Group Blog
 
<<
มกราคม 2555
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
30 มกราคม 2555
 
All Blogs
 
ทำไมเราไม่ใช้ปฏิทินที่เหมือนกันทุกๆ ปี...???...มีคนคิดแล้วอ่านดู





ปฏิทินใหม่ เป็นไปได้หรือ?



หน้าที่ 1 - ทำไมเราต้องเปลี่ยนปฏิทินทุกๆ ปี?


การแจกปฏิทินเป็นเหมือนธรรมเนียมที่ทำกันในช่วงปีใหม่
เราเคยชินกับการเปลี่ยนปฏิทินใหม่ทุกปี ฉีกหรือเปลี่ยนหน้าปฏิทินทุกเดือน
แต่เคยนึกสงสัยไหมว่า

ทำไมเราต้องเปลี่ยนปฏิทินทุกๆ ปี?

หลายคนคงตอบว่าถ้าไม่เปลี่ยน ก็ไม่มีปฏิทินดูสิ อันเก่ามันใช้ไม่ได้แล้ว       


แล้วทำไมปฏิทินเก่าจึงใช้ได้ครั้งเดียว เอากลับมาดูใหม่ไม่ได้?

ทีนาฬิกายังสามารถบอกเวลาได้ตลอดไป คือ ไม่มีกำหนดวัน-เวลาสิ้นสุดของนาฬิกา ไม่มีรอบการเปลี่ยนเรือนใหม่ ไม่ต้องเปลี่ยนใหม่ทุกวัน

เพราะวันในปฏิทินแต่ละปีไม่ได้ตกในวันเดียวกันใช่หรือไม่ ?




             เคยคิดไหมว่า
ปฏิทินที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ไม่มีประสิทธิภาพเลย
ปฏิทินเป็นเทคโนโลยีแรกๆ ของโลก ถูกพัฒนาขึ้นมาตั้งแต่หลายพันปีก่อน
ผ่านการดัดแปลงแก้ไขแบบปุปะมาตลอด บางยุคก็เพิ่มเดือนเข้าไปเฉยๆ
ปฏิทินที่เราใช้กันอยู่ปัจจุบันจึงไม่เป็นระบบนัก


             ตัวอย่างเช่น การจัดแบ่งวัน สัปดาห์ และเดือนในปฏิทิน เดือนหนึ่งมี 30 วันบ้าง 31 วันบ้าง โดยไม่มีหลักเกณฑ์ว่าทำไมเดือนนี้ต้องมีวันเท่านี้
(คำลงท้ายว่า "คม" กับ "ยน"
เป็นชื่อเดือนที่เรียกให้สอดคล้องกับการแบ่งที่มีอยู่ก่อนแล้ว) แถมทุกๆ 4
ปี ยังมีวันที่ 29 กุมภาพันธ์เพิ่มขึ้นมาอีก


             สิ่งเหล่านี้ทำให้วันในแต่ละปีเหลื่อมจากกันไปเรื่อยๆ เช่น
วันปีใหม่ปีนี้ตรงกับวันอาทิตย์ ปีหน้าตรงกับวันอังคาร เป็นต้น

             เมื่อวันเหลื่อมไปทุกปี
ทำให้ยากที่จะสร้างปฏิทินล่วงหน้าไปตลอดกาล
ซึ่งสร้างความยุ่งยากในการพัฒนาเทคโนโลยีหลายๆ ด้าน
จึงมีความพยายามหลายครั้งที่จะปรับเปลี่ยนระบบปฏิทินให้ดียิ่งขึ้น
ล่าสุดปฏิทินแบบใหม่ได้ถูกเสนอขึ้นมาและมีแนวโน้มอาจนำมาใช้จริง


             ก่อนจะกล่าวถึงปฏิทินใหม่ น่าจะทำความเข้าใจถึงระบบปฏิทินที่เราใช้อยู่กันก่อน

ปฏิทินที่นิยมใช้ในปัจจุบันมีชื่อว่าปฏิทินเกรกอเรียน (Gregorian Calendar) เป็นปฏิทินตามระบบสุริยะคติ กล่าวคือเป็นระบบบอกวันเวลาที่ยึดตามดวงอาทิตย์



