โรงพิมพ์ลำปาง กระดาษที่ใช้ในการผลิตสิ่งพิมพ์(ในโรงพิมพ์)
กระดาษกล่อง (Box paper) เป็นกระดาษเคลือบผิวมัน จะเรียก กระดาษกล่องแป้ง น้ำหนักกระดาษกล่องอยู่ระหว่าง 180 – 600 กรัม/ตารางเมตร ใช้สำหรับทำสิ่งพิมพ์บรรจุภัณฑ์

กระดาษกันปลอม (Security paper) เป็นกระดาษที่จัดทำขึ้นพิเศษ สำหรับป้องกันการปลอมแปลง ใช้ทำสิ่งพิมพ์ที่ต้องการไม่ให้มีการเลียนแบบ และสามารถตรวจสอบได้ เช่น ธนบัตร
กระดาษการ์ด (Card board) เป็นกระดาษที่มีความหนาและแข็งแรงประกอบด้วยชั้นของกระดาษหลายชั้น ชั้นนอกสองด้านมักเป็นสีขาว แต่ก็มีการ์ดสีต่าง ๆ ให้เลือกใช้ ความหนาการ์ดอยู่ระหว่าง 110 – 400 แกรม ใช้ทำปกหนังสือ บรรจุภัณฑ์
กระดาษถนอมสายตา (Green read paper) เป็นกระดาษไม่เคลือบผิว บางที่มีสีออกนวลเหลืองช่วยถนอมสายตา สมัยนี้ได้รับความนิยมอย่างสูงในการทำเป็นหนังสือ
กระดาษแบงก์ (Bank Paper) เป็นกระดาษบางที่ไม่เคลือบผิว ความหนาที่นิยมใช้คือ 55,70 และ 80 แกรม มีสีให้เลือกหลายสี ใช้สำหรับงานพิมพ์แบบฟอร์ม บิลใบเสร็จรับเงิน ที่มีสำเนาหลายชั้น
กระดาษปรู๊ฟ (Newsprint) กระดาษปรู๊ฟมีความหนาประมาณ 40 – 55 แกรม มีสีเทาอมน้ำตาล เป็นกระดาษที่ี่มีราคาถูกแต่จุดด้อยก็คือ มีความแข็งแรงน้อย นิยมใช้สำหรับพิมพ์หนังสือพิมพ์ และเอกสารที่ไม่ต้องการคุณภาพมาก ที่เห็นทั่วไปคือใช้เป็นชั้นสุดท้ายของบิลใบเสร็จรับเงิน
กระดาษแฟนซี (Fancy Paper) ถ้าพูดเป็นภาษาเข้าใจง่ายก็คือ เป็นกระดาษที่พิเศษ นิยมใช้เพื่อความแตกต่าง แปลกใหม่ และดูมีระดับ แต่มีราคาที่สูงมาก งานจำพวกนามบัตร หัวจดหมายที่ต้องการความสวยงาม จะใช้กระดาษแฟนซี (มีหลากหลายแบบ หลายขนาด และความหนา)
กระดาษสติ๊กเกอร์ (Sticker Paper) หรือเรียกสั้นๆโดยเข้าใจง่ายว่า “สติ๊กเกอร์” เป็นกระดาษที่ด้านหลังเคลือบด้วยกาวเพื่อนำไปพิมพ์ภาพหรือตัวอักษรแล้วนำไป ติดบนวัตถุอื่นก่อนใช้งานจะมีกระดาษรองด้านล่าง โดยสติ๊กเกอร์จะมีหลายแบบ เช่น สติ๊กเกอร์กระดาษขาวเงา สติ๊กเกอร์เนื้อ PVC นิยมใช้พิมพ์ เป็นฉลากสำหรับติดกับตัวสินค้า
กระดาษน้ำตาล (Kraft Paper) กระดาษน้ำตาลใช้สำหรับพิมพ์บรรจุภัณฑ์กระดาษห่อของ ถุงกระดาษหรือที่เห็นบ่อยๆก็คือหน้าปกใบแรกของแบบฟอร์มใบเสร็จ มีความหนาอยู่ระหว่าง 80 – 180 แกรม เป็นกระดาษที่มีราคาไม่สูงนักเมื่อเทียบกับคุณภาพ
