13.6 พระสูตรหลักถัดไป คือมหาสีหนาทสูตรและมหาทุกขักขันธสูตร.
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
13.5 พระสูตรหลักถัดไป คือมหาสีหนาทสูตรและมหาทุกขักขันธสูตร.

คห ๖-๓๒ ฐานาฐานะ, 14 กุมภาพันธ์ เวลา 15:11 น.
GravityOfLove, 22 วินาทีที่แล้ว
             ตอบคำถามในพระสูตรชื่อว่า มหาทุกขักขันธสูตร
//84000.org/tipitaka/v.php?B=12&A=2784&Z=3013
7:28 PM 2/13/2013
             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง?
             ๑. คุณ โทษ และการสลัดออก ซึ่งกาม รูป เวทนา
             ๒. ถ้าไม่รู้ชัดคุณของกามทั้งหลาย โดยเป็นคุณ โทษของกามทั้งหลาย โดยความเป็นโทษ
และการถ่ายถอนของกามทั้งหลายโดยความเป็นการถ่ายถอน ตามความเป็นจริง
             ย่อมไม่สามารถรอบรู้กามทั้งหลายด้วยตนเอง หรือชักจูงผู้อื่นเพื่อความเป็นอย่างที่ผู้ปฏิบัติ
แล้วจะรอบรู้กามทั้งหลายได้
             ๓. พระตถาคตทรงบัญญัติความรอบรู้กามทั้งหลายด้วยอนาคามิมรรค
ทรงบัญญัติความรอบรู้รูปและเวทนาทั้งหลายด้วยอรหัตมรรค
             ๔. อธิบายการทํากรรมกรณ์ 26 อย่าง  (อันน่าหวาดเสียวยิ่ง)

ตอบคำถามได้ดีครับ.

             2. เมื่อได้ศึกษาโทษของกามแล้ว สามารถนำไปพิจารณาอย่างไร
ในชีวิตประจำวันบ้าง? ได้แนวทางฝึกฝนตนเองอย่างไร?
             โทษของกาม ได้แก่
             ๑. ถ้าขยันแต่ไม่สำเร็จ ก็โศกเศร้าเสียใจ ถ้าขยันแล้วสำเร็จก็ยังเป็นทุกข์อีกเพราะกลัวสูญหาย  
             ๒. การแก่งแย่ง ทะเลาะ วิวาทกัน
             ๓. สงคราม
             ๔. ขโมย
             ๕. กายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต หลังจากตายแล้วไปเกิดในอบาย
             กำหนดรู้โทษของกามดังนี้แล้ว ในด้านอาชีพการงานก็จะได้ไม่ต้องหลงระเริงมาก ไม่ต้องผิดหวังมาก
ไม่ต้องเสียใจมาก เพราะคลายการยึดมั่น ถือมั่น ไม่เบียดเบียนคนอื่น ไม่แสวงหาอย่างไม่ถูกต้อง
             รู้ว่าการทะเลาะ สงคราม ขโมย ทุจริต ๓ เป็นโทษของกาม เมื่อยังละกามไม่ได้ ก็จะพยายามเกี่ยวข้อง
กับกามอย่างมีสติ สังวรในอินทรีย์ เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดการทะเลาะ ฯลฯ

             เพิ่มเติมว่า
             โทษของกาม ควรเริ่มจะทุกข์ในการแสวงเลยทีเดียว
             ถัดไปจึงเป็น ถ้าขยันแต่ไม่สำเร็จ ก็โศกเศร้าเสียใจ ...

