อย่ารอรุ่งรางสว่างเลย จะชวดเชยดอกไม้รักภิรมย์สม หวานตาหลับตาหวานหว่านอารมณ์ ให้พี่พรมเพลงหวานห่มหวานใจ
<<
ธันวาคม 2556
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
5 ธันวาคม 2556

ะบอบทักษิณ? (Thaksin Regime)

ระบอบทักษิณ

เนื่องจากมีนักวิชาการท่านหนึ่ง อ้างว่า
"ไม่มีหรอกระบอบทักษิณ มีแต่การคอร์รัปชั่น"
ผมเลยไปค้นข้อมูล และอาสาเรียบเรียงมาให้อ่านกัน ดังนี้ครับ

 0.จุดเริ่มต้นของคำว่า “ระบอบทักษิณ

คำว่า “ระบอบทักษิณ” ปรากฎครั้งแรกในบทความ "ประชาธิปไตยกำลังอ่อนแรง ระบอบทักษิณ เผด็จการรูปแบบใหม่คุกคาม” (ไทยโพสต์, 27 มกราคม 2545) โดย พล.ต.มนูญกฤต รูปขจร (ประธานวุฒิสภาขณะนั้น) เป็นคนแรกทีกล่าวหารัฐบาลซึ่งกุมอำนาจรัฐแทบเบ็ดเสร็จเด็ดขาดด้วยข้อหาร้าแรงคือล้มล้างระบอบการปกครองประชาธิปไตยโดยรัฐธรรมนูญ

ด้วยข้อสังเกตแรกคือ การบริหารเศรษฐกิจของประเทศที่ล้มเหลว เพราะคุณทักษิณมัวแต่ไป พิทักษ์ผลประโยชน์ส่วนตัวของ ขัดแย้งกับผลประโยชน์ของชาติประชาชน หรือเป็นคำที่เราเริ่มรู้จักกัน “ผลประโยชน์ทับซ้อน” (conflict of interest)


1. กำเนิด 'ทักษิณนุวัตร'

ข้ามปีไป “ธีรยุทธ บุญมี” นักวิชาการด้านสังคมศาสตร์ เป็นคนแรก ที่ใช้คำว่า “ทักษิณานุวัตร ” (มติชน 6 มกราคม 2546) โดยนิยามลักษณะการเมืองแบบระบอบทักษิณ (Thaksinocracy) ว่า มี 3 ลักษณะคือ

(1) การรวบอำนาจเบ็ดเสร็จ เนื่องจากพื้นฐานมาจากกลุ่มธุรกิจสัมปทาน ซึ่งเป็นการผูกขาดแบบหนึ่ง เพราะขายของได้อยู่แล้ว ทักษิณและ ทรท.จึงนิยมขายตรงไม่ผ่านคนกลางเป็นการต่อสายตรงสู่ชาวบ้านดังนี้คือ

(ก) ตัดคนกลาง คือกลุ่มนักการเมืองเดิม อาศัยนโยบายประชานิยม ขยายผลประโยชน์ตรงให้ชาวบ้านโดยไม่ต้องผ่านระบบอุปถัมภ์ เพื่อสลายฐานอำนาจของนักการเมืองเดิม ส.ส.ในอนาคตจึงจะเปลี่ยนโฉมหน้าไปมาก

(ข) ตัดเทคโนแครต ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะที่เคยเป็นเครดิตหรือหลักของการบริหารประเทศ เพราะสามารถอาศัยมืออาชีพจากภาคธุรกิจได้

(ค) ตัดปัญญาชน นักวิชาการอิสระ ที่เคยเป็นตัวกลางของความรู้และวิพากษ์นโยบายระหว่างรัฐกับประชาชน เพราะความรู้ดังกล่าวหาซื้อได้ นายกฯทักษิณจึงเชื่อตัวเองว่ารู้มากรู้จริง นักวิชาการไม่รู้จริง แต่ความรู้แบบ CEO ส่วนใหญ่มักเป็นความรู้หรือวิชาการแบบสะดวกซื้อ หวังผลระยะสั้น (convenient store intellectual) มากกว่าที่จะเป็นการขบคิดลึกซึ้งเพื่อแก้ปัญหาระยะยาว

