<<
กรกฏาคม 2559
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
28 กรกฏาคม 2559

**การกำหนดลมหายใจในขณะสวดมนต์**







 การกำหนดลมหายใจเข้า-ออกในระหว่างการสวดมนต์จะทำให้มีสมาธิจดจ่อต่อบทสวดแน่วแน่ยิ่งขึ้น ความจำแม่นยำขึ้น ไม่หลงบทสวดโดยง่าย ทำให้การสวดมนต์มีจังหวะจะโคน สม่ำเสมอ ไม่เร็วหรือช้าเกินไป และเป็นรากฐานในการกำหนดลมหายใจเพื่อการบำเพ็ญกรรมฐานในขณะสวดมนต์และต่อเนื่องไปหลังจากสวดมนต์แล้ว  ผู้ที่กำหนดลมหายใจเข้ากับบทสวดมนต์เป็นประจำจะทำให้เป็นคนมีจิตใจเยือกเย็นลง มีสติ อันเป็นบ่อเกิดของสมาธิและปัญญา

ก่อนอื่น จะต้องแบ่งวรรคตอนในบทสวดให้ลงตัวเสียก่อน ในบทสวดแต่ละบทจะมีหัววรรคและท้ายวรรค สามารถกำหนดเองได้ หรือดูจากบทความของข้าพเจ้าในหมวดนี้เรื่อง เทคนิกการจำบทสวดพาหุง มหากา และชินบัญชร ก็ได้ 
หากเปรียบการใส่ทำนองลงในบทสวดมนต์เหมือนใส่ทำนองเพลง การกำหนดลมหายใจลงไปก็เท่ากับการคุมจังหวะดนตรีที่บรรเลงโดยไวทยากรนั่นเอง

การกำหนดลมหายใจลงในบทสวดสามารถใช้กับบทสวดมนต์แทบทุกบทไม่ว่าจะเป็นภาษาบาลีหรือภาษาอื่นๆ เพียงแต่ต้องกำหนดวรรค ตอน ให้ลงตัวให้ได้ก่อนเท่านั้น

ขอยกตัวอย่างพอสังเขป กรณีบทสวดมนต์ต่างๆ เหล่านี้...

นะโมตัสสะภะคะวะโต อาระหะโตสัมมาสัมพุทธัสสะ

เมื่อจะเริ่มสวดบทนี้ ให้สูดลมหายใจเข้าที่ "นะ" ผ่อนลมหายใจออกจนถึง "โต" ก่อนจะสูดเข้าอีกครั้งเมื่อสวด "อา" ผ่อนลมหายใจออกพร้อมกับสวดจนจบวรรค ถึงคำว่า "สะ"  แบ่งลมให้พอดีกับวรรคตอน

อิติปิโสภควาอาระหังสัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุขะโตโลกะวิทู นุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถาเทวะมานุสสานัง พุทโธภะคะวาติ

หัววรรคคือหายใจเข้าและท้ายวรรคคือสุดทางของลมหายใจออก สูดหายใจเข้าแล้วขึ้นวรรคใหม่ ทำเช่นนี้จนจบบทสวด  ก็จะได้การสวดมนต์ที่่มีจังหวะจะโคนสม่ำเสมอ ไม่วอกแวก 

พาหุงสะหัสสะมะ ภินิมมิตะสาวุธันตัง ครีเมขะลังอุทิตตะ โฆระสะเสนะมารัง ทานาทิธัมมะวิธินา ชิตะวามุนินโท ตันเตชะสาภาวะตุเม ชะยะมังคะลานิ

ท่านอาจจะแบ่งวรรคยังไงก็ได้ตามจริตและสุขภาพ แต่บทสวดพาหุงจะมีวรรคที่ซ้ำๆ กัน คือ "ตันเตชะสา..."  จึงแนะนำให้เป็นจุดตั้งต้นของการสูดลมหายใจเข้าของทุกครั้งเมื่อสวดถึงท่อนนี้  ทั้งนี้เพื่อง่ายต่อการกำหนดและไม่หลงบทสวด 

บทสวดมหากาก็เช่นกัน แต่กำหนดลมหายใจลงไปได้ง่ายกว่าพาหุงอีก เนื่องจากไม่มีวรรคที่ต้องสวดซ้ำๆ กันมากนัก ลองนำเทคนิกเดียวกันนี้ไปใช้ดูได้

คาถาชินบัญชรก็สามารถกำหนดลมหายใจลงบนบทสวดได้เช่นกัน  ขอยกตัวอย่างบางตอนดังนี้..

ชะยาสะนากะตาพุทธา เชตวามารังสะวาหะนัง
จะตุสัจจาสะภังระสัง เยปิวิงสุนะราสะภา

พอขึ้น"ตันหัง" ก็จะสูดลมหายใจเข้าและผ่อนออกจนถึง "พุทธา"  แล้วก็สูดเข้าไปใหม่เมื่อเริ่มคำว่า "อัฎฐะ" แล้วผ่อนออกไปจนสุดคำว่า "ยะกา"  ทำเช่นนี้กับวรรคอื่นๆ ต่อไปเรื่อยๆ จนจบบทสวด

ลองฝึกดูนะครับ รับรองว่าได้ประโยชน์กับตัวผู้สวดมนต์เป็นประจำอย่างแน่นอน



Create Date : 28 กรกฎาคม 2559
Last Update : 1 สิงหาคม 2559 7:19:45 น. 1 comments
Counter : 3549 Pageviews.  

 
เขียนหัวข้อนี้ในวันคล้ายวันเกิดของบุตรสาวของข้าพเจ้า เพื่อให้สาธุชนทั่วไปได้รับประโยชน์
ขอกุศลผลบุญในครั้งนี้ทำให้เธอได้เข้าถึงธรรมะของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และใช้หลักธรรมเป็นหลักยึดถือในการดำรงชีวิตสืบจากนี้ไปด้วยเทอญ


โดย: *bonny วันที่: 28 กรกฎาคม 2559 เวลา:10:05:11 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

*bonny
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]




[Add *bonny's blog to your web]