             [๑๙๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นโทษของกามทั้งหลาย?
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรในโลกนี้ เลี้ยงชีวิตด้วยความขยันประกอบศิลปใด คือ
ด้วยการนับคะแนนก็ดี ด้วยการคำนวณก็ดี ด้วยการนับจำนวนก็ดี ด้วยการไถก็ดี
ด้วยการค้าขายก็ดี ด้วยการเลี้ยงโคก็ดี ด้วยการยิงธนูก็ดี ด้วยการเป็นราชบุรุษก็ดี
ด้วยศิลปอย่างใดอย่างหนึ่งก็ดี ต้องตรากตรำต่อความหนาว ต้องตรากตรำต่อความร้อน
งุ่นง่านอยู่ด้วยสัมผัสแต่เหลืบ ยุง ลม แดด และสัตว์เสือกคลาน ต้องตายด้วยความหิวระหาย
//84000.org/tipitaka/v.php?B=12&A=2784&Z=3013#198 #198
             คำว่า
             กำหนดรู้โทษของกามดังนี้แล้ว ในด้านอาชีพการงานก็จะได้ไม่ต้องหลงระเริงมาก ไม่ต้องผิดหวังมาก
ไม่ต้องเสียใจมาก เพราะคลายการยึดมั่น ถือมั่น ไม่เบียดเบียนคนอื่น ไม่แสวงหาอย่างไม่ถูกต้อง
             ขยายความด้วยคำว่า กามโภคี 10
             คำว่า กามโภคี 10
             พวกที่ 10 นี้ ทรงสรรเสริญว่าเป็นผู้เลิศ ประเสริฐ สูงสุด ควรชมทั้ง 4 สถาน
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=กามโภคี_10
             คำว่า
             ๔. อธิบายการทํากรรมกรณ์ 26 อย่าง  (อันน่าหวาดเสียวยิ่ง)
             เพิ่มเติมโดยนัยของพระสูตร ชื่อว่าติงสมัตตาสูตร
             ติงสมัตตาสูตร
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=16&A=4961&Z=4999

             3. ในส่วนของกรรมกรณ์ต่างๆ เช่น เฆี่ยนด้วยแซ่บ้าง ฯลฯ
             เมื่อได้ศึกษาแล้ว นึกถึงพระสูตรใด นอกจากพระสูตรนี้?
             เทวทูตสูตร
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=14&A=6750&Z=7030
             [๕๑๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระยายมครั้นปลอบโยน เอาอกเอาใจ
ไต่ถามถึงเทวทูตที่ ๓ กะสัตว์นั้นแล้ว จึงปลอบโยน เอาอกเอาใจ ไต่ถามถึง
เทวทูตที่ ๔ ว่า ดูกรพ่อมหาจำเริญ ท่านไม่ได้เห็นเทวทูตที่ ๔ ปรากฏในหมู่
มนุษย์หรือ ฯ
             สัตว์นั้นทูลอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าไม่เห็นเลย เจ้าข้า ฯ
             พระยายมถามอย่างนี้ว่า ดูกรพ่อมหาจำเริญ ท่านไม่ได้เห็นราชาทั้งหลาย
ในหมู่มนุษย์จับโจรผู้ประพฤติผิดมาแล้ว สั่งลงกรรมกรณ์ต่างชนิดบ้างหรือ คือ ฯ
             (๑) โบยด้วยแส้บ้าง
...
ตอบคำถามได้ดีครับ.

คห ๖-๓๓ ฐานาฐานะ, 14 กุมภาพันธ์ เวลา 15:30 น.
             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า มหาทุกขักขันธสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/v.php?B=12&A=2784&Z=3013

             พระสูตรหลักถัดไป คือจูฬทุกขักขันธสูตรและอนุมานสูตร.
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔
             มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
             จูฬทุกขักขันธสูตร
//84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=12&A=3014&Z=3184
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=209

             อนุมานสูตร
//84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=12&A=3185&Z=3448
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=221

คห ๖-๓๔ GravityOfLove, 14 กุมภาพันธ์ เวลา 18:05 น.
             คำถามจูฬทุกขักขันธสูตร
             กรุณาอธิบายค่ะ
             ๑. มรรยาทเลวทราม มือเปื้อนโลหิต ทำกรรมชั่วช้า เป็นผู้เกิดสุดท้ายภายหลังในหมู่มนุษย์
//84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=12&A=3014&Z=3184

