คลังความรู้เรื่องวิศวกรรมและการเกษตร ที่คนทั่วไปก็สามารถเข้าใจได้

<<
มกราคม 2556
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
21 มกราคม 2556
 

การปลูกชา ตอนที่ 8

มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมใบชา (ชาจีน)

1. ขอบข่าย
1.1 มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมนี้กำ หนด คุณลักษณะที่ต้องการ สุขลักษณะ ภาชนะบรรจุ   ปริมาณ เครื่องหมายและฉลาก การชักตัวอย่างและเกณฑ์ตัดสิน การตรวจสอบและการวิเคราะห์ชาใบ
1.2 มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมนี้ใช้เฉพาะชาใบ (gree tea) ที่ได้จากต้นชาที่ปลูกในประเทศไทยเท่านั้น ไม่รวมชาผง (black tea) ชาผงสำ เร็จรูป (instant tea) และชาใบที่มีลักษณะเป็นผง

2. นิยาม
ความหมายของคำ ที่ใช้ในมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมนี้ มีดังต่อไปนี้
2.1 ชาใบ (ชาจีน) หมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากส่วนที่เป็นใบอ่อน ยอดอ่อนที่ใบยังไม่คลี่ และก้านใบที่ยังอ่อนอยู่ของต้นชาที่มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Camellia sinensis Linn. ซึ่งนำ มาผึ่งให้อ่อนตัว อบหรือคั่วพอหมาด บดคลึงให้ม้วนตัว แล้วทำให้แห้งโดยการอบหรือคั่วหรือย่างอีกครั้งหนึ่ง
2.2 ก้าน หมายถึง ส่วนที่ต่อจากใบของต้นชา มีลักษณะแข็ง ไม่รวมก้านใบที่ยังอ่อนอยู่

3. คุณลักษณะที่ต้องการ
3.1 ลักษณะทั่วไป
3.1.1 ต้องมีลักษณะเป็นใบชาแห้ง สะอาด ปราศจากสิ่งแปลกปลอมใด ๆ เว้นแต่ดอกไม้เพื่อการแต่งกลิ่น ส่วนใหญ่จะเป็นใบเต็มม้วนตัวอยู่ในลักษณะต่างๆ และเมื่อชงด้วยน้ำเดือดแล้วจะคืนสภาพเป็นรูปใบให้เห็นได้ชัด
3.1.2 ต้องมีสีดำ อมเขียวตามธรรมชาติ
3.1.3 ต้องมีกลิ่นเฉพาะตามธรรมชาติของชาใบ อาจมีการแต่งกลิ่นได้ด้วยดอกไม้ที่มีกลิ่นหอมตามธรรมชาติและไม่เป็นอนตรายต่อผู้บริโภค
3.1.4 นํ้าชาต้องมีกลิ่นและรสเฉพาะของชาใบ (อาจมีกลิ่นของดอกไม้ที่ใช้แต่งกลิ่นด้วย)   เมื่อตรวจสอบตามวิธีในข้อ 9.1 แล้ว คะแนนเฉลี่ยของแต่ละลักษณะต้องไม่น้อยกว่าคะแนนตํ่าสุดที่กำหนดไว้และต้องมีคะแนนเฉลี่ยจากคะแนนรวมของผู้ตรวจสอบทุกคน ไม่น้อยกว่า 70 คะแนน
3.2 การเจือสี
ต้องไม่พบการเจือสีใดๆ   การตรวจสอบให้ปฏิบัติตามข้อ 9.2

3.3 ก้าน
ให้มีปริมาณก้านได้ไม่เกินร้อยละ 7 โดยนํ้าหนัก   การตรวจสอบให้ปฏิบัติตามข้อ 9.3
3.4 คุณลักษณะทางเคมี   ต้องเป็นไปตามที่กำหนดในตาราง

4. สุขลักษณะ
สุขลักษณะให้เป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กำ หนดสุขลักษณะของอาหารมาตรฐานเลขที่ มอก.34

5. ภาชนะบรรจุ
ภาชนะที่ใช้บรรจุต้องสะอาด แห้ง ปิดได้สนิท และสามารถเก็บรักษากลิ่นไว้ได้

