Group Blog
 
<<
มกราคม 2554
 
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
26 มกราคม 2554
 
All Blogs
 
ประเพณีล่องสะเปา

ป๋าเวณีล่องสะเปา


ประเพณีล่องสะเปา หรือลอยกระทง มีมาแต่โบราณกาลแล้ว เมื่อวันเดือนยี่เป็ง ก็จะธรรมพิธีล่องสะเปา -เป็นการลอยโดยความหมาย
-เป็นกานลอยเคราะห์ลอยบาป
-เป็นการลอยเพื่อส่งของแก่บรรพบุรุษ
-เป็นการลอยเพื่อบูชาพระนารายณ์
-เป็นการบูชาพระพุทธบาทในหาดทรายแม่น้ำนัมนที
-เป็นการลอยเพื่ออธิษฐาน
๑. การลอยเคราะห์ลอยบาป ต้องการลดเคราะห์เสนียดจัญไรในตัวให้ไหลล่องไปตามน้ำในเทศกาลเดือนยี่
๒. เป็นการลอยเพื่อส่งของแก่บรรพบุรุษ ตามคติความเชื่อของคนโบราณในนครหริภุญไชย ที่ส่งให้แก่ญาติพี่น้องในนครหงสาวดี ในสมัยต่อมาประชาชนยึดถือเป็นประเพณีปฏิบัติกันจนทุกวันนี้
๓. การลอยกระทงเพื่อสักการะบวงสรวงไปยังพระผู้เป็นเจ้าในศาสนาพราหมณ์ คือ พระนารายณ์ซึ่งบรรทมในเกษียรสมุทร ตามคติควมเชื่อของพราหมณ์ บางแห่งใช้น้ำมันจากไขข้อของโคบูชาด้วย ถือว่าเป็นของศัดดิ์สิทธ์และมีผลมากในการบูชา คือ การทำแบบนั้นเป็นการโปรดปรานของเทพเจ้า
๔. การบูชาพระพุทธบาทที่ประทับไว้เหนือหาดทรายแม่น้ำนัมนที เป็นความเชื่อถือของประชาชนผู้นับถือพุทธศาสนาว่าการล่องสะเปานั้น คือ การบูชาพุทธบาทที่พระพุทธองค์ประดิษฐานไว้ ปรากฏในตำนานการล่องสะเปา (ลอยกระทง) แต่ยังไม่ปรากฏว่าพระพุทธบาทแห่งแม่น้ำนัมนทีนั้นอยู่ที่ไหน และมีรูปพรรณสัณฐานเป็นอย่างไร
๕. การล่องสะเปา (ลอยกระทง) เพื่ออธิษฐาน เป็นเป้าหมายของประชาชนโดยตรง คือ อธิษฐานเอาความคิดของตน โดยเฉพาะการอธิษฐานของหนุ่มสาวที่ต้องการจะร่วมชีวิตกัน เมื่อทำกระทงแล้วก็ไปลอยในแม่น้ำ แลพะอธิษฐานที่ตนปรารถนา วันล่องสะเปา (ลอยกระทง)
กระทงเล็กๆ ที่ชาวบ้านจัดทำขึ้น นิยมลอยตามแม่น้ำลำคลอง หนองบึงใกล้ๆ บ้านของตนทำกันเป็นส่วนตัวและครอบครัว นิยมลอยกันในวันเดือนยี่ขึ้น ๑๔ - ๑๕ ค่ำ ส่วนกระทงใหญ่ที่จัดกันเป็นส่วนรวมแห่แหน เป็นขบวนนั้น นิยมกันวันแรม ๑ ค่ำ เพราะวันเพ็ญไม่สะดวกเนื่องจากอุบาสกอุบาสิกาต้องไปทำบุญ ฟังเทศน์กัณฑ์ ทุกวัดวาอาราม ประเพณีลอยกระทงเป็นประเพณีเดือนยี่ของภาคเหนือ