คห ๖-๓๕ ฐานาฐานะ, 14 กุมภาพันธ์ เวลา 20:04 น.
GravityOfLove, 1 ชั่วโมงที่แล้ว
             คำถามจูฬทุกขักขันธสูตร
             กรุณาอธิบายค่ะ
             ๑. มรรยาทเลวทราม มือเปื้อนโลหิต ทำกรรมชั่วช้า เป็นผู้เกิดสุดท้ายภายหลังในหมู่มนุษย์
//84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=12&A=3014&Z=3184
             สันนิษฐานว่า น่าจะหมายความว่า
             บุคคลเมื่อไม่รู้ว่า บาปกรรมมีหรือไม่ มีเท่าใด แต่ไปทรมานกาย
อย่างนั้น (ตามทิฏฐิของเขาว่า เพราะหมดกรรมเก่าด้วยตบะ)
             หากบาปกรรมเก่าไม่มี ก็เป็นการทรมานร่างกายให้ทุกข์เปล่าประโยชน์
             หรือถ้าพวกนิครนถ์ยังยืนยันว่า ทิฏฐินี้ดี ก็เหมือนบอกว่า
             คนทั้งหลาย ที่เหมาะสมที่จะบวชในสำนักของพวกนิครนถ์
ก็ต้องเป็นคนเลวมาก ต้องใช้กรรมในนรกก่อน พ้นจากนรกมาเป็นมนุษย์ล่าหลัง
หมู่มนุษย์อื่นๆ (ที่ไม่ได้ทำบาปกรรมนั้น) เพราะต้องมาทรมานตนให้ลำบาก.

คห ๖-๓๖ GravityOfLove, 14 กุมภาพันธ์ เวลา 20:09 น.
เข้าใจแล้วค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

คห ๖-๓๗ GravityOfLove, 14 กุมภาพันธ์ เวลา 20:28 น.
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
             ๒. สีหนาทวรรค          
             ๔. จูฬทุกขักขันธสูตร ว่าด้วยกองทุกข์
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=3014&Z=3184&bgc=azure

             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิโครธาราม เขตกรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ
             ครั้งนั้น เจ้าศากยะพระนามว่า มหานาม (พระเจ้าพี่ของพระอนุรุทธเถระ ทรงเป็นพระ
สกทาคามี) เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค แล้วกราบทูลว่า
             ตนเองรู้ทั่วถึงธรรมที่พระองค์ทรงแสดงนานแล้วว่า
             โลภะ โทสะ โมหะ เป็นอุปกิเลสแห่งจิต แต่บางครั้งอุปกิเลสเหล่านี้ ก็ยังครอบงำ
ตนได้
             จึงมีความคิดว่า ธรรมอะไรที่ตนยังละไม่ได้ จึงได้ถูกอุปกิเลสครอบงำเป็นบางครั้ง
             คำว่า โลภะ โทสะ โมหะ
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อกุศลมูล_3

