บทบาทหน้าที่ที่สำคัญขององค์กรตรวจสอบ
 

บทบาทหน้าที่ที่สำคัญขององค์กรตรวจสอบ

ในองค์กรของรัฐนั้นมีเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานจำนวนมากและมีหน้าที่แตกต่างกันตามที่ได้รับมอบหมายหรือมีกฎหมายมอบอำนาจไว้ เจ้าหน้าที่บางท่านอาจมีพฤติการณ์ใช้อำนาจในตำแหน่งหรือหน้าที่ในการแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบสำหรับตนเองหรือผู้อื่น ถึงแม้ว่าในปัจจุบัน สังคมไทยมีความเข้าใจและตระหนักถึงปัญหาการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการมากขึ้นแต่ปัญหาก็ยังเกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง มีรูปแบบและพฤติกรรมการทุจริตที่เปลี่ยนแปลงและแตกต่างไปจากอดีตและมีความสลับซับซ้อนมากขึ้น ซึ่งเหตุที่เป็นเช่นนั้นอาจเนื่องมาจากปัจจัยหลายๆ ด้านประกอบกัน เช่น ปัญหาทางด้านรายได้ ครอบครัว สังคม อิทธิพลทางการเมืองแทรกแซงการปฏิบัติหน้าที่หรือแม้กระทั่งปัญหาจากการผูกขาดอำนาจซึ่งอาจทำให้เจ้าหน้าที่ของรัฐนั้นๆ เล็งเห็นลู่ทางที่สามารถเรียกรับเงินหรือสินบนต่างๆ ได้โดยง่าย ซึ่งเป็นการบั่นทอนการพัฒนาประเทศและเป็นอุปสรรคต่อการสร้างความเจริญในสังคมและความผาสุกแก่ประชาชน พฤติกรรมหรือพฤติการณ์เช่นนี้ควรต้องมีการเปิดโปง ให้มีการตรวจสอบโดยกระบวนการทางกฎหมาย เพื่อช่วยให้เกิดความโปร่งใส เป็นธรรม และสร้างความยุติธรรมให้เกิดขึ้นในสังคม ทั้งนี้ มีหลายองค์กรที่มีอำนาจหน้าที่ในการกำกับดูแลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ที่ได้กล่าวไว้แล้วใน “องค์กรตรวจสอบที่สำคัญในประเทศไทย” ในบทนี้เราจะมาดูกันถึงอำนาจหน้าที่ของแต่ละองค์กรที่ระบุไว้ซึ่งดูแล้วอาจจะเหมือนกับมีความซ้ำซ้อนกัน แต่แท้จริงแล้วมีความแตกต่างกัน หากมีความเข้าใจอำนาจหน้าที่ของแต่ละองค์กรแล้ว จะช่วยให้การแจ้งเบาะแสหรือข้อมูลต่างๆ ได้ตรงช่องทาง และทำให้สามารถได้รับการดูแลหรือตอบสนองได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. www.nacc.go.th/ เป็นหน่วยงานองค์กรอิสระที่มีหน้าที่ในการตรวจสอบความผิดมูลฐานที่เกี่ยวข้องกับการทุจริตคอร์รัปชั่นในวงราชการโดยตรง มีอำนาจหน้าที่ไต่สวนและวินิจฉัยการกระทำทุจริตของ ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งดำรงตำแหน่งตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูง หรือข้าราชการที่ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ผู้อำนวยการกอง หรือเทียบเท่าขึ้นไป ซึ่งพบว่ามีความร่ำรวยผิดปกติ มีการกระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ หรือความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม รวมทั้งดำเนินการกับเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือข้าราชการในระดับต่ำกว่าที่ร่วมกระทำความผิดกับผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว หรือร่วมกับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) //www.pacc.go.th มีอำนาจหน้าที่ไต่สวนข้อเท็จจริงและชี้มูลเกี่ยวกับการกระทำทุจริตในภาครัฐของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ที่ดำรงตำแหน่งต่ำกว่าผู้บริหารระดับสูงและข้าราชการที่ดำรงตำแหน่งต่ำกว่าผู้อำนวยการกองที่ไม่อยู่ในอำนาจของ ป.ป.ช.

