<<
มีนาคม 2552
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
20 มีนาคม 2552
 
 

มาเข้าใจพฤติกรรมของลูกๆ กันเถอะ

วันนี้จะพูดถึงเด็กๆวัยทารกก่อนนะคะ 0-2 ปีค่ะ


1. เด็กร้องให้เวลาตื่นนอน
จะเกิดจากหลายๆสาเหตุ ได้ค่ะ
1. เด็กปวดปัสสาวะ อุจจาระ
2. ตกใจเสียงดัง
3. ฝันร้าย
4. ตื่นมาแล้วไม่เจอใคร
5. นอนทับแขนนานเกินไป อาจจะเป็นตะคริว

วิธีแก้
1.เมื่อลูกตื่นแล้วร้องให้ ก็เข้าไปหาลูก พูดเพราะๆ ด้วยเสียงที่นุ่มนวล เช่น ตื่นแล้วหรอลูก แต่ถ้าเด็กยังไม่หยุดร้องก็ชวนเค้าคุยค่ะ อาจจะถามว่า ฝันร้ายหรอคะ ไม่ต้องกลัวนะคะ ถึงแม้จะเป็นการถามที่ไม่ได้ต้องการคำตอบ เพราะเด็กยังอธิบาย หรือเล่าอะไรมากไม่ได้ แต่การปลอบเด็ก จะทำให้เด็กรู้สึกปลอดภัย อุ่นใจ
2. เด็ก คอเคล็ดรึเปล่า ดูจากเวลาที่เด็กเดินหรือคลาน คอจะเอียงๆ
3. พาเด็กเข้าห้องน้ำ

ที่สำคัญนะคะ เมื่อไหร่ที่เด็กตื่นมา แล้วไม่ร้องให้ ควรจะให้รางวัล เช่น ชมเชย จะช่วยแก้ปัญหาเวลาเด็กร้องให้เพราะไม่เห็นใครตอนตื่นได้นะคะ
เป็นการสอนเด็กให้รู้จักการรอคอยด้วย สอนให้เค้ารู้จักเรียก เวลาตื่น แทนการร้องให้ค่ะ




2. ร้องให้กลั้น
เมื่อไม่นานมานี้ เหมือนเคยอ่านเจอว่ามีคุณแม่ท่านึงเข้ามาถามถึงอาการของลูก ที่ร้องให้แล้วเหมือนจะเป็นลม ซึ่งคุณหมอเหมียวก็ได้ให้ข้อมูลไปส่วนหนึ่งแล้วนะคะ

ร้องให้กลั้นนั้น อาการจะหายไปเมื่อเด็กโตขึ้น เกิดจากการที่เด็กกลั้นหายใจ
เวลาที่เด็กร้องให้ ทำให้ปากเขียว หรือหมดสติไปประมาณ ครึ่งนาที
สาเหต จะเกิดจากการ ถูกขัดใจ หรือเวลาโกรธ
ถ้าพ่อแม่ที่เลี้ยงลูกแบบประคบประหงมมาก ตามใจมากๆ เด็กมักจะเกิดอาการแบบนี้เมื่อถูกขัดใจ และจะเป็นสิ่งที่เด็กเรียนรู้ว่า ถ้าเค้าทำแบบนี้ จะยิ่งได้ในสิ่งที่เค้าต้องการมากขึ้น

การแก้ไข
1. ไม่ต้องกังวลนะคะ เพราะเมื่อเด็กแน่นิ่งจากการกลั้นหายใจแบบนี้ เด็กจะคลายการกลั้นหายใจเอง การทำงานของหัวใจจะกลับสู่ภาวะปกติ ไม่มีผลกระทบต่อสมองค่ะ
2. พยายามไม่เลี้ยงดูเด็กโดยการตามใจจนเกินไป เมื่อเด็กถูกขัดใจ หรือไม่ได้ในสิ่งที่เขาต้องการ ก็ให้ชี้แจงเหตุผล
3. การทำให้เด็กรู้ตัว สามารถทำได้โดย เอาน้ำแข็งประคบ เขย่าตัว
แต่ถ้าเด็ก เกร็งกล้ามเนื้อ แน่นิ่งไปนาน ควรจะรีบส่งโรงพยาบาล