(ง) ตัด NGO กลุ่มเครือข่ายสังคม สมัชชาคนจนซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการขายตรงนโยบายไทยรักไทยต่อชาวบ้าน คนเหล่านี้จึงจะถูกกดดันกีดกันออกหรือถูกลดทอนเครดิตมากขึ้นเรื่อยๆ

(2) ผลจากลักษณะผูกขาด-ขายตรง จะทำให้ภาคการเมืองใหญ่ขึ้น ภาคสังคม ภาคชุมชน กลุ่มองค์ ภาคราชการเล็กลง

(3) ผลที่ตามมาก็คือ การตรวจสอบของสังคมลดลง ทั้งจากการลดบทบาทภาควิชาการ ปัญญาชนเพิ่มบทบาทมืออาชีพในสังคมภาคธุรกิจ การแทรกแซงสื่อและองค์กรอิสระต่างๆ จากรัฐบาลและฝ่ายการเมือง


2. ทักษิณาธิปไตย (Thaksinocracy)

มีพื้นฐานเป็นประชานิยม โดยเน้นการให้ความสำคัญกับชนทุกชั้นเท่าเทียมกัน ทำให้คนยากจนจำนวนมากได้ประโยชน์จากนโยบายต่าง ๆ นำไปสู่ความนิยมจนเป็นฐานเสียงในการเลือกตั้ง ทำให้ได้รับชัยชนะจากการเลือกตั้งทุกครั้ง

จนสามารถบริหารประเทศได้ด้วยเสียงของพรรคเดียว บ้างก็เรียกแบบการปกครองนี้ว่า "ทักษิณาธิปไตย" "ทรราชเสียงข้างมาก" และ "ระบอบสมบูรณาญาสิทธิ์จากการเลือกตั้ง" ซึ่งบางส่วนมาจากคำจำกัดความของระบอบทักษิณ


อ. แก้วสรร อติโพธิ์ ได้ให้คำจำกัดความไว้ 4 ข้อ ดังนี้

(1) ยักยอกรัฐธรรมนูญ ยึดครองประชาธิปไตย การแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญให้มีความสอดคล้องกับการดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวพันธ์หรือมีผลประโยชน์แอบแฝงเพื่อหมู่คณะของตนเอง
(2) หลงใหลทุนนิยมใหม่จนลืมประเทศชาติ สร้างกระแสระบบทุนนิยมโดยลืมความเป็นรากเหง้าความเป็นไทย
(3) ปัญหาการฉ้อราษฎร์บังหลวงจำนวนมากมายไม่ได้แก้ไข ทำผลธุรกิจแอบแฝง
(4) ทำให้บ้านเมืองสิ้นความสงบสุข เป็นตัวการในการสร้างความแตกแยกให้เกิดขึ้นในประเทศชาติ

ด้าน อ. เกษียร เตชะพีระ นิยามว่าเป็นระบอบอาญาสิทธิทุนนิยมจากการเลือกตั้ง (elected capitalist absolutis) โดยคำนิยามดังกล่าวสามารถแยกอธิบายองค์ประกอบออกเป็นสองส่วนคือ

(1) มีลักษณะสมบูรณาญาสิทธิทุนในแง่การใช้อำนาจการเมือง
(2) มีหัวหน้าฝ่ายบริหารทางการเมืองของชนชั้นนายทุน

