space
space
space
 
สิงหาคม 2559
 
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
space
space
17 สิงหาคม 2559
space
space
space

ความรู้เรื่องอัคคีภัย





หลักการป้องกัน และระงับอัคคีภัย

1. กำจัดสาเหตุ                   2. คุมเขตลุกลาม                        3. ลดความสูญเสีย

การป้องกันไฟ คือ การกำจัดองค์ประกอบของไฟ และการดับไฟ คือ การกำจัดองค์ประกอบของไฟเช่นกัน
องค์ประกอบของไฟ  ซึ่งประกอบด้วย 3 อย่างคือ
1. อากาศที่มี ออกซิเจนไม่ต่ำกว่า 16%   

       2. เชื้อเพลิง ส่วนที่เป็นไอ     

       3. ความร้อนเพียงพอที่จะทำให้เกิดการลุกไหม้


วิธีการดับไฟมี 3 วิธีด้วยกัน คือ 

1.ทำให้อากาศขาดออกซิเจน 2.ตัดเชื้อเพลิง และ 3.ลดความร้อน


ประเภทของไฟ  มี 4 ประเภท

ไฟประเภท A คือไฟที่เกิดจากเชื้อเพลิงที่มีลักษณะเป็นของแข็ง เช่น ฟืน ฟาง ยาง ไม้ ฝ้า กระดาษ พลาสติก รวมทั้งตัวเราเอง

วิธีการดับที่ดีที่สุดคือ การลดความร้อน (ใช้น้ำ)

ไฟประเภท B คือไฟที่เกิดจากเชื้อเพลิงที่มีลักษณะเป็นของเหลวและก๊าซ เช่น น้ำมันทุกชนิด แอลกอฮอล์ ทินเนอร์ ยางมะตอยและก๊าซติดไฟ

วิธีการดับที่ดีที่สุดคือ การทำให้อับอากาศ โดยคลุมดับ,ใช้ผงเคมี,โฟม

ไฟประเภท C คือไฟที่เกิดจากเชื้อเพลิงที่มีลักษณะเป็นของแข็งที่มีกระแสไฟฟ้าไหลอยู่ เช