเคารพผู้ใหญ่

๙.มีสติรู้ตัว รู้คิด รู้ทำ รู้ปฏิบัติตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

๑๐.รู้จักดำรงตนอยู่โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรู้จักอดออมไว้ใช้เมื่อยามจำเป็น มีไว้พอกินพอใช้ ถ้าเหลือก็แจกจ่ายจำหน่าย และพร้อมที่จะขยายกิจการเมื่อมีความพร้อมเมื่อมีภูมิคุ้มกันที่ดี

๑๑.มีความเข้มแข็งทั้งร่างกาย และจิตใจ ไม่ยอมแพ้ต่ออำนาจฝ่ายต่ำ หรือกิเลส มีความละอายเกรงกลัวต่อบาปตามหลักของศาสนา

๑๒. คำนึงถึงผลประโยชน์ของส่วนรวมและของชาติมากกว่าผลประโยชน์ของตนเอง




Create Date : 17 พฤษภาคม 2558
Last Update : 17 พฤษภาคม 2558 12:19:50 น.
Counter : 2037 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สมาชิกหมายเลข 1158799
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



พฤษภาคม 2558

 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31