กระดาษอาร์ต (Art Paper) กระดาษอาร์ตมีสีขาว มีความหนาระหว่าง 80 – 160 แกรม ใช้สำหรับงานพิมพ์ที่ต้องการความสวยงาม งานพิมพ์สอดสี เช่นแคตตาล็อก โบร์ชัวร์ ฯลฯ กระดาษอาร์ตเป็นกระดาษชนิดหนึ่งที่มีบทบาทอย่างสูงในวงการพิมพ์และโฆษณาของ โลกเลยก็ว่าได้ เพราะสังเกตดีๆ นิตยสารเกือบทั้งหมดจะใช้กระดาษอาร์ตทั้งสั้น
กระดาษเอ็นซีอาร์หรือกระดาษเคมี (Carbonless Paper) เป็นกระดาษที่นิยมใช้สำหรับพิมพ์แบบฟอร์ม หรือบิลใบเสร็จรับเงินที่ใช้ในสำนักงาน (บิลใบเสร็จของพวกบริษัท ห้างร้านทั่วไป) ลักษณะพิเศษคือ สามารถเขียนบนใบแรกแล้วใบที่สองที่อยู่ด้านล่างก็เขียนติดด้วย ภาษาชาวบ้านก็คือ กระดาษก๊อปปี้
ขนาดของกระดาษในวงการโรงพิมพ์
กระดาษ ในวงการพิมพ์นั้น โดยลักษณะคือ จะเป็นกระดาษขนาดใหญ่ที่ผ่านกรรมวิธีผลิตมาจากโรงงานผลิตกระดาษ ไม่ใช่ขนาดเล็กๆที่เราเห็นตามท้องตลาด หรือตามร้านซี-ร็อกซ์ทั่วไป ขนาดหลักๆมีดังนี้
24×35 นิ้ว
25×35 นิ้ว
และ ขนาดที่ใหญ่ที่สุดก็คือ 31×43 นิ้ว
คำถาม ก็คือ ทำไมถึงต้องมี 3 sizes หลักๆนี้ด้วย ถ้าพูดแบบภาษาโรงพิมพ์ ก็คือจะเหมาะกับ ขนาดหน้างานของเครื่องพิมพ์มากกว่า และสามารถ นำมาซอยเป็นขนาดมาตรฐานงานทั่วไป ได้ง่ายกว่า เช่นงานที่นิยมทั่วไป อย่าง สมุดขนาด A3,A4 หรือ A5 เป็นต้น
หลักการเลือกใช้โรงพิมพ์
โรงพิมพ์ในประเทศไทยมีอยู่เป็นจำนวนมาก ทั้งขนาดใหญ่ กลางและขนาดเล็ก การเลือกโรงพิมพ์สำหรับพิมพ์งานนั้น จึงไม่ควรเลือกจากขนาดโรงพิมพ์ที่มีขนาดใหญ่อย่างเดียว ทางผู้เขียนได้แนะนำเกณฑ์ในการเลือกโรงพิมพ์ ดังนี้
ราคา
สิ่งแรกที่ลูกค้าต้องการรู้ และนำมาเป็นเกณฑ์ตัดสินใจก็คือ ราคา ซึ่งก็ไม่ผิดแต่อย่างใด เพราะใครๆก็ย่อมอยากได้สินค้าที่มีราคาถูก และแน่นอนคำว่า ถูกและดี คงไม่ได้หากันง่ายๆ ควรจะมองหาคำว่า ราคาเหมาะสมงานออกมาดีมากกว่า เพราะโรงพิมพ์ในยุคปัจจุบัน มีการแข่งขันกันสูงมาก ทำให้บางแห่ง ที่ต้องการที่จะได้งานพิมพ์ ต้องทำการตัดราคาลงมาเพื่อให้ได้ตามความต้องการของลูกค้า ซึ่งแน่นอนว่า สิ่งนี้นั้นส่งผลเสียต่อทั้งวงการพิมพ์ และไม่ใช่แค่นั้น ลูกค้าก็จะได้รับผลกระทบโดยตรงเช่นกัน เนื่องจาก งานพิมพ์ที่ลูกค้าจะได้รับจากราคาอันแสนถูกนี้ จะมาจากการลดต้นทุนของวัสดุ อุปกรณ์ และค่าแรงต่างๆ นั่นหมายความว่า จะเป็นงานที่ไม่มีคุณภาพ นั่นเอง

