space
space
space
 
สิงหาคม 2559
 
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
space
space
17 สิงหาคม 2559
space
space
space

ความปลอดภัยการใช้รถ Forklift




คู่มือความปลอดภัยการใช้รถ Forklift


ขับรถยกต้องเป็นผู้ที่ได้รับอนุญาตและผ่านการอบรมอย่างถูกต้องเท่านั้น


ก่อนเริ่มงานควรตรวจสภาพของรถและในกรณีพบความเสียหายให้แจ้งหัวหน้างานทันที


คาดเข็มขัดนิรภัยทุกครั้งขณะที่ขับรถ


ก่อนที่จะทำการสตาร์ทเครื่องต้องดึงเบรคมือ และปลดเกียร์ว่างเสียก่อน


ต้องปฎิบัติตามกฎจราจรในการขับขี่ แล้ใช้อัตราความเร็วที่ดรงงานนั้น ๆ กำหนดไว้


อย่าออกรถหรือหยุดรถทันทีทันใด


ต้องขับรถทิ้งระยะห่างจากคันหน้าในระยะที่ปลอดภัย


เวลาขับรถสวนกันต้องเผื่อระยะห่างระหว่างรถให้เพียงพอ


ก่อนขับรถลอดผ่านที่ใด ๆ ผู้ขับต้องแน่ใจว่าสามารถขับลอดผ่านได้อย่างปลอดภัย


เพื่อความปลอดภัยก่อนเลี้ยว ถึงทางแยกหรือถอยหลังต้องให้สัญญาณแตรทุกครั้ง


เมื่อขับรถยกขึ้นเนินโดยมีของบรรทุกอยู่ ให้ขับรถไปข้างหน้า ในกรณีที่มองข้างหน้า ไม่เห็นเนื่องจากของที่บรรทุกบังสายตาคนขับต้องมีเจ้าหน้าที่คอยบอกทางอยู่ด้านหน้าเสมอ


เมื่อขับรถยกลงเนินโดยมีของบรรทุกอยู่ ให้ขับรถถอยหลัง เมื่อลงเนินเสมอ


การขับรถยกข้ามทางรถไฟต้องไปช้า ๆ เป็นแนวแทยง


ขับรถช้า ๆ เมื่อผ่านทางที่เปียกลื่น


ขณะขับรถอย่ายื่นมือ หรือเท้าออกไปเกินส่วนที่เป็นเสาของรถ


ห้ามขับรถยกในขณะที่มีอาการง่วง มึนงงหรืออยู่ในอาการเมา


ห้ามยกงาสูงค้างไว้ในกรณีวิ่งรถเปล่า


ควรมีแผ่นป้ายบอกเตือนความปลอดภัยในแต่ละจุด


เลือกใช้ Pallet ให้เหมาะสมกับของที่จะยก


ตั้งระยะความกว้างของงาให้เหมาะสม


ต้องมั่นใจว่าวัสดุสิ่งของที่บรรทุกอยู่บน Pallet ที่ปลอดภัยและบรรทุกอยู่ในสภาพที่มั่นคง ก่อนขับเคลื่อนรถยก


เมื่อบรรทุกของและนำรถออกอย่าวิ่งยกงาสูงควรให้ระดับงาสูงจากพื้นผิวประมาณ 8 นิ้ว


อย่ายกของที่บรรทุกไว้สูงขณะที่รถยกวิ่งผ่านพื้นที่ลาดเอียงต่างระดับ


ห้ามยกของหรือขับรถยกโดยการเอียงงาไปทางด้านหน้ารถ


ห้ามใช้รถยกดันวัสดุสิ่งของ


ในขณะที่ยกของขึ้นหรือลงควรทำอย่างระวังเพื่อป้องกันการเสียหายและอันตรายที่จะเกิดขึ้น


ห้ามยกของถ้ารถยกไม่อยู่บนพื้นระดับเพราะจะทำให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นได้


