Group Blog
พฤศจิกายน 2554

 
 
1
3
5
7
9
10
13
15
16
22
24
25
27
28
29
 
 
17 พฤศจิกายน 2554
All Blog
หลังน้ำลด...ซ่อมได้




ช่วงน้ำท่วมมาเวลานี้เรียกว่าสร้างความเสียหายไม่น้อยแล้ว แต่เชื่อแน่ว่าหลังน้ำลดสภาพความเสียหาย ที่แท้จริงจะมากยิ่งกว่า...นายสุขุม หลานไทย อาจารย์ประจำสาขาวิชาเทคโนโลยีไฟฟ้า คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏ (มรภ.) เพชรบุรี ให้คำแนะนำประชาชนเตรียมความพร้อมหลังน้ำลด เรื่องสำคัญอย่างหนึ่งเกี่ยวกับงบประมาณในการซ่อมบำรุงต่างๆ ไม่เฉพาะอาคารบ้านเรือนเท่านั้น แม้แต่บรรดาเครื่องใช้ไฟฟ้าที่จมน้ำเปียกน้ำทั้งหลายด้วย


“โดยเฉพาะเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เปียกน้ำ บางชิ้นซ่อมแล้วคุ้มแต่บางอย่างก็ซื้อใหม่คุ้มกว่า ยิ่งช่วงหลังน้ำลด ราคาค่าซ่อมและอะไหล่จะแพง ดังนั้นเพื่อไม่ให้เป็นการเสียค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็น ประชาชนสามารถตรวจสอบเครื่องใช้ไฟฟ้าเบื้องต้นได้ด้วยตัวเอง โดยเริ่มแรกแนะนำก่อนว่า ใครที่คิดว่าจะลองเสียบปลั๊กดูว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าใช้งานได้หรือไม่นั้น เป็นความคิดที่ผิดถนัด เนื่องจากการทดสอบเครื่องใช้ไฟฟ้าทันทีหลังจากเปียกน้ำจะทำให้ช็อตและเสียหายได้”


สิ่งที่ควรทำเป็นอันดับแรกคือการทำความสะอาดภายนอกและภายใน เท่าที่แกะชิ้นส่วนได้ โดยในส่วนของผิวสัมผัสด้านนอกวัสดุเช็ดล้างเท่าที่ทำได้ ส่วนแผงควบคุมหรือแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ในเครื่องใช้ไฟฟ้า ขอแนะนำให้ใช้แปรงสีฟันขัดเบาๆ แต่อย่าใช้ของแข็งในการทำความสะอาดเด็ดขาดถ้าไม่อยากให้มันพังเสียก่อน จากนั้นวิธีที่ดีที่สุดคือการตากแดดจนแน่ใจว่าแต่ละชิ้นส่วนแห้งสนิท หรือหากใครจะใช้ลมเป่าก็ได้ ถ้าหากเป็นลมร้อนจากไดร์เป่าผมก็อย่าให้ใกล้วัสดุมากนัก


ต่อจากนั้นให้ไปหาเครื่องวัดค่าทางไฟฟ้า หรือ มัลติมิเตอร์ส (Multimeters) มาใช้ทดสอบ โดยเจ้าเครื่องนี้สามารถหาซื้อได้ทั่วไป มีตั้งแต่ราคาประมาณ 400 บาทขึ้นไปจนถึงหลักหมื่นบาท ซึ่งผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ด้านไฟฟ้าเพียงปฏิบัติตามคู่มือ ด้วยการนำสายของตัวเครื่องแตะเข้ากับขั้วบวกและลบของเครื่องใช้ไฟฟ้า ระวังอย่าแตะผิดข้างเท่านั้น เพื่อตรวจสอบค่าความต้านทานไฟฟ้าของเครื่องใช้ไฟฟ้านั้น ๆ โดยดูง่าย ๆ หากหน้าปัดของมัลติมิเตอร์สขยับก็แสดงว่าใช้ได้ สามารถลองเสียบปลั๊กเปิดใช้งานได้เลย แต่ในกรณีที่หน้าปัดขยับแต่เสียบปลั๊กแล้วใช้ไม่ได้ หรือถ้าลองเปิดแล้วพบสิ่งผิดปกติ เช่น มีเสียงแปลกปลอม หรือส่วนที่ควรหมุนกลับไม่หมุน เป็นต้น ก็ควรถอดปลั๊กแล้วนำไปส่งช่างซ่อมหรือให้ผู้เชี่ยวชาญด้านไฟฟ้ามาดูให้จะดีกว่า หรือกรณีแตะขั้วบวกขั้วลบแล้วไม่มีอะไรเกิดขึ้น ก็ได้เวลาส่งให้ช่างซ่อมได้เช่นกัน