ประวัติและความเป็นมาของประเพณีล่องสะเปา (ลอยกระทง) ของภาคเหนือ
ประเพณีลอยกระทงในภาคเหนือ ที่เรียกตามหนังสือตำนานโยนกและจามเทวีวงศ์ว่าเป็นประเพณีที่สนุกสนานครึกครื้นมา แม้ว่าจะไม่เป็นการใหญ่โตเหมือนปัจจุบัน คือ ก่อนจะถึงวันเพ็ญเดือน ๑๒ ได้ก็จัดการปัดกวาดแผ้วถางปัดกวาดบ้านเรือนสถานที่ให้สะถอาดเรียบร้อย ประดับประดาด้วยช่อตุง (ธงทิว) จัดเปลี่ยนดอกไม้ในแจกันหิ้งบูชาพระ จัดเตรียมประทีปหรือเทียนขี้ผึ้งไว้สำหรับจุดบูชาพระ ที่ประตูหน้าบ้านก็จะหาต้นกล้วย ต้นอ้อย ก้านมะพร้าว หรือไม้อื่นๆมาประดิษฐ์ทำเป็นซุ้มประตูป่าต่างๆ ให้เป็นที่สวยงามบ้างก็จัดหาดอกบานไม้รู้โรยหรือที่เมืองเรียกว่า”ดอกตะล่อม” มาร้อยเป็นอุบะห้อยไว้ตามขอบประตูบ้าน ประตูเรือน หรือประตูห้อง หรือหิ้งบูชาพระผู้มีศรัทธาแรงกล้าถึงกับทำมากๆ แล้วนำไปประดับประดาตามวัดเป็นพุทธบูชา หรือเมื่อประดับประดาดอกไม้เรียบร้อย แล้วก็หาประทีปมาเตรียมไว้เพื่อจะได้ใช้ตามไฟในงาน
ขณะเดียวกันตามวัดวาอารามหรือสถานที่สำคัญที่จะจัดสถานที่ให้สวยงามเป็นพิเศษ ที่ซุ้มประตูของวัด และในพระวิหารก็จะตกแต่งด้วยดอกไม้ โคมไฟสวยงามและก็ประดิษฐ์โคมชนิดหนึ่ง รอบๆจะมีรูปสัตว์ต่างๆ อยู่ภายในโคมแขวนหรือตั้งไว้ในวัด เมื่อจุดไฟแล้วจะมองเห็นภาพต่างๆ ในโคมนี้ ตามภาษาพื้นเมืองเรียกว่า “โคมผัด” ในงานวันนั้นรอบๆ บริเวณก็จะจุดไฟด้วยเทียน หรือตั้งประทีปไว้รอบๆ เพื่อเป็นการบูชาระลึกถึงพระพุทธเจ้า นอกจากมีการประดับประดาโคมไฟแล้วทุกวัดก็จะมีการทำบุญทางศาสนา ในตอนเช้าของวันเพ็ญและมีการฟังเทศน์ให้กันอย่างสนุกสนานและได้หาทางศีลธรรมพร้อมๆ กันไป ซึ่งก็มักจะนิยมให้ท่านเทศน์กัณฑ์มัทรี ชูชกหรือที่เมืองเหนือเรียก”ตุ๊จ๊ก” กัณฑ์กุมารมหาราช และนครกัณฑ์ ซึ่งบางแห่งก็มีการเทศทั้งหมด ๑๓ กัณฑ์ทีเดียว และต้องเริ่มเทศน์ฟังกันตั้งแต่ ๗-๘ ค่ำไป ให้สิ้นสุดลงในวันเพ็ญ หรือวันแรม ๑ ค่ำ และต้องนิยมพระธรรมถึกมาจากที่ต่างๆ กัน
นอกจากการทำบุญ ฟังเทศน์ตามประเพณีแล้ว ยังมีการปล่อยโคมลอยซึ่งตามประเพณีถือว่าการปล่อยไป เพื่อบูชาพระจุฬามณีบนสวรรค์ ซึ่งตอนเช้าวันนี้จะได้ยินเสียงประทัด และเห็นโคมลอยขึ้นบนอากาศหลายลูก
