Group Blog
 
<<
มกราคม 2554
 
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
24 มกราคม 2554
 
All Blogs
 
วันมาฆบูชา

มาฆบูชา เป็นวันสำคัญของพระพุทธศาสนาวันหนึ่ง ซึ่งเป็นที่รู้กันว่า เป็นวันเกิดพระธรรม ถือว่าเป็นวันที่ พระพุทธเจ้า ได้ประกาศ หลักธรรม คำสั่งสอนของพระองค์ เพื่อให้พระอรหันต์ทั้งหลาย ที่มาประชุมกันในวันนั้น นำไปเผยแผ่
วั น"มาฆบูชา" เป็นวันบูชาพิเศษที่ต้องทำในวันเพ็ญเดือนมาฆะ หรือในวันที่พระจันทร์เสวยมาฆฤกษ์
( ซึ่งโดยปกติทำกันในกลางเดือน ๓ แต่ถ้าปีใดมีอธิกมาส คือ เดือนแปดสองแปด ก็เลื่อนไปกลางเดือน ๔ )
ถือกันว่าเป็นวันสำคัญ เพราะวันนี้ เป็นวันคล้ายกับ วันประชุมกันเป็นพิเศษ แห่งพระอรหันตสาวก โดยมิได้มีการนัดหมาย ซึ่งเรียกว่า วันจาตุรงคสันนิบาต ซึ่งได้มีขึ้น ณ บริเวณเวฬุวันมหาวิหาร หลังจากที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้เป็นเวลานับได้ ๙ เดือน
วันนี้เอง ที่พระพุทธองค์แสดง "โอวาทปาฎิโมกข์" ซึ่งถือกันว่า เป็นหลักคำสอนที่เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา

จาตุรงคสันนิบาต คือ การประชุมพร้อมด้วยองค์ ๔ คือ
๑. วันนั้น เป็นวันมาฆปูรณมี คือวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำกลางเดือนมาฆะ จึงเรียกว่า มาฆบูชา
๒. พระภิกษุ ๑,๒๕๐ รูป มาประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย (สาเหตุของการชุมนุม)
๓. พระภิกษุทั้งหมดล้วนเป็นพระอรหันต์ ประเภทฉฬภิญญา คือ ได้อภิญญา ๖
๔. พระภิกษุ เหล่านั้น ทั้งหมด ได้รับการอุปสมบทจากพระพุทธเจ้าโดยตรง (เอหิภิกฺขุอุปสมฺปทา)

โอวาทปาฏิโมกข์ เป็นหลักคำสอนที่เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา ได้กล่าวถึง จุดหมาย หลักการ และวิธีการ ของพระพุทธศาสนาไว้อย่างครบถ้วน
๑. จุดหมายของพระพุทธศาสนา คือ พระนิพพาน (นิพฺพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา)
๒. หลักการของพระพุทธศาสนา คือ ต้องมีความอดทน ในการฝึกตนเอง เพื่อบรรลุจุดหมาย (ขนฺติ ปรมํ ตโป ตีติกฺขา) ต้องประกอบด้วย
ก. ไม่ทำความชั่วโดยประการทั้งปวง ทั้งทางกาย วาจา และทางใจ (สพฺพปาปสฺส อรกณํ)
ข. ทำความดีทั้งทางกาย วาจา และใจ (กุสลสฺสูปสมฺปทา) การไม่ทำความชั่วนั้น จะเรียกว่า เป็นคนดียังไม่ได้ การเป็นคนดี จะต้องทำความดี ทั้งทางกาย วาจา ใจ มิฉะนั้นแล้ว คนปัญญาอ่อน คนเป็นอัมพาต เป็นต้น ก็จะเป็นคนดีไปหมด
ค. การชำระจิตใจให้สะอาด ผ่องใส สงบ (สจิตฺตปริโยทปนํ)
๓. วิธีการที่จะบรรลุจุดหมาย คือ ต้องฝึกอบรมตนแบบต่อเนื่อง ให้เกิดมรรคสามัคคี คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ ** รวมพลังกัน เหมือนเชือก ๘ เกลียว หรือให้มี ศีล สมาธิ และปัญญา รวมพลังกัน เหมือนเชือก ๓ เกลียว พัฒนากาย วาจา ใจ ให้พูดดี ทำดี คิดดี ไม่ตกอยู่ในอำนาจแห่งกิเลส คือ โลภะ โทสะ โมหะ หรือ ราคะ โมสะ โมหะ ไม่ตกอยู่ในอำนาจแห่งกิเลส ตัณหา หรือความใคร่ ความอยากมี อยากเป็น แบบมืดบอด ความไม่อยากมี ไม่อยากเป็น ที่มันเป็นไปไม่ได้ เช่น ไม่อยากเป็นคนเสื่อมลาภ, ยศ, สรรเสริญ, สุข เป็นต้น โดยอาศัยวิธีการดังต่อไปนี้.

