พระเครื่อง : แหล่งข้อมูลบทความพระเครื่อง เครื่องรางของขลัง และวัตถุมงคล
Group Blog
 
 
กุมภาพันธ์ 2556
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
2425262728 
 
14 กุมภาพันธ์ 2556
 
All Blogs
 
โพลโค้ง3 'พงศพัศ'ยังนำ'สุขุมพันธุ์' แต่ช่วงห่างแคบลง

โพลโค้ง3 'พงศพัศ'ยังนำ'สุขุมพันธุ์' แต่ช่วงห่างแคบลง


เอแบคโพลล์ชี้ "พงศพัศ" ยังมีคะแนนนำ "สุขุมพันธุ์"  เลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.โค้ง 3 แต่ช่วงต่างเริ่มแคบลง แปลก! พบการเปลี่ยนแปลง  พื้นที่ กทม.ชั้นกลาง-ใน มีนัยสำคัญ พท.นำ แต่พื้นที่ชั้นนอกกลับสูสี  เชื่อยังมีโอกาสพลิกได้ ขึ้นกับนโยบายที่นำเสนอ ปชช. ...

วันที่ 13  ก.พ. ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์  มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง นโยบายรถเมล์  และทางเดินรถเข็นขึ้นลงข้างถนนสำหรับผู้พิการ ผู้สูงอายุ  และแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงความตั้งใจจะไปเลือกตั้งผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ ว่าฯ กทม. โค้ง 3  กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร  จำนวนทั้งสิ้น 3,631 ตัวอย่าง  ดำเนินโครงการและวิเคราะห์ข้อมูลระหว่างวันที่ 8-12 ก.พ. 2556 ที่ผ่านมา  โดยใช้การเลือกตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้นเลือกเขต แขวง  ชุมชน และลงสัมภาษณ์แบบเคาะประตูบ้านในระดับครัวเรือน  ค่าความคลาดเคลื่อนบวกลบร้อยละ 7 พบว่า

เมื่อสอบถามถึงผู้สมัครที่ ตั้งใจจะเลือก ถ้าวันนี้เป็นวันเลือกตั้ง พบว่า ร้อยละ 43.9 ระบุ  พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ พรรคเพื่อไทย รองลงมาคือ ร้อยละ 37.6 ระบุ  ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร พรรคประชาธิปัตย์ ในขณะที่ร้อยละ 10.4 ระบุ  พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส ผู้สมัครอิสระ และที่เหลือร้อยละ 8.1  ระบุอื่นๆ เช่น นายสุหฤท สยามวาลา นายโฆสิต สุวินิจจิต เป็นต้น

ที่ น่าพิจารณาคือ เมื่อพิจารณาผลสำรวจที่ได้เป็น “จุดตัวเลขที่ค้นพบ”  (Estimated Points) จำแนกตามช่วงเวลาของการสำรวจตั้งแต่โค้งที่ 1  ถึงโค้งที่ 3 พบว่า สัดส่วนของผู้ที่ระบุ พล.ต.อ.พงศพัศ  เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากร้อยละ 41.8 ในโค้งที่หนึ่ง ร้อยละ 43.1  ในโค้งที่สอง และร้อยละ 43.9 ในโค้งที่สาม ในขณะที่ สัดส่วนของผู้ที่ระบุ  ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กำลังกลับมาเพิ่มขึ้นเช่นกัน คือจากร้อยละ 37.6  ในโค้งที่หนึ่ง และลดลงเหลือร้อยละ 33.1 ในโค้งที่สอง  และเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 37.6  ในโค้งที่สามซึ่งกลับมาเท่ากับค่าร้อยละที่เคยค้นพบในโค้งที่หนึ่ง

อย่าง ไรก็ตาม ตัวเลขของผู้ที่ระบุผู้สมัครในนามอิสระและคนอื่นๆ  มีลักษณะสวิงเปลี่ยนแปลงไปมาในลักษณะลดลง แต่ไปเพิ่มขึ้นในส่วนของ  ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ส่งผลให้ช่วงห่างระหว่าง พล.ต.อ.พงศพัศ กับ  ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ แคบลงในโค้งที่สาม จากเดิมเคยห่างกัน 4  จุดในโค้งที่หนึ่ง และทิ้งห่างเป็น 10 จุดในโค้งที่สอง และล่าสุดห่างกัน  6.3 จุด แต่โดยสรุป จากผลสำรวจครั้งนี้ พล.ต.อ.พงศพัศ  ยังคงนำในการสำรวจครั้งล่าสุดนี้