ห้ามบรรทุกของสูงหรือมีน้ำหนักของเกินอัตรากำลังของรถ ตามรุ่นที่ระบุไว้


ถ้าของบรรทุกมีขนาดใหญ่ไม่สามารถมองเห็นข้างหน้าได้ควรขับรถถอยหลัง


ห้ามมิให้ผู้ใดยืน หรือเดินผ่านใต้เงารถยก


ใช้ตะแกรงกั้นของและหลังคานิรภัยสำหรับการใช้งานยกของสูง ๆ


หลีกเลี่ยงการที่จะทำให้เสียการทรงตัว


ระวังท้ายปัด


ห้ามใช้รถยกแทนลิฟท์


ห้ามใช้รถยกขับแข่งขัน


ห้ามใช้รถยกเป็นรถรับส่งผู้โดยสาร


ขณะจอดอยู่กับที่ ต้องลดงาลงวางติดกับพื้นก่อนทุกครั้ง


ห้ามสูบบุหรี่ และต้องดับเครื่องยนต์ทุกครั้งที่มีการเติมน้ำมัน


ตรวจตรารถยกเมื่อเลิกงาน


ไฟส่องสว่างและไฟสัญญาณต่าง ๆ ต้องอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้


เรียนรู้เกี่ยวกับรถยกให้มากที่สุดและท่านจะสะดวกใจ

ประเภทรถยก

ประเภทรถยก

การแบ่งประเภทรถยก ตามมาตรฐานโดยทั่วไปจะใช้ลักษณะของการใช้งานและลักษณะของต้นกำลังเป็นตัวกำหนดประเภทของรถยก สามารถแบ่งออกได้ 2 ลักษณะ คือ

1.
แบ่งตามลักษณะการใช้งาน สามารถแบ่งได้ 2 ประเภท คือ

1.1 ประเภทยืนขับ (REACH TRUCK)

ส่วนใหญ่จะเป็นรถยกไฟฟ้า เหมาะสำหรับการใช้งานในพื้นที่เรียบ แคบหรือชั้นเก็บของสูง ความสามารถในการยกน้ำหนักได้น้อย ส่วนมากจะไม่เกิน 2,000 กก.

1.2
ประเภทนั่งขับ (COUNTER BALANCED)

เป็นรถยกที่ถูกออกแบบมาให้ใช้กับงานบรรทุกของหนัก ตั้งแต่ขนาดบรรทุก 4,000 กก. แต่จะยกได้ไม่สูงมากนัก คือจะน้อยกว่าประเภท REACH TRUCK เหมาะกับพื้นที่กว้าง ๆ และไม่เรียบนัก

2. แบ่งตามลักษณะของต้นกำลัง

2.1 BATTERY FORKLIFT คือ รถยกที่ใช้มอเตอร์ไฟฟ้าเป็นต้นกำลัง โดยมอเตอร์ไฟฟ้าจะใช้กระแสไฟฟ้าเป็นพลังงานขับเคลื่อนมอเตอร์ สถานที่โล่งแจ้ง อากาศถ่ายเทสะดวก สถานที่ทำงานอยู่ห่างไกลชุมชน

ENGINE FORKLIFT ยังมีข้อพิจารณาการเลือกใช้เลือกซื้อให้เหมาะสมกับงานและสถานที่ คือระบบส่งกำลังซึ่งมี 2 แบบ คือ

- แบบใช้คลัทซ์ (CLUTCH DISC)

- แบบใช้ทอร์ค คอนเวอร์เตอร์ (TORG CONVERTER)

ความหมายของโค๊ตรถยก

เพื่อประโยชน์ในการเก็บข้อมูลและทำประวัติตลอดจนการซ่อมแซมบำรุงรถยก รวมทั้งการจัดซื้ออะไหล่ต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง จึงควรรู้ความหมายของโค๊ตรถยกดังต่อไปนี้ คือ

V45 ความสูงของเสา

30 ความสามารถในการยกวัสดุสิ่งของ 3 ตัน

FD รถยกประเภทเครื่องยนต์ดีเซล (Diesel)

FG เครื่องยนต์เบนซิน (Gasoline)

FB ใช้แบตเตอรี่เป็นพลังงาน (Electric)