ก. ฝึกวาจา ระวังเสมอ มิให้กล่าวคำเท็จ คำหยาบ คำส่อเสียด คำเพ้อเจ้อ (อนูปวาโท)
ข. ฝึกกาย ระวังเสมอมิให้มีการฆ่า ทำลายชีวิต ตลอดจนถึงการเบียดเบียนทางกาย (อนูปฆาโต)
ค. ละเว้นข้อที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสห้ามไว้ และทำตามข้อที่พระพุทธองค์อนุญาต (ปาฎิโมกฺเข จ สํวโร)
ง. รู้จักประมาณในการบริโภค อาหาร ตลอดจน รู้จักประมาณในการใช้สอยปัจจัย ๔ (มตฺตญฺญุตา จ ภตฺตสฺสมึ)
จ. ฝึกตนอย่างจริงจัง ในที่ที่สงัดจากสิ่งรบกวน (ปนฺตนฺ จ สยนาสนํ)
ฉ. ภาวนาอยู่เสมอ คือ พัฒนาตนเองให้พ้นจากอำนาจของกิเลสตัณหา การภาวนา หมายถึง การใช้ทั้งสมาธิ และวิปัสสนา แก้ปัญหา หรือจัดการกับกิเลส (อธิจิตฺเต จ อาโยโค) เป็นการตรวจสอบตัวเองอยู่เสมอ มิให้จิตใจเศร้าหมอง ให้จิตใจผ่องใสอยู่เสมอ (สจิตฺตปริโยทปนํ)
จุดหมาย หลักการ และวิธีการ ที่พระพุทธเจ้าได้ประกาศไว้จะเป็นไปด้วยดี และบรรลุวัตถุประสงค์ที่พระพุทธเจ้าทรงมุ่งหมายไว้นั้น พระองค์ได้ย้ำเตือนไว้ว่า จะต้องปฏิบัติตนให้เป็นอย่างบรรพชิต และเป็นอย่างสมณะ คือ เว้นจากความชั่วทุกประการ และเป็นผู้ปฏิบัติตัวเป็นแบบอย่าง เพื่อระงับบาปอกุศล ได้แก่ ผู้ปฏิบัติธรรม เพื่อเป็นอริยบุคคล ทั้งไม่เบียดเบียนและไม่ก่อให้เกิดความเดือนร้อนแก่คนที่ประพฤติดี ปฏิบัติชอบทั้งหลาย (น หิ ปพฺพชิโต ปรูปฆาตี สมโณ โหติ ปรํ วิเหฐยนฺโต)
หมายเหตุ
** อริยมรรคมีองค์ ๘ ได้แก่
สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ
สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ
สัมมาวาจา การพูดจาชอบ
สัมมากัมมันตะ การทำงานชอบ
สัมมาอาชีวะ การเลี้ยงชีวิตชอบ
สัมมาวายามะ ความพากเพียรชอบ
สัมมาสติ ความระลึกชอบ
สัมมาสมาธิ ความตั้งใจมั่นชอบ
มรรค 8 ( อัฏฐังคิกมรรค )
..(มรรค = อริยมรรค = มัชฌิมาปฏิปทา = มรรคแปด = ทางดำเนินชีวิตอันประเสริฐ = ทางสายกลาง)
..........แนวทางดำเนินอันประเสริฐของชีวิตหรือกาย วาจา ใจ เพื่อความหลุดพ้นจากทุกข์
.....เรียกว่า อริยมรรค แปลว่าทางอันประเสริฐ เป็นข้อปฏิบัติที่มีหลักไม่อ่อนแอ จนถึงกับ
.....ตกอยู่ใต้อำนาจ ความอยากแห่งใจ แต่ก็ไม่แข็งตึงจนถึงกับเป็นการทรมานกายให้เหือด
.....แห้งจากความสุขทางกาย เพราะฉะนั้นจึงได้เรียกว่ามัชฌิมาปฏิปทา คือทางดำเนินสาย
.....กลาง ไม่หย่อนไม่ตึง แต่พอเหมาะเช่นสายดนตรีที่เทียบเสียงได้ที่แล้ว
..........คำว่ามรรค แปลว่าทาง ในที่นี้หมายถึงทางเดินของใจ เป็นการเดินจากความทุกข์
.....ไปสู่ความเป็นอิสระหลุดพ้นจากทุกข์ซึ่งมนุษย์หลงยึดถือและประกอบขึ้นใส่ตนด้วย
.....อำนาจของอวิชชา ....มรรคมีองค์แปด คือต้องพร้อมเป็นอันเดียวกันทั้งแปดอย่างดุจเชือก
.....ฟั่นแปดเกลียว องค์แปดคือ :-
..........1. สัมมาทิฏฐิ ิคือความเข้าใจถูกต้อง
..........2. สัมมาสังกัปปะ คือความใฝ่ใจถูกต้อง
..........3. สัมมาวาจา คือการพูดจาถูกต้อง
..........4. สัมมากัมมันตะ คือการกระทำถูกต้อง
..........5. สัมมาอาชีวะ คือการดำรงชีพถูกต้อง
..........6. สัมมาวายามะ คือความพากเพียรถูกต้อง
..........7. สัมมาสติ คือการระลึกประจำใจถูกต้อง
..........8. สัมมาสมาธิ คือการตั้งใจมั่นถูกต้อง
.....การปฏิบัติธรรมทุกขั้นตอน รวมลงในมรรคอันประกอบด้วยองค์แปดนี้ เมื่อย่นรวมกัน
.....แล้วเหลือเพียง 3 คือ ศีล - สมาธิ - ปัญญา สรุปสั้น ๆ ก็คือ
...............การปฏิบัติธรรม(ศีล-สมาธิ-ปัญญา)ก็คือการเดินตามมรรค
....