6. ปริมาณ
นํ้าหนักสุทธิที่บรรจุในแต่ละภาชนะบรรจุ ต้องไม่น้อยกว่าที่ระบุไว้ที่ฉลาก

7. เครื่องหมายและฉลาก
7.1 ฉลากให้เป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม คำ แนะนำ ทั่วไปเกี่ยวกับฉลากสำหรับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มารตฐานเลขที่ มอก. 31 และไม่ขัดกับประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยเรื่องฉลาก
7.2 ภาชนะบรรจุชาใบทุกหน่วย อย่างน้อยต้องมีเลข อักษร หรือเครื่องหมายแจ้งรายละเอียดต่อไปนี้ให้เห็นได้ง่ายและชัดเจน
• ชื่อผลิตภัณฑ์
• เครื่องหมายการค้าและชื่อผู้ทำ หรือโรงงานที่ทำ พร้อมสถานที่ตั้ง
• ดอกไม้ที่ใช้แต่งกลิ่น (ถ้ามี)
• นํ้าหนักสุทธิ เป็นกรัมหรือกิโลกรัม
• เดือนและปีที่ทำ
ในกรณีที่ใช้ภาษาต่างประเทศด้วย ต้องมีความหมายตรงกับภาษาไทย
7.3 ผู้ทำ ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่เป็นไปตามมาตรฐานนี้ จะแสดงเครื่องหมายมาตรฐานกับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมนั้นได้ ต่อเมื่อได้รับใบอนุญาตจากคณะกรรมการมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมแล้ว

8. การชักตัวอย่างและเกณฑ์การตัดสิน
8.1 ความหมายของคำ ที่ใช้ มีดังต่อไปนี้
8.1.1 รุ่น หมายถึง ชาใบที่ผลิตขึ้นโดยมีลักษณะอย่าเดียวกันและบรรจุหีบห่อในคราวเดียวกันเพื่อจำหน่าย
8.1.2 ขนาดรุ่น หมายถึง จำนวนหน่วยภาชนะบรรจุของชาใบใน 1 รุ่น
8.1.3 ขนาดตัวอย่าง หมายถึง จำนวนตัวอย่างที่ชักออกจากรุ่นของชาใบเพื่อนำมาตรวจสอบ
8.2 การชักตัวอย่างและเกณฑ์ตัดสิน ให้เป็นไปตามแผนการชักตัวอย่างที่กำหนดต่อไปนี้ หรืออาจใช้แผนการชักตัวอย่างอื่นที่เทียบเท่ากันทางวิชาการกับแผนที่กำหนดไว้
8.2.1 การชักตัวอย่าง
8.2.1.1 ภาชนะบรรจุขนาดไม่เกิน 1 กิโลกรัม ให้ชักตัวอย่างโดยวิธีสุ่มจากผลิตภัณฑ์ที่ทำขึ้นในรุ่นเดียวกันตามแผนการชักตัวอย่างในตาราง

 8.2.1.2 ภาชนะบรรจุขนาดเกิน 1 กิโลกรัม ถึง 20 กิโลกรัม ให้ชักตัวอย่าง โดยวิธีสุ่มจากผลิตภัณฑ์ที่ทำขึ้นในรุ่นเดียวกันตามแผนการชักตัวอย่างในตาราง

8.2.2 วิธีเตรียมตัวอย่างรวม
      ดังตัวอย่างออกมาในปริมาณเท่าๆ กัน จากแต่ละภาชนะบรรจุที่ได้จากการชักตัวอย่าง นำมารวมกันให้มีนํ้าหนักไม่น้อยกว่า 2 กิโลกรัม ถ้านํ้าหนักไม่ถึง 2 กิโลกรัม ให้ชักตัวอย่างเพิ่มโดยวิธีสุ่มจากรุ่นเดียวกันนั้นจนได้นํ้าหนักตามต้องการ แบ่งตัวอย่างออกเป็นสามส่วนเท่าๆ กัน บรรจุแต่ละส่วนลงในภาชนะที่สะอาด แห้ง สามารถรักษากลิ่นไว้ได้ ปิดผนึก ลงลายมือชื่อผู้ชักตัวอย่าง พร้อมทั้งวันเดือนปีที่ชักตัวอย่าง   นำตัวอย่างส่วนหนึ่งไปตรวจสอบและวิเคราะห์ โดยใช้ตัวอย่างไม่น้อยกว่า 400 กรัม สำหรับการตรวจสอบลักษณะทั่วไปและหาปริมาณก้าน และใช้ตัวอย่างไม่นอยกว่า 100 กรัม สำ หรับการวิเคราะห์ทางเคมี ที่เหลืออีกสองส่วนให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเก็บไว้เป็นหลักฐาน

