17.6 พระสูตรหลักถัดไป คือมหาตัณหาสังขยสูตร
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
17.5 พระสูตรหลักถัดไป คือมหาตัณหาสังขยสูตร

ความคิดเห็นที่ 3-55
GravityOfLove, 23 พฤษภาคม 2556 เวลา 11:07 น.

แก้ไขย่อความ
             เทวดาที่เนื่องในหมู่พรหม (พรหมกายิกา ๓ ชั้น) ... เทวดาชั้นอาภา  
(เทวดาชั้นปริตตาภา ... เทวดาชั้นอัปปมาณาภา ... เทวดาชั้นอาภัสสรา) ...
เทวดาชั้นปริตตสุภา ... เทวดาชั้นอัปมาณสุภา ... เทวดาชั้นสุภกิณหกะ ...
เทวดาชั้นเวหัปผละ ... เทวดาชั้นอวิหา ... เทวดาชั้นอตัปปา ...
เทวดาชั้นสุทัสสา ... เทวดาชั้นสุทัสสี ... เทวดาชั้นอกนิฏฐะ ... ก็เป็นไปได้
(ตรัสรูปพรหม ๑๕ ชั้นเท่านั้น เพราะอสัญญีภพนั้นพวกดาบสและปริพพาชก
ภายนอก (ศาสนา) สะสมกัน)

ใช้ได้หรือไม่คะ

ความคิดเห็นที่ 3-56
ฐานาฐานะ, 23 พฤษภาคม 2556 เวลา 11:20 น.

             ใช้ได้ครับ หรือจะใช้คำว่า รูปพรหมที่มีสัญญา 15 ชั้นก็ได้
หรือจะตัดจำนวนออกไปก็ได้ คือไม่ต้องมีคำว่า (รูปพรหม ๑๖ ชั้น)

ความคิดเห็นที่ 3-57
GravityOfLove, 23 พฤษภาคม 2556 เวลา 11:45 น.

ส่งคำตอบแล้วนะคะ

ความคิดเห็นที่ 3-58
ฐานาฐานะ, 23 พฤษภาคม 2556 เวลา 12:02 น.

GravityOfLove, 3 ชั่วโมงที่แล้ว
ขอบพระคุณค่ะ
...
             ตอบคำถามในสาเลยยกสูตร
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=8867&Z=9055
...
7:44 AM 5/23/2013

             ตอบคำถามได้ดี ทั้งสองข้อ
             แต่แปลกใจคำว่า
              ๑๐. กุศลกรรมบถ ๑๐ ข้อ ก็คือ ศีล
             นำมาจากไหน?
             คำว่า ศีล คือ ความประพฤติชอบทางกายและวาจา, การรักษากายวาจาให้เรียบร้อย
             กุศลกรรมบถข้อ 1-7 เป็นสีลสิกขา
             กุศลกรรมบถข้อ 8-9 น่าจะเป็นจิตตสิกขา
             กุศลกรรมบถข้อ 10 น่าจะเป็นปัญญาสิกขา

             คำว่า ศีล กรรมบถ สิกขา
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ศีล#find6
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=กรรมบถ
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=สิกขา

ความคิดเห็นที่ 3-59
GravityOfLove, 23 พฤษภาคม 2556 เวลา 12:07 น.

จากอรรถกถาค่ะ
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=483&bgc=floralwhite
จริงอยู่ กุศลกรรมบถทั้ง ๑๐ ข้อ ก็คือศีล, การบริกรรมกสิณย่อมสำเร็จแก่ผู้มีศีลเท่านั้น ฉะนั้น ...

ความคิดเห็นที่ 3-60
ฐานาฐานะ, 23 พฤษภาคม 2556 เวลา 12:10 น.  

             รับทราบครับ.

ความคิดเห็นที่ 3-61
GravityOfLove, 23 พฤษภาคม 2556 เวลา 12:16 น.

คำตอบข้อ 1.๑๐ ขยายความตามคุณฐานาฐานะนะคะ

ความคิดเห็นที่ 3-62
ฐานาฐานะ, 23 พฤษภาคม 2556 เวลา 12:25 น.

