Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2548
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
5 สิงหาคม 2548
 
All Blogs
 
นกเขนน้อยไซบีเรีย

siberian blue robin

The Siberian Blue Robin, Luscinia cyane, is a small passerine bird that was formerly classed as a member of the thrush family Turdidae, but is now more generally considered to be an Old World flycatcher, family Muscicapidae. It, and similar small European species, are often called chats.

It is a migratory insectivorous species breeding in eastern Asia across to Japan. It winters in southeast Asia and Indonesia.

The breeding habitat is coniferous forest with dense undergrowth, often beside rivers or at woodland edges. It feeds on the ground but is very skulking. In winter, this bird also tends to stay in dense vegetation.

This species is larger than the European Robin. The breeding male is unmistakable with blue upperparts and white underparts. The female is much drabber, with brown upperparts and whitish underparts. Her dark eye stands out against the paler brown face.

This species is a very rare vagrant to Europe, and has vagrant status even as far east as India.

Retrieved from "//en.wikipedia.org/wiki/Siberian_Blue_Robin"





ฟังเสียงของนกเขนน้อยไซบีเรีย คลิกที่นี่ค่ะ

นกเขนน้อยไซบีเรียเป็นนกที่มีขนาดตัวประมาณ 13.5-14.5ซม. ลักษณะเด่นที่ทำให้จำแนกชนิดได้ชัดเจนคือมีขนคลุมลำตัวด้านบนสีน้ำเงินเข้ม ด้านล่างสีขาว แต่ลักษณะนี้จะมีอยู่เฉพาะในนกตัวผู้เต็มวัยเท่านั้น



นกตัวเมียจะมีขนคลุมลำตัวด้านบน สีน้ำตาลอมเทา , ใต้คอ มีสีเนื้ออกมีสีขาวอมเหลือง ด้านข้างของคอและอก มีลายเกล็ดสีน้ำตาล มากน้อยแตกต่างกันในนกตัวเมียแต่ละตัว ขนคลุมโคนหางด้านล่างสีขาว นกตัวเมียบางตัวมีสีน้ำเงินคล้ำปะปนบางส่วนที่ตะโพกและขนคลุมโคนหางด้านบน และบางตัวมีสีน้ำเงินคล้ำที่ขนหางด้วย (สำหรับภาพนกตัวเมีย และวัยเด็ก เชิญที่นี่


นกเขนน้อยไซบีเรียเป็นนกอพยพนอกฤดูผสมพันธุ์สำหรับประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยในเมืองไทย พบได้ทั้งประเทศ โดยแรกพบในแต่ละปี จะพบที่บริเวณชายฝั่ง เช่นป่าชายเลน สวนผลไม้ก่อนโดยเค้าจะแวะพักเติมพลังหลังเดินทางไกล แล้วนกจึงออกหาที่อยู่ที่เหมาะสม โดยจะพบอาศัยหากินในป่าที่มีความชื้น มีร่มเงา หากินตามแหล่งที่มีน้ำขังและมีสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังเล็กๆอาศัย เพื่อใช้เป็นแหล่งอาหาร





แหล่งที่พบนกเขนไซบีเรียได้ง่ายที่สุดและพบประจำทุกปี คือบริเวณที่ชื้น และ ร่มครึ้มหลังร้านอาหารบริเวณน้ำตกกองแก้ว อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ จ. ปราจีนบุรี บริเวณที่นกใช้เป็นแหล่งหากินจะมีร่มไม้ใหญ่ปกคลุม พื้นล่างร่มครึ้มมีน้ำซึมผ่านตลอดเวลาทำให้พื้นดินชื้นแฉะ เป็นแหล่งอาศัยของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังบางชนิด แมลง หนอน





ภาพชุดนี้ถ่ายที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่(นี่เอง) เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2548 ที่ผ่านมานี้ โดยเป็นการเผชิญหน้ากันเป็นครั้งแรกหลังบังไพร ทำให้ได้เห็นพฤติกรรมการหากินอย่างสบายๆของเค้า




จริงๆแล้วการใช้บังไพร ก็ไม่ใช่การหลบซ่อนตัวเองจากนก นกรู้ตลอดเวลาว่าเรานั่งอยู่ เพียงแต่การหลบอยู่หลังบังไพรทำให้นกรู้สึกว่าถูกคุกคามน้อยลง เพราะไม่เห็นเราเป็นคน มีแขนขา และสามารถเข้าทำร้ายเค้าได้ หากเค้ารับไม่ได้ ก็จะหลบเข้ารกเข้าพงไป (สักพัก เราก็ควรจะถอนตัวออกมา) แต่ถ้าเค้ารับได้ ก็จะหากินไปตามปกติ และเราก็จะเก็บเกี่ยวพฤติกรรมน่ารักๆของเค้าได้อย่างเต็มที่

