มิถุนายน 2553

 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
27
28
29
30
 
 
All Blog
แปลลิลิตตะเลงพ่าย

เนื่องจาก...อาร์มมีการบ้านแปลลิลิตตะเลงพ่าย T^T


อาร์มเชื่อว่า หลายๆคนก็ต้องทำบทแปลนี้เหมือนกัน


ก็เลยเอาบทแปลมาให้


ซึ่งแยกไว้เป็นตอนที่ ๑-๙ และหมายเลขหน้า


ตามหนังสือวรรณคดีวิจักษ์ ม.๕ กระทรวงศึกษาธิการ



ตอนที่ ๑ เหตุการณ์ทางกรุงหงสาวดี (น.๕๒)


พระเจ้านันทบุเรง กษัตริย์พม่าทรงทราบข่าวว่าพระมหาธรรมราชาสวรรคต จึงทรงคาดว่ากรุงศรีอยุธยาอาจมีการชิงบัลลังก์กันระหว่างพระนเรศวรกับพระเอกาทศรถ จึงรับสั่งให้พระมหาอุปราชาผู้เป็นโอรสยกทัพมารุกรานไทย แต่พระมหาอุปราชาได้กราบทูลพระราชบิดาว่าโหรทำนายว่าพระองค์กำลังมีเคราะห์ พระเจ้านันทบุเรงจึงตรัสประชดว่า ถ้าแกรงจะมีเคราะห์ก็ให้นำเสื้อผ้าสตรีมาสวมใส่เพื่อเป็นการสร้างเคราะห์ พระมหาอุปราชาเกรงพระราชอาญาและทรงอับอาย จึงยกทัพไปกรุงศรีอยุธยา โดยเกณฑ์พลจากเชียงใหม่และเมืองขึ้นต่างๆ มาช่วย จากนั้นพระองค์ก็เสด็จเข้าห้องเพื่อไปลาพระสนมด้วยความอาลัย


ตอนที่ ๒ พระเจ้ากรุงหงสาวดีประทานโอวาท (น.๕๓) 


พระเจ้านันทบุเรง ประทานโอวาท ๘ ประการแก่พระมหาอุปราชา ดังนี้
๑. อย่าหูเบา
๒. อย่าทำอะไรตามใจตนเอง
๓. ให้เอาใจทหาร
๔.อย่าไว้ใจคนขลาดเขลา
๕. รอบรู้กระบวนการจัดทัพ
๖. รู้หลักตำราพิชัยสงคราม
๗. ให้รางวัลทหารที่มีความสามารถ
๘. จงพากเพียร


ตอนที่ ๓ พระมาหาอุปราชารำพันถึงนาง (น.๕๔)


กวีใช้ลีลาการแต่งแบบนิราศแต่งบทรำพันถึงนาง โดยนำธรรมชาติที่พระมหาอุปราชาได้พบเห็นเชื่อมโยงกับอารมณ์ความรู้สึกของพระองค์ที่มีต่อพระสนม ใช้ความเปรียบโดยนำชื่อดอกไม้ ต้นไม้ เป็นสื่อพรรณนาความรักและความอาลัยต่อนางอันเป็นที่รักได้อย่างไพเราะ และสะเทือนอารมณ์เป็นอย่างยิ่ง



ตอนที่ ๔ ลางร้ายขอบงพระมหาอุปราชา (น.๕๕)


พระมหาอุปราชายกทัพมาถึงอำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี เกิดเหตุร้าย ลมเวรัมภา (ลมที่เกิดจากอำนาจเวรกรรม) พัดฉัตรบนหลังช้างทรงหัก พระมหาอุปราชาทรงหวั่นพระทัย จึงทรงให้โหรมาทำนายเหตุการณ์ดังกล่าว โหรทั้งหลายต่างตระหนักว่าเป็นเหตุร้ายแรงถ้าทูลความจริงเกรงจะได้รับโทษ จึงทูลว่าเหตุการณ์นี้เกิดในยามเช้าไม่ดี แต่ถ้าเกิดในยามเย็นนั้นดีจะชนะข้าศึก



ตอนที่ ๕ พระมหาอุปราชารำพึงถึงพระบิดา (น.๕๖)