GravityOfLove, 3 นาทีที่แล้ว
คำตอบข้อ 1.๑๐ ขยายความตามคุณฐานาฐานะนะคะ
12:16 PM 5/23/2013
             เป็นความเห็นส่วนตัวเท่านั้นก็พอครับ
คือลงเป็นการสนทนาธรรมตามปกติครับ.
             คำว่า จริงอยู่ กุศลกรรมบถทั้ง ๑๐ ข้อ ก็คือศีล
             น่าจะให้นัยว่า เป็นเบื้องต้นของกุศลธรรมเท่านั้น
คือเป็นรากฐานที่อาศัยแล้วเจริญกุศลธรรมอื่นๆ ยิ่งๆ ขึ้นไปได้.

ความคิดเห็นที่ 3-63
GravityOfLove, 23 พฤษภาคม 2556 เวลา 12:30 น.

เข้าใจแล้วค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 3-64
ฐานาฐานะ, 23 พฤษภาคม 2556 เวลา 12:34 น.

ฐานาฐานะ, 1 ชั่วโมงที่แล้ว
             ใช้ได้ครับ หรือจะใช้คำว่า รูปพรหมที่มีสัญญา 15 ชั้นก็ได้
หรือจะตัดจำนวนออกไปก็ได้ คือไม่ต้องมีคำว่า (รูปพรหม ๑๖ ชั้น)
11:20 23/5/2556
             ถามว่า เลือกวิธีใด?

ความคิดเห็นที่ 3-65
GravityOfLove, 23 พฤษภาคม 2556 เวลา 12:40 น.

เติมวงเล็บไว้ท้ายสุดว่า
(ตรัสรูปพรหมที่มีสัญญา ๑๕ ชั้นเท่านั้น เพราะอสัญญีภพนั้น
พวกดาบสและปริพพาชกภายนอก (ศาสนา) สะสมกัน)

ความคิดเห็นที่ 3-66
ฐานาฐานะ, 23 พฤษภาคม 2556 เวลา 12:42 น.

             รับทราบครับ.

ความคิดเห็นที่ 3-67
ฐานาฐานะ, 23 พฤษภาคม 2556 เวลา 13:08 น.

            เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า สาเลยยกสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=8867&Z=9055

             พระสูตรหลักถัดไป คือเวรัญชกสูตร [พระสูตรที่ 42].
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔
             มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
             เวรัญชกสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=9056&Z=9219
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=488

             มหาเวทัลลสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=9220&Z=9419
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=493

             จูฬเวทัลลสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=9420&Z=9601
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=505

ความคิดเห็นที่ 3-68
GravityOfLove, 23 พฤษภาคม 2556 เวลา 14:36 น.

             คำถามเวรัญชกสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=488&bgc=papayawhip
             ที่เคยเรียนมาคือ
             ๑. ธรรมเทศนาที่ยกพระธรรมเป็นที่ตั้ง (ธัมมาธิษฐาน)
             ๒. บุคคลเทศนาที่ยกพระธรรมเป็นที่ตั้ง (ธัมมาธิษฐาน)  
             ๓. บุคคลเทศนาที่ยกบุคคลเป็นที่ตั้ง (บุคคลาธิษฐาน) << เวรัญชกสูตร
             ๔. พระธรรมเทศนาที่ยกบุคคลเป็นที่ตั้ง (บุคคลาธิษฐาน) << สาเลยยกสูตร
             กระทู้ที่ ๑๒ มรณัสสติสูตร //2g.pantip.com/cafe/religious/topic/Y12560599/Y12560599.html#9
             อรรถกถา มูลปริยายสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12.0&i=1&p=3#เทศนา

              แต่ในอรรถกถาเวรัญชกสูตรกล่าวว่า
             ก็เพียงแต่ในพระสูตรนี้ (เวรัญชกสูตร) พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงกระทำการแสดงชนิดยกเอาบุคคล
มาเป็นที่ตั้งอย่างนี้ว่า "บุคคลผู้มีปกติประพฤติไม่เป็นธรรม มีปกติประพฤติไม่เรียบร้อย" << OK ตรงตามที่เข้าใจ
             แต่ในพระสูตรก่อน (สาเลยยกสูตร) เป็นชนิดยกเอาธรรมมาเป็นที่ตั้งเท่านั้น. << ต้องพูดว่า ยกเอาบุคคลเป็นที่ตั้ง ไม่ใช่หรือคะ
ต่างกันตรงที่เป็น พระธรรมเทศนา (คือน่าจะเป็นข้อ ๔)
             ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 3-69
ฐานาฐานะ, 24 พฤษภาคม 2556 เวลา 01:23 น.