8.2.3 เกณฑ์ตัดสิน
         ชาใบที่ได้จากการชักตัวอย่างเมื่อนำไปตรวจสอบและวิเคราะห์ตามข้อ 9 แล้วจะต้องเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดในข้อ 3 ทุกข้อ จึงจะถือว่าชาในรุ่นนั้นเป็นไปตามมาตรฐานนี้

9. การตรวจสอบและการวิเคราะห์
9.1 ลักษณะทั่วไป สี กลิ่น และกลิ่นรส
9.1.1 เครื่องมือ
9.1.1.1 ถ้วยสีขาวทำ ด้วยกระเบื้องหรือดินเผาเคลือบที่มีฝาปิดตามรูปที่ 1 หรือขนาดใกล้เคียง


รูปที่ 1

9.1.1.2 ถ้วยสีขาวทำด้วยกระเบื้องหรือดินเผาเคลือบตามรูปที่ 2 หรือขนาดใกล้เคียง


รูปที่ 2

9.1.1.3 นํ้ากลั่น
9.1.2 วิธีเตรียมตัวอย่าง
ชั่งตัวอย่างโดยใช้อัตราส่วนของชา 20.05 กรัมต่อนํ้า 100 ลูกบาศก์เซนติเมตร

 9.1.3 วิธีเตรียมนํ้าชา
         ใช้นํ้าเดือดลวกถ้วย (ตามข้อ 9.1.1.1) ให้ร้อนทั่วกันแล้วเททิ้ง ใส่ตัวอย่างที่ชั่งไว้ลงไป   รินนํ้าที่กำลังเดือดลงในถ้วยที่เตรียมไว้ทันที ระดับนํ้าในถ้วยต้องตํ่ากว่าขอบถ้วยประมาณ 4-6 มิลลิเมตร ปิดฝาทิ้งไว้ 6 นาที รินนํ้าชาที่ได้ผ่านตะแกรงกรองลงในถ้วย(ตามข้อ 9.1.1.2) ซึ่งได้ลวกนํ้าร้อนแล้วเช่นกันจนหมด โดยไม่ให้ใบชาติดลงไปด้วย เทกากชาลงบนฝาถ้วย นำกากชาและนํ้าชาไปตรวจสอบคุณลักษณะตาม ตารางที่ 4 และ 5 ต่อไป
9.1.4 วิธีตรวจสอบ
9.1.4.1 ผู้ตรวจสอบประกอบด้วยผู้มีความชำ นาญในการตรวจสอบชาใบอย่างน้อย 5 คน ทุกคนจะแยกกันตรวจและให้คะแนนโดยอิสระ
9.1.4.2 หลักเกณฑ์การให้คะแนนในการตรวจสอบชาใบ

(1) การตรวจสอบชาใบ และกากชา ตามตาราง

(2) การตรวจสอบนํ้าชา ตามตาราง 9.2

9.2 การเจือสี
เทชาใบประมาณ 0.5-1 กรัม ลงบนกระดาษกรอง พับกระดาษกรองเข้าหากันแล้วขยี้ เทชาใบออกจากกระดาษกรองให้หมด พ่นนํ้าลงบนกระดาษกรองพอเปรียก ต้องไม่มีสีเกิดขึ้นเห็นได้ชัดบนกระดาษกรองนั้น
9.3 การหาปริมาณก้าน