ดร.นพดล กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม  ถ้าคำนึงถึงช่วงความคลาดเคลื่อนที่บวกลบร้อยละ 7 อาจกล่าวได้ว่า  ความห่างในการแข่งขันของตัวเลขในการสำรวจครั้งล่าสุดนี้  อยู่ในช่วงความคลาดเคลื่อนที่อาจมีโอกาสพลิกผันได้เช่นกัน

และเมื่อ พิจารณาผลสำรวจที่ได้เป็น “จุดตัวเลขที่ค้นพบ” จำแนกตามสภาพที่พักอาศัย  จะเห็นได้ว่า พล.ต.อ.พงศพัศ มีสัดส่วนของผู้ที่ตั้งใจจะเลือกสูงกว่า  ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ ทุกกลุ่ม โดยเฉพาะ กลุ่มบ้านเดี่ยว ชุมชนแออัด  คอนโดมิเนียม แต่ที่อาจมีโอกาสพลิกได้อยู่ในกลุ่มแมนชั่น แฟลต อพาร์ตเมนต์  ตึกแถว และห้องแถว เป็นต้น

โดยพบว่า  ในกลุ่มตัวอย่างบ้านเดี่ยวร้อยละ 43.4 ระบุ พล.ต.อ.พงศพัศ ในขณะที่ร้อยละ  36.2 ระบุ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ และร้อยละ 13.4 ระบุ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์  ร้อยละ 7.0 ระบุอื่นๆ เช่น นายสุหฤท สยามวาลา นายโฆสิต สุวินิจจิต เป็นต้น

ใน กลุ่มตัวอย่างชุมชนแออัด ร้อยละ 48.9 ระบุ พล.ต.อ.พงศพัศ ในขณะที่ร้อยละ  33.3 ระบุ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ และร้อยละ 9.0 ระบุ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ ร้อยละ  8.1 ระบุอื่นๆ เช่น นายสุหฤท สยามวาลา นายโฆสิต สุวินิจจิต เป็นต้น

ใน กลุ่มตัวอย่างคอนโดมิเนียม ร้อยละ 39.3 ระบุ พล.ต.อ.พงศพัศ ในขณะที่ร้อยละ  28.6 ระบุ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ และร้อยละ 21.4 ระบุ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์  ร้อยละ 10.7 ระบุอื่นๆ เช่น นายสุหฤท สยามวาลา นายโฆสิต สุวินิจจิต เป็นต้น

ใน กลุ่มตัวอย่างทาวน์เฮ้าส์ บ้านแฝด ทาวน์โฮม ร้อยละ 44.3 ระบุ พล.ต.อ.พงศพัศ  ในขณะที่ร้อยละ 40.1 ระบุ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ และร้อยละ 7.9 ระบุ  พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ ร้อยละ 7.7 ระบุอื่นๆ เช่น นายสุหฤท สยามวาลา นายโฆสิต  สุวินิจจิต เป็นต้น

ในกลุ่มตัวอย่างแมนชั่น แฟลต อพาร์ตเมนต์ ร้อยละ  39.1 ระบุ พล.ต.อ.พงศพัศ ในขณะที่ร้อยละ 35.3 ระบุ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ และ  ร้อยละ 9.3 ระบุ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ ร้อยละ 16.3 ระบุอื่นๆ เช่น นายสุหฤท  สยามวาลา นายโฆสิต สุวินิจจิต เป็นต้น

ในกลุ่มตัวอย่างตึกแถว  ห้องแถว ร้อยละ 44.7 ระบุ พล.ต.อ.พงศพัศ ในขณะที่ร้อยละ 40.6 ระบุ  ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ และร้อยละ 8.7 ระบุ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ ร้อยละ 6.0  ระบุอื่นๆ เช่น นายสุหฤท สยามวาลา นายโฆสิต สุวินิจจิต เป็นต้น

นอก จากนี้ เมื่อพิจารณาเป็นจุดตัวเลขที่ค้นพบโดยจำแนกตามพื้นที่ที่พักอาศัย  พบว่า พล.ต.อ.พงศพัศ ยังคงมีค่าคะแนนนำในทุกพื้นที่ อย่างไรก็ตาม  การสำรวจในโค้งที่สามนี้ กลับพบความเปลี่ยนแปลงในพื้นที่ชั้นกลาง  และพื้นที่ชั้นนอก โดยพบว่า