3. การติดขวดนม
การติดขวดนมนั้นเกิดจากความเคยชินของเด็ก เป็นนิสัยที่ค่อนข้างใช้เวลาในการแก้
หรือ อาจจะเกิดจาก
1. เห็นน้องทานจากขวด เลยทำให้มีการเลียนแบบ
2. เด็กเกิดความอบอุ่นทางใจเมื่อได้ดูดนม ซึ่งจะตรงกับทฤษฎี ของฟรอยด์ค่ะ ที่เด็กวัยนี้ จะมีขั้นพัฒนาการอยู่ที่ปาก การดูด กัด อม และจะค่อยๆ พัฒนาไปในด้านอื่นเมื่อโตขึ้น

การแก้ไขนะคะ
1. เมื่อเด็กไปที่โรงเรียนแล้วจะช่วยได้ค่ะ ถ้าเห็นเพื่อนๆ ดื่มนมจากแก้ว
แรกๆเด็กจะเริ่มดื่มจากแก้วที่โรงเรียน แต่เมื่อกลับบ้านก็ยังดูดจากขวดเหมือนเดิม จะต้องใช้เวลาให้เด็กปรับตัวช่วงนึงค่ะ
2. หากิจกรมให้เด็กทำค่ะ ให้เด็กไม่ว่างที่จะคิดถึงขวดนม เช่นให้เล่นของเล่น
แทนที่จะปล่อยให้เด็กนั่งเฉยๆ หรือพาไปเล่นกับเด็กคนอื่นๆ ที่เลิกดื่นนมขวดแล้ว
3. ถ้าเด็กดูดนมขวดเพราะเลียนแบบน้อง ก็อธิบายให้เค้าเข้าใจว่า
น้องเค้าเล็กกว่าเรา เข้ายังต้องดูดนม เมื่อน้องโตขึ้น น้องก็จะดื่มจากแก้วเหมือนพี่ได้
4. เด็กบางคนจะดูดนมเพื่อลดความเครียด เพราะฉะนั้นควรจะดูว่ามีอะไรที่ทำให้เด็กเครียดรึเปล่า
5. ให้รับประทานอาหารอย่างอื่นมากขึ้น จะช่วยลดการดื่มนมได้ค่ะ





4. เดินกระทืบเท้า หรือเหวี่ยงแขน หรือใช้ความรุนแรงเวลาไม่พอใจ
ซึ่งจะแสดงออกได้หลายอย่างค่ะ เช่น นอนดิ้น ร้องให้เสียงดัง กระทืบเท้าแรงๆ เหวี่ยงแขนไปมา

สาเหตุ
จะเกิดเมื่อถูกขัดใจ ส่วนใหญ่จะเป็นเวลาที่ผู้ใหญ่ให้เค้าต้องรอ เพราะเด็กวัยนี้ จะยังไม่ค่อยเข้าใจคำว่า "รอคอย" ทุกอย่างที่เค้าต้องการ ต้องเป็น "เดี๋ยวนี้"

การแก้ไข
1. เมื่อเด็กแสดงพฤติกรรมแบบนี้ ต้องไม่ตะคอก หรือใช้อารมณ์กับเด็ก
ต้องรอจนกว่าเด็กจะสงบ พร้อมที่จะฟัง แล้วก็สอนเค้าว่า การทำแบบนี้ ไม่สามารถช่วยให้เค้า ได้ในสิ่งที่ต้องการได้
2. ไม่ตกใจ ไม่ใจอ่อน เพราะเด็กจะให้พฤติกรรมนี้เป็นเครื่องต่อรองทุกครั้ง
3. ไม่ทำตัวเป็นแบบอย่าง เช่น ผู้ใหญ่ที่บ้านต้องไม่ โยนของ โวยวาย
เวลาโมโห เพราะจะทำให้เด็กเลียนแบบพฤติกรรม
4. พูดใหเด็กเข้าใจ และมีความหวัง
เช่น ใช้คำว่า "ครั้งหน้า" "รอให้คุณแม่ อาบน้ำเสร็จก่อนนะคะ" เด็กจะรู้ว่าเมื่อไหร่ ไม่ควรใช้คำว่า ไม่ได้ รอไปก่อน เพราะเด็กจะไม่เข้าใจว่า เมื่อไหร่จะได้



เด็กวัย 2-6 ปี

1. ชอบรังแกน้อง

มักจะเกิดจาก
1.น้อยใจว่าพ่อแม่รักน้องมากกว่า
2. ไม่เข้าใจว่าพี่ควรจะเสียสละอะไรให้น้องบ้าง หรือเด็กเป็นคนที่ไม่ยอมใคร ไม่เคยแบ่งอะไรให้ใคร
3. พ่อแม่ ตามใจ ไม่เคยดุเวลาพี่แกล้งน้อง
4. น้องมักจะชอบแย่งของเล่นเสมอ