9.3.1 เครื่องมือ
9.3.1.1 กระจกนาฬิกา (watch glass)
9.3.1.2 ปากคีบ (forceps)
9.3.1.3 แผ่นกระดาษขาวผิวเรียบหรือแผ่นพลาสติกหนา
9.3.1.4 เครื่องชั่ง
9.3.2 วิธีวิเคราะห์
         ชั่งตัวอย่างประมาณ 100 กรัมให้ทราบนํ้าหนักที่แน่นอน (M1) เกลี่ยบนแผ่นกระดาษหรือแผ่นพลาสติก ใช้ปากคีบเลือกส่วนที่เป็นก้านออกใส่ลงในกระจกนาฬิกาที่สะอาด แห้ง และทราบนํ้าหนักแล้ว (M0) นำกระจกนาฬิกาพร้อมก้านที่แยกออกทั้งหมดมาชั่งนํ้าหนัก (M2)
9.3.3 วิธีคำนวณ
ปริมาณก้าน ร้อยละโดยนํ้าหนัก = (M2 - M0) / M1 x 100
9.4 การเตรียมตัวอย่างเพื่อวิเคราะห์คุณลักษณะทางเคมี   บดตัวอย่างให้ละเอียดจนผ่านแร่งขนาด 0.6 มิลลิเมตร (US.sieve No.30)

9.5 ความชื้น
ให้วิเคราะห์ตามวิธีที่กำ หนดใน AOAC (1980) ข้อ 15.038 (หรือข้อ 7.003)
9.6 สารที่สกัดได้ด้วยนํ้าร้อน
ให้วิเคราะห์ตามวิธีที่กำ หนดใน AOAC (1980) ข้อ 15.039
9.7 เถ้าทั้งหมด
ให้วิเคราะห์ตามวิธีที่กำ หนดใน AOAC (1980) ข้อ 15.040 (หรือข้อ 31.012 หรือ ข้อ 31.013)
9.8 เถ้าที่ละลายนํ้า
ให้วิเคราะห์ตามวิธีที่กำ หนดใน AOAC (1980) ข้อ 15.041 (หรือข้อ 31.015)
9.9 ความเป็นด่างของเถ้าที่ละลายนํ้า
ให้วิเคราะห์ตามวิธีที่กำ หนดใน AOAC (1980) ข้อ 15.042 (หรือข้อ 31.016)
9.10 เถ้าที่ไม่ละลายในกรด
ให้วิเคราะห์ตามวิธีที่กำ หนดใน AOAC (1980) ข้อ 15.044 (หรือข้อ 30.008)
9.11 กาก
ให้วิเคราะห์ตามวิธีที่กำ หนดใน AOAC (1980) ข้อ 15.049 (หรือข้อ 7.065)
9.12 คาเฟอีน
ให้วิเคราะห์ตามวิธีที่กำ หนดใน AOAC (1980) ข้อ 15.051

 มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมชาผง (ชาฝรั่ง)


1. ขอบข่าย
1.1 มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมนี้กำ หนด คุณลักษณะที่ต้องการสุขลักษณะภาชนะบรรจุ   ปริมาณ เครื่องหมายและฉลาก การชักตัวอย่างและเกณฑ์ตัดสิน การตรวจสอบและการวิเคราะห์ชาผง
1.2 มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมนี้ใช้เฉพาะชาผง (black tea) ที่ได้จากต้นชาที่ปลูกในประเทศไทยเท่านั้นไม่รวมชาผงชนิดที่สกัดคาเฟอีนออก (decaffeinated black tea) ชาใบ (grdd tea) ชาผลสำเร็จรูป (instant tea)
2. นิยาม
ความหมายของคำ ที่ใช้ในมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมนี้ มีดังต่อไปนี้
ชาผง (ชาฝรั่ง) หมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากส่วนที่เป็นใบอ่อน ยอดอ่อนที่ใบยังไม่คลี่ และก้านใบที่ยังอ่อนอยู่ของต้นชาที่มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Camellia sinensis Linn. ซึ่งนำ มาผึ่งให้อ่อนตัว (withering)   นวดจนฉีกขาดและม้วนตัว (crushing, tearing and curling) แล้วหมัก (fermenting) ให้เกิดกลิ่นและรสเฉพาะ   แล้วอบให้แห้ง
3. คุณลักษณะที่ต้องการ
3.1 ลักษณะทั่วไป
3.1.1 ต้องมีลักษณะเป็นใบชาแห้ง หรือส่วนของใบชาแห้งที่เป็นชิ้นเล็กหรือเป็นผงสะอาดปราศจากสิ่งแปลกปลอมใดๆ
3.1.2 ต้องมีสีนํ้าตาลเข้มออกดำ ตามธรรมชาติ
3.1.3 ต้องมีกลิ่นเฉพาะตามธรรมชาติของชาผง ไม่มีการปรุงแต่งด้วยกลิ่นอื่น
3.1.4 นํ้าชาต้องมีกลิ่นและรสเฉพาะของชาผง
เมื่อตรวจสอบตามวิธีในข้อ 9.1 แล้ว คะแนนเฉลี่ยของแต่ละลักษณะต้องไม่น้อยกว่าคะแนนตํ่าสุดที่กำหนดไว้และต้องมีคะแนนเฉลี่ยจากคะแนนรวมของผู้ตรวจสอบทุกคน ไม่น้อยกว่า 70 คะแนน
3.2 การเจือสี
ต้องไม่พบการเจือสีใดๆการตรวจสอบให้ปฏิบัติตามข้อ 9.2
3.3 คุณลักษณะทางเคมี
ต้องเป็นไปตามที่กำหนดในตาราง

