Group Blog
 
<<
กันยายน 2549
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
 
30 กันยายน 2549
 
All Blogs
 

นกยางควาย

นกยางควาย Bubulcus ibis (Cattle Egret) เป็นนกยางสีขาวๆที่ดูไม่ค่อยสง่าเหมือนบรรดานกยางสีขาวตัวอื่นๆเนื่องจากมีคอไม่ยาวมาก ขากรรไกรค่อนข้างใหญ่และขาสั้น มีความยาวจากปลายปากจรดปลายหางเพียง 51 เซนติเมตรเท่านั้น







ในชุดขนนอกฤดูผสมพันธุ์ นกยางควายจะมีขนคลุมร่างกายสีขาวทั้งตัวเว้นบริเวณหน้าผากมีสีเหลืองทองจางๆ ปากค่อนข้างหนาสีเหลือง ขาและเท้าสีดำ คอค่อนข้างสั้นสำหรับนกยางและอวบหนา ในชุดขนนี้นักดูนกที่ไม่ชำนาญอาจจำแนกสับสนกับนกยางโทนน้อย(Intermediate Egret)ได้ เนื่องจากมีสีสันเหมือนกันแม้ขนาดจะแตกต่างกันมากก็ตาม (ยางควาย 51 ซม.ยางโทนน้อย 71 ซม.) จุดสังเกตนอกเหนือจากขนาดที่อาจวัดได้ยากเมื่อพบคนละทีแล้วก็คือนกยางโทนน้อยไม่มีสีทองจางๆที่หน้าผาก ขากรรไกรไม่อวบหนาเท่า และคอยาวกว่า







ในชุดขนฤดูผสมพันธุ์นกชนิดนี้จะดูสวยและจำแนกได้ง่ายมากๆเพราะหัว คอ หน้าอก และหลังจะมีขนสีเหลืองทองสดใสปกคลุมไปทั่ว ขาที่เคยเป็นสีดำสนิทก็จะมีสีเหลืองหรือสีแดงมาแทนที่ ในช่วงนี้เมื่อจับคู่แล้วนกทั้งสองเพศจะช่วยกันทำรังโดยตัวผู้หาวัสดุซึ่งก็คือกิ่งไม้แห้งที่อาจจะหามาเองหรือขโมยเอาจากรังใกล้ๆ ตัวเมียสร้างรัง เมื่อวางไข่แล้วจะช่วยกันกกไข่ และหาอาหารมาป้อนลูก







แม้ว่าในปัจจุบันเราจะพบนกยางควายได้ในทุกทวีปเว้นแต่แอนตาร์กติกาเท่านั้น แต่จริงๆแล้วนกยางควายมีจุดกำเนิดที่ทวีปอาฟริกาและเอเชีย นกได้เดินทางทั้งด้วยตัวเองและโดยการนำพาของมนุษย์ไปยังที่ใหม่ๆและปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดีจนกลายเป็นนกที่หาได้ง่ายมากในทุกๆทวีป ตัวอย่างของความสามารถนี้ได้แก่ เมื่อปี พศ.2420 นกเดินทางจากอาฟริกาไปยังอเมริกาใต้ พอปี 2484 ไปถึงสหรัฐอเมริกา ปี 2496 ก็เริ่มทำรังวางไข่ นับจากนั้นมาอีกเพียง 50 ปี นกยางควายก็กลายเป็นนกยางที่มีมากที่สุดในทวีปอเมริกาเหนือไปแล้ว

นกยางควายไม่ได้กินปลาเป็นอาหารหลัก หรืออาศัยตามแหล่งน้ำเหมือนอย่างนกยางอื่นๆ แต่มักดำรงชีพด้วยตั๊กแตน และแมลงต่างๆในทุ่งหญ้า(ซึ่งก็มักไม่ค่อยไกลจากแหล่งน้ำนัก) แต่ถ้าไม่มีอะไรให้กินจริงๆ กบ เขียด หรือแม้กระทั่งนกเล็กๆก็เคยถูกนกยางชนิดนี้จับกินมาแล้ว ภาพนกยางควายยืนบนหลังควายหรือสัตว์ใหญ่อื่นๆเพื่อจับกินแมลงที่บรรดาสัตว์ใหญ่นั้นรำคาญและปัดออกเป็นภาพที่คนทั่วโลกเห็นจนชินตา ในสนามบินบางแห่งนกชนิดนี้จะยืนชิดขอบรันเวย์รอให้เครื่องบินบินผ่านทำให้บรรดาแมลงอาหารทั้งหลายปลิวหลุดออกมาจากกอหญ้าและจับกินอย่างอร่อย







สำหรับประเทศไทย เราสามารถพบยางชนิดนี้ได้เสมอตามท้องทุ่งท้องนาข้างทางทั่วประเทศ ภาพนกยางควายในบล็อกนี้ถ่ายมาจากท้องนาข้างถนนแถวลำลูกกาและจากพุทธมณฑลซึ่งเป็นอีกที่หนึ่งที่เราพบนกชนิดนี้ได้ง่ายๆ


ข้อมูล/ค้นเพิ่ม:

//www.enature.com/
//en.wikipedia.org/
//www.nhptv.org/




 

Create Date : 30 กันยายน 2549
4 comments
Last Update : 30 กันยายน 2549 15:04:06 น.
Counter : 3819 Pageviews.

 

ฝีมือคุณจันทร์น้อยเยี่ยมมากๆค่ะ

ชอบนกset นี้ค่ะ เห็นแล้วคิดถึงทุ่งนาเขียวๆแถวอยุธยาจัง


 

โดย: Sweety-around-the-world 10 ตุลาคม 2549 21:16:49 น.  

 

 

โดย: จันทร์น้อย 13 ตุลาคม 2549 18:00:42 น.  

 

เมื่อก่อนเราเป็นตัวกินนกนะ ...เจ้าตัวนี้ก็ชิมมาแล้ว อย่าว่าเราเลย รู้เท่าไม่ถึงการณ์จริง ๆ เป็นลูกหลานชาวทุ่ง
ไม่มีห้าง Big C ไง ทุ่งกับป่าก็คือซุปเปอร์มาเก็ต พ่อเฒ่าเราชอบหาอะไรแปลก ๆ อร่อย ๆ ให้กินเสมอแหละ... ก็ด้วยความรัก เราเลยยกโทษให้ท่าน

ตอนนี้กลับตัวกลับใจแล้วนะ.... รักนกค่ะ

 

โดย: Noklek (Maeseefai ) 5 ธันวาคม 2549 14:42:47 น.  

 

ผมถ่ายนกนี้ แถวบ้าน จ.ปทุม
เกือบทุกครั้งที่มีโอกาส ผมก็เพิ่ง
สังเกตุ วันขนเขาเปลี่ยนสีได้
นึกว่าเป็นนก คนละชนิดกัน น่ะ
ได้ความรู้เต็มฯ

ขอบคุณครับ

 

โดย: แป๊ะ (Mr.3pMan ) 27 เมษายน 2550 7:48:17 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


จันทร์น้อย
Location :
ปทุมธานี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 15 คน [?]




Friends' blogs
[Add จันทร์น้อย's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.