             พระองค์ตรัสว่า
             ธรรมภายในนั่นแหละที่ยังละไม่ได้ ถ้าละธรรมภายในนั้นได้แล้ว จะไม่อยู่ครองเรือน
ไม่บริโภคกาม
             แต่เพราะท่านละธรรมภายในเช่นนั้นยังไม่ได้เด็ดขาด ฉะนั้นท่านจึงยังอยู่ครองเรือน
ยังบริโภคกาม
             แม้นอริยสาวกเล็งเห็นด้วยปัญญาโดยชอบตามเป็นจริงว่า
             กามให้ความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก มีโทษมาก จึงเว้นจากกาม
เว้นจากอกุศลธรรม แต่ยังไม่บรรลุปีติและสุข (ปฐมฌานและทุติยฌาน) หรือกุศลธรรมอื่นที่สงบ
กว่านั้น
             จะชื่อว่าไม่เวียนมาหากามทั้งหลายอีกก็หาไม่
             แต่เมื่อใดที่อริยสาวกได้เล็งเห็นด้วยปัญญาโดยชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า
กาม ฯลฯ จึงเว้นจากกาม เว้นจากอกุศลธรรม บรรลุปีติและสุข หรือกุศลธรรมอื่นที่สงบกว่านั้น
             เมื่อนั้นจึงชื่อว่า เป็นผู้ไม่เวียนมาในกามอีก
             แม้นเมื่อพระองค์เป็นพระโพธิสัตว์ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ก่อนตรัสรู้ก็เล็งเห็นด้วยปัญญา
โดยชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า กาม ฯลฯ จึงเว้นจากกาม เว้นจากอกุศลธรรม
             แต่ก็ไม่บรรลุปีติและสุข หรือกุศลธรรมอื่นที่สงบกว่านั้น จึงยังไม่สามารถปฏิญาณได้ว่า
เป็นผู้ไม่เีวียนมาในกาม
             แต่เมื่อทรงเล็งเห็นด้วยปัญญาโดยชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า กาม ฯลฯ จึงเว้นจาก
กาม เว้นจากอกุศลธรรม และบรรลุปีติและสุข และกุศลอื่นที่สงบกว่านั้น
             เมื่อนั้น จึงทรงปฏิญาณได้ว่า เป็นผู้ไม่เวียนมาในกามอีก
(เวียนมาในกามอีก หมายถึงยังจะต้องกลับมาหากามทั้งหลายได้อีก เพราะไม่มีสมุจเฉทปหาน
(ละได้เด็ดขาด) ด้วยมรรค ๒ (อนาคามิมรรคและอรหัตตมรรค) ทั้งนี้เพราะพระอริยสาวกแม้จะ
บรรลุมรรค ๒ (โสดาปัตติมรรคและสกทาคามิมรรค) แล้ว แต่ก็ยังไม่บรรลุญาณหรือมรรคเบื้องสูง)
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อริยบุคคล_4
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ฌาน_4
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=สมุจเฉทนิโรธ&detail=on

             คุณแห่งกามทั้งหลาย (กามคุณ ๕) คือ
             ๑. รูปที่จะพึงรู้แจ้งทางตา ที่น่าปรารถนา ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ ประกอบด้วยกาม
เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด
             ๒. เสียงที่จะพึงรู้แจ้งทางหู ...
             ๓. กลิ่นที่จะพึงรู้แจ้งทางจมูก ...
             ๔. รสที่จะพึงรู้แจ้งทางลิ้น ...
             ๕. โผฏฐัพพะที่จะพึงรู้แจ้งทางกาย ที่น่าปรารถนา ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ ประกอบ
ด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด
             สุข โสมนัสเกิดขึ้นเพราะอาศัยกามคุณ ๕  เรียกว่า คุณของกาม

             โทษแห่งกามทั้งหลาย คือ
             ๑. การเลี้ยงชีวิตด้วยศิลปะ (เช่น การค้าขาย) การอดทนต่อความร้อนหนาว และตาย
เพราะความหิว
             เพราะถ้าเขาขยันแต่ไม่สามารถทำโภคสมบัติให้เกิดได้ ย่อมเศร้าโศก หลงเลือนว่า
ความขยันของเราไม่เป็นผล
             หรือถ้าความขยันของเขาเป็นผล ได้โภคทรัพย์มา เขาก็เป็นทุกข์ โทมนัส ในการ
รักษาโภคทรัพย์นั้น ด้วยกลัวจะถูกพระราชาริบสมบัติ กลัวโจรมาปล้น ถูกไฟไหม้ ถูกน้ำพัดไป
กลัวทายาทที่ไม่เป็นที่รักแย่งเอาไป
             เมื่อพยายามรักษาอยู่นั้น โภคทรัพย์นั้นก็ถูกพระราชาริบสมบัติ ... แย่งเอาไป
             เมื่อเป็นดังนั้นแล้วก็จะหลงเลือนว่า สิ่งใดเคยเป็นของเรา บัดนี้สิ่งนั้นก็ไม่เป็นของเรา
             นี่คือโทษแห่งกามทั้งลาย เป็นกองทุกข์ที่พึงเห็นได้เอง มีกามเป็นเหตุ
มีกามเป็นต้นเหตุ มีกามเป็นเหตุเกิดเกิด
             ๒. พระราชาทรงวิวาทกับพระราชาก็ได้ ฯลฯ สหายวิวาทกับสหายก็ได้ ชนเหล่านั้น
ก่อการทะเลาะ แก่งแย่ง วิวาท ทำร้ายกันและกันจนตาย หรือทุกข์ปางตาย
             นี่คือโทษแห่งกามทั้งหลาย ...
             ๓. ชนทั้งหลายจับอาวุธเข้าสู่สงคราม ปะทะกันทั้ง ๒ ฝ่าย จนถึงความตายบ้าง
ทุกข์ปางตายบ้าง
             นี่คือโทษแห่งกามทั้งหลาย ...
             ๔. ชนทั้งหลายตัดช่องย่องบ้าง ขโมยบ้าง ละเมิดภรรยาผู้อื่นบ้าง พระราชาก็รับสั่ง
ให้จับเขาลงอาญาด้วยประการต่าง ๆ (เช่น ให้นอนบนหลาวทั้งเป็น) จนตายหรือทุกข์ปางตาย
             นี่คือโทษแห่งกามทั้งหลาย ...
             ๕. ชนทั้งหลายประพฤติกายทุจริต วจีทุจริตและมโนทุจริต หลังจากตายแล้วย่อมไป
เกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
             นี่คือโทษแห่งกามทั้งหลาย ...