4. สุขลักษณะ
สุขลักษณะให้เป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กำ หนดสุขลักษณะของอาหารมาตรฐาน
เลขที่ มอก.34
5. ภาชนะบรรจุ
ภาชนะที่ใช้บรรจุต้องสะอาด แห้ง ปิดได้สนิท และสามารถเก็บรักษากลิ่นไว้ได้
6. ปริมาณ
นํ้าหนักสุทธิที่บรรจุในแต่ละภาชนะบรรจุ ต้องไม่น้อยกว่าที่ระบุไว้ที่ฉลาก
7. เครื่องหมายและฉลาก
7.1 ฉลากให้เป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม คำ แนะนำ ทั่วไปเกี่ยวกับฉลากสำหรับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมมาตรฐานเลขที่ มอก. 31 และไม่ขัดกับประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยเรื่องฉลาก
7.2 ที่ภาชนะบรรจุชาผงทุกหน่วย อย่างน้อยต้องมีเลข อักษร หรือเครื่องหมายแจ้งรายละเอียดต่อไปนี้ ให้เห็นได้ง่ายและชัดเจน
= ชื่อผลิตภัณฑ์
=เครื่องหมายการค้า และชื่อผู้ทำ หรือโรงงานที่ทำ พร้อมสถานที่ตั้ง
=นํ้าหนักสุทธิ เป็นกรัมหรือกิโลกรัม
=เดือนและปีที่ทำ
ในกรณีที่ใช้ภาษาต่างประเทศด้วย ต้องมีความหมายตรงกับภาษาไทย
7.3 ผู้ทำ ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่เป็นไปตามมาตรฐานนี้ จะแสดงเครื่องหมายมาตรฐานกับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมนั้นได้ ต่อเมื่อได้รับใบอนุญาตจาคณะกรรมการมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมแล้ว

8. การชักตัวอย่างและเกณฑ์การตัดสิน
8.1 ความหมายของคำ ที่ใช้ มีดังต่อไปนี้
8.1.1 รุ่น หมายถึง ชาผงที่ผลิตขึ้นโดยมีลักษณะอย่างเดียวกัน และบรรจุหีบห่อในคราวเดียวกันเพื่อจำหน่าย
8.1.2 ขนาดรุ่น หมายถึง จำนวนหน่วยภาชนะบรรจุชาผงใน 1 รุ่น
8.1.3 ขนาดตัวอย่าง หมายถึง จำนวนตัวอย่างที่ชักออกจากรุ่นของชาผงเพื่อนำมาตรวจสอบ
8.2 การชักตัวอย่างและเกณฑ์ตัดสิน ให้เป็นไปตามแผนการชักตัวอย่างที่กำหนดต่อไปนี้ หรืออาจใช้แผนการชักตัวอย่างอื่นที่เทียบเท่ากันทางวิชาการกับแผนที่กำหนดไว้
8.2.1 การชักตัวอย่าง
8.2.1.1 ภาชนะบรรจุขนาพไม่เกิน 1 กิโลกรัม ให้ชักตัวอย่างโดยวิธีสุ่มจากผลิตภัณฑ์ที่ทำขึ้นในรุ่นเดียวกัน ตามแผนการชักตัวอย่างในตาราง