             จุดเทียบที่ 1
             สาเลยยกสูตร
             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย สัตว์บางพวกในโลกนี้ เข้า
ถึงอบาย ทุคติ วินิบาต และนรก เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เพราะเหตุประพฤติไม่
เรียบร้อย คือ ไม่ประพฤติธรรม ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย สัตว์บางพวกในโลกนี้
เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เพราะเหตุประพฤติเรียบร้อย คือ
ประพฤติธรรม.
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=8867&Z=9055&pagebreak=0

             เวรัญชกสูตร
             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย สัตว์บางพวกในโลกนี้ เข้า
ถึงอบาย ทุคติ วินิบาต และนรก เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เพราะเหตุ คือ ความประพฤติไม่
เรียบร้อย คือ ไม่ประพฤติธรรม ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย สัตว์บางพวกในโลกนี้
เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์ เพราะเหตุประพฤติเรียบร้อย คือ
ประพฤติธรรม
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=9056&Z=9219&pagebreak=0
------------------------------------------------------------------------------------------------------

             จุดเทียบที่ 2
             สาเลยยกสูตร
             อกุศลกรรมบถ ๑๐
             [๔๘๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ความประพฤติไม่
เรียบร้อย คือ ความไม่ประพฤติธรรม ทางกาย มี ๓ อย่าง ทางวาจามี ๔ อย่าง ทางใจมี
๓ อย่าง.
             ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ความประพฤติไม่เรียบร้อย คือ ความไม่ประพฤติ-
*ธรรมทางกาย ๓ อย่าง เป็นไฉน? บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฆ่าสัตว์ คือ เป็นคนเหี้ยมโหด
มีมือเปื้อนเลือด พอใจในการประหารและการฆ่าไม่มีความละอาย ไม่ถึงความเอ็นดูในสัตว์
ทั้งปวง.
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=8867&Z=9055&pagebreak=0

             เวรัญชกสูตร
             อกุศลกรรมบถ ๑๐
             [๔๘๙] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย บุคคลเป็นผู้ประพฤติ
ไม่เรียบร้อย คือ ไม่ประพฤติธรรมด้วยกายมี ๓ อย่าง ด้วยวาจามี ๔ อย่าง ด้วยใจมี ๓ อย่าง
ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ก็บุคคลเป็นผู้ประพฤติไม่เรียบร้อย คือ ไม่ประพฤติด้วยกาย
๓ อย่างเป็นไฉน? ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ก็บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฆ่าสัตว์
คือเป็นผู้มีใจหยาบ มีมือเปื้อนเลือด พอใจในการประหารและการฆ่า ไม่มีความละอาย ไม่ถึง
ความเอ็นดูในสัตว์ทั้งปวง.
             เป็นผู้ถือเอาทรัพย์ที่เขามิได้ให้ คือ ลักทรัพย์อันเป็นอุปกรณ์เครื่องปลื้มใจของบุคคล
อื่น ที่อยู่ในบ้าน หรือที่อยู่ในป่า ที่เจ้าของมิได้ให้ ซึ่งนับว่าเป็นขโมย
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=9056&Z=9219&pagebreak=0

             จุดเทียบที่ 1 เนื้อความคล้ายมาก.
             จุดเทียบที่ 2
             สาเลยยกสูตร
             อกุศลกรรมบถ ๑๐
             [๔๘๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ความประพฤติไม่
เรียบร้อย คือ ความไม่ประพฤติธรรม ทางกาย มี ๓ อย่าง ทางวาจามี ๔ อย่าง ทางใจมี ๓ อย่าง.
             นี้เป็นการยกพระธรรมเป็นที่ตั้ง

