พระเครื่อง : แหล่งข้อมูลบทความพระเครื่อง เครื่องรางของขลัง และวัตถุมงคล
Group Blog
 
<<
มกราคม 2557
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
15 มกราคม 2557
 
All Blogs
 

"หุ่นยนต์จิ๋ว"วิศวะลาดกระบัง คว้าแชมป์นานาชาติที่ญี่ปุ่น

"หุ่นยนต์จิ๋ว"วิศวะลาดกระบัง คว้าแชมป์นานาชาติที่ญี่ปุ่น

คอลัมน์ ไอคิวทะลุฟ้า



เยาวชนไทยสร้างชื่ออีกครั้ง เมื่อนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง คว้าแชมป์ชนะเลิศแข่งหุ่นยนต์จิ๋ว 2 รางวัล ทั้งประเภทหุ่นยนต์อัตโนมัติขนาด 1 ลูกบาศก์นิ้ว ทำลายสถิติ และยังคว้ารางวัลชนะเลิศประเภทหุ่นยนต์หลายขา จากเวทีนานาชาติ "International Micro Robot Maze Contest 2013" เมืองนาโกย่า ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งจัดเป็นครั้งที่ 22 เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และเทคโนโลยีใหม่ด้านหุ่นยนต์และเครื่องจักรกลขนาดจิ๋ว โดยมหาวิทยาลัยนาโกย่าเป็นเจ้าภาพจัดแข่งขันทุกปี



ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ เผยว่าในการแข่งขันมีผู้เข้าร่วมจากญี่ปุ่น อินโดนีเซีย ฮาวาย ไต้หวัน เกาหลี ไทย และสหรัฐอเมริกา สำหรับทีมนักศึกษาไทย ภายใต้การดูแลของ ผศ.บุณย์ชนะ พู่ระหงส์ อาจารย์สาขาวิชาวิศวกรรมสารสนเทศ มี 2 ทีม คือ "ทีม E-Twelve (Murasaki)" คว้ารางวัลชนะเลิศ ประเภทหุ่นยนต์อัตโนมัติ สมาชิกทีมประกอบด้วย นายบุรินทร์ ทรัพย์ศิริ นายกีรติ สมอารยพงศ์ นายพิพัฒน์ กล่อมมานพ น.ส.ธมลวรรณ แดงขำ น.ส.วงสวรรค์ ตาลวังโปร่ง และ น.ส.ชนกนาถ มีแก้ว



อีกทีม คือ "ทีม E-Twelve (HTT)" คว้าแชมป์ชนะเลิศ ประเภทหุ่นยนต์หลายขา สมาชิกประกอบด้วย นายสมสิน ทองไกรรัตน์ นายบรรณวิชญ์ ติยะบวรวงศ์ นายภาสกร ไทรศักดิ์สิทธิ์ นายนัทธพงศ์ วัฒนศิริ นายภัทรพงศ์ เธียรเสริมพงศ์ และ นายศุภฤกษ์ แย้มทิม



น้องติงติง น.ส.ธมลวรรณ แดงขำ จากทีม E-Twelve (Murasaki) เล่าว่าการทำงานของโครงสร้างหุ่นยนต์มีขนาดสมดุลกับประสิทธิ ภาพการทำงาน ใช้อุปกรณ์ที่ออกแบบอย่างมีคุณภาพ ให้หุ่นยนต์สามารถทำงานได้เหนือกว่าทีมอื่น ที่สำคัญคิดค้นพัฒนาโปรแกรมที่ดีเยี่ยมทำให้หุ่นยนต์ปฏิบัติงานได้ทันทีโดยไม่ต้องรอการประมวลผล





เพื่อนในทีม ป้อง นายบุรินทร์ ทรัพย์ศิริ เล่าว่าการสร้างหุ่นยนต์ขนาดจิ๋ว 1 ตัว ซึ่งมีพื้นที่จำกัดนับเป็นงานยาก ต้องทดสอบแก้ไขครั้งแล้วครั้งเล่าจนสามารถปฏิบัติงานได้ดีตามที่ต้องการ และมีโอกาสผิดพลาดน้อยที่สุด



ด้าน นัท นายนัทธพงศ์ วัฒนศิริ จากทีม E-Twelve (HTT) เล่าว่าผลงานของหลายประเทศล้วนมีจุดเด่นแตกต่างกัน และน่าสนใจ เช่น ประเทศญี่ปุ่นจะเก่งมากในรายการหุ่นยนต์จิ๋วขนาด 1 ลูกบาศก์เซนติเมตรและเป็นแชมป์ทุกปี ส่วนสหรัฐอเมริกาเก่งด้านหุ่นยนต์ไมโครบังคับมือ ขนาด 1 ลูกบาศก์นิ้ว และยังมีหุ่นยนต์ไร้สาย ขนาด 1 ลูกบาศก์เซนติเมตร ซึ่งเป็นของใหม่ ด้านอินโดนีเซียสร้างหุ่นยนต์ 2 ขา เดินแบบคนได้ ส่วนฮาวายทำหุ่นไมโครที่ทำงานได้ดี สามารถปฏิบัติภารกิจสำเร็จในเวลาที่ดีด้วย ขณะที่เกาหลีอดีตแชมป์ 3 สมัยเก่งเรื่องหุ่นไมโครชนิดบังคับมือขนาด 1 ลูกบาศก์นิ้ว



หนึ่งสมาชิกของทีม บอส นายบรรณวิชญ์ ติยะบวรวงศ์ เล่าว่าการสร้างหุ่นยนต์จิ๋ว 1 ตัวเป็นงานท้าทายมาก เพราะส่วนประกอบแต่ละชิ้นมีขนาดเล็กมาก วัสดุบางชิ้นหายากในประเทศไทย ต้องนำสิ่งที่มีอยู่มาดัดแปลง บางชิ้นส่วนต้องสั่งจากต่างประเทศ แม้จะยากแต่สิ่งที่ได้กลับมาคุ้มค่ามากกว่ารางวัลที่ได้รับคือประสบการณ์ชีวิต



"ในการแข่งขันทุกทีมได้แลกเปลี่ยนความรู้และความคิดอย่างไม่มีขีดจำกัด ในอนาคตคาดว่าจะมีการพัฒนาเทคโนโลยีก้าวไกลไปอย่างรวดเร็ว และพวกเราจะเป็นกำลังสำคัญในอนาคต เพราะนักศึกษาไทยก็ไม่แพ้ชาติใดในโลก ดูได้จากรางวัลชนะเลิศที่ได้รับมาถึง 2 รางวัล"




 

Create Date : 15 มกราคม 2557
0 comments
Last Update : 15 มกราคม 2557 4:21:01 น.
Counter : 1283 Pageviews.


amulet108
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 96 คน [?]








Friends' blogs
[Add amulet108's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.