             สมัยหนึ่ง เมื่อประทับอยู่ที่ภูเขาคิชฌกูฏ เขตพระนครราชคฤห์
             ณ ตำบลกาฬศิลา ข้างภูเขาอิสิคิลิ นิครนถ์เป็นจำนวนมากถือการยืนเป็นวัตร
ปฏิเสธการนั่ง เสวยทุกขเวทนาอันแรงกล้า
             พระองค์ได้เสด็จเข้าไปหานิครนถ์เหล่านั้น แล้วตรัสถามว่า ทำไมพวกท่านจึงถือ
การยืนเป็นวัตรเช่นนั้น
             นิครนถ์เหล่านั้นทูลตอบว่า
             นิครนถ์ นาฏบุตร ผู้รู้เห็นธรรมทั้งปวง ยืนยันญาณทัสสนะทั้งหมดว่า เมื่อเราเดิน ยืน
หลับ และตื่นอยู่ ญาณทัสสนะได้ปรากฏต่อเนื่องตลอดไป
             บาปกรรมที่ทำแล้วในกาลก่อน สามารถสลัดได้ด้วยปฏิปทาที่ทำได้ยากเช่นนี้
             ให้สำรวมกาย สำรวมวาจา สำรวมใจ และไม่กระทำบาปกรรมต่อไป
             กรรมเก่าสิ้นสุดไปเพราะตบะ (การบำเพ็ญเพียรอย่างหนัก) และเมื่อไม่มีการทำกรรม
ใหม่ ก็จะไม่ตกอยู่ใต้อำนาจ (แห่งกรรม) ต่อไป
             เพราะไม่เป็นไปตามอำนาจแห่งกรรมต่อไป กรรมจึงสิ้นไป
             เพราะกรรมสิ้นไป ทุกข์จึงสิ้นไป
             เพราะทุกข์สิ้นไป เวทนาจึงสิ้นไป
             เพราะเวทนาสิ้นไป ทุกข์ทั้งปวงจึงเป็นอันสลายไป
             คำที่นิครนถ์ นาฏบุตรกล่าวแล้วนั้นถูกใจและชอบใจเราทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น
พวกเราจึงมีใจยินดี