ความสามารถในการยกวัสดุสิ่งของ

10 ขนาด 1 ตัน

15 ขนาด 1.5 ตัน

20 ขนาด 2 ตัน

25 ขนาด 2.5 ตัน

30 ขนาด 3 ตัน

ความสูงของเสา

V30 สูง 3 เมตร

V45 สูง 4.5 เมตร

การบำรุงรักษาประจำวัน

ก่อนติดเครื่อง
1.
ตรวจดูความสะอาดภายนอก
2.
ตรวจระดับน้ำในหม้อน้ำและหม้อพักน้ำ
3.
ตรวจระดับน้ำมันเครื่อง
4.
ตรวจดูระดับน้ำมันเชื้อเพลิง
5.
ตรวจดูระดับน้ำมันเกียร์อัตโนมัติ
6.
ตรวจระดับน้ำมันไฮโดรลิค
7.
ตรวจระดับน้ำมันเกียร์พวงมาลัย
8.
ตรวจดูระดับน้ำมันเบรค
9.
ตรวจระดับน้ำกลั่นแบตเตอรี่
10.
ตรวจความตึงของสายพานเครื่องยนต์
11.
ตรวจการทำงานของเบรคมือและขาเบรค
12.
ตรวจระบบสัญญาณไฟเลี้ยว ไฟถอยหลัง ไฟส่องสว่างและสัญญาณแตร
13.
ตรวจสภาพความตึงของโซ่ยกของ
14.
ตรวจสภาพยาง
15.
ตรวจวัดลมยางและเติมให้ได้แรงดันตามที่กำหนดไว้
16.
ตรวจรอยรั่วซึมตามจุดต่าง ๆ

หลังติดเครื่อง
1.
ตรวจเช็คว่ามีเสียงดังผิดปกติจากเครื่องยนตืหรือไม่
2.
ตรวจดูไฟที่หน้าปัดดับหมดหรือไม่
3.
ตรวจระยะฟรีของพวงมาลัยและการบังคับเลี้ยว
4.
ตรวจการทำงานของชุดควบคุมอุปกรณ์ยกงาว่าทำงานเรียบร้อยหรือไม่

หลังการใช้งาน
ขณะเครื่องยนต์ยังติดอยู่
1.
จอดรถในสถานที่จอดรถกำหนดไว้
2.
ลดงาของรถให้อยู่ในแนวราบกับพื้นโรงงาน
3.
ล็อคเบรคมือให้เรียบร้อย
4.
หล่อลื่นตามจุดต่าง ๆ ให้เรียบร้อย เช่น โซ่ยกของ ชุดแผ่นทองเหลืองหลังเสา
5.
ตรวจเช็คดูการรั่วซ฿มจากการใช้งาน เช่น น้ำมันไฮโดรลิค น้ำมันเกียร์ น้ำมันเครื่อง และน้ำในหม้อน้ำ
6.
ตรวจเช็คฟังเสียงว่ามีเสียงอะไรผิดปกติหรือไม่
7.
หลังจากการใช้งาน ควรปล่อยให้เครื่องยนต์เดินเบาในตำแหน่งเกียร์ว่างประมาณ 3 นาที จึงค่อยดับเครื่องยนต์

หลังดับเครื่องยนต์
1.
เติมน้ำมันให้เต็มถังเพื่อพร้อมการใช้งานในวันต่อไป
2.
ปลดเกียร์ว่างไว้เสมอ และดึงลูกกุญแจรถออกเก็บยังที่เก็บ

โครงสร้างรถยก

รถยก (FORKLIFT TRUCK) เป็นรถบรรทุกประเภทหนึ่ง ที่ใช้เคลื่อนย้ายวัสดุสิ่งของจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง โดยได้ติดตั้งอุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพการใช้งาน งานในโรงงานหรือในบริเวณพื้นที่แคบ ๆ จุดประสงค์หลักก็คือ ยกวัสดุสิ่งของขึ้นสูงไม่เหมาะกับการเคลื่อนย้ายเป็นระยะทางไกล ๆ ซึ่งผู้ใช้งานหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง จำเป็นต้องเรียนรู้ลักษณะหน้าที่ของโครงสร้างและส่วนประกอบที่สำคัญของรถยก ดังนี้

