พระเครื่อง : แหล่งข้อมูลบทความพระเครื่อง เครื่องรางของขลัง และวัตถุมงคล
Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2556
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
27 ตุลาคม 2556
 
All Blogs
 

โรงไฟฟ้าจิมาห์มาเลย์ ต้นแบบเชื้อเพลิงถ่านหิน (คอลัมน์ รายงานพิเศษ สุทธิชัย เตียวยืนยง)

โรงไฟฟ้าจิมาห์มาเลย์ ต้นแบบเชื้อเพลิงถ่านหิน

คอลัมน์ รายงานพิเศษ
สุทธิชัย เตียวยืนยง



เมื่อปีที่แล้ว คนไทยใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นเท่ากับเขื่อนภูมิพล 3 เขื่อน หรือ 2,100 เมกะวัตต์ เนื่องจากปี 2554 มีน้ำท่วมใหญ่ โรงงานหยุดผลิตและเริ่มฟื้นตัวในปี 2555 ทำให้มีการผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้นทดแทน

ปัจจุบันประเทศไทยใช้ก๊าซธรรมชาติผลิตไฟฟ้ามากที่สุดถึง 70%

วันนี้การใช้ก๊าซธรรมชาติผลิตไฟฟ้า เริ่มมีความเสี่ยง ข้อมูลขณะนี้ระบุว่า มีพอใช้ อีกแค่ 10 ปี การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จึงต้องเร่งหาแหล่งพลังงานใหม่ที่ผ่านมาพยายามผลักดันโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน แต่มีแรงต้านจากชุมชนในพื้นที่และองค์กรต่างๆ ที่กังวลต่อมาตรฐานความปลอดภัย

ประเด็นนี้จึงเป็นโจทย์ใหญ่ที่ กฟผ.ต้องเร่งแก้ เพื่อพัฒนาการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินให้ครบ 3,200 เมกะวัตต์ภายในปี 2571 ตามแผนพัฒนาให้เกิดความมั่นคง

เมื่อเร็วๆ นี้ กฟผ.ได้นำสื่อมวลชนไป ดูงาน โรงไฟฟ้าถ่านหินจิมาห์ (Jimah) ตั้งอยู่บริเวณช่องแคบมะละกา ในรัฐเนกรี เซมบีลัน ประเทศมาเลเซีย โดยตั้งอยู่ริมหาดทะเล ใกล้ปากแม่น้ำสุไหงเซปัง ที่ตั้งโรงไฟฟ้าเป็นการถมที่ทะเล สาเหตุที่เลือกใช้วิธีนี้เพราะกระทบสิ่งแวดล้อมน้อยและชาวบ้านยอมรับได้ง่ายกว่า

นายเยน แอดนาน บิน โมฮัมหมัด หัวหน้าแผนกด้านความปลอดภัย สังคมและสิ่งแวดล้อม โรงไฟฟ้าถ่านหินจิมาห์ กล่าวว่า โรงไฟฟ้าจิมาห์ถือเป็นโรงไฟฟ้าทันสมัยที่ใช้เทคโนโลยีถ่านหินสะอาด มีกำลังการผลิตไฟฟ้ารวม 1,400 เมกะวัตต์ ใช้ถ่านหินประเภทบิทูมินัสและซับมิทูมินัสเป็นเชื้อเพลิง โดยนำเข้าประมาณ 4.3 ล้านตันต่อปี จากอินโดนีเซีย ออสเตรเลีย และแอฟริกาใต้ ใช้เวลาก่อสร้าง 5 ปี รวมถึงขั้นตอนการทำรายงานผลกระทบด้าน สิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) และเริ่มจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบในปี 2552 ใช้เงินลงทุนรวม 6.1 หมื่นล้านบาท ใช้เป็นเทคโนโลยีทันสมัยที่มีผลกระทบสิ่งแวดล้อมน้อยของญี่ปุ่น

นอกจากนี้ ยังมีเจ๊ตตี้ (ท่อลำเลียง) ยื่นออกจากท่าเทียบเรือไปในทะเลรองรับเรือบรรทุกถ่านหินขนาดใหญ่ที่มีระวางน้ำหนักระหว่าง 35,000-150,000 ตัน พร้อมมีระบบสายพานลำเลียงถ่านแบบปิด เพื่อลำเลียงถ่านหินมายังลานเทกอง ซึ่งจะใช้ สเปรย์น้ำป้องกันการฟุ้งกระจาย โดยมีปริมาณถ่านหินสำรองไว้ใช้ 60 วัน