การบริการ
ใครๆก็ต้องการที่จะได้รับการบริการที่ดี เพราะจะรู้สึกถึงความประทับใจในการเป็นลูกค้า ผู้เขียนขอบอกเลยว่า การบริการที่ดีไม่เกี่ยวกับขนาดของโรงพิมพ์ว่าจะเล็กหรือใหญ่ แต่อยู่ที่ความเอาใจใส่ของโรงพิมพ์และผู้ดูแลลูกค้ามากกว่า สังเกตง่ายๆ ว่าถ้าโรงพิมพ์แห่งไหนที่มีการบริการที่ดีนั้น จะเป็นฝ่ายโทรหาลูกค้าเพื่อแจ้งถึงความก้าวหน้าในขั้นตอนงานพิมพ์ ว่าถึงขั้นตอนไหนแล้ว

การส่งมอบงาน
เป็นสิ่งที่สำคัญ ในการเลือกโรงพิมพ์ เพราะเมื่อถึงระยะเวลาที่จะต้องใช้งานพิมพ์แล้ว แต่ว่าโรงพิมพ์กลับยังไม่สามารถพิมพ์งานให้เราเสร็จได้ จะทำให้เกิดความเสียหายอย่างหนัก ทางผู้เขียนแนะนำว่า ควรจะตกลงกันตั้งแต่แรกว่า จะสามารถส่งมอบงานได้ตามสัญญาเมื่อไหร่ ขั้นตอนการผลิตเป็นอย่างไร ใช้เวลาแต่ละขั้นตอนเท่าไหร่ ซึ่งจะเป็นผลดีต่อทั้ง 2 ฝ่าย ทางลูกค้าก็จะได้รับความสบายใจว่างานพิมพ์ที่ตัวเองได้สั่งซื้อนั้น จะสามารถรับได้เมื่อไหร่ และทางโรงพิมพ์ก็ได้ฉุกคิดและวางแผนการผลิต เพื่อสามารถส่งได้ทันตามสัญญาส่งมอบที่ลูกค้าต้องการ

คุณภาพของงานพิมพ์
คุณภาพของงานพิมพ์เป็นสิ่งที่ผู้เขียนคิดว่าสำคัญมากทีุ่ดเลยก็ว่าได้ แต่ว่าลูกค้าส่วนมากกลับไม่ให้ความสำคัญกับส่วนนี้เท่าไหร่ ให้ลองคิดภาพดูง่ายๆ บริษัทลูกค้า จะทำการออกบู๊ทสินค้า ทุกอย่างได้จัดเตรียมพร้อม ตกแต่งอย่างดี ดูสวยงามหมดแล้ว ขาดแค่โบรชัวร์งานพิมพ์ที่รอมาส่งอย่างเดียว เมื่อโบรชัวร์สินค้ามาส่ง กลับกลายเป็นว่า สีของสินค้าในโบรชัวร์กลับเพี้ยน ตัวหนังสือดูไม่ชัดเจน ทำให้สิ่งต่างๆที่เตรียมมาอย่างดี กลับต้องมาดูแย่เพราะตัวสิ่งพิมพ์อันนี้ ลูกค้าที่ได้เห็นโบรชัวร์ ก็ต้องมองบริษัทในแง่ลบ ดังนั้น ผู้เขียน จึงคิดว่า คุณภาพของงานพิมพ์เป็นสิ่งที่สำคัญไม่แพ้ด้านอื่นๆ

การเริ่มต้นใช้งานการพิมพ์

การซื้อเครื่องพิมพ์
การเชื่อมต่อเครื่องพิมพ์ของคุณ
การพิมพ์ใน Windows
คุณสามารถพิมพ์เอกสารได้แทบทุกชนิดด้วย Windows เช่น เอกสาร รูปภาพ เว็บเพจ หรืออีเมล