1. โครงรถ (FRAME)
เป็นอุปกรณ์หลัก ใช้เป็นที่ติดตั้งอุปกรณ์ต่าง ๆ ของรถยกซึ่งทำมาจากเหล็กพับขึ้นรูป มีความหนาประมาณ 1 - 2 มิลลิเมตร

2. เสา (MAST)
คือ รางเลื่อนสำหรับให้งา (FORK) เลื่อนขึ้นลงเป็นที่ติดตั้งระบบไฮโดรลิค และโซ่ที่ใช้สำหรับยกของ เสารางเลื่อนได้ถูกแบ่งเป็นตอน โดยปกติแล้วเสารางเลื่อนของรถยกทั่ว ๆ ไปจะมี 2 ตอน แต่บางครั้งเพื่อความเหมาะสมกับลักษณะของงานบางประเภทแล้วจึงออกแบบให้มี 3 ตอนเช่น งานบรรทุกของเข้าตู้คอนเทนเนอร์ เป็นต้น

3. โซ่ (CHAIN)
ทำหน้าที่ยกน้ำหนักของวัสดุสิ่งของให้เลื่อนขึ้นลงตามเสา โดยปกติจะมี 2 เส้นหรือ 4 เส้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจำนวนเสา

4. งา (FORK)
ทำหน้าที่รับน้ำหนักของวัสดุสิ่งของที่จะยก เป็นอุปกรณ์ที่ทำมาจากเหล็กหล่อชนิดพิเศษใช้สอดเข้าไปเพื่อการบรรทุกวัสดุสิ่งของต่าง ๆ นอกจากนี้ยังสามารถถอดเปลี่ยนเป็นแบบอื่น ๆ ได้ขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งานของแต่ละประเภท

5. ล้อหน้า (FRONT WHEEL)
โดยลักษณะของการใช้งานแล้วล้อหน้าจะทำหน้าที่รับน้ำหนักบรรทุกทั้งหมด รับน้ำหนักของตัวรถ และยังเป็นล้อที่ต้องออกกำลังขับเคลื่อนรวมทั้งเบรคอีกด้วย ดังนั้นล้อหน้าจึงถูกออกแบบให้มีขนาดใหญ่กว่าล้อหลัง

6. ล้อหลัง (REAR WHEEL)
มีหน้าที่หลักเพื่อการบังคับเลี้ยว และจะมีขนาดเล็กกว่าล้อหน้าเพื่อความสะดวกในการบังคับเลี้ยว

7. แผงกั้น (BACKREST)
ทำหน้าที่เป็นแผงกั้นวัสดุสิ่งของเวลายกสูง เป็นที่พิงของวัสดุสิ่งของเวลายกทำให้ไม่ตกหล่น

8. หลังคา (OVERHEAD GUARD)
เป็นอุปกรณ์มาตราฐานมีหน้าที่ป้องกันอันตรายให้กับผู้ขับขี่ และป้องกันไม่ให้สัมภาระที่ยกตกลงใส่ผู้ขับขี่ในขณะที่ยกวัสดุสิ่งของขึ้นสูง ๆ

9. ฝาครอบเครื่องยนต์ (ENGINE HOOD)
เป็นอุปกรณ์ช่วยป้องกันความร้อนตลอดจนเก็บเสียงเครื่องยนต์ และยังเป็นที่สำหรับติดตั้งเก้าอี้ที่นั่งคนขับ

10. น้ำหนักถ่วงท้ายรถ (COUNTER WEIGHT)
ทำหน้าที่ถ่วงน้ำหนักของการบรรทุกด้านท้ายรถ เพื่อไม่ให้ท้ายรถกระดกในขณะบรรทุกวัสดุสิ่งของต่าง ๆ




Create Date : 17 สิงหาคม 2559
Last Update : 17 สิงหาคม 2559 16:44:19 น. 0 comments
Counter : 4934 Pageviews.

สมาชิกหมายเลข 3364737
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 3364737's blog to your web]
space
space
space
space
space