นายสุธิศ วรรณคร นักศึกษาปีที่ 3 สาขาวิชาเทคโนโลยีไฟฟ้า คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มรภ.เพชรบุรี เล่าว่า ตลอดเวลา 3 ปีที่เรียนไฟฟ้า มรภ.เพชรบุรี ได้ออกฝึกปฏิบัติมาหมดแล้วทั้งงานใหญ่งานเล็ก ไม่ว่าจะเป็นการเดินสายไฟ วางระบบไฟ ซ่อมไฟ ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ หรือแม้กระทั่งซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในครัวเรือน ตามโครงการ ’ไฟฟ้านำความรู้สู่ท้องถิ่นตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง“ ของ มรภ.เพชรบุรี ซึ่งในแต่ละปีจะออกพื้นที่ถึง 4 ชุมชนทั้งในจังหวัดเพชรบุรี และพื้นที่ใกล้เคียง


“ครั้งหนึ่งเคยไปจัดกิจกรรมซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ถูกน้ำท่วมให้กับชาวบ้านชุมชนท่ายาง จ.เพชรบุรี ก่อนออกทีมเราก็จะมีการประสานกับแกนนำชุมชนล่วงหน้าเพื่อประกาศให้ชาวบ้านนำเครื่องใช้ไฟฟ้ามารวมกัน ส่วนคณะที่จะลงพื้นที่ก็จะเตรียมอะไหล่ที่คาดว่าต้องเปลี่ยนไปให้พร้อม ทั้งนี้ชาวบ้านก็ขนกันมาแบบจัดเต็ม เราก็ซ่อมให้ได้หมด ทั้งทีวี ตู้เย็น พัดลม หม้อหุงข้าวไฟฟ้า ฯลฯ ส่วนใหญ่แล้วไม่มีอาการที่ซ่อมไม่ได้ แต่อาจมีปัญหาเรื่องขาดอะไหล่บางชิ้นไม่สามารถออกหาซื้อได้ทันเท่านั้น”


และด้วยสถานการณ์อุทกภัยครั้งใหญ่กินพื้นที่ภาคกลางและกรุงเทพมหานคร ทางทีมงานนักศึกษาและอาจารย์ สาขาเทคโนโลยีวิชาไฟฟ้า มรภ.เพชรบุรี กว่า 100 ชีวิต ได้เตรียมพร้อมเข้าให้บริการประชาชน โดยขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างสำรวจพื้นที่เหมาะสมที่จะเข้าไปให้ความช่วยเหลือกันแบบฟรี ๆ สนใจติดต่อสอบถามหรือขอความรู้เบื้องต้นได้ที่ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มรภ.เพชรบุรี โทร. 0-3249-3300-5 ต่อ 1214 และ 08-7166-9111



ข้อมูลจาก เดลินิวส์






Create Date : 17 พฤศจิกายน 2554
Last Update : 17 พฤศจิกายน 2554 18:28:31 น.
Counter : 788 Pageviews.

0 comments

Mimi-jaiko
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 28 คน [?]