การแก้ไข
1. ควรจะทำโทษทั้งคู่ ถึงแม้น้องจะยังเล็กอยู่ แต่เป็นการทำโทษอย่างเหมาะสมตามวัยค่ะ เช่น ให้แยกกันเล่น ถ้ายังทะเลาะกัน อธิบายเหตุผลทุกครั้งที่โดนทำโทษ หรือถ้าเห้นว่าน้องเป็นฝ่ายเริ่มก่อน อาจจะแย่งของเล่นจากพี่ หรือตีพี่ก่อน ก็จับน้องแยกออกไปเล่นที่อื่น แล้วก็คุยกับเค้าค่ะว่า น้องยังเล็กนะ ยังไม่เข้าใจว่าอะไรควรไม่ควร อธิบายให้เค้ารู้ว่า เค้าควรจะทำอย่างไรเวลาน้องมาแกล้ง รวมทั้งชมเชยและให้รางวัลเมื่อเค้าทำตัวดีกับน้อง
2. พยายามซื้อของเล่นให้คล้ายๆกัน
3. แสดงออกให้เค้ารู้ว่าพ่อแม่รักพี่และน้องเท่าๆกัน




2. ชอบกัดเล็บ
มักจะเกิดจาก
1. เครียด กังวลใจ หรือเวลาถูกดุ เมื่อไม่มีอะไรทำ
2. ตัดเล็บให้เด็กไม่เรียบ เด็กรำคาญ จึงต้องคอยกัดเล็บ
3. เด็กขาดความมั่นใจ บางคนยิ่งถูกห้ามก็ยิ่งกัดมากขึ้น
การแก้ไข
1. หาสาเหต ที่ทำให้เด็กไม่สบายใจ
2. หากกิจกรรมให้ทำ เป็นการเบียงเบนความสนใจจากการกัดเล็บ
3. ทำให้ลูกรู้สึกถึงความมั่นคง ความอบอุ่น เช่น แสดงความรัก ให้เค้ามั่นใจ หรือ ไม่ทะเลาะกันให้ลูกเห็น
4. ทาเล็บให้ เมื่อเด็กเห็นว่าสวย จะไม่กล้ากัด และเด็กจะเลิกกัดได้เองค่ะ
หรือ ทำตางราง น่ารักๆให้เด็ก ถ้าวันไหนเด็กไม่กัดเล็บเลย ก็ให้ดาว หรือติดสติกเกอร์น่ารักๆ แล้วมาดูกันว่า 1 อาทิตย์นั้น เด็กทำได้กี่วัน ควรจะชมเชยหรือให้รางวัลเด็ก ให้เค้าภูมิใจ ถึงแม้ว่าจะทำได้เพียงวันเดียว หรือถ้าช่วงแรกทำไม่ได้ ก็พูดให้เค้ารู้ว่า "แม่รู้นะคะว่าหนูกำลังพยายาม" แล้วสนับสนุน ให้กำลังใจเค้าต่อไป

พูดถึงเด็ก 2-6ขวบ กันต่อดีกว่า

1. ติดผ้าห่ม ตุ๊กตา ฯลฯ
ถ้าเด็กอายุ ยังไม่ถึง 5-6 ขวบ ก็ถือว่าเป็นเรื่องปกติค่ะ เพราะเด็กจะรู้สึกอบอุ่น และมั่นคง ถ้าได้มีของที่เค้าผูกพันติดตัวไว้ข้างกาย
ในระยะที่เค้าเริ่มแยกจากพ่อแม่ และเริ่ม เป็นตัวของตัวเองมากขึ้น
สำหรับเด็กที่เริ่มโตแล้ว ยังติดสิ่งเหล่านี้อยู่ แสดงว่าเด็กนั้น จิตใจยังไม่มั่นคงพอ ต้องพึ่งพาของอย่างอื่นเมื่อให้ตัวเองมั่นใจ หรืออยังมีวามรู้สึกว่าอยากเป็นเด็ก
วิธีแก้ ก็เริ่มจากการจำกัดสถานที่ที่เด็กจะมีสิ่งของเหล่านี้ จากกว้างๆไปแคบๆ เช่น ในบ้าน ก่อน แล้วค่อยมาเป็นเฉพาะเวลาก่อนนอน
หลังจากนั้นก็หาอย่างอื่นมาให้เด็กแทนค่ะ อาจจะเป้นของเล่นที่เด็กชอบ หรือกิจกรรมต่างๆ ที่ทำให้เค้าเพลิน หรือเสริมสร้างความมั่นใจ
เด็กจะค่อยๆเลิกไปเอง