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแนะนำผู้ที่เพิ่งเริ่มใช้คอมพิวเตอร์ให้รู้จักเครื่องพิมพ์โดยทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการพิมพ์ใน Windows

หากคุณต้องการดูวิดีโอ ให้ดูที่ รูปภาพของปุ่ม ‘เล่น’ วิดีโอ: การพิมพ์งานด้วย Windows 7.
การซื้อเครื่องพิมพ์

เครื่องพิมพ์ที่คุณพบเห็นได้ตามร้านค้ามักแบ่งออกเป็นสามประเภท เครื่องพิมพ์เหล่านี้เป็นชนิดที่มีขายทั่วไปสำหรับการใช้งานในบ้านและสำนักงาน แต่ละเทคโนโลยีต่างมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกัน

DPI คืออะไร
DPI หรือจุดต่อนิ้ว เป็นการวัดความละเอียดของเครื่องพิมพ์ DPI เป็นตัวกำหนดการแสดงผลความคมชัดและรายละเอียดที่จะปรากฏบนเอกสารหรือรูปภาพของคุณ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ควรพิจารณาเมื่อซื้อเครื่องพิมพ์ใหม่

เครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ต

เครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ตจะพ่นหมึกเป็นจุดขนาดเล็กบนหน้ากระดาษเพื่อสร้างเป็นข้อความหรือรูปภาพ อิงค์เจ็ตได้รับความนิยมเนื่องจากมีราคาไม่แพงนัก นอกจากนี้ยังมีให้เลือกอีกหลายรุ่น รวมถึงรุ่นที่ออกแบบมาสำหรับการพิมพ์ภาพถ่ายสีโดยเฉพาะ

ข้อเสีย เครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ตมักทำงานช้า (วัดจากจำนวนหน้าต่อนาที) กว่าเครื่องพิมพ์เลเซอร์ และต้องเปลี่ยนตลับหมึกบ่อย

ภาพประกอบของเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ต
เครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ต
เครื่องพิมพ์เลเซอร์

เครื่องพิมพ์เลเซอร์จะใช้ผงหมึกละเอียดเพื่อสร้างข้อความและกราฟิกลงบนกระดาษ เครื่องพิมพ์เหล่านี้พิมพ์ได้ทั้งแบบขาวดำหรือสี แต่รุ่นพิมพ์สีมักมีราคาแพงกว่า เครื่องพิมพ์เลเซอร์ที่พิมพ์ได้เฉพาะขาวดำ บางครั้งเรียกว่าเครื่องพิมพ์ ขาวดำ

โดยทั่วไป เครื่องพิมพ์เลเซอร์จะมีถาดกระดาษขนาดใหญ่กว่าเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ต ทำให้คุณไม่จำเป็นต้องเติมกระดาษบ่อยๆ อีกทั้งยังพิมพ์ได้เร็วกว่าอิงค์เจ็ตส่วนใหญ่ด้วย (จำนวนหน้ากระดาษต่อนาที) นอกจากนี้ โดยทั่วไปตลับหมึกพิมพ์ของเครื่องพิมพ์เลเซอร์จะมีอายุการใช้งานนานกว่า คุณอาจชดเชยค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมของเครื่องพิมพ์เลเซอร์ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณการพิมพ์ของคุณ

ภาพประกอบของเครื่องพิมพ์เลเซอร์เครื่องพิมพ์เลเซอร์เครื่องพิมพ์ออลอินวัน (All-in-one)เครื่องพิมพ์ที่ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วอีกประเภทหนึ่งคือ เครื่องพิมพ์ ออลอินวัน (AIO) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าเครื่องพิมพ์ มัลติฟังก์ชัน (MFP) เครื่องพิมพ์เหล่านี้เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานได้ทุกอย่างตามความหมายของชื่อ เครื่องพิมพ์เหล่านี้สามารถพิมพ์ สแกนภาพถ่าย ถ่ายเอกสาร หรือแม้แต่ส่งโทรสาร