ในกลุ่มตัวอย่างพื้นที่ชั้นนอก  กลับมีสัดส่วนใกล้เคียงกันโดย ร้อยละ 41.6 ระบุ พล.ต.อ.พงศพัศ  ในขณะที่ร้อยละ 40.9 ระบุ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ อย่างไรก็ตาม  ในกลุ่มตัวอย่างพื้นที่ชั้นกลาง  กลับมีความห่างของตัวเลขที่ค้นพบอย่างมีนัยสำคัญ ระหว่าง พล.ต.อ.พงศพัศ กับ  ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ คือ ร้อยละ 45.8 ระบุ พล.ต.อ.พงศพัศ ในขณะที่ร้อยละ  33.2 ระบุ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ นอกจากนี้ ในกลุ่มตัวอย่าง พื้นที่ชั้นใน  พบว่า ร้อยละ 43.7 ระบุ พล.ต.อ.พงศพัศ ในขณะที่ร้อยละ 39.9 ระบุ  ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์

ผอ.เอแบคโพลล์ กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้ ค้นพบว่า  มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในการทำสำรวจแต่ละครั้งอยู่เสมอ  จึงเป็นโอกาสให้ผู้สมัครแต่ละท่านได้นำไปประกอบการพิจารณาตัดสินใจปรับปรุง กลยุทธ์ต่างๆ  เพื่อตอบสนองความต้องการการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนในแต่ละช่วง เวลาก่อนวันเลือกตั้ง

อย่างไรก็ตาม  หากพิจารณาตามหลักการทางสถิติจะพบว่า ในการสำรวจโค้งที่สามนี้  พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ  ยังคงรักษาระดับของการได้รับการสนับสนุนจากประชาชนที่ถูกศึกษา  และมีแนวโน้มสูงขึ้นเล็กน้อย มากกว่า ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์  ที่กำลังได้รับการสนับสนุนจากประชาชนที่ถูกศึกษาเพิ่มขึ้นเช่นกัน  แต่ตัวเลขที่ค้นพบก็ “ยังไม่นิ่ง”  ก็อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้หรืออาจไม่เปลี่ยนแปลงก็เป็นไปได้ ดังนั้น  การกำหนดยุทธศาสตร์ของผู้สมัครทุกคนสำคัญที่จะครองใจประชาชนผู้มีสิทธิเลือก ตั้งผู้ว่า กทม. จึงเป็นปัจจัยสำคัญ ในเวลานี้

ดร.นพดล กล่าวต่อว่า  ผู้สมัครที่คิดว่ากำลังได้รับการสนับสนุนจากสาธารณชนอย่างดีคงต้อง  “รักษาระดับยกการ์ดให้สูง”  เน้นย้ำถึงนโยบายที่จะสำเร็จลงได้เพื่อลดปัญหาเดือดร้อนของคนกรุงเทพมหานคร  อย่างแท้จริง นอกจากนี้ แกนนำผู้สนับสนุนทุกคน  ต้องเป็นหนึ่งเดียวกันลงพื้นที่อย่างต่อเนื่อง  และจากการทบทวนข้อมูลการศึกษาวิจัยในอดีตและปัจจุบัน พบว่า  ผู้สมัครที่สามารถเข้าใจถึง “วัฒนธรรมหลัก (Main Culture)” และ  “วัฒนธรรมย่อย (Sub-Culture)  น่าจะทำให้มีโอกาสจะได้รับฐานสนับสนุนเพิ่มขึ้นไปอีกได้

“นโยบายของ ผู้สมัครน่าจะมีนโยบายหลักที่ดูแลคนกรุงเทพมหานครในภาพกว้างเพื่อเข้าถึง วัฒนธรรมหลักของคนกรุงเทพฯ เช่น การทำให้กรุงเทพมหานครปลอดภัย  การทำให้กรุงเทพมหานคร เป็นมหานครแห่งอาเซียน  การทำให้กรุงเทพมหานครต้องเรียบร้อยภายในสี่ปี การดูแลกรุงเทพมหานครตลอด 24  ชั่วโมง และอื่นๆ

ในขณะที่วัฒนธรรมย่อยของคนกรุงเทพฯ  ก็เป็นสิ่งจำเป็นเช่นกัน  เพราะในกรุงเทพมหานครมีความหลากหลายสูงในกลุ่มย่อยต่างๆ เช่น กลุ่มคนพิการ  กลุ่มคนสูงอายุ กลุ่มคนต่างเชื้อชาติ กลุ่มคนย้ายถิ่นจากต่างจังหวัด  และกลุ่มคนที่เกิดกรุงเทพมหานคร เป็นต้น ดังนั้น  การเสนอนโยบายที่จับต้องได้โดนใจประชาชนแล้วต้องไม่ลืม  “มิติด้านวัฒนธรรมของคนกรุงเทพฯ” ด้วยเช่นกัน” ดร.นพดล กล่าว.  






Create Date : 14 กุมภาพันธ์ 2556
Last Update : 14 กุมภาพันธ์ 2556 6:37:47 น. 0 comments
Counter : 688 Pageviews.

amulet108
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 96 คน [?]








Friends' blogs
[Add amulet108's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.