8.2.1.2 ภาชนะบรรจุขนาดเกิน 1 กิโลกรัม ถึง 20 กิโลกรัม ให้ชักตัวอย่างโดยวิธีสุ่มจากผลิตภัณฑ์ ที่ทำขึ้นในรุ่นเดียวกันตามแผนการชักตัวอย่างในตาราง

8.2.2 วิธีเตรียมตัวอย่างรวม
      ตักตัวอย่างออกมาในปริมาณเท่าๆ กัน จากแต่ละภาชนะบรรจุที่ได้จากการชักตัวอย่าง นำมารวมกันให้มีนํ้าหนักไม่น้อยกว่า 600 กรัม ถ้านํ้าหนักไม่ถึง 600 กรัม ให้ชักตัวอย่างเพิ่มโดยวิธีสุ่มจากรุ่นเดียวกันนั้นจนได้นํ้าหนักตามต้องการ แบ่งตัวอย่างออกเป็นสามส่วนเท่าๆกัน บรรจุแต่ละส่วนลงในภาชนะที่สะอาด แห้ง สามารถรักษากลิ่นไว้ได้ ปิดผนึก ลงลายมือชื่อผู้ชักตัวอย่าง พร้อมทั้งวันเดือนปีที่ชักตัวอย่าง  นำตัวอย่างส่วนหนึ่งไปตรวจสอบและวิเคราะห์ โดยใช้ตัวอย่างไม่น้อยกว่า 50 กรัม สำหรับการตรวจสอบลักษณะทั่วไป และใช้ตัวอย่างไม่น้อยกว่า 100 กรัม สำ หรับการวิเคราะห์ทางเคมี ที่เหลืออีกสองส่วนให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเก็บไว้เป็นหลักฐาน

 8.3 เกณฑ์การตัดสิน
         ชาผงตัวอย่างเมื่อนำไปตรวจสอบและวิเคราะห์ตามข้อ 9 แล้วจะต้องเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดในข้อ 3 ทุกข้อ จึงจะถือว่าชาผงในรุ่นนั้นเป็นไปตามมาตรฐานนี้

9. การตรวจสอบและการวิเคราะห์
9.1 ลักษณะทั่วไป
9.1.1 เครื่องมือและอุปกรณ์
9.1.1.1 ถ้วยสีขาวทำ ด้วยกระเบื้องหรือดินเผาเคลือบที่มีฝาปิด ตามรูปที่ 3 หรือขนาดใกล้เคียง


รูปที่ 3

9.1.1.3 นํ้ากลั่น
9.1.1.4 นมสดพาสเจอไรซ์ (pasteurized milk) หรือนมสดยูเอชที (UHT milk)
9.1.2 วิธีเตรียมตัวอย่าง
ชั่งตัวอย่างโดยใช้อัตราส่วนของชาผง 2 0.05 กรัมต่อนํ้า 100 ลูกบาศก์เซนติเมตร
9.1.3 วิธีเตรียมนํ้าชา
9.1.3.1 ใช้นํ้าเดือดลวกถ้วย (ตามข้อ 9.1.1.1) ให้ร้อนทั่วกันแล้วเททิ้งใส่ตัวอย่างที่ชั่งไว้ลงไป รินนํ้าที่กำลังเดือดลงในถ้วยที่เตรียมไว้ทันที ระดับนํ้าในถ้วยต้องตํ่ากว่าขอบถ้วยประมาณ 4-6 มิลลิเมตร   ปิดฝาทิ้งไว้ 6 นาที รินนํ้าชาที่ได้ผ่านตะแกรงกรองลงในถ้วย (ตามข้อ 9.1.1.2 ซึ่งได้ลวกนํ้าร้อนแล้วเช่นกันจนหมด โดยไม่ให้ใบชาติดลงไปด้วย เทกากชาลงบนฝาถ้วย นำกากชาและนํ้าชาไปตรวจสอบคุณลักษณะตามตารางที่ 9 และ 10 ต่อไป
9.1.3.2 เตรียมโดยผสมนม เตรียมนํ้าชาเช่นเดียวกับข้อ 9.1.3.1 แล้วเติมนมทันทีโดยใช้ นมตามข้อ 9.1.1.4 ปริมาณ2.5 ลูกบาศก์เซนติเมตรต่อนํ้าชา 140 ลูกบาศก์เซนติเมตร คนให้เข้ากัน ตรวจสีของนํ้าชาหลังเติมนม ตามตารางที่ 10
9.1.4 วิธีตรวจสอบ
9.1.4.1 ผู้ตรวจสอบประกอบด้วยผู้ที่มีความชำ นาญในการตรวจสอบอย่างน้อย 5 คน ทุกคนจะแยกกันตรวจ และให้คะแนนโดยอิสระ
9.1.4.2 หลักเกณฑ์การให้คะแนนในการตรวจสอบ
(1) การตรวจสอบชาผง และกากชา ตามตาราง