เครื่องพิมพ์ AIO และ MFP แตกต่างกันอย่างไร โดยมากไม่แตกต่างกัน แม้ว่าอุปกรณ์บางรุ่นที่จำหน่ายเป็นเครื่องพิมพ์มัลติฟังก์ชันจะมีขนาดใหญ่กว่าและถูกออกแบบมาสำหรับใช้ในสำนักงานก็ตาม

อย่างไรก็ตาม จุดขายหลักของเครื่องพิมพ์ออลอินวันและมัลติฟังก์ชันต่างก็อยู่ที่ความสะดวกในการใช้งาน จากที่เคยต้องใช้อุปกรณ์สามอย่าง ตอนนี้สามารถใช้ทุกอย่างได้ในเครื่องเดียว ข้อดีอีกอย่างหนึ่งคือ บางคุณลักษณะ เช่น การถ่ายเอกสาร ไม่จําเป็นต้องเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์

ภาพประกอบของเครื่องพิมพ์มัลติฟังก์ชันเครื่องพิมพ์มัลติฟังก์ชัน
ด้านบนของหน้าการเชื่อมต่อเครื่องพิมพ์ของคุณเครื่องพิมพ์ได้รับการออกแบบมาให้เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ที่ใช้ Windows ได้หลายวิธี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับรุ่นและขึ้นอยู่กับว่าคุณใช้เครื่องพิมพ์นั้นที่บ้านหรือที่ทำงานการเชื่อมต่อเหล่านี้เป็นการเชื่อมต่อที่คุณพบได้ทั่วไป

เครื่องพิมพ์แบบผ่านสายอุปกรณ์เหล่านี้เชื่อมต่อโดยใช้สายเคเบิลและพอร์ตบนคอมพิวเตอร์เครื่องพิมพ์ตามบ้านส่วนใหญ่จะมีตัวเชื่อมต่อ Universal Serial Bus (USB) แม้ว่ารุ่นเก่าๆ บางรุ่นอาจเชื่อมต่อกับพอร์ตขนานหรือพอร์ตอนุกรม บนพีซีทั่วไป พอร์ตขนานมักจะมีการทำเครื่องหมาย “LPT1” ไว้ หรือมีไอคอนรูปเครื่องพิมพ์ขนาดเล็กอยู่

เมื่อคุณเชื่อมต่อเครื่องพิมพ์ผ่าน USB Windows จะพยายามระบุเครื่องพิมพ์และติดตั้งซอฟต์แวร์ (เรียกว่า โปรแกรมควบคุม) ที่ทำให้เครื่องพิมพ์สามารถใช้ได้กับพีซีของคุณโดยอัตโนมัติ

Windows ถูกออกแบบมาให้รู้จักเครื่องพิมพ์หลายร้อยชนิด อย่างไรก็ตาม คุณควรอ่านคำแนะนำที่มาพร้อมกับเครื่องพิมพ์ของคุณเสมอ และคุณจะต้องติดตั้งซอฟต์แวร์ของผู้ผลิตก่อนที่จะเชื่อมต่อเครื่องพิมพ์

ถ้าเครื่องพิมพ์ของคุณเป็นรุ่นเก่า หรือไม่ได้ใช้ USB คุณอาจจำเป็นต้องติดตั้งเครื่องพิมพ์ด้วยตนเอง สำหรับคำแนะนำ ให้ดูที่ การติดตั้งเครื่องพิมพ์

เครื่องพิมพ์แบบไร้สายเครื่องพิมพ์แบบไร้สายจะเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ผ่านคลื่นวิทยุโดยใช้เทคโนโลยี Bluetooth หรือ Wi‑Fi

เมื่อต้องการต่อเครื่องพิมพ์แบบ Bluetooth คุณอาจจำเป็นต้องเพิ่มอะแดปเตอร์ Bluetooth ให้กับคอมพิวเตอร์ของคุณ อะแดปเตอร์ Bluetooth ส่วนใหญ่จะต่อเข้ากับ USB พอร์ต

เมื่อคุณเสียบอะแดปเตอร์และเปิดเครื่องพิมพ์แบบ Bluetooth Windows จะพยายามติดตั้งเครื่องพิมพ์โดยอัตโนมัติ หรือแสดงพร้อมท์ให้คุณติดตั้ง ถ้า Windows ตรวจไม่พบเครื่องพิมพ์ คุณสามารถเพิ่มเครื่องพิมพ์ได้ด้วยตนเอง