เราอ้างอิงเวลาจากการหมุนรอบตัวเองของโลก และการที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์
โลกหมุนรอบตัวเอง ใช้เวลา 1 วัน ส่วนโคจรรอบดวงอาทิตย์ใช้เวลาเท่ากับหมุนรอบตัวเอง 365.25 รอบ หรือประมาณ 365 วัน กับอีก 6 ชั่วโมง


             เนื่องจากไม่มีทางแบ่งวันให้ลงตัวได้ เราจึงกำหนดให้ 1 ปี มี
365 วัน ตัดเศษ 0.25 วัน ออก  แล้วนำไปชดเชยโดยการเพิ่ม 1 วัน ทุกๆ 4 ปี
ทำให้เรามีวันที่ 29 กุมภาพันธ์ ทุก 4 ปี โดยเรียกปีที่มี 366 วันว่า leap
year หรือ ปีอธิกสุรทิน


             หากจะปรับเปลี่ยนปฏิทิน
เราไม่อาจเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงตามธรรมชาติ
อย่างเวลาโคจรรอบดวงอาทิตย์ให้เป็นจำนวนเต็มสวยๆ ได้

             สิ่งที่เราพอจะทำได้คือจัดแบ่งวัน เดือน ปี ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นโดยที่ยังสอดคล้องกับจังหวะของธรรมชาติอยู่




             ปัญหาหลักที่ทำให้วันในปฏิทินร่นไปทุกปีคือ การหารไม่ลงตัว
ต่อให้ตัดเศษ .25 วันไป 365 ก็ยังหาร 7 ไม่ลงตัวอยู่ดี เศษ 1
วันนี้จะทำให้วันในแต่ละปีเหลื่อมกัน


            หากจะเปลี่ยนให้ 1 สัปดาห์มี 5 วันเพื่อให้หารได้ลงตัว
คงจะส่งผลกระทบมากมายหากวันในสัปดาห์หายไป 2 วัน
แค่ชีวิตประจำวันคงโกลาหลน่าดู วันหยุด วันเรียน วันทำงานจะเปลี่ยนไปหมด
นอกจากนี้การอ้างอิงประวัติศาสตร์ย้อนหลังจะวุ่นวายซับซ้อนมาก


            ปฏิทินใหม่ที่เพิ่งเสนอขึ้นมาชื่อว่า Hanke-Henry Permanent Calendar  ใช้วิธีกำหนดให้ 1 ปี มี 364 วัน เพื่อให้หาร 7 ได้ลงตัว
นั่นหมายถึง หากวันที่ 1 มกราคม เป็นวันอาทิตย์ วันที่ 31 ธันวาคม
จะเป็นวันเสาร์  เมื่อครบรอบปี วันที 1 มกราคม จะตกที่วันเดิมทุกๆ ปี


            ไม่เพียงแค่นั้น ปฏิทิน Hanke-Henry
ยังจัดแบ่งจำนวนวันในแต่ละเดือนใหม่ โดยให้มีรูปแบบเป็นคาบ 30-30-31 คือ
มกราคม มี 30 วัน กุมภาพันธ์มี 30 วัน มีนาคมมี 31 วัน พอเมษายน ก็ให้มี 30
วันอีก เป็นคาบแบบนี้ไปเรื่อยๆ


             จะเห็นว่าจำนวนวันในคาบ 3 เดือน รวมกันได้ 91 วัน ซึ่งหาร 7
ลงตัวพอดี ทำให้แต่ละคาบมีการเรียงตัวของวันเหมือนกัน วันในเดือนเมษายน
กรกฎาคม ตุลาคมจะเรียงตัวเหมือนวันในเดือนมกราคม


             เมื่อคาบ 30-30-31 วัน วนครบ 4 รอบ ก็จะครบ 364 วัน หรือ 1 ปีพอดี ปัญหาคือ เศษ 1.25 วัน