             พระองค์ตรัสว่า
             ๑. พวกท่านรู้ไหมว่า เมื่อก่อน เราทั้งหลายได้มีแล้ว ไม่ใช่ไม่ได้มีแล้ว
             ๒. พวกท่านรู้ไหมว่า เมื่อก่อน เราทั้งหลายได้ทำบาปกรรมไว้ ไม่ใช่ไม่ได้ทำไว้
             ๓. พวกท่านรู้ไหมว่า เมื่อก่อน เราทั้งหลายได้ทำบาปกรรมอย่างนี้บ้างๆ
             ๔. พวกท่านรู้ไหมว่า เมื่อก่อน ทุกข์เท่านี้เราสลัดได้แล้ว หรือว่าทุกข์เท่านี้เราต้อง
สลัดเสีย หรือว่าเมื่อเราสลัดทุกข์เท่านี้ได้แล้ว ก็จะเป็นอันสลัดทุกข์ได้ทั้งหมด
             ๕. พวกท่านรู้จักการละอกุศลธรรม การบำเพ็ญกุศลธรรมในปัจจุบันหรือ            
             พวกนิครนถ์ทูลตอบว่า ไม่ได้เป็นเช่นนั้น
             พระองค์ตรัสว่า ก็ในเมื่อพวกท่านไม่รู้ เมื่อเป็นเช่นนี้ ผู้ที่บวชในสำนักนิครนถ์ก็มีแต่
ผู้มีมรรยาทเลวทราม มีมือเปื้อนเลือด ทำกรรมชั่วช้า เป็นผู้เกิดสุดท้ายภายหลังในหมู่มนุษย์
             พวกนิครนถ์ทูลตอบว่า
             บุคคลมิใช่จะพึงประสบความสุขได้ด้วยความสุข แต่จะพึงประสบความสุขได้ด้วย
ความทุกข์
             ถ้าบุคคลจะประสบความสุขได้ด้วยความสุข พระเจ้าพิมพิสารกษัตริย์แห่งมคธก็คง
จะประสบความสุข เพราะพระองค์ทรงอยู่เป็นสุขกว่าท่านพระโคดม
             พระองค์ตรัสว่า พวกท่านกล่าววาจาหุนหันโดยไม่ทันพิจารณา เพราะพวกท่านควร
ถามเราเท่านั้นว่า ระหว่างพระเจ้าพิมพิสารกับพระองค์ ใครที่อยู่เป็นสุขกว่ากัน
             พวกนิครนถ์ทูลยอมรับว่่าเป็นเช่นนั้นจริง จึงทูลขอหยุดคำนั้น แล้วทูลถามพระองค์
ใหม่ว่า ระหว่างพระเจ้าพิมพิสารกับพระองค์ ใครที่อยู่เป็นสุขกว่ากัน
             พระองค์จึงตรัสว่า ถ้าอย่างนั้น เราถามพวกท่านว่า
             ถ้าพระเจ้าพิมพิสารไม่ทรงเคลื่อนไหวพระวรกาย ไม่มีพระดำรัส จะสามารถเสวยสุข
อย่างเดียวอยู่ตลอด ๗ คืน ๗ วันได้หรือไม่
             พวกนิครนถ์ทูลตอบว่า ไม่ได้
             พระองค์ตรัสถามว่า แล้วถ้า ๖ คืน ๖ วัน ... ๑ คืน ๑ วันเล่า
             พวกนิครนถ์ทูลตอบว่า ก็ไม่ได้
             พระองค์ตรัสว่า พระองค์ไม่เคลื่อนไหวพระวรกาย ไม่ตรัส แต่สามารถเสวยสุข
อย่างเดียวได้ตลอด ๑ คืน ๑ วัน ... ๗ คืน ๗ วัน
             เมื่อเป็นดังนี้ พวกท่านว่า ใครที่อยู่เป็นสุขกว่ากัน
             พวกนิครนถ์ทูลตอบว่า ท่านพระโคดมเท่านั้นอยู่เป็นสุขกว่าพระเจ้าพิมพิสาร
             พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว
             เจ้าศากยะพระนามว่ามหานามะทรงมีใจยินดีชื่นชมพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค

