คลังความรู้เรื่องวิศวกรรมและการเกษตร ที่คนทั่วไปก็สามารถเข้าใจได้

<<
เมษายน 2556
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
5 เมษายน 2556
 

การผลิตต้นไหลสตรอเบอรี่โดยการใช้วิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

การผลิตต้นไหลสตรอเบอรี่โดยการใช้วิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
Strawberry Runner Plant Production by Using Tissue Culture Technique
ปัจจัยสำคัญในการปลูกสตรอเบอรีให้ได้ผลผลิตสูงและมีคุณภาพดี ก็คือ การปลูกโดยใช้ต้นไหลที่มีความแข็งแรง ปราศจากโรคต่างๆโดยเฉพาะโรคไวรัส และมีขนาดที่พอเหมาะ ต้นสตรอเบอรีจะให้ไหลในช่วงสภาพวันยาวและอุณหภูมิสูง โดยความยาวของวัน 16 ชั่วโมงและอุณหภูมิที่ 24 C นับว่าเป็นสภาพที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการเจริญเติบโตของไหล
      ปัจจุบันการขยายต้นไหลที่ปลอดโรคของสต รอเบอรีโดยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อได้พิสูจน์แล้วว่าเป็นวิธีที่ยอมรับ กันโดยทั่วไปและสามารถใช้เป็นการค้าได้ การขยายเพื่อเพิ่มจำนวนต้นสตรอเบอรีโดยวิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อนั้น จำเป็นต้องอาศัยองค์ประกอบต่างๆได้แก่วิธีการทำให้ต้นปลอดโรค เกษตรกรผู้ที่จะขยายต้นพันธุ์ เกษตรกรผู้ปลูกเพื่อให้ได้ผลผลิต และนักวิชาการที่มีประสบการณ์
ต้นพันธุ์ป่าที่ใช้ทดสอบโรคไวรัส

ข้อสังเกตของการขยายพันธุ์ด้วยวิธีนี้ก็คือ

  • ต้นแม่พันธุ์ต้องถูกดูแลให้อยู่ในสภาพที่ปลอดโรค
  • ต้นพันธุ์ต้องถูกขยายอย่างรวดเร็วเพื่อให้ได้จำนวนต้นไหลมากขึ้นภายในโรงเรือนที่ป้องกันแมลงและปลอดโรค
  • ทำการขยายต้นไหลที่ได้ต่อมาให้เพิ่มขึ้นโดยขยายแบบให้ไหลออกตามวิธีปกติ
  • อาจมีการชักนำให้เกิดสตรอเบอรีสายพันธุ์ใหม่ขึ้นโดยต้นจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
  • สายพันธุ์สตรอเบอรีที่ไม่สามารถผลิตไหลให้เพียงพอในทางการค้าก็อาจถูกชักนำให้เพิ่มปริมาณต้นมากขึ้น

ขั้นตอนการขยายต้นสตรอเบอรี่แบบเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อมีดังนี้

  1. ตัดเนื้อเยื่อเจริญที่ปลายไหลความยาว 0.5 มิลลิเมตรหรือน้อยกว่า นำไปเลี้ยงในสูตรอาหารวุ้นสำหรับสตรอเบอรี ถ้าหากใช้เนื้อเยื่อเจริญที่มีความยาวหรือขนาดใหญ่กว่านี้จะทำให้มีเปอร์เซนต์การที่ติดเชื้อไวรัสสูงขึ้น
  2. ประมาณอีก 60 วันเนื้อเยื่อเจริญก็ปรากฏเป็นกลุ่มของเนื้อเยื่อ (Callus) ทำการแบ่งและย้ายลงในอาหารวุ้นใหม่ (สูตรแตกกอ) และขวดที่ใหญ่ขึ้น
  3. ประมาณอีก 40-50 วันจะเห็นเป็นส่วนลำต้นที่มีก้านใบและใบเล็กๆเป็นจำนวนมาก ให้แบ่งแยกออกเป็นต้นๆ ย้ายลงในขวดที่ใหญ่ขึ้นอีกในอาหารวุ้นใหม่ (สูตรเร่งให้เกิดราก) ควรจัดให้มีระยะห่างพอสมควรเพื่อให้ต้นเจริญเติบโตได้ดี (อาจทำการแบ่งต้นจากระยะนี้ไปเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเพื่อเพิ่มจำนวนต่อไปตามข้อ 2 ก็ได้
  4. ประมาณอีก 20 วันนำต้นออกจากขวดล้างให้สะอาดปราศจากวุ้น และย้ายลงปลูกในกระบะชำซึ่งใช้ Vermiculite ใหม่ๆเป็นวัสดุปลูก ครอบด้วยโครงพลาสติกเพื่อให้มีความชื้น 80-100% อุณหภูมิคงที่ 22-25 C และพรางแสงให้ตลอดช่วงภายในโรงเรือนกันแมลง
  5. ประมาณอีก 30 วันย้ายต้นเนื้อเยื่อเหล่านี้ลงในกระถางเล็กที่ใส่ดินผสมวัสดุปลูกผ่านการอบฆ่าเชื้อแล้ว และดูแลภายในโรงเรือนกันแมลง

ต้นแม่พันธุ์แจกเกษตรกร

       เมื่อต้นแม่พันธุ์เหล่านี้ (Foundation stock plant ) เจริญเติบโตได้ขนาดพอเหมาะและมีความแข็งแรงแล้ว ก็สามารถทำการขยายไหลแบบวิธีปกติ(หลังจากผ่านกระบวนการทดสอบโรคไวรัส)ใน กระบะที่อบดินภายในโรงเรือนกันแมลง เพื่อให้ได้ต้นไหลรุ่นที่หนึ่ง และนำต้นไหลที่ได้ไปขยายพันธุ์ในแปลงภายนอกโรงเรือนต่อไปอีกสองรุ่น ต้นไหล (Certified plant) ที่ได้หลังจากนี้ เกษตรกรก็สามารถนำไปใช้เป็นต้นแม่พันธุ์เพื่อขยายเป็นต้นสำหรับปลูกเก็บ เกี่ยวผลผลิต

ต้นที่ขยายจากต้นแม่พันธุ์ปลอดโรค

ขอขอบคุณแหล่งความรู้จาก

  • มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ณรงค์ชัย พิพัฒน์ธนวงศ์1 เวช เต๋จ๊ะ2 และ สมศักดิ์ รุ่งอรุณ2
    1สถาบันค้นคว้าและพัฒนาระบบนิเวศเกษตร
    2สถานีวิจัยดอยปุย สถาบันค้นคว้าและพัฒนาระบบนิเวศเกษตร
    มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

  • สำนักบริการคอมพิวเอตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ชอบกด Like & Share เป็นกำลังใจให้ด้วยน่ะจ๊ะ




Create Date : 05 เมษายน 2556
Last Update : 5 เมษายน 2556 15:09:45 น. 0 comments
Counter : 1898 Pageviews.  
 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

Mr.Evo_IV
 
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 17 คน [?]




[Add Mr.Evo_IV's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com