นอกจากนี้ อ.เกษียร ยังเคยอธิบาย ในหัวข้อ "ระบอบทักษิณกับวัฒนธรรมการเมืองประชาธิปไตยไทย" (นักวิชาการชี้รัฐบาลจ้องล้างเอ็นจีโอ, เดลินิวส์ 10 กุมภาพันธ์ 2546) ว่าระบอบทักษิณ ยังเป็นระบอบย้อนยุคทวนเข็มนาฬิกา หยิบเอาชาตินิยมเผด็จการมาประณามบุคคล และกลุ่มฝ่ายค้านว่าไม่รักชาติ รับเงินต่างชาติ ทำให้คนไทยกลัวและเกลียดเอ็นจีโอเหมือนกับที่เคยเกลียดคอมมิวนิสต์
โดยอธิบาย "ปัจจัยที่ทำให้เกิดระบอบทักษิณ" ว่า มาจาก

(1)วิกฤตเศรษฐกิจ พ.ศ.2540 ที่ได้ทำลายกลุ่มทุนธนาคาร ทำลายทุนนิยมนายธนาคาร (Banker Capitalism) ทุนนิยมการเงิน (Financial Capitalism) ลง และทำให้บรรดานักเลือกตั้งอ่อนกำลังทุนลงมากเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มทุนที่แวดล้อมพรรคไทยรักไทย ซึ่งยังมีกำลังทุนเข้มแข็งกว่าแล้วก็หลบจากวิกฤตครั้งนี้ไปได้

(2) การปฏิรูปการเมืองที่แสดงออกโดยรัฐธรรมนูญฉบับ 2540
ผมคิดว่ารัฐธรรมนูญฉบับปฏิรูปการเมืองเป็นการทับซ้อนกันของวาระปฏิรูปหลายชั้น และหนึ่งในนั้นคือ การปฏิรูปแบบอำนาจนิยม 

ดังที่อาจารย์เสน่ห์ จามริก ชี้ว่า ปัญหาอย่างหนึ่งซึ่งกลุ่มทุนใหญ่ของไทยรู้สึกมาตลอดในช่วง 10 ปีหลังพฤษภาทมิฬ คือรู้สึกว่านักเลือกตั้งกำลังปู้ยี่ปู้ยำทุนนิยมไทย ทำให้โลกาภิวัตน์ไม่ได้ ดังนั้น ทำอย่างไรที่จะลดอำนาจลดพลังของนักเลือกตั้งทางการเมืองลง นี่เป็นวาระที่สอดคล้องกันในบางระดับกับกลุ่มขบวนการประชาชน/เอ็นจีโอ ทำให้ขบวนการธงเขียวปฏิรูปการเมืองมีพลังมากขึ้น
(อ้างจาก ที่มาของระบอบทักษิณ มติชน, 20 กุมภาพันธ์ 2547)

3. กลไกการทำงานของระบอบทักษิณ

โดยที่การดำรงอยู่ของระบอบทักษิณให้ได้นั้น ต้องใช้วิธีการต่างๆ มากมาย เช่น 
(1) การควบคุมสื่อมวลชนด้วยวิธีการต่างๆ ได้สำเร็จ นอกจากนั้น พ.ต.ท.ทักษิณยังเป็นผู้กำหนดญัตติสาธารณะให้สื่อมวลชนวิ่งไล่ตาม ทำให้หมดสภาพ "หมาเฝ้าบ้าน"

(2) ใช้ระบบพ่อปกครองลูกประชาชนต้องเข้าแถวรอรับความช่วยเหลือจากรัฐบาล ตัดระบบความสัมพันธ์ทางอำนาจระหว่างประชาชนกับกลุ่มต่างๆ และสร้างระบบความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนกับนายกฯโดยตรง เห็นได้จากคนทั่วไปเข้าใจว่า เงินจากกองทุนหมู่บ้าน เป็นการกู้เงินจาก พ.ต.ท.ทักษิณไม่ใช่คณะกรรมการกองทุน 

(3) สร้างความหวังให้แก่ประชาชนไม่มีที่สิ้นสุดด้วยโครงการต่างๆ จนประชาชนเสพติดนโยบาย ซึ่งพรรคการเมืองจะต้องปฏิบัติตามในอนาคต