.สัมมาทิฏฐิ(ปัญญา) (หัวข้อ)
.....คือความเข้าใจถูกต้อง ย่อมต้องการใช้ในกิจการทั่วไปทุกประเภททั้งทางโลกและ
.....ทางธรรม แต่สำหรับฝ่ายธรรมชั้นสูงอันเกี่ยวกับการเห็นทุกข์หรืออาสวะซึ่งจัดเป็น
.....การเห็นอริยสัจจ์นั้นย่อมต้องการฝึกฝนอย่างจริงจังเป็นพิเศษ ความเข้าใจถูกต้อง
.....คือต้องเข้าใจอย่างทั่วถึงว่าทุกข์นั้นเป็นอย่างไร อย่างหยาบๆ ที่ปรากฎชัดๆ เป็นอย่างไร
.... อย่างละเอียดที่แอบแฝงเป็นอย่างไร เหตุให้เกิดทุกข์เป็นอย่างไร ความดับสนิท
.....ของทุกข์มีภาวะอย่างไร มีลำดับอย่างไร ทางให้ถึงความดับทุกข์คืออะไร เดินให้ถึงได้
.....อย่างไร สัมมาทิฏฐิมีทั้งที่เป็นโลกิยะคือของบุคคลที่ต้องขวนขวายปฏิบัติก้าวหน้าอยู่
.....และสัมมาทิฎฐิที่เป็นโลกกุตตระ คือของพระอริยบุคคลต้นๆ ส่วนของพระอรหันต์นั้น
.....เรียกเป็นวิชชาไปและไม่เรียกว่าองค์แห่งมรรค เพราะท่านถึงที่สุดแล้ว
สัมมาสังกัปปะ(ปัญญา) (หัวข้อ)
.....คือความใฝ่ใจถูกต้อง คือคิดหาทางออกไปจากทุกข์ตามกฎแห่งเหตุผล ที่เห็นขอบมาแล้ว
.....ข้อสัมมาทิฏฐินั่นเอง เริ่มตั้งแต่การใฝ่ใจที่น้อมไปในการออกบวช การไม่เพ่งร้าย การ
.....ไม่ทำทุกข์ให้แก่ผู้อื่นแม้เพราะเผลอ รวมทั้งความใฝ่ใจถูกต้องทุกๆอย่างที่เป็นไปเพื่อ
.....ความหลุดพ้นจากสิ่งที่มนุษย์ไม่ประสงค์
.สัมมาวาจา (ศีล) (หัวข้อ)
.....คือการพูดจาถูกต้อง ไม่เป็นโทษต่อตนเอง และผู้อื่น
.สัมมากัมมันตะ (ศีล) (หัวข้อ)
.....คือการกระทำถูกต้อง ไม่เป็นโทษต่อตนเอง และผู้อื่น
.สัมมาอาชีวะ (ศีล) (หัวข้อ)
.....คือการดำรงชีพถูกต้อง ไม่เป็นโทษต่อตนเอง และผู้อื่น
.สัมมาวายามะ (สมาธิ) (หัวข้อ)
.....คือความพากเพียรถูกต้อง เป็นส่วนของใจที่บากบั่นในอันที่จะก้าวหน้า ไม่ถอยหลังจากทาง
.....ดำเนินตามมรรค ถึงกับมีการอธิษฐานอย่างแรงกล้า
.สัมมาสติ (สมาธิ) (หัวข้อ)
.....คือการระลึกประจำใจถูกต้อง ระลึกแต่ในสิ่งที่เกื้อหนุนแก่ปัญญาที่จะแทงตลอด
.....อวิชชาที่ครอบงำตนอยู่ โดยเฉพาะได้แก่กายนี้ และธรรมอันเนื่องเกี่ยวกับกายนี้ เมื่อ
.....พบความจริงของกายนี้ อวิชชาหรือหัวหน้าแห่งมูลทุกข์ก็สิ้นไป
.สัมมาสมาธิ (สมาธิ) (หัวข้อ)
.....คือการตั้งใจมั่นถูกต้อง ได้แก่สมาธิ เป็นของจำเป็นในกิจการทุกอย่าง สำหรับในที่นี้เป็น
.....อาการของใจที่รวมกำลังเป็นจุดเดียว กล้าแข็งพอทีจะให้เกิดปัญญา
.....ทำการแทงตลอดอวิชชาได้ และยังเป็นการพักผ่อนของใจ ซึ่งเป็นเหมือนการลับให้ อ
.....แหลมคมอยู่เสมอด้วย ฯลฯ
....cอองค์มรรคบางองค์ เป็นส่วนหยาบและสะสมขึ้นในตัวเราได้โดยง่ายคือ สัมมาวาจา