[แก้ไขตาม คห ๓๘]
คห ๖-๓๘ ฐานาฐานะ, 15 กุมภาพันธ์ เวลา 03:10 น.
GravityOfLove, 3 นาทีที่แล้ว
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
             ๒. สีหนาทวรรค
             ๔. จูฬทุกขักขันธสูตร ว่าด้วยกองทุกข์
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=3014&Z=3184&bgc=azure
8:28 PM 2/14/2013
             ย่อความได้ดี รวบรวบประเด็นได้มาก
             มีข้อติงในการย่อความ ดังนี้ :-

             แต่ก็ไม่บรรลุปีติและสุข หรือกุศลธรรมอื่นที่สงบกว่านั้น จึงทรงปฏิญาณว่า
ยังเป็นผู้เวียนมาในกามอยู่
- - - - - - - - - - - -
             คำว่า เราจึงปฏิญาณว่าเป็นผู้ไม่เวียนมาในกามมิได้ก่อน
น่าจะแปลว่า
             เราจึงยังไม่สามารถปฏิญาณได้ว่าเป็นผู้ไม่เวียนมาในกาม
-------------------------------------------
             (กามคุณ ๕ )
             คุณแห่งกามทั้งหลาย (กามคุณ ๕ ) คือ << เห็นครั้งที่ 2 แล้ว
แก้ไขเป็น
             คุณแห่งกามทั้งหลาย (กามคุณ ๕) คือ
- - - - - - - - - - - -
             พระสูตรที่ผ่านมาแล้ว.
GravityOfLove, วันอังคาร เวลา 01:24 น.
             ตอบคำถามในพระสูตรชื่อว่า มหาสีหนาทสูตร
//84000.org/tipitaka/v.php?B=12&A=2296&Z=2783
             ๗. สังสารวัฏที่พระพุทธองค์ไม่เคยเที่ยวไป ความอุบัติ (การเกิด ) ที่พระพุทธองค์ไม่เคยเข้าถึงแล้ว
แก้ไขเป็น
             ๗. สังสารวัฏที่พระพุทธองค์ไม่เคยเที่ยวไป ความอุบัติ (การเกิด) ที่พระพุทธองค์ไม่เคยเข้าถึงแล้ว

คห ๖-๓๙ GravityOfLove, 15 กุมภาพันธ์ เวลา 09:00 น.
ขอบพระคุณค่ะ

คห ๖-๔๐ ฐานาฐานะ, 15 กุมภาพันธ์ เวลา 14:33 น.
             คำถามในพระสูตรชื่อว่า จูฬทุกขักขันธสูตร
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=3014&Z=3184

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง?
             2. อะไรเป็นอนุสนธิ บทเชื่อมไปเรื่องทรงปรารภพวกนิครนถ์ที่ถือการยืนเป็นวัตร
             3. คำว่า อิสิคิลิ แปลว่า อะไร? หรือมีที่มาอย่างไร?

คห ๖-๔๑ GravityOfLove, 15 กุมภาพันธ์ เวลา 23:37 น.
             ตอบคำถามในพระสูตรชื่อว่า จูฬทุกขักขันธสูตร
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=3014&Z=3184