โดยทั่วไปเครื่องพิมพ์แบบ Wi-Fi จะเชื่อมต่อไปยังเครือข่ายไร้สายโดยตรงในรูปแบบของอุปกรณ์สแตนด์อโลน เมื่อต้องการเรียนรู้เพิ่มเติม ให้ดูที่ การติดตั้งเครื่องพิมพ์บนเครือข่ายในบ้าน

เครื่องพิมพ์เฉพาะที่เปรียบเทียบกับเครื่องพิมพ์บนเครือข่าย

เครื่องพิมพ์ที่เชื่อมต่อโดยตรงกับพีซีเรียกว่า เครื่องพิมพ์เฉพาะที่ เครื่องพิมพ์ที่เชื่อมต่อไปยังเครือข่ายโดยตรงเป็นอุปกรณ์สแตนด์อโลนเรียกว่า เครื่องพิมพ์บนเครือข่าย

เครื่องพิมพ์บนเครือข่ายมักพบได้ในสํานักงาน แม้ว่าในปัจจุบันจะกำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ปัจจุบันบริษัทเครื่องพิมพ์จำนวนมากได้ผลิตเครื่องพิมพ์หลายรุ่นที่มีความสามารถด้านเครือข่ายสำหรับการใช้งานในบ้าน โดยทั่วไป เครื่องพิมพ์เหล่านี้จะเชื่อมต่อกับเครือข่ายโดยใช้สายอีเทอร์เน็ต หรือเทคโนโลยีไร้สาย เช่น Wi‑Fi หรือ Bluetooth

เมื่อต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการเชื่อมต่อไปยังเครื่องพิมพ์บนเครือข่ายที่บ้านหรือที่ทำงาน ให้ดูที่ การติดตั้งเครื่องพิมพ์ และ การติดตั้งเครื่องพิมพ์บนเครือข่ายในบ้าน

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้เครื่องพิมพ์เฉพาะที่ร่วมกับผู้อื่น ให้ดูที่ การใช้เครื่องพิมพ์ร่วมกันด้านบนของหน้าการพิมพ์ใน Windows

Windows มีวิธีการพิมพ์หลายวิธี วิธีการที่คุณเลือกใช้จะขึ้นอยู่กับสิ่งที่คุณกำลังพยายามจะพิมพ์ ต่อไปนี้คือรายการงานพิมพ์ทั่วไปและบทความเกี่ยวกับวิธีการพิมพ์งานพิมพ์เหล่านั้น

การพิมพ์เอกสารหรืออีเมล ดูที่ การพิมพ์เอกสารหรือแฟ้มการพิมพ์ภาพถ่ายของคุณ ดูที่ การพิมพ์รูปภาพการพิมพ์หน้าจอคอมพิวเตอร์ ดูที่ การใช้การจับภาพหน้าจอ (พิมพ์หน้าจอของคุณ)

การเลือกตัวเลือกการพิมพ์

สองหน้าหรือหน้าเดียว ขาวดำหรือสี การวางแนวนอนหรือแนวตั้ง ตัวเลือกเหล่านี้เป็นเพียงบางส่วนที่คุณจะต้องเลือกเมื่อคุณพิมพ์

ตัวเลือกส่วนใหญ่อยู่ในกล่องโต้ตอบ ‘พิมพ์’ ซึ่งคุณสามารถเข้าถึงได้จากเมนู ‘แฟ้ม’ ในโปรแกรมส่วนใหญ่

รูปภาพของกล่องโต้ตอบ ‘พิมพ์’ ใน WordPad กล่องโต้ตอบ ‘พิมพ์’ ใน WordPadตัวเลือกที่มีให้คุณใช้งานและวิธีที่คุณเลือกตัวเลือกเหล่านี้ใน Windows ขึ้นอยู่กับรุ่นของเครื่องพิมพ์และโปรแกรมที่คุณกำลังใช้งาน สำหรับตัวเลือกเฉพาะ ให้ตรวจสอบเอกสารประกอบที่มาพร้อมกับเครื่องพิมพ์หรือซอฟต์แวร์โปรแกรมประยุกต์ของคุณ (เมื่อต้องการใช้งานบางตัวเลือก คุณอาจจำเป็นต้องคลิกการเชื่อมโยงหรือปุ่ม “การกำหนดลักษณะ” “คุณสมบัติ” หรือ “ตัวเลือกขั้นสูง” ภายในกล่องโต้ตอบ ‘พิมพ์’)