             เวรัญชกสูตร
             อกุศลกรรมบถ ๑๐
             [๔๘๙] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย บุคคลเป็นผู้ประพฤติ
ไม่เรียบร้อย คือ ไม่ประพฤติธรรมด้วยกายมี ๓ อย่าง ด้วยวาจามี ๔ อย่าง ด้วยใจมี ๓ อย่าง
             นี้เป็นการยกบุคคลเป็นที่ตั้ง

ความคิดเห็นที่ 3-70
GravityOfLove, 24 พฤษภาคม 2556 เวลา 06:51 น.

สาเลยยกสูตร
             อกุศลกรรมบถ ๑๐
             [๔๘๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ความประพฤติไม่
เรียบร้อย คือ ความไม่ประพฤติธรรม ทางกาย มี ๓ อย่าง ทางวาจามี ๔ อย่าง ทางใจมี ๓ อย่าง.
             นี้เป็นการยกพระธรรมเป็นที่ตั้ง << ตรงกับข้อใดใน ๑ - ๔ คะ

             เวรัญชกสูตร
             อกุศลกรรมบถ ๑๐
             [๔๘๙] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย บุคคลเป็นผู้ประพฤติ
ไม่เรียบร้อย คือ ไม่ประพฤติธรรมด้วยกายมี ๓ อย่าง ด้วยวาจามี ๔ อย่าง ด้วยใจมี ๓ อย่าง
             นี้เป็นการยกบุคคลเป็นที่ตั้ง << ตรงกับข้อใดใน ๑ - ๔ คะ

ความคิดเห็นที่ 3-71
ฐานาฐานะ, 24 พฤษภาคม 2556 เวลา 07:34 น.

ที่เคยเรียนมาคือ
             ๑. ธรรมเทศนาที่ยกพระธรรมเป็นที่ตั้ง (ธัมมาธิษฐาน)
             ๒. บุคคลเทศนาที่ยกพระธรรมเป็นที่ตั้ง (ธัมมาธิษฐาน)  
             ๓. บุคคลเทศนาที่ยกบุคคลเป็นที่ตั้ง (บุคคลาธิษฐาน)
             ๔. พระธรรมเทศนาที่ยกบุคคลเป็นที่ตั้ง (บุคคลาธิษฐาน)
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12.0&i=1&p=3#เทศนา_๔

GravityOfLove, 31 นาทีที่แล้ว
สาเลยยกสูตร
             อกุศลกรรมบถ ๑๐
             [๔๘๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ความประพฤติไม่
เรียบร้อย คือ ความไม่ประพฤติธรรม ทางกาย มี ๓ อย่าง ทางวาจามี ๔ อย่าง ทางใจมี ๓ อย่าง.
             นี้เป็นการยกพระธรรมเป็นที่ตั้ง << ตรงกับข้อใดใน ๑ - ๔ คะ
             << น่าจะเป็นบุคคลเทศนาที่ยกพระธรรมเป็นที่ตั้ง (ธัมมาธิษฐาน) ข้อ 2.

             เวรัญชกสูตร
             อกุศลกรรมบถ ๑๐
             [๔๘๙] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย บุคคลเป็นผู้ประพฤติ
ไม่เรียบร้อย คือ ไม่ประพฤติธรรมด้วยกายมี ๓ อย่าง ด้วยวาจามี ๔ อย่าง ด้วยใจมี ๓ อย่าง
             นี้เป็นการยกบุคคลเป็นที่ตั้ง << ตรงกับข้อใดใน ๑ - ๔ คะ
6:51 AM 5/24/2013
             << น่าจะเป็นบุคคลเทศนาที่ยกบุคคลเป็นที่ตั้ง (บุคคลาธิษฐาน) ข้อ 3.

ย้ายไปที่



Create Date : 26 มิถุนายน 2556
Last Update : 23 มกราคม 2557 19:25:37 น.
Counter : 488 Pageviews.

0 comments

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



มิถุนายน 2556

 
 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
27
28
29
30
 
 
All Blog