2. เด็กไม่ค่อยทานอาหาร
เกิดจากหลายสาเหตุค่ะ ควรจะคอยสังเกตว่า จากสาเหตไหนเป้นหลัก หรือว่าหลายๆอย่าง จะช่วยให้คุณพ่อคุณแม่ แก้ปัญหาได้ง่ายขึ้นนะคะ
สาเหตุ
1) ความเจ็บป่วย ด้านร่างกาย เช่นเจ็บคอ ปวดท้อง เป็นหวัด
2) คนป้อนอาหารไม่เป็น อาจจะใส่ช้อนลึกเกินไป ตื้นเกินไป(ตรงปลายลิ้น) หรือช้อนใหญ่เกินไป ทำให้เด็กเจ็บ หรือรู้สึกลำบากเวลากิน
ทำให้เด็กไม่ชอบเวลากินข้าว หรือเด็กไม่ชอบคนป้อนก็มีผลนะคะ
3) ดื่มนมเยอะเกินไป เด็กจะชินกับการดื่มนม
4) เด็กมักจะโดนดุบนโต๊ะอาหารบ่อยๆ เช่น ทานหก ทานช้า ทำให้เด็กมีความรู้สึกไม่ดี ทั้งเวลาทานข้าว หรือสถานที่กินข้าว เด็กจะเก็บกดได้ค่ะ
5) อาหารไม่หลากหลาย
6)ห่วงเล่นมากกว่า
7) ทานขนม หรือของว่างมากไป โดยเฉพาะถ้าเด็กทานของหวานๆก่อนเวลาอาหาร จะทำให้อิ่ม

เทคนิคที่ทำให้เด็กทานอาหารได้มากขึ้น
1) ให้การเสริมแรงแก่เด็กค่ะ เช่นถ้าเด็กทานหมด จะให้กินของที่ชอบ ดูทีวี ชมเชย หรือการหาสิ่งที่เค้าสนใจขณะทานอาหาร
แต่วิธีนี้ แนะนำไม่ให้ใช้ประจำหรือใช้บ่อยนะคะ ควรจะใช้ตอนเริ่มแรก เพื่อสร้างความรู้สึกที่ดีกับโต๊ะอาหาร หรือเวลาอาหาร
ส่วนคำชมเชย ใช้ได้ไม่จำกัดค่ะ ยิ่งบ่อยยิ่งดี
2) ศึกษาเกี่ยวกับอาหารเสริมที่ให้กับเด็กว่ามีผลต่อการทานอาหารหรือไม่ เชน วิตามินA มีผลทำให้เด็กเบื่ออาหาร
3) งดขนม และลูกอม ก่อนเวลาทานอาหาร
4) มีอาหารให้เด็กได้เลือกบ้าง และเตรียมอาหารให้น่าทาน
5) ตำแหน่งที่ป้อนอาหารที่ดี คือโคนลิ้นค่ะ ไม่ควรลกกว่านี้ และไม่ป้อนแค่ที่ปลายลิ้น
6) มีที่นั่งให้เด็กโดยเฉพาะ
7) ให้โอกาสเด็กที่จะฝึกทานอาหารเอง ไม่เร่งรัด หรือคาดหวังเรื่องความสะอาด เรียบร้อยขณะทานมากเกินไป
8) หาเวลาซักอาทิตย์ละครั้ง เปลี่ยนบรรยากาศ สถานที่ทานข้าว จะทำให้เด็กทานข้าวได้เยอะขึ้นค่ะ

เสริมเรื่องการทานอาหารหน่อยนะคะ ควรจะฝึกให้ทานเป็นที่ ไม่ควรให้เด็กนั่งทานตรงไหนก็ได้ เพราะบางเวลาที่เราจำเป็นต้องให้เด็กทานบนโต๊ะ หรือไปนอกบ้าน การที่ตามใจเด็ก จะทำให้เด็ก อึดอัดที่ต้องนั่งบนโต๊ะ เด็กจะลุกไปมา พ่อแม่ก็จะดูแลยากขึ้นค่ะ รวมทั้งเป็นการฝึกระเบียบให้กับลูกด้วย