(4) พ.ต.ท.ทักษิณจะแสดงบทบาทที่เหนือกลุ่มข้าราชการตลอด รู้ทุกเรื่องที่จะนำเสนอ จนข้าราชการรู้สึกว่า พ.ต.ท.ทักษิณมีการข่าวที่ดีมาก ทำให้ข้าราชการกลัว

(อ้างจาก 30นักคิด-นักวิชาการ ชำแหละ"ระบอบทักษิณ" กับอนาคตประเทศไทย, มติชน 19 มกราคม 2547)



4. "อาณาจักรแห่งความกลัว"ในระบอบทักษิณ

นอกจากนี้ ระบอบทักษิณยังถูกอธิบายในแง่ “อาณาจักรแห่งความกลัว” เช่น

(1) รัฐบาลการใช้อำนาจอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาดทำให้คนเปรียบเทียบกับระบอบสฤษดิ์ (ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขนาดใหญ่ในทางเศรษฐกิจและสังคม) ที่ไม่มีองค์กรตามรัฐธรรมนูญไปถ่วงดุลได้ ดังกรณีการฆ่าตัดตอน 2,500 ศพในสงครามปราบปรามยาเสพติด

(2) ใช้เครื่องมือที่มีอยู่สร้างความกลัวมากกว่าทุกรัฐบาลที่ผ่านมา ซึ่งความกลัวที่ว่านี้ ไม่ได้หมายถึงความกลัวที่มีอันตรายต่อความปลอดภัยในชีวิตเท่านั้น แต่ทำให้ผู้ที่คัดค้าน ทักท้วงหรือวิจารณ์รัฐบาล รวมถึงสื่อมวลชนรู้สึกว่าจะต้องถูกเล่นงานหรืออาจถูกเล่น หรือสามารถใช้อำนาจเปลี่ยนสถานะของผู้ทักท้วงได้

(3) บรรยากาศแห่งความกลัวเหล่านี้ถูกส่งเสริมให้เพิ่มมากขึ้นในกลุ่มผู้วิจารณ์หรือไม่เห็นด้วย เช่น หยุดวิจารณ์หรือหยุดพูด ทำอย่างไรเราจะต้องฝ่าบรรยากาศเหล่านี้ออกไปได้

(อ้างจาก 30นักคิด-นักวิชาการ ชำแหละ"ระบอบทักษิณ" กับอนาคตประเทศไทย มติชน 19 มกราคม 2547)



5. เศรษฐกิจแบบ “ทักษิโณมิคส์” (Thaksinomics)

ดร. สุวินัย ภรณวลัย กล่าวว่า ทักษิโณมิกส์เป็นประดิษฐกรรมของ พ.ต.ท. ทักษิณ โดยเป็นความคิดของนักกลยุทธ์เชิงสมัยนิยม เพื่อจัดการทางกลยุทธ์ การรวบรวมองค์ความรู้ เพื่อบรรลุเป้าหมายทั้งส่วนตัวและส่วนร่วม ซึ่งดำเนินการทุกวิถีทางเพื่อให้ไปสู่เป้าหมาย และอาจมีการใช้ความรุนแรง เพื่อให้เขาเป็นผู้ชนะ

แนวทางแบบทักษิโณมิกส์จะกระตุ้นเศรษฐกิจส่งเสริมการบริโภคของประชาชน การกระจายทรัพยากรทางการเงินไปสู่ประชาชนระดับ รากหญ้า ผ่านทางโครงการต่าง ๆ ของรัฐบาล เช่น โครงการพักการชำระหนี้ของเกษตรกร โครงการธนาคารประชาชน โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ โครงการกองทุนหมู่บ้าน โครงการบ้านเอื้ออาทร ฯลฯ