สําหรับตัวโรงไฟฟ้ามีระบบป้องกันควบคุมมลพิษด้านสิ่งแวดล้อม ทั้งมาตรฐานการผลิตมวลสารทางอากาศ ทั้งไนโตรเจนออกไซด์ ก๊าซซัลเฟอร์ ไดออกไซด์ ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์และฝุ่นละออง รวมทั้งติดตั้งเครื่องกำจัดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (FGD) แบบใช้น้ำทะเลเหมือนกับโรงไฟฟ้าถ่านหินบีแอลซีพีในไทยและเครื่องดักฝุ่นแบบไฟฟ้าสถิต (ESP) เพื่อดักจับขี้เถ้าเบาและฝุ่น



ในอนาคตโรงไฟฟ้าถ่านหินจิมาห์มีแผนขยายกำลังการผลิตเพิ่มเติม โดยถมทะเลออกไปเรียบร้อยแล้ว รอเพียงติดตั้งหน่วยผลิตไฟฟ้าขึ้นมาใหม่ ที่ผ่านมาโครงการโรงไฟฟ้าจิมาห์ ถูกต่อต้านจากชุมชนท้องถิ่น โดยเฉพาะคนทำประมง ทำให้ทางบริษัท Jimah Energy Ventures ต้องลงไปทำความเข้าใจกับชุมชน โดยใช้เวลาศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) 1 ปี

ระหว่างก่อสร้างให้เงินชดเชยแก่ชาวประมงที่ไม่สามารถประกอบอาชีพได้ และได้ตั้งกองทุนดูแลชุมชนและโรงเรียน มีเงินสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ ประมาณ 50,000-100,000 บาทต่อเดือน เปิดโอกาสให้คนในพื้นที่เข้ามาทำงานด้วย

โรงไฟฟ้าจิมาห์แห่งนี้เป็นส่วนหนึ่งของแผนเพิ่มสัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงจากถ่านหินให้ใกล้เคียงกับก๊าซธรรมชาติ ซึ่งปัจจุบันมีราคาสูงควรเก็บบางส่วนไว้ ส่งออก และเพิ่ม สัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินซึ่งมีราคาถูกทดแทน

มีข้อดีคือช่วยกระจายความเสี่ยงด้านเชื้อเพลิง โดยโรงไฟฟ้าจิมาห์ ช่วยลดสัดส่วน การใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรม ชาติจาก 52% ในปี 2554 เหลือ 43% ทั้งนี้ สัดส่วนการใช้ถ่านหินเพิ่มขึ้นของมาเลเซียมาที่ระดับ 45% มากกว่าการใช้ก๊าซธรรมชาติแล้ว

นายธาตรี ริ้วเจริญ ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์การ กฟผ. กล่าวว่า การพัฒนาโรงไฟฟ้าเทคโนโลยีถ่านหินสะอาดในไทย รูปแบบการพัฒนาไม่ต่างจากโรงไฟฟ้าจิมาห์ มีการเลือกใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยไม่ให้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่เรือบรรทุกถ่านหินนำเข้าเทียบท่ายังเจ๊ตตี้ ก็จะใช้เครื่องดูดถ่านหินขึ้นมาผ่านสายพานลำเลียงที่เป็นระบบปิดมิดชิด มายังลานเทกองที่มีหลังคาคลุม ขณะที่โรงไฟฟ้าก็มีอุปกรณ์ดักจับก๊าซซัลเฟอร์ ไดออกไซด์และเครื่องดักฝุ่นแบบไฟฟ้าสถิต เหมือนกับโรงไฟฟ้าจิมาห์

นอกจากนี้ ยังจะต้องทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (อีเอชไอเอ) กองทุนพัฒนาชุมชนรอบพื้นที่โรงไฟฟ้า แต่มีจุดต่างกันตรงที่ตั้งโรงไฟฟ้าจิมาห์นั้นมาจากการถมทะเล

ส่วนโครงการโรงไฟฟ้ากระบี่จะใช้พื้นที่โรงไฟฟ้าเดิม หรือแม้แต่โรงไฟฟ้าถ่านหินอื่นๆ ในภาคใต้ ทางกฟผ.ก็จะไม่เลือกวิธีถมทะเล แต่พร้อมจะชดเชยรายได้ให้กับชุมชนที่ได้รับผลกระทบ

กฟผ.มีความจำเป็นต้องพัฒนาโรงไฟฟ้าใหม่ โดยต้องมองแหล่งเชื้อเพลิงที่ไม่ใช่ก๊าซธรรมชาติ สิ่งสำคัญที่ต้องใช้ถ่านหินเป็น เชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าเพราะเป็นแหล่งพลังงานที่มีอยู่ในโลกอีกมากเกิน 150 ปีขึ้นไป มีราคาต่ำกว่าก๊าซธรรมชาติ และน้ำมัน

ที่สำคัญมีการกำจัดมวลสารที่ไม่ให้มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และไม่มีผลกระทบต่อชุมชน




 

Create Date : 27 ตุลาคม 2556
0 comments
Last Update : 27 ตุลาคม 2556 0:31:39 น.
Counter : 1458 Pageviews.


amulet108
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 96 คน [?]








Friends' blogs
[Add amulet108's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.