ต่อไปนี้คือตัวเลือกการพิมพ์ทั่วไปที่คุณพบส่วนใหญ่ และความหมายของตัวเลือกเหล่านั้นการเลือกเครื่องพิมพ์ รายการเครื่องพิมพ์ที่พร้อมใช้งาน บางครั้งคุณยังสามารถเลือกที่จะส่งเอกสารเป็นโทรสาร หรือบันทึกเป็นเอกสาร XPS ได้อีกด้วย (ดูที่ การพิมพ์ไปที่ Microsoft XPS Document Writer)

ช่วงหน้ากระดาษ ใช้เครื่องหมายจุลภาคหรือยัติภังค์เพื่อเลือกเฉพาะบางหน้าหรือช่วงของหน้าที่ต้องการ ตัวอย่างเช่น การป้อนค่า 1, 4, 20-23 จะพิมพ์หน้าที่ 1, 4, 20, 21, 22 และ 23

ตัวเลือก ส่วนที่เลือก จะพิมพ์เฉพาะข้อความหรือกราฟิกที่คุณเลือกในเอกสาร หน้าปัจจุบัน จะพิมพ์เฉพาะหน้าที่แสดงในปัจจุบัน

จำนวนสำเนา พิมพ์เอกสาร รูปภาพ หรือแฟ้มมากกว่าหนึ่งสำเนา เลือกกล่องกาเครื่องหมาย ทีละชุด เมื่อต้องการพิมพ์เอกสารทั้งหมดก่อนที่จะเริ่มพิมพ์สำเนาถัดไป

การวางแนวหน้ากระดาษ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เค้าโครง หน้า เลือกระหว่างพิมพ์ตามความสูงของหน้า (แนวตั้ง) หรือตามความกว้างของหน้า (แนวนอน)

ขนาดกระดาษ เลือกกระดาษขนาดอื่นผลลัพธ์หรือแหล่งกระดาษ หรือเรียกว่า ปลายทางผลลัพธ์ หรือ ถาดกระดาษ เลือกถาดกระดาษที่จะใช้ วิธีนี้สะดวกในกรณีที่คุณใส่แต่ละถาดด้วยกระดาษที่มีขนาดแตกต่างกัน

กระดาษที่ใช้ในโรงพิมพ์กระดาษที่ใช้ในโรงพิมพ์ รับพิมพ์งาน มีอยู่หลายชนิด เรามารู้จักกระดาษที่นิยมใช้ค่ะ

1. กระดาษอาร์ต
คุณลองหยิบปกหนังสือนิตยสารส่วนใหญ่ขึ้นมาดู มักจะเป็นกระดาษอาร์ต ลักษณะเนื้อกระดาษจะแน่น ผิวเรียบ มีการเคลือบผิว มีทั้งอาร์ตมัน(มีความหนาตั้งแต่ 90-400 แกรม) และ อาร์ตด้าน(มีความหนาไม่เกิน 160 แกรม) เหมาะสำหรับงานพิมพ์ 4 สีที่ต้องการความสวยงาม ดูดี เพราะมีการเคลือบหน้าผิว นิยมใช้ทำโบรชัวร์, ใบปลิว,แผ่นพับ, แฟ้มกระดาษ, ฉลากสินค้า, Company Profile ฯลฯ

2. กระดาษปอนด์
ลองหยิบเนื้อในสมุดนักเรียนขึ้นมาดู มักจะเป็นกระดาษปอนด์ (ความหนาตั้งแต่ 60-120 แกรม) ลักษณะเนื้อกระดาษไม่แน่นเท่ากระดาษอาร์ต ผิวเรียบ ไม่มีการเคลือบผิว ฉีกขาดง่ายกว่า ใช้พิมพ์งาน 4 สีได้ แต่ไม่สวยเท่า เนื่องจากระดาษจะดูดซับหมึก ทำให้สีไม่สดเท่าที่ควร เหมาะสำหรับกระดาษไว้เขียน และมักใช้เป็นใบแรกของบิล, ใบปลิว, สมุดโน้ต, กระดาษโน้ต, ซองขาว ซึ่งราคาจะถูกกว่ากระดาษอาร์ต