ในช่วงปี 2547 อาจารย์เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง เป็นบรรณาธิการหนังสือ “รู้ทันทักษิณ” ได้อธิบายว่าระบบทักษิณ คือ การแทรกแซงอำนาจศาล นิติบัญญัติ อีกทั้งองค์กรอิสระมากมาย ด้วยการกวาดกว้านซื้อตุวบุคคล การแต่งตั้งคนของตนเองเขาไปอยู่ในระบบต่างๆ ทั้งแทรกแซงกกต. นำนักงานตรวจเงินแห่งชาติ ปปช.ศาลรัฐธรรมนูญ และสื่อสารมวลชน

6. ระบอบทักษิณ ทำลายระบอบอะไร

ที่น่าสนใจคือ คำอธิบายระบอบทักษิณ ที่เคยปรากฎในคำวินิจฉัยของศาล หลายๆ ท่านอาจคุ้นๆ ว่า ศาลรัฐธรรมนูญเคยให้ความหมายของระบอบทักษิณ (ผ่านคำวินิจฉัยกรณีคำร้องยุบพรรคการเมืองประชาธิปัตย์ เมื่อปี 2550)

ซึ่งมีคำอ้างมากมายที่เป็น "พยานหลักฐานของการมีอยู่ระบอบทักษิณ" (อ้างอิงจาก ศึกษา "ระบอบทักษิณ" จากคำวินิจฉัยตุลาการรัฐธรรมนูญ, จากผู้จัดการรายวัน ฉบับวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2550) ดังนี้

(1) ทำลายระบอบประชาธิปไตย: 
ชัดเจนว่าในสมัยรัฐบาลทักษิณ ตัวคุณทักษิณนั้น ละเลย ไม่ให้ความสำคัญเกี่ยวกับการเข้าแถลงตอบกระทู้ เข้าประชุมรัฐสภา แต่กลับมีพฤติกรรมหลีกนหนีการตรวจสอบของส.ส.ฝ่ายค้าน ใลช้วิธีการเปลี่ยนครม.ก่อนการยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจ
หลีกหนีการประชุมต่างๆ ที่สำคัญในสภาแต่หาภารกิจอื่นมาทดแทนและอ้างว่าไม่สามารถเข้าประชุมได้ ทำให้ไม่มีการตรวจสอบ ชาวบ้านก็ไม่รู้ข้อเท็จจริงของการบริหารงาน
และการไม่ยอมตอบคำถามต่างๆ ของรัฐสภา ก็แสดงว่าไม่ให้ความสำคัญกับกติการในรัฐสภาที่ให้ฝ่ายค้านตรวจสอบ

(2) แทรกแซงองค์กรอิสระ ครอบงำวุฒิสภา: 
ปัญหาเรื่องการแทรกแซงองค์กรอิสระ ครอบงำวุฒิสภา พบว่าตลอดเวลา 5 ปี ที่ พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นนายกรัฐมนตรี ปรากฏข้อเท็จจริงว่า องค์กรอิสระทั้งหลายตามรัฐธรรมนูญ เช่น ศาลรัฐธรรมนูญ คณะกรรมการการเลือกตั้ง คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ คณะกรรมการการตรวจเงินแผ่นดิน ถูกแทรกแซง ครอบงำ โดยอำนาจฝ่ายการเมืองมาโดยตลอด ตั้งแต่กระบวนการสรรหา การแต่งตั้ง การพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาด จนทำให้การปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรอิสระดังกล่าวขาดความเป็นอิสระและเที่ยงธรรม เป็นการทำลายเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ

พฤติกรรมการแทรกแซงองค์กรอิสระดังกล่าวเกิดขึ้นโดยการกระทำของ พ.ต.ท.ทักษิณ และบุคคลใกล้ชิดเองในหลายกรณี เช่น ติดต่อวิ่งเต้นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญหลายเรื่อง เพื่อขอความช่วยเหลือให้ พ.ต.ท.ทักษิณ พ้นผิดจากคดีซุกหุ้น โดยเสนอผลประโยชน์ตอบแทนให้แก่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญบางคน 