เข้าป่าคราวหน้า ถ้าอยากดูพฤติกรรมนกอย่างจุใจ ก็อย่าลืมพกบังไพรติดตัวไปด้วยนะคะ


ข้อมูล :

"//en.wikipedia.org/wiki/Siberian_Blue_Robin"

htttp://bird-home.com




Create Date : 05 สิงหาคม 2548
Last Update : 16 กรกฎาคม 2552 22:26:37 น. 5 comments
Counter : 2635 Pageviews.

 
ตัวนี้ไม่เคยเจอเลยครับ
อยากเจอ
แล้วบังไพรที่ว่าเป็นไงครับ


โดย: เ ม ฆ ค รึ่ ง ฟ้ า วันที่: 6 สิงหาคม 2548 เวลา:16:36:34 น.  

 
บังไพรมี 3 แบบ

1.บังไพรธรรมชาติ ก็คือการหลบๆซ่อนๆตามพุ่มไม้ใบบัง ถ้าแถวนั้นมีอ่ะนะคะ

2.บังไพรของเรา(เอาไปกันเอง)

ก็มีหลายหน้าตาค่ะ

บางทีก็เหมือนมุ้ง มี 4 หู ใช้เชือกผูกกับกิ่งไม้

สำหรับเวลาที่รู้ว่านกมาตรงนั้นแน่ๆ และมีที่ผูกเชือก แต่ถ้าเป็นที่โล่งๆ ไม่มีต้นไม้ ก็นี่เลยค่ะ

บังไพรแบบมีโครงลวด เวลาเก็บก็พับ เวลาจะใช้ก็กางออก (บังไพรเด้งดึ๋ง)

สำหรับที่ที่ไม่มีอะไรให้ผูก เช่นท้องนา ที่โล่งๆ
เป็นต้นค่ะ

แต่ไม่ว่าจะหน้าตาเป็นยังไง ทั้งหมดใช้ผ้าลายพรางแบบกันน้ำได้เป็นวัสดุค่ะ

3.บังไพรถาวร

เห็นมีหลายที่เลยค่ะ เช่นที่ภูเขียว เจ้าหน้าที่ที่นั่นจัดทำบังไพรถาวรให้ผู้ที่สนใจเข้าไปแอบดูนกเล่นน้ำ
ที่อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ ก็ทำบังไพรถาวรไว้ให้เฝ้าดูพฤติกรรมนกอัญชันหางดำ
ที่สถานีวิจัยฯป่าชายเลน สมุทรสาคร ที่มหาชัย มีทางเดินศึกษาธรรมชาติป่าชายเลน และมีบังไพรถาวร(หอดูนก)สำหรับให้ดูพฤติกรรมนกน้ำอพยพ และนกอื่นๆได้

อย่างไรก็ตาม การกางบังไพร(ที่เอาไปเอง)ก็ต้องมีการศึกษานิดหน่อยค่ะ เช่นต้องสังเกตก่อนว่านกมีพฤติกรรมอย่างไร ออกมาทางไหน ไปทางไหน ระยะแค่ไหนจึงจะพอดี กางไม่ดีนอกจากจะอดดูนกแล้ว ยังอาจไปขัดขวางการดำรงชีพตามปกติของนกด้วยค่ะ

อาจดูเหมือนยุ่งยาก

แต่ถ้าเราอยากดูพฤติกรรมของเค้า ขณะเดียวกันก็ไม่อยากรบกวนเค้ามากเกินไป ก็คงต้องทำการบ้านนิดนึงค่ะ

ละก็ ถ้าอยากเจอเขนน้อยไซบีเรีย หนาวนี้อย่าลืมไปเขาใหญ่นะคะ


โดย: จันทร์น้อย วันที่: 6 สิงหาคม 2548 เวลา:17:57:15 น.  

 
ขอบคุณมากครับ


โดย: เ ม ฆ ค รึ่ ง ฟ้ า วันที่: 6 สิงหาคม 2548 เวลา:18:07:31 น.  

 


โดย: จันทร์น้อย วันที่: 8 สิงหาคม 2548 เวลา:7:40:43 น.  

 
สุดยอด


โดย: กึงกระมู IP: 125.25.186.150 วันที่: 9 ตุลาคม 2550 เวลา:10:06:59 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

จันทร์น้อย
Location :
ปทุมธานี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 15 คน [?]




Friends' blogs
[Add จันทร์น้อย's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.