พระมหาอุปราชาทรงรำพึงถึงพระบิดาว่า หากต้องทรงเสียโอรส คือพระมหาอุปราชาแก่ข้าศึก พระเจ้านันทบุเรงคงจะทรงเสียพระทัยและทรงเป็นทุกข์ยิ่งแผ่นดินมอญก็จะไม่มีผู้มาปกป้อง ด้วยพระเจ้านันทบุเรงก็ทรงชราภาพแล้ว เกรงว่าจะแพ้ข้าศึก หากพระมหาอุปราชาสิ้นพระชนม์ในสงครามครั้งนี้ทรงเป็นห่วงว่าจะไม่มีใครมาเก็บพระศพพระเจ้านันทบุเรงนั้นมากล้นเกรงว่าจะไม่ได้ตอบแทน


ตอนที่ ๖ พระสุบินและพระนิมิตของสมเด็จพระนเรศวร (น.๕๗) 


สมเด็จพระนเรศวรเสด็จจากกรุงศรีอยุธยาไปขึ้นบกที่อำเภอปากโมก(ป่าโมก) จังหวัดอ่างทอง เมื่อพระองค์บรรทมก็เกิดพระสุบินเทพสังหรณ์ว่า มีน้ำท่วมมาจากทิศตะวันตก พระองค์ทรงลุยน้ำ พบจระเข้ใหญ่จะกัดพระองค์ จึงทรงต่อสู้กับจระเข้ด้วยพระแสงดาบ จระเข้ถูกพระนเรศวรฆ่า น้ำที่ท่วมก็กลับแห้งเหือดไป เมื่อพระองค์สร่างบรรทมจึงทรงให้โหรทำนายพระสุบิน โหรทำนายว่าเป็นพระสุบินที่เทวดาดลบันดาลให้ทรงทราบ น้ำที่ไหลเชี่ยวคือกองทัพพม่า ส่วนจระเข้นั้นหมายถึงพระมหาอุปราชา สมเด็จพระนเรศวรจะทรงกระทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชาและทรงมีชัยชนะ เมื่อสมเด็จพระนเรศวรทรงสดับคำพยากรณ์ของโหรก็ทรงยินดี จากนั้นทรงเครื่องต้นเสด็จพร้อมพระอนุชาไปยังกองทัพที่เตรียมไว้ เกิดศุภ-นิมิต สมเด็จพระนเรศวรทอดพระเนตรพระบรมสารีริกธาตุ มีแสงสว่างงดงามขนาดเท่าผลส้มเกลี้ยงลอยมาจากทิศใต้ เวียนขวารอบกองทัพ 3 รอบ แล้วลอยไปทางทิศเหนือ


ตอนที่ ๗ ช้างทรงสมเด็จพระนเรศวรและพระเอกาทศรถ (น.๖๐) 


ฝ่าเข้าไปในกองทัพข้าศึก สมเด็จพระนเรศวรรับสั่งให้กองทัพเคลื่อนพลตากเกล็ดนาค ซึ่งเป็นแบบแผนการเคลื่อนทัพตามตำราพิชัยสงคราม คือวันใดนาคจะหัดไปทางทิศใดถ้ายกทัพวันนั้นก็ต้องเดินทัพไปในทิศทางเดียวกันกับทิศที่หัวนาคหันไปจะเกิดสิริมงคล การยกทัพในครั้งนี้พระนเรศวรทรงช้างไชยานุภาพ ส่วนพระเอกาทศรถทรงช้างปราบไตรจักร ช้างทั้งสองกำลังตกมัน เมื่อได้ยินเสียงฆ้อง กลอง ปืนศึก จึงวิ่งเข้าไปในแดนข้าศึก โดยปราศจากทหารติดตามนอกจากควาญช้างและกลางช้างของพระนเรศวรและพระเอกาทศรถ ฝ่ายพม่าได้ระดมยิงธนูแต่มิได้ถูกพระนเรศวรและพระเอกาทศรถ ทันใดนั้นก็เกิดฝุ่นตลบมืดมัวจนมองไม่เห็นใคร สมเด็จพระนเรศวรจึงมีพระราชดำรัสแก่เทพบนสวรรค์ช่วยให้ฝุ่นละอองที่ทำให้มืดมัวนั้นหายไป พอสิ้นพระราชดำรัสก็เกิดลมพายุพัดฝุ่นนั้นให้จางหายไปจนสมเด็จพระนเรศวรทรงเห็นพระมหาอุปราชาทรงช้างพันธกออยู่ที่ใต้ต้นข่อย