.....สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สามองค์นี้ถูกอบรมให้สำเร็จเป็นวิรัติเจตสิกจำพวกกุศล
.....เจตสิกเป็นเชื้อนอนนิ่งอยู่ในสันดาน เตรียมพร้อมที่จะมาผสมจิตคราวเดียวกันกับ
.....มรรคองค์อื่นๆ เมื่อได้โอกาสอันเหมาะ แม้องค์มรรคที่ยากๆ เช่นสัมมาทิฏฐิ-สติ-สมาธิ
..... ก็เหมือนกัน ได้ฝึกอบรมมาเท่าใดก็เข้าไปนอนเนื่องติดอยู่ในสันดานเป็นกุศลเจตสิก
.....อยู่อย่างเดียวกัน รอคอยกันจนกว่าจะครบทุกองค์และมีสัดส่วนพอดีกัน ก็ประชุมกัน
.....เป็นอริยมรรคขึ้น ตัดกิเลสหรือสัญโญชน์ให้หมดไปได้คราวหนึ่งตามกำลังหรือชั้นของ
.....ตน อาการสะสมกำลังแห่งองค์มรรคนี้ตรัสเรียกว่า "การอบรมทำให้มาก"
.....สัมมาทิฏฐิเป็นตัวนำ เกิดขึ้นอ่อนๆก่อน เกิดขึ้นเท่าใดก็จูงองค์อื่นๆ ให้เกิดขึ้นตามส่วน
.....องค์ที่เกิดขึ้นนั้นกลับช่วยสัมมาทิฏฐิให้คมกล้าขึ้นไปอีก สัมมาทิฏฐินั้นก็่จูงองค์นั้นๆให้
.....กล้าขึ้นอีก และส่งเสริมชักจูงกันไปอีกทำนองนี้ จนกว่าจะถึงขีดที่เพียงพอและสามัคคี
.....พร้อมกันได้ครบองค์ การอบรมทำให้มากอยู่เสมอนี้เองคือระยะแห่งการปฏิบัติธรรม
.....ยิ่งมากก็ยิ่งเร็ว ยิ่งอธิษฐานใจกล้าก็ยิ่งแรง ยิ่งที่วิเวกก็ยิ่งสุขุมลึกซึ้ง ยิ่งชำนาญก็ยิ่งคมกล้า
อภิญญา ๖
อภิญญา คือความรู้อันยอดยิ่งมี ๖ ประการได้แก่
๑.แสดงฤทธิ์ได้ (อิทธิวิธิ)
๒.หูทิพย์ (ทิพยโสต)
๓.รู้จักกำหนดใจผู้อื่น (เจโตปริยญาณ)
๔.ระลึกชาติได้ (ปุพเพนิวาสานุสติญาณ)
๕.ตาทิพย์ (ทิพยจักษุ)
๖.ทำอาสวะกิเลสให้สิ้นไป-คือญาณหยั่งรู้ในธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย (อาสวักขยญาณ)
สาเหตุของการชุมนุมคงเนื่องมาจากภิกษุเหล่านั้นล้วนเคยนับถือศาสนาพราหมณ์มาก่อนและในวันเพ็ญเดือนมาฆะ
เป็นวันที่ทางศาสนาพราณ์ได้ประกอบพิธีศิวาราตรี คือ การลอยบาปในแม่น้ำคงคา และประกอบพิธีสักการบูชาพระเป็นเจ้าในเทวสถาน เมื่อถึงวันนั้น พระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้าซึ่งเคยประกอบพิธีดังกล่าวจึงต่างพากันไปเฝ้าพระพุทธองค์



Create Date : 24 มกราคม 2554
Last Update : 24 มกราคม 2554 13:03:24 น. 0 comments
Counter : 6755 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

chit130512
Location :
ลำปาง Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




ยินดีต้อนรับสู่กิจกรรมศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม และภูมิปัญญา
Friends' blogs
[Add chit130512's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.