3. กระดาษปรู๊ฟ
ลองหยิบหนังสือพิมพ์รายวันทั่วไป เช่น ไทยรัฐ เดลินิวส์ เป็นกระดาษปรู๊ฟ (ความหนา 48 แกรมโดยประมาณ) เนื้อกระดาษจะไม่แน่น สีออกน้ำตาลอ่อนๆ ฉีกขาดง่ายและมักใช้ทำบิล พิมพ์ราคาถูกกว่า 2 ชนิดแรกเป็นใบสุดท้ายสำหรับติดเล่ม)

4. กระดาษแบงค์
เนื้อกระดาษคล้ายกระดาษปอนด์ (ความหนา 55 แกรม) แต่เป็นสีๆ เช่น สีชมพู ฟ้า เขียว เหลือง ใช้สำหรับพิมพ์บิล, คูปองอาหาร, คูปองเครื่องดื่ม, ใบสำคัญรับ, ใบสำคัญจ่าย, ใบสำคัญต่างๆ

5. กระดาษแอเมล์เนื้อกระดาษจะบางมาก เพียง 28 แกรม เหมาะสำหรับทำสำเนาของบิล2ชั้นขึ้นไปเนื่องจากมีความบาง เวลาสอดกระดาษคาร์บอนแล้วสามารถเขียนทะลุได้ดีในเล่มกระดาษธรรมดา ใช้เป็นชั้นที่ 2 ขึ้นไป เช่น บิลสำนักงาน

6. กระดาษคาร์บอนในตัว/กระดาษเคมีในตัว/กระดาษก็อปปี้ในตัว
กระดาษเคลือบสารเคมี เมื่อเขียนด้านบนจะทะลุถึงด้านล่าง นิยมทำเป็นบิลเล่ม, แบบฟอร์ต่อเนื่อง เป็นที่นิยมมากทำใบกำกับภาษี เนื่องจากใช้สะดวก ประหยัดเวลา โดยไม่ต้องนั่งสอดแผ่นกระดาษคาร์บอน

7. กระดาษพีวีซีลักษณะเป็นพลาสติก ฉีกไม่ขาด กันน้ำ นิยมใช้ทำนามบัตรซึ่งพิมพ์โดยระบบซิลค์สกรีน

8. กระดาษพิเศษกระดาษชนิดนี้มีหลายสี ทั้งแบบผิวเรียบ และไม่เรียบ กระดาษชนิดนี้จะมีความพิเศษของเนื้อกระดาษเช่น กระดาษคองเกอเร่ กระดาษลายน้ำREFLEX นิยมนำมาทำหัวจดหมาย, ซองจดหมาย, นามบัตร, โบชัวร์ ส่วนมากเป็นกระดาษนำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งจะมีราคาสูง

9. กระดาษกล่องแป้งกระดาษชนิดนี้นิยมนำมาผลิตเป็นกล่องกระดาษ (แพคเก็จจิ้ง) ด้านหน้าจะเป็นสีขาว ไว้สำหรับพิมพ์ อีกด้านหลังจะเป็นสีเทา (ปัจจุบันมีแบบด้านหลังเป็นสีขาวด้วยค่ะ เพื่อความสวยงาม) ความหนาตั้งแต่ 250-500 แกรม

10. กระดาษสีน้ำตาล KA, KIกระดาษสีน้ำตาล นิยมใช้ทำซองจดหมายKA, KI และนิยมใช้ทำปก บิลเล่มสีน้ำตาล หรือ ทำปกสมุดโน้ตกระดาษรีไซเคิล




Create Date : 15 ธันวาคม 2558
Last Update : 15 ธันวาคม 2558 10:12:33 น.
Counter : 2516 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

pyopyo2524
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]



ธันวาคม 2558

 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31