ส่วนตำราพราหมณ์คณาจารย์ กล่าวว่า พิธีลอยประทีป หรือตามประทีปนี้ เป็นพิธีทางศาสนาพราหมณ์เรียกว่า ประเพณีจองเปรียง ทำขึ้นเพื่อเป็นการบูชาพระเป็นเจ้าทั้งสามของพราหมณ์คือ พระอิศวร พระนารายณ์ และพระพรหม เป็นประเภทคู่กันกับลอยกระทง ก่อนจะมีการลอยก็มีการต๋าม (จุด) ประทีปเสียก่อนซึ่งพิธีตามประทีปนี้ตามคัมภีร์ของอินเดียเรียกว่า”ทีปาวาลี” กำหนดตามโหราศาสตร์ว่า เมื่อพระอาทิตย์ถึงพิจิกพระจันทร์อยู่ราศีพฤกษ์เมื่อใด เมื่อนั้นเป็นเวลาตามประทีป แต่ไทยเรามักถือเอาเดือน ๑๒ หรือเดือนยี่เป็งเป็นเกณฑ์เวลาก็คลาดเคลื่อนกันบ้าง ต่อมาทางการได้สนับสนุนประเพณีนี้ขึ้น เพณีชาวไทยส่วนมากนับถือพุทธศาสนา เมื่อเห็นว่าเป็นประเพณีที่ดีงาม ก็มาแปลงเป็นพิธีทางศาสนา โดยถือว่าเป็นการบูชาพระ และบูชาลอยพระพุทธบาทที่ปรากฏกัน เพื่อมาเที่ยวงานนี้มีการประกวดและแห่กระทงเป็นที่น่าสนุกสนานยิ่งขึ้น เป็นการส่งเสริมประเพณีวัฒนธรรม จัดให้มีการประกวดและการแห่กระทงใหญ่ ซึ่งบรรดาส่วนข้าราชการ องค์กรเอกชน สถานศึกษาต่างๆ ได้พากันส่งกระทงประกวดกันอย่างคับคั่ง ก็จะมีการประกวดการประดิษฐ์กระทงเล็ก ด้วยวัสดุต่างๆ เป็นต้น
ประเพณีล่องสะเปา (ลอยกระทง) มีส่วนเกี่ยวข้องกับศาสนา คือ เมื่อประมาณ ๒๕๐๐ ปี ก่อนที่พระพุทธองค์ทรงสำเร็จเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ประทับอยู่ใต้ต้นอสัตพฤษ์โพธิใบใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ลุกาลวันหนึ่ง นางสุชาดา อบาสิกาผู้ใจบุญได้นำสาวใช้นำข้าวปายาธ จำนวน ๔๙ ก้อน ใส่ถาดทองไปถวายพระพุทธเจ้า เมื่อพระองค์เสวยหมดแล้วพระองค์ทรงตั้งสัตยาธิษฐานว่าถ้าหากวันใดที่พระองค์สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า ขอให้ถาดนี้ลอยทวนน้ำ และก็จะเป็นด้วยบุญญาภินิหาร หรือสัตยานิษฐานก็เหลือที่จะทราบได้ ถาดนั้นได้ลอยทวนน้ำท่ามกลางความอัศจรรย์ใจของสาวใช้นางสุชาดา เมื่อถาดนั้นลอยทวนน้ำไปจนถึงสะดือทะเลและจมดิ่งลงไปถูกหางพระยานาคผู้รักษาบาดาล ซึ่งกำลังนอนอย่างสบาย ครั้นถาดนั้นได้ถูกขดหางพระยานาคก็ตกใจตื่น เมื่อเห็นว่าเป็นอะไรแล้ว ก็ประกาศก้องในท้องสมุทรว่า บัดนี้ได้มีสัมมาสัมพุทธเจ้าอุบัติขึ้นในโลกอีกองค์หนึ่ง บรรดาเทพารักษ์ทั้งหลายในโลก ครั้นทราบเรื่องต่างก็พากันไปเฝ้าพระพุทธองค์ ส่วยพระยานาคก็ไปเฝ้าพระพุทธองค์เหมือนกัน พร้อมกันนั้นก็ทูลขอร้องให้พระองค์ประทับรอยพระบาทไว้บนฝั่งแม่น้ำ เนรัญชรา เพื่อเขาจะได้มาถวายความเคารพ ซึ่งพระพุทธองค์ก็ได้กระทำตามฝ่ายสาวใช้นางสุชาดาก็ได้นำความไปแจ้งให้นายของตนทราบ ครั้นถึงวันนั้นของทุกๆปี นางสุชาดาก็จะนำเอาเครื่องหอมและดอกไม้ใส่ในประเภทต่างๆซึ่งได้มีการดัดแปลงแก้ไขให้เหมาะสมตามกาลสมัย จึงเป็นเรื่องของชาดก ซึ่งสันนิษฐานว่าประเพณีการลอยกระทงมีประวัติเป็นมาดังกล่าว