ป.ป.ช. และ ป.ป.ท. จึงกลายเป็นหน่วยงานอันเป็นที่พึ่งสำหรับผู้ประกอบการที่โดนเรียกรับสินบนจากเจ้าหน้าที่รัฐ เนื่องจากบางครั้งการเรียกรับสินบนนั้นมีที่มาจากเจ้าหน้าที่รัฐผู้บังคับใช้กฎหมายเป็นผู้กระทำความผิดเสียเอง ดังนั้นการไปร้องเรียนกับผู้บังคับใช้กฎหมายให้จับกุมผู้กระทำผิดที่บังเอิญเป็นคนในเครื่องแบบบางคนมาลงโทษจึงมิอาจเกิดขึ้นได้ในทางปฏิบัติตามระบบวิ่งเข้าหาศูนย์กลางอำนาจของสังคมไทย จึงจำเป็นที่จะต้องไปยื่นเรื่องกับทาง ป.ป.ช. ให้เข้าตรวจสอบน่าจะเป็นวิธีการแก้ไขปัญหาที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดอีกวิธีหนึ่ง เนื่องจากสามารถใช้อำนาจตามกฎหมายเข้าจัดการได้ทันที

สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน //www.ombudsman.go.th/ ทำหน้าที่แทนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาในการรับเรื่องร้องเรียนจากประชาชน บรรเทาความทุกข์ของประชาชน ในกรณีที่ประชาชนได้รับความเดือดเนื้อร้อนใจจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ ไม่ได้รับความเป็นธรรม ไม่ได้รับการดูแล อันเกี่ยวเนื่องกับการให้บริการของภาครัฐ (ประมวลจริยธรรม)

สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน //www.oag.go.th ในฐานะองค์กรอิสระ มีบทบาทหน้าที่ในการตรวจสอบการใช้จ่ายเงินแผ่นดิน สร้างความน่าเชื่อถือให้แก่การบริหารการเงินภาครัฐ เพื่อให้บังเกิดความคุ้มค่า ประสิทธิภาพ และประสิทธิผล ในการใช้จ่ายงบประมาณแผ่นดินต่อไป เช่น การสร้างสิ่งปลูกสร้างแล้วไม่ได้ใช้ประโยชน์ ก่อสร้างผิดแบบ ไม่มั่นคงแข็งแรง โครงการล่าช้าก่อให้เกิดความเสียหาย หรือชำรุดทรุดโทรมก่อนถึงเวลาอันควร ซื้อสิ่งของมาแล้วใช้ประโยชน์ไม่คุ้มค่า สินค้าล้าสมัย การใช้จ่ายเงินฟุ่มเฟือยเกินความจำเป็น การกำหนดราคากลาง รายละเอียดของงานหรือคุณสมบัติที่มีลักษณะเป็นการกีดกันหรือเอื้อประโยชน์ การฮั้วประมูล เป็นต้น

สื่อมวลชน มีบทบาทที่สำคัญมากในการตรวจสอบการกระทำผิดในภาครัฐอันเป็นที่พึ่งของประชาชนได้อยู่สม่ำเสมอ เนื่องจากตามหลักสื่อสารมวลชน สื่อมวลชนถูกสั่งสอนมาให้ทำหน้าที่เป็นสุนัขเฝ้าบ้านหรือที่เรียกกันว่า watchdog หมายถึงผู้ที่คอยระแวดระวังภัยให้กับประชาชน เมื่อเห็นสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นในสังคม นักข่าวจะต้องเป็นผู้รู้และเข้าถึงก่อนเป็นพวกแรกเพื่อขุดคุ้ยเสาะหาความจริงมานำเสนอต่อสังคมจนนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ถูกต้อง ด้วยเหตุนี้สื่อมวลขนจึงเป็นมิตรที่ดีที่สุดสำหรับผู้ประกอบการที่เจอกับปัญหาที่เกี่ยวข้องกับเรื่องการทุจริตในภาครัฐ ซึ่งพวกเขาจะหาความเป็นธรรมให้กับธุรกิจของผู้ประกอบการได้อย่างแน่นอน 




Create Date : 07 ตุลาคม 2558
Last Update : 7 ตุลาคม 2558 10:05:37 น.
Counter : 2233 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

สมาชิกหมายเลข 1158799
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



ตุลาคม 2558

 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31