(3) คุกคามสื่อ:
สมัยคุณทักษิณเป็นรัฐบาล ปรากฎวิธีการต่างๆ มากมายในการคุกตามสื่อ ตั้งแต่สั่งให้หน่วยงานรัฐตรวจสอบภาษี หรือสั่งให้ธนาคารพาณิชย์ตรวจสอบธุรกรรมการเงินของสถานีวิทยุต่างๆ ที่เห็นตรงกันข้ามกับตนเอง
หรือการไม่ยอมตอบคำถามสื่อ อ้างว่าคำถามไม่สร้างสรรค์ การตั้งนักการเมือง คนใกล้ชิดเข้าสู่บอร์ดบริหารอ.ส.ม.ท หรือการสั่งให้ถอดรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ของคุณสนธิ ลิ้มทองกุล

(4) พฤติการณ์ส่อไปในทางทุจริต:
พฤติกรรมของรัฐบาล ที่มีปัญหาเกี่ยวกับความไม่โปร่งใสในการบริหาราชการแผ่นดิน โดยมีพฤติการณ์ส่อไปในทางทุจริตจนเกิดการวิพากษ์วิจารณ์ในสังคม และสื่อสิ่งพิมพ์ เช่น กรณีโครงการจัดซื้อเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิดซีทีเอ็กซ์ และการประมูลงานก่อสร้าง หรือติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ ภายในสนามบินสุวรรณภูมิ หรือกรณีการปล่อยเงินกู้ให้รัฐบาลพม่าของธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าเอ็กซิมแบงก์ โดยไม่มีหลักประกันจากรัฐบาลทหารพม่า และกระทรวงการคลัง ต้องชดเชยส่วนต่างดอกเบี้ยให้

ปรากฏภายหลังว่า รัฐบาลพม่านำเงินดังกล่าวส่วนหนึ่งมาซื้อวัสดุอุปกรณ์โทรคมนาคมจากบริษัทธุรกิจของครอบครัว พ.ต.ท.ทักษิณ และว่าจ้างให้บริษัทใกล้ชิดของ พ.ต.ท.ทักษิณ ไปรับงานจ้างหลายโครงการในประเทศพม่า

หรือปัญหาข้อสงสัยถึงการดำเนินการธุรกิจของบริษัทในครอบครัวของ พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่ว่าการซื้อขายหุ้นระหว่างครอบครัวของ พ.ต.ท.ทักษิณ กับบริษัทเทมาเส็ก ประเทศสิงคโปร์ ที่มีข้อกล่าวหาในการหลีกเลี่ยงภาษีกรณีบริษัทชิน แซตเทิลไลต์ จำกัด(มหาชน) ที่ได้รับสัมปทานดำเนินธุรกิจดาวเทียมที่มีข้อกล่าวหาในเรื่องได้รับยกเว้นภาษี

(5) ทำลายระบบคุณธรรม:
ระบอบทักษิณมีการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการที่ใช้ระบบอุปถัมภ์ มิใช้ระบบคุณธรรม โดยคำนึงถึงความรู้และความสามารถ อาวุโส เช่นการแต่งตั้ง พล.อ.ชัยสิทธิ์ ชินวัตร ญาติผู้พี่ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ขึ้นดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก และผู้บัญชาการทหารสูงสุดข้ามอาวุโสนายทหารคนอื่น 

หรือการผลักดันให้นายสมชัย วงศ์สวัสดิ์ น้องเขย พ.ต.ท.ทักษิณ กลับมาดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงยุติธรรมอีกวาระหนึ่ง ทั้งที่นายสมชายเคยดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงยุติธรรมมาแล้ว 4 ปี และได้ขยายเวลาดำรงตำแหน่งครั้งละ 1 ปี 2 ครั้ง รวมเป็น 6 ปี ซึ่งไม่สามารถดำรงตำแหน่งเดิมอีกต่อไปได้ แต่ได้มีการได้สับเปลี่ยนไปดำรงตำแหน่งเป็นปลัดกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม แล้วให้ปลัดกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ซึ่งมีอายุราชการเหลือเพียง 8 เดือน มาดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงยุติธรรม เมื่อปลัดกระทรวงยุติธรรมเกษียณราชการในเดือนตุลาคม 2549 



