การดูแลสุขภาพฟันโดยการใส่สะพานฟัน

สะพานฟัน

เป็นการทำทันตกรรมเพื่อทดแทนฟันที่สูญเสียไป โดยทำการ ครอบฟันสองซี่ที่อยู่ด้านข้างระหว่างช่องฟันก่อน จากนั้นจึงทำการทดแทน ฟันที่เสียไประหว่างช่องว่างนั้น  หากปล่อยให้เกิดช่องว่างระหว่างฟัน อาจทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมาได้ เช่น ฟันอาจล้มลงมาบริเวณช่องว่าง ทำให้เกิดปัญหาการเคี้ยว และการสบฟัน นอกจากนี้ อาจมีผลกระทบ ทำให้เกิดการปวดขากรรไกร โรคเหงือก และอาการฟันผุได้ 

     วัสดุที่นำมาใช้ในการทำสะพานฟันมีหลายประเภทเช่นเดียวกับการครอบฟัน  ทั้งแบบที่ทำจากโลหะ ทอง เซรามิก และเซรามิกผสมโลหะ

การเตรียมฟันก่อนรับการรักษา

     ถ้าหากคนไข้มีฟันที่สูญเสียไป ควรรีบปรึกษาทันตแพทย์ เพื่อหาวิธีที่ถูกต้อง และเหมาะสมแก่การรักษา หากปล่อยเอาไว้โดยไม่เข้ารับการรักษา ช่องว่างที่เกิดจากฟันเสียไปนั้น อาจทำให้ฟันบริเวณด้านข้าง ล้มจนเสียโครงสร้างฟัน  และนอกจากนี้อาจทำให้เกิดโรคเหงือกได้ เนื่องจากปกติแล้ว ฟันแต่ละซี่จะช่วยเสริมและแบ่งรับน้ำหนักซึ่งกันและกัน  เวลาบดเคี้ยวหรือสบฟัน หากไม่มีซี่ใดซี่หนึ่ง อาจทำให้แรงกดบริเวณนั้น กดลงสู่เหงือกและเนื้อเยื่อบริเวณภายในปากมากเกินไป  และยังสามารถ ก่อให้เกิดอาการหรือโรคอันตรายอื่นๆตามมาได้เช่นกันซึ่งรวมไปถึงอาการต่างๆเหล่านี้

  • จะมีฟันตำแหน่งคู่ตรงข้ามกับฟันที่เสียไปอาจมีการหลุดออกมาได้

  • อาจจะมีช่องว่างระหว่างฟันที่สูญเสียไปที่อาจทจะทำให้เกิดปัญหาขณะบดเคี้ยวได้

  • หากไม่เข้ารับการรักษาสะพานฟัน อาจทำให้ฟันซี่บริเวณใกล้เคียงเลื่อนมายังตำแหน่งช่องว่าง ซึ่งทำให้การดูแลรักษาและทำความสะอาดทำได้ยาก จึงทำให้เกิดอาการฟันผุและโรคเหงือกตามมา

ประเภทของสะพานฟัน

1. สะพานฟันแบบธรรมดา (Traditional Fixed Bridges)

     การทำสะพานฟันแบบธรรมดาจะประกอบด้วยการครอบฟันสองซี่บริเวณด้านข้าง และมีการครอบฟันลอย (Pontic) เพื่อใช้ทดแทนบริเวณช่องว่างที่สูญเสียฟันไป เป็นตัวเชื่อมครอบฟันที่ยึดติดบนฟันซี่ด้านข้าง การทำสะพานฟันประเภทนี้ไม่สามารถถอดออกได้เหมือนการทำฟันปลอม
สะพานฟันที่ยึดด้วยวัสดุเรซิน

2. สะพานฟันแบบมีหลักยึดข้างเดียว (Resin Bonded Bridges)

     ปกติแล้ว การทำสะพานฟันด้วยวิธีนี้เหมาะสำหรับฟันหน้า และฟันด้านข้างของช่องว่าง ควรมีลักษณะที่สมบูรณ์ ส่วนช่องว่างของฟันที่สูญเสียไม่ควรใหญ่มากนัก  โดยการทำครอบฟันลอย ยึดติดกับแกนโลหะ  และใช้วัสดุเรซินทำคล้ายกับปีกติดด้านหลัง ของฟันด้านข้าง เพื่อไม่ให้เห็นรอยต่อของสะพานฟัน  ดังนั้นการทำสะพานฟันแบบนี้ จึงไม่ซับซ้อนในการทำสะพานฟัน ของฟันด้านข้าง ค่าใช้จ่ายจึงไม่แพงมากนักด้วย

3. สะพานฟันแบบมีหลักยึดข้างเดียว (Cantilever Bridges)

     การทำสะพานฟันด้วยวิธีนี้ สามารถใช้ได้กับฟันบริเวณที่ไม่มีแรงกดมากนัก เช่น บริเวณฟันหน้าโดยใช้การครอบฟันลอยยึดเกาะฟัน ข้างเคียงเพียงซี่เดียวในการทำสะพานฟัน

แต่อย่างไรก็ตามบทบาทและหน้าที่ของฟันทุกซี่ ล้วนมีความสำคัญทั้งในการพูด เคี้ยวอาหาร และช่วยในการรักษาสภาพโครงสร้างของฟันอีกด้วยและการที่ฟันของเรานั้นมีไม่ครบมันคงจะทำให้เพื่อนๆรู้สึกหงุดหงิดไม่มากก็น้อยเลบทีเดียวยังไงเพื่อนๆก็หันมาดูแลสุขภาพฟันกันเยอะๆนะครับ ^^ 




Create Date : 26 กันยายน 2556
Last Update : 26 กันยายน 2556 15:30:53 น.
Counter : 1068 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สมาชิกหมายเลข 818861
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



กันยายน 2556

1
2
3
4
6
7
8
9
11
14
15
17
20
21
22
23
24
25
28
29
 
 
All Blog