ตอนที่ ๘ ยุทธหัตถีและชัยชนะของไทย (น.๖๒)


สมเด็จพระนเรศวรเสด็จเข้าไปเชิญพระมหาอุปราชาให้ออกมาทำยุทธหัตถี โดยตรัสว่าการทำยุทธหัตถีเป็นธรรมเนียมการละเล่นของกษัตริย์ จากนั้นทรงโน้มน้าวว่าการรบระหว่างสมเก็จพระนเรศวรกับพระมหาอุปราชาเป็นการการทำยุทธหัตถีครั้งสุดท้ายที่ยิ่งใหญ่ และจะเป็นที่กล่าวขานต่อไปเพราะไม่มีใครกล้าหาญพอที่จะทำศึกเช่นนี้ พระมหาอุปราชาทรงหมดหนทางที่จะเลี่ยงการรบ อีกทั้งทรงมีความฮึกเหิม จึงต้องจำใจออกรบ การรบของขุนศึกทั้งสองฝ่ายเปรียบได้กับการทำสงครามระหว่างพระอินทร์กับท้าวไพจิตราสูร หรือเปรียบเหมือนการทำสงคราบระหว่างพระรามกับทศกัณฐ์ช้างทรงของพระมหาอุปราชาสามารถงัดช้างทรงของพระนเรศวร พระมหาอุปราชาทรงฟาดพระแสงของ้าวไปยังสมเด็จพระนเรศวร แต่สมเด็จพระนเรศวรก็ทรงเบี่ยงพระเศียรหลบ โดยทรงใช้ขอปัดอาวุธจนกระทั่งช้างทรงของพระนเรศวรสามารถงัดช้างทรงของพระมหาอุปราชาได้ จึงทรงใช้พระแสงของ้าว(พระแสงพลพ่าย) ฟันพระมหาอุปราชาขาดสะพายแล่งสิ้นพระชนม์


ตอนที่ ๙ สมเด็จพระวันรัตสดุดีสมเด็จพระนเรศวร (น.๖๔)


สมเด็จพระวันรัตเข้าเฝ้าสมเด็จพระนเรศวรเพื่อกราบทูลขอพระราชทานอภัยโทษแก่ทหารที่ตามเสด็จไม่ทันในการรบครั้งนี้ โอยอ้างว่า ชัยชนะของสมเด็จพระนเรศวรเปรียบได้กับชัยชนะของพระพุทธเจ้าที่เผด็จมาร


เครดิต :: //board.dserver.org/e/eleven/00000447.html






Create Date : 26 มิถุนายน 2553
Last Update : 26 มิถุนายน 2553 22:04:29 น.
Counter : 106478 Pageviews.

2 comments
  
พี่จบม.ปลายมานานจนจำอะไรไม่ได้เเล้ว เรียกง่ายๆว่าคืนอาจารย์ไปหมดแล้วนั้นเองแหละอาร์ม
โดย: Don't try this at home. วันที่: 10 กรกฎาคม 2553 เวลา:18:28:48 น.
  
ขอบคุณสำหรับบทความเกี่ยวกับการ แปลเอกสาร ดีๆค่ะ
โดย: Aussie angel วันที่: 26 ธันวาคม 2554 เวลา:17:38:20 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

chutikarn_arm
Location :
กำแพงเพชร  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 18 คน [?]



เกือบสองปีเต็มๆแล้ว อาร์มไม่ได้มาอัพบล็อกเลย T.T ประเด็นคือไม่มีเวลาว่างเหมือนตอนมัธยม และเป็นช่วงกำลังเรียน ปี 1 ปี 2 ด้วย บล็อกเลยร้างตั้งแต่ 16 พฤษภาคม 2555 เป็นต้นมา,, แต่ตอนนี้ อาร์มใกล้จะจบแล้ว ถ้าอาร์มมีเวลาจะรีบกลับมาฟื้นฟูให้ไวที่สุดเลยนะคะ ^__^