3. เด็กที่ชอบสำเร็จความใครด้วยตัวเอง
เด็กวัยนี้ เริ่มที่จะสำรวจอวัยวะของตัวเอง และจะชอบอวัยวะสืบพันธ์เป็นพิเศษ
อาการที่เกิดขึ้นอาจมีได้ดังนี้
1) องคชาติแข็งตัวขึ้น ขาเกร็ง ตัวเกร็ง
2) สั่นเล็กน้อย กล้ามเนื้อหน้าท้องแข็ง หายใจหอบ หรือยุดหายใจชั่วขณะ
3) หลับตาแน่น
แต่เด็กวัยนี้จะทำโดยไม่ได้ตั้งใจ เป็นเพียงความบังเอิญที่เด็กเรียนรู้ว่า ทำแบบนี้แล้วรู้สึกดี หรือเลียนแบบผู้ใหญ่

การป้องกัน
1) ไม่ให้เด็กเห็นการร่วมเพศของพ่อแม่
2) ให้ความรู้เรื่องอวัยวะต่างๆ เหมือนเป็นเรื่องปกติ ไม่แสดงให้เด็กเห็นว่า อวัยวะเพศเป็นเรื่องน่าอาย น่าเกลียด ห้ามพูด แต่ควรสอนเพิ่มเติมว่า
อวัยวะส่วนนี้ ต้องไม่ให้ใครมายุ่ง ไม่เปิดให้ใครเห็น สอนให้เด็กเห็นถึงความแตกต่าง และหน้าที่ของแต่ละอวัยวะค่ะ

การแก้ไข
1) หากิจกรรมให้เด็กทำ
2) ถ้าเห็นเด็กกำลังสำเร็จความใคร ห้ามดุ หรือทำให้เด็กรู้สึกที่ไม่ดี ควรจะพูด อธิบาย ตามแบบเด็กๆค่ะ เช่น อาจจะติดเชื้อได้นะคะ หรือถ้าไม่พูด ก็เบี่ยงเบนความสนใจของเด็กมาทำอย่างอื่นแทน
3) ถ้าเด็กสำเร็จความใคร่บ่อยเกินไป ก็ปรึกษาจิตแพทย์ได้ค่ะ


4. เด็กขี้อาย
เด็กที่ขี้อาย จะไม่ค่อยกล้าคุยกับคนอื่นที่ไม่ใช่คนที่คุ้นเคย ถามอะไรจะไม่ค่อยตอบ พูดเบา อารมณ์อ่อนไหว ติดเพื่อน
สาเหตุ
1) ตอนเล็กๆ มักจะไม่ค่อยมีใครสนใจ
2) พ่อแม่เข้มงวด เด็กไม่ค่อยได้มีโอกาสแสดงออก หรือเลือกวิธีที่จะทำสิ่งต่างๆด้วยตัวเอง มักจะรอให้พ่อแม่บอก หรือรอให้ผู้อื่นทำให้
เพราะเด็กกลัวจะถูกว่าเมื่อทำพลาด
3) ไม่ค่อยได้มีโอกาส พบปะคนอื่น ทั้งเด็กวัยเดียวกัน หรือผู้ใหญ่คนอื่นๆ
4) พ่อแม่ขี้อาย

การแก้ไข
1) เริ่มจากการที่พาเด็กออกมาเดินเล่น ให้รู้จักเพื่อนบ้าน เด็กคนอื่นๆ
2) สร้างความมั่นใจให้เด็ก เช่น สนับสนุนให้เด็กกล้าลงมือทำ ให้กำลังใจ ชมเชยเมื่อเด็กทำอะไรสำเร็จ และให้กำลังใจ เมื่อเด็กทำพลาด ไม่ควรดุ หรือลงโทษ
3) พ่อแม่ควรเป็นตัวอย่างที่ดี
4) ไม่พูดย้ำถึงปมด้อยของเด็ก ถึงแม้จะเป็นการพูดเล่นก็ตาม เช่น อ้วน ดำ ขาโก่ง ฯลฯ
5) ใจเย็น เมื่อเปิดโอกาสให้เด็กทำอะไรเอง ยอมรับในศักยภาพของเด็กเช่น ถ้าเด็กยังทำอะไรช้า ลังเล ทำไม่ควรที่จะเร่ง หรือดุ
เพราะจะยิ่งทำให้เด็กไม่มั่นใจ ต้องให้เวลา เด็กจะเริ่มมั่นใจมากขึ้นเมื่อทำได้
6) ไม่ตั้งเป้าหมายที่ยากเกินไป เริ่มจากทำในสิ่งที่ง่ายๆ เมื่อเด็กเรียนรู้ และรู้สึกดีกับความสำเร็จ จะเป็นแรงผลักดันให้เด็ก พร้อมที่จะทำสิ่งที่ยากขึ้น