(2) การตรวจสอบนํ้าชา ตามตาราง 9.2

9.2 การเจือสี
         เทชาผงประมาณ 0.5-1 กรัมลงบนกระดาษกรอง ทบกระดาษกรองเข้าหากันแล้วขยี้ เทชาผงออกจากกระดาษกรองให้หมด พ่นนํ้าลงบนกระดาษกรองพอเปียก ต้องไม่มีสีเกิดขึ้นเห็นได้ชัดบนกระดาษกรองนั้น
9.3 การเตรียมตัวอย่างเพื่อวิเคราะห์คุณลักษณะทางเคมี   บดตัวอย่างให้ละเอียดจนผ่านแร่งขนาด 0.6 มิลลิเมตร (US. sieve No. 30)

9.4 ความชื้น
ให้วิเคราะห์ตามวิธีที่กำ หนดใน AOAC (1980) ข้อ 15.038 (หรือข้อ 7.003)
9.5 สารที่สกัดได้ด้วยนํ้าร้อน
ให้วิเคราะห์ตามวิธีที่กำ หนดใน AOAC (1980) ข้อ 15.039
9.6 เถ้าทั้งหมด
ให้วิเคราะห์ตามวิธีที่กำ หนดใน AOAC (1980) ข้อ 15.040 (หรือข้อ 31.012 หรือ ข้อ31.013)
9.7 เถ้าที่ละลายนํ้า
ให้วิเคราะห์ตามวิธีที่กำ หนดใน AOAC (1980) ข้อ 15.041 (หรือข้อ 31.015)
9.8 ความเป็นด่างของเถ้าที่ละลายนํ้า
ให้วิเคราะห์ตามวิธีที่กำ หนดใน AOAC (1980) ข้อ 15.042 (หรือข้อ 31.016)
9.9 เถ้าที่ไม่ละลายในกรด
ให้วิเคราะห์ตามวิธีที่กำ หนดใน AOAC (1980) ข้อ 15.044 (หรือข้อ 30.008)
9.10 กาก
ให้วิเคราะห์ตามวิธีที่กำ หนดใน AOAC (1980) ข้อ 15.049 (หรือข้อ 7.065)
9.11 คาเฟอีน
ให้วิเคราะห์ตามวิธีที่กำ หนดใน AOAC (1980) ข้อ 15.051

ขอขอบคุณแหล่งความรู้จาก

  • คุณ ศุภนารถ เกตุเจริญ
  • คุณ อัญชลี พัดมีเทศ
  • กองเกษตรสัมพันธ์
  • กรมส่งเสริมการเกษตร
  • สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ศูนย์ข้อมูลทางการเกษตร

ชอบกด Like & Share เป็นกำลังใจให้ด้วยน่ะจ๊ะ




Create Date : 21 มกราคม 2556
Last Update : 22 มกราคม 2556 9:49:28 น. 0 comments
Counter : 1570 Pageviews.  
 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

Mr.Evo_IV
 
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 17 คน [?]




[Add Mr.Evo_IV's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com