            ปฏิทิน Hanke-Henry
ใช้วีธีชดเชยวันที่ขาดไปคล้ายกับปฏิทินเกรกอเรียน แต่ต่างกันตรงที่
แทนที่จะชดเชยทีละ 1 วัน ซึ่งทำให้วันเหลื่อม จะชดเชยที่ละ 7 วัน หรือ 1
สัปดาห์ แทน ดังนั้นทุกๆ 5-6 ปี ปฏิทิน Hanke-Henry
จะมีสัปดาห์พิเศษเพิ่มขึ้นมา คล้ายกับการมีวันที่ 29 กุมภาพันธ์ ทุก 4 ปี




หากเราเปลี่ยนมาใช้ปฏิทิน Hanke-Henry เราจะ...

- ไม่ต้องเปลี่ยนปฏิทินทุกปี สามารถทำปฏิทินเพียงแผ่นเดียว โดยระบุว่าปีใดบ้างที่มีสัปดาห์พิเศษ

- สามารถวางแผนงานล่วงหน้าได้ง่าย รวมทั้งจัดสรรวันหยุดวันลาต่างๆ ได้สะดวก

- รัฐบาลไม่ต้องมาคอยประชุมเพื่อประกาศวันหยุดราชาการทุกๆ ปี

- ลดความซับซ้อนยุ่งยากในการสร้างและใช้งานอุปกรณ์บอกเวลาได้ เช่น
คนใช้นาฬิกาก็ไม่ต้องคอยปรับเลื่อนวันในเดือนที่มีวันที่ 31
ผู้ผลิตก็ออกแบบนาฬิกาให้แสดงวันที่ได้โดยอ้างจากคาบ 30-30-31
ไม่จำเป็นต้องใช้การคำนวณยุ่งยากแบบในปัจจุบัน


แต่ขณะเดียวกันก็อาจทำให้เกิดผลกระทบในด้านลบเช่นกัน

- วันสำคัญหรือคนที่เกิดในวันที่โดนตัดทิ้ง เช่น วันที่ 31 พฤษภาคม ต่อไปจะฉลองวันเกิดวันไหนจะทำอย่างไรกับวันเหล่านี้

- การอ้างอิงเวลาในประวัติศาสตร์จะได้รับผลกระทบหรือไม่

- อาจต้องพิจารณาถึงความเข้ากันได้กับปฏิทินในระบบอื่นเช่น ปฏิทินจันทรคติ


         แน่นอนว่าในยุคเปลี่ยนผ่านย่อมมีติดขัด หรือสับสนบ้าง
แต่ที่ผ่านมา ปฏิทินมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขมาหลายครั้ง
ของไทยแงก็ยังเคยเปลี่ยนแปลงจากจุลศักราช  และรัตนโกสินทรศก
ช่วงแรกอาจสับสนแต่เมื่อเวลาผ่านไปคนเริ่มคุ้นเคยก็ไม่เป็นปัญหา


สิ่งสำคัญที่ควรพิจารณาคือ
ประโยชน์ที่จะได้รับจากการเปลี่ยนแปลงจะคุ้มค่าที่จะปรับตัวหรือไม่
ไม่ใช่กลัวว่ามันจะเปลี่ยนแปลงไป เพราะทุกๆ อย่างล้วนเปลี่ยนแปลงไปอยู่แล้ว
เราเพียงแต่ปรับตัวให้สอดคล้องก็พอ

อ้างอิง
//www.wired.com/wiredscience/2011/12/rational-calendar/
//www.infoplease.com/spot/gregorian1.html









Free TextEditor


Create Date : 30 มกราคม 2555
Last Update : 30 มกราคม 2555 9:20:50 น. 1 comments
Counter : 2836 Pageviews.

 
เข้ามาเยี่ยมชมครับ ^^


โดย: Sahassa วันที่: 18 มีนาคม 2555 เวลา:6:20:02 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สายลม08
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




Friends' blogs
[Add สายลม08's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.