7. ระบอบทักษิณในปัจจุบัน

แต่สำหรับการเมืองไทยปัจจุบัน ระบอบทักษิณ คือ ระบอบที่ถ่ายทอดมายังร่างทรงของนางสาวยิ่งลักษณ์ ในแบบ "นอมินี" หรือ การเมืองตัวแทน โดยที่ตนเองเป็นคนสั่งการทุกอย่างจากแดนไกล และใช้เครือข่ายความสัมพันธ์อำนาจเดิมของตนเอง ที่ก่อสร้างมานาน เป็นแขนขาให้กับรัฐบาลของน้องสาว (น้องเขย สมชาย วงศ์สวสดิ์) 
นอกจากนี้ ระบบทักษิณ ในปัจจุบัน ยังมีการใช้ "มวลชน" เป็นของตนเอง เล่นการเมืองนอกสภา ให้การสนับสนุนนปช. คนเสื้อแดง นักเคลื่อนไหวภาคประชาสังคมเดิม จ้างนักวิชาการ ให้การสนับสนุน หรือมีสื่อเป็นของตนเองในการเผยแพร่วาทกรรมทางการเมือง และสร้างความแตกแยกในสังคมไทย

รวมทั้งการสร้าง "ฐานประชานิยมใหม่" เช่น คนชนชั้นกลาง วัยรุ่นที่ขาดความรู้ความเข้าใจทางประวัติศาสตร์การเมือง ให้ได้เสพสื่อในเครือของตนเอง สร้างฐานนักคิด นักขบถ นักวิชาการรุ่นใหม่ ที่ให้มีพื้นที่ทางสังคมมากขึ้น และกลายเป็นชนชั้นนำทางความคิดใหม่ ที่ปรากฎในช่องทางสื่อของตนเอง ทั้งโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ และวิทยุ

กล่าวโดยรวม ระบอบทักษิณ ทำลาย 6 ระบบ คือ
(1) ระบบการเมืองแบบรัฐสภา ด้วยการใช้ประชาธิปไตยแบบเสียงข้างมาก ที่ละเมิด รวบอำนาจเบ็ดเสร็จ
(2) ระบบเศรษฐกิจประชานิยม ต่อต้านระบบเศรษฐกิจเพียง เน้นการบริโภคครัวเรือน
(3) ระบบศาลยุติธรรม ด้วยการแทรกแซง ก่อกวน บิดเบือนความหลักนิติรัฐ นิติธรรม
(4) ระบบสื่อมวลชน ด้วยการซื้อสื่อ แทรกแซงสื่อ กดดัน คุกคามสื่อ
(5) ระบบกลไกสังคมเดิม ด้วยการใช้วาทกรรมล้มสถาบันพระมหากษัตริย์ สร้างระบบอุปถัมภ์ทางการเมืองในระบอบนายทุนใหม่ เปลี่ยนระบบข้าราชการเป็นระบบหนักงานรัฐ เข้าแทรกแซงสถาบันตำรวจ และทหาร
(6) ระบบนักคิดนักวิชาการ ใช้กลุ่มนักคิดที่บิดพริ้ว แก้ต่างด้วยตรรกะวิบัติ เพื่อการปกป้อง โต้เถียงหรือสร้างวาทกรรมเพื่อผลประโยชน์แก่คุณทักษิณและพวกพ้อง

ด้วยประการ ฉะนี้ ทั้งหมด เรียกว่า ระบอบทักษิณ!  

>Credit โดย Time Chuastapanasiri<




 

Create Date : 05 ธันวาคม 2556
0 comments
Last Update : 5 ธันวาคม 2556 13:43:49 น.
Counter : 2353 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


otto
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Historia De Un Amor - Shoji Yokoughi
[Add otto's blog to your web]