ประเพณีเดือนสิบสอง ล่องสะเปา เป็นประเพณีที่ชาวล้านนาปฏิบัติมานานนับพันปี ล่องสะเปามีความหมายคล้ายกับคำว่า สำเภา ของภาษาภาคกลาง หมายถึง เรือเดินทะเลที่ใช้แล่นด้วยลมโดยใข้ใบบังคับทิศทาง แต่ความหมายของชาวล้านนาจะหมายถึงเรือบรรทุก สะเปา เป็นพาหนะสำหรับบรรทุกเครื่องอุปโภคบริโภค แล้วล่องสะเปาให้ลอยไปตามลำน้ำเพื่ออุทิศส่วนกุศลไปให้ดวงวิญญาณของผู้ล่วงลับ หรืออุทิศส่วนบุญฝากเป็นศิริมงคลของตนเองในภพหน้า

ประวัติงานประเพณีล่องสะเปา เมื่อจุลศักราช 309 พระยาจุเลราช ได้ครองราชสมบัติ ในนครหริภุญไชยในสมัยนั้นเมืองหริภุญไชยได้มีคนตายจำนวนมากจากโรคภัยไข้เจ็บ ประชาชนชาวหริภุญไชยจำนวนมากจึงพากันหนีโรคภัยไปอาศัยอยู่เที่มืองสุธรรมวดี
ฝ่ายสมเด็จพระเจ้าภุกามราชผู้ครองเมืองสุธรรมาวดี ไม่ยินดีที่จะต้อนรับชาวหริภุญไชย แม้แต่ผู้เจ็บไข้ได้ป่วยก็ไม่ได้ความกรุณาปราณี ฝ่ายชาวเมืองหริภุญไชยได้จึงพากันหนีจากเมืองสุธรรมาวดีนครไปยังเมืองหงษาวดีแล้วใช้ชีวิตอยู่ในเมืองนั้น ทางพระเจ้าหงษาวดีทรงอนุเคราะห์เกื้อกูลแก่ชาวเมืองหริภุญไชยเป็นอย่างมาก ชาวหริภุญไชยกับชาวหงษาวดีจึงได้มีรักใคร่กลมเกลียวต่อกันสืบมา ครั้งเมื่อครบ 6 ปี โรคภัยไข้เจ็บได้หายไป ผู้ที่ต้องการกลับมาอยู่เมืองหริภุญไชยก็พากันกลับมาสู่ภูมิลำเนาเดิม คนที่ไม่อยากกลับบ้านเมืองเดิม ก็เลยอยู่อาศัยในเมืองหงษาวดีนั้นเสีย เพราะเหตุนี้ ผู้คนทั้งหลายที่ได้กลับมายังเมืองหริภุญไชยนี้แล้ว เมื่อคิดถึงหมู่ญาติที่อยู่เมืองหงษาวดี ครั้งถึงกำหนดปีเดือน ก็เลยแต่งเครื่องสักการะลอยน้ำไปบูชาทางน้ำ ที่เรียกว่า ลอยโขมด (ลอยไฟ) จึงกลายเป็นประเพณีลอยประทีปสืบมา
ต่อมาความเชื่อดังกล่าวถูกรวมเข้ากับคติทางพระพุทธศาสนา จึงเพิ่มพิธีกรรมผ่านการอุทิศส่วนกุศลตามแบบอย่างของชาวพุทธ เพื่อฝากกุศลไปหาดวงวิญญาณของผู้ตายและฝากไว้สำหรับตนเองในภายภาคหน้า โดยจะมีการจัดเตรียมสิ่งของต่างๆ ทั้งอาหารเครื่องนุ่งห่ม ของใช้สอย เช่น ถ้วย ชาม เครื่องครัว ร่ม รองเท้า ตลอดจนเครื่องอำนวยความสะดวกต่างๆ บรรทุกในเรือจำลองแล้วนำไปถวายพระสงฆ์ แล้วตั้งความปรารถนา เมื่อพระสงฆ์อนุโมทนาแล้วจึงแห่สะเปานั้นไปลอยในแม่น้ำ โดยมีการจุดประทีปโคมไฟให้ดูสวยงาม
ด้านการบูชาเพื่อลอยบาปเคราะห์ มีสันนิษฐานว่าคงได้รับอิทธิพลจากศาสนาฮินดูผสมผสานกับศาสนาพุทธ ชาวบ้านจะบรรทุกสิ่งของที่คิดว่า ผีหรือเทพผู้บันดาลเคราะห์จะชอบใจ เช่น เนื้อสัตว์ หรือปลาสด และข้าวตอกดอกไม้ตามพิธี พร้อมตัดผม ตัดเล็บ หรือชำระร่างกายด้วยน้ำส้มป่อยลงในสะเปา แล้วให้ปู่อาจารย์ผู้เป็นเจ้าพิธีกล่าวคำเซ่นสรวง ซึ่งอาจนิมนต์พระสงฆ์อนุโมทนา จากนั้นจึงแห่ไปลอยลงแม่น้ำ โดยจุดประทีปโคมไฟเช่นกัน



Create Date : 26 มกราคม 2554
Last Update : 26 มกราคม 2554 16:35:40 น. 0 comments
Counter : 5630 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

chit130512
Location :
ลำปาง Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




ยินดีต้อนรับสู่กิจกรรมศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม และภูมิปัญญา
Friends' blogs
[Add chit130512's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.