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง?
             ๑. ถ้าละ โลภะ โทสะ โมหะ ได้เด็ดขาดแล้ว ก็ไม่พึงอยู่ครองเรือน ไม่พึงบริโภคกาม      
             ๒. พวกที่เข้าใจว่าการบำเพ็ญตบะด้วยการทรมานกาย (เช่น ยืนเป็นวัตร) จะสามารถ
ทำให้กรรมเก่าสิ้นสุดได้ ทั้งๆ ที่ตัวเองไม่รู้เรื่องเกี่ยวกับกรรมเลย เช่น เมื่อก่อน เราทั้งหลายได้มีแล้ว
ไม่ใช่ไม่ได้มีแล้ว (คำถามที่พระองค์ตรัสถาม ๕ ข้อ)
             ๓. พระเจ้าพี่ของพระอนุรุทธเถระ ทรงเป็นโอรสของพระเจ้าอาของพระผู้มีพระภาคเจ้า.
เจ้าทั้ง ๕ พระองค์นี้ คือ พระเจ้าสุทโธทนะ พระเจ้าสุกโกทนะ พระเจ้าสักโกทนะ พระเจ้าโธโตทนะ พระเจ้าอมิโตทนะ
ทรงเป็นพระเจ้าพี่พระเจ้าน้อง พระเทวีพระนามว่าอมิตาทรงเป็นพระภคินีของพระเจ้าเหล่านั้น
             พระติสสเถระเป็นบุตรของพระนางอมิตานั้น พระตถาคตและพระนันทเถระเป็นพระโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะ
พระเจ้ามหานามะและพระอนุรุทธเถระเป็นพระโอรสของพระเจ้าสุกโกทนะ พระอานันทเถระเป็นพระโอรสของพระเจ้าอมิโตทนะ
พระอานนทเถระนั้นเป็นพระกนิษฐ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระเจ้ามหานามะทรงแก่กว่า เป็นสกทาคามีอริยสาวก
             ๔. พระอริยสาวกเกิดความสงสัยในสิ่งที่ยังละไม่ได้เพราะความเป็นผู้ไม่ฉลาดในบัญญัต
คือ ยังพิจารณาอย่างไม่สมบูรณ์ว่า กิเลสใดถูกฆ่าด้วยมรรคใด

----------------------------------------------------------------
             2. อะไรเป็นอนุสนธิ บทเชื่อมไปเรื่องทรงปรารภพวกนิครนถ์ที่ถือการยืนเป็นวัตร
             ได้ทรงคุณและโทษของกามแล้ว แต่ยังไม่ได้แสดงการสลัดออกซึ่งกาม
             จะทรงจะแสดงการสลัดออกซึ่งกาม อันไม่ใช่ได้ด้วยวิธีการสุดโต่งอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ
พัวพันความสุขในกามอย่างที่สุด หรือ ทรมานตนให้ลำบากที่สุด (เช่น การถือการยืนเป็นวัตร)
----------------------------------------------------------------
             3. คำว่า อิสิคิลิ แปลว่า อะไร? หรือมีที่มาอย่างไร?
คำศัพท์ที่ค้นหา อิสิ
ผลการค้นหาพบคำแปลทั้งหมด 1 ศัพท์
คำศัพท์ที่พบ (ศัพท์ที่ 1) :
คำอ่าน (ภาษาบาลี) : อิ-สิ
คำแปลที่พบ : คนผู้แสดง, นักบวช, พระพุทธเจ้าผู้แสวง

คิลิโต
คำอ่าน (ภาษาบาลี) : คิ-ลิ-โต
คำแปลที่พบ : กลืนแล้ว
//www.mahamodo.com/buddict/buddict_pali.asp

              บทว่า อิสิคิลิปสฺเส มีความว่า ภูเขาชื่ออิสิคิลิ ที่ข้างภูเขานั้น.
              ได้ยินว่า ครั้งดึกดำบรรพ์ พระปัจเจกพุทธเจ้าประมาณ ๕๐๐ องค์ เที่ยวไปบิณฑบาตในชนบททั้งหลายมีกาสีและโกสลเป็นต้น เวลาภายหลังภัตประชุมกันที่ภูเขานั้น ยังกาลให้ล่วงไปด้วยสมาบัติ. มนุษย์ทั้งหลายเห็นท่านเข้าไปเท่านั้น ไม่เห็นออก เพราะเหตุนั้นจึงพูดกันว่า ภูเขานี้กลืนพระฤาษีเหล่านี้. เพราะอาศัยเหตุนั้น ชื่อภูเขานั้นจึงเกิดขึ้นว่า อิสิคิลิ ทีเดียว. ที่ข้างภูเขานั้นคือ ที่เชิงบรรพต.
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=209

             ตอบว่า แปลว่า กลืนนักบวช
             ที่มา ตามอรรถกถาด้านบนค่ะ
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=209

ย้ายไปที่



Create Date : 13 มีนาคม 2556
Last Update : 21 มิถุนายน 2557 9:38:06 น.
Counter : 808 Pageviews.

0 comments

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



มีนาคม 2556

 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
15
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
13 มีนาคม 2556
All Blog