5.ปัสสาวะรดที่นอน
อาการที่ถือว่าผิดปกติ คือเป็นกับเด็กที่มีอายุมากกว่า 4 ปี ที่ปัสสาวะรดที่นอนทุกวัน หรือบ่อยๆ

สาเหตุ มีมากมายเลยค่ะ
1) เป็นโรคที่เกี่ยวกับกระเพาะปัสสาวะ
2)มีการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม สูญเสียอะไรบางอย่างที่เด็กรัก
3) ดื่มน้ำหรือนมก่อนนอนมากเกินไป
4) กลัวอะไรบางอย่าง เช่นห้องน้ำ หรือมีอะไรที่ดูเหมือนคน สัตว์ ที่อยู่ใกล้ๆห้องน้ำ ทำให้เด็กจินตนาการ หรือตกใจได้
5) พ่อแม่ไม่ฝึกเรื่องการขับถ่าย หรือฝึกเข้มงวดจนเกินไป
6) เลียนแบบน้อง
7) ตอนกลางวันมีกิจกรรมมากเกินไป จะส่งผลให้กล้ามเนื้ออ่อนแอ และมีผลเรื่องการควบคุมการขับถ่าย
8) เป็นผลจากอารมณ์ เช่นโกรธ น้อยใจ ถ้าเด็กมีอารมณ์ที่ไม่ดี เก็บไว้เยอะๆ จะมีผลต่อเรื่องนี้ได้

การแก้ไข
1) คล้ายๆเรื่องการกัดเล็บนะคะ คือทำตารางให้เด็กค่ะ ติดสติกเกอร์ หรือให้ดาว ในวันที่เด็ก ไม่ปัสสาวะรดที่นอน ควรจะชมเชย ถึงแม้ว่าจะทำได้เพียงคืนเดียวต่อ 1 อาทิตย์
2) ชมเชย เมื่อเด็กบอกได้ว่าปวดฉี่ เด็กจะมั่นใจขึ้นค่ะ
3) ไม่ไปพูดให้คนอื่นฟัง ทำให้เด็กอาย
4) ปลุกขึ้นมาฉี่ อาจจะทุกๆ 3-4 ชม.
5) ถ้าเด็กฉี่รดที่นอน เพราะปัญหาทางอารมณ์ ก็ควรหาสาเหตุและแก้ให้ตรงจุด เช่น เด็กอิจฉาน้อง อยากทำตัวเป็นเด็กอีกครั้งให้แม่สนใจ ก็อธิบายกับลูกดีๆว่า เด็กที่โตแล้วจะไม่ฉี่รดที่นอน อีกหน่อยน้องก็จะเก่ง และทำได้เหมือนพี่ รวมทั้งให้ความมั่นใจ ว่าแม่ยังรักเค้าเหมือนเดิม ถ้าแก้ปัญหาเรื่องอารมณ์ได้ เด็กจะเลิกฉี่รดที่นอนได้เองค่ะ
6) เปิดไฟ ให้สว่างพอตรงทางไปห้องน้ำ ไม่ควรมีอะไรแขวนไว้ โดยเฉพาะเสื้อ กับกางเกง และช่วงแรกๆ ควรไปห้องน้ำเป็นเพื่อนเด็ก
7) เตรียมกระโถนไว้ในห้อง ถ้าห้องน้ำอยู่ไกล หรือไม่สามารถเปิดไฟทิ้งไว้ได้
8) ลดการดื่มน้ำก่อนนอน หรือผลไม้ที่มีน้ำมาก เช่นแตงโม



ข้อมูลอ้างอิงมาจากหนังสือ "คู่มืออ่าน พฤติกรรมเด็ก"


ต้องขอขอบคุณ คุณ HaJi_OoO_iJaH ณ ห้องชานเรือนสำหรับข้อมูลนะคะ

ขออนุญาต Save ไว้อ่านค่ะ




 

Create Date : 20 มีนาคม 2552
1 comments
Last Update : 20 มีนาคม 2552 13:53:30 น.
Counter : 922 Pageviews.

 

ชวนไปเที่ยว
เติมพลังชีวิต
ห้องใหม่....
ห้องโน้ตอุดม

 

โดย: พลังชีวิต 23 มีนาคม 2552 22:25:12 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

 

คนแก่งคอย
Location :
สระบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




[Add คนแก่งคอย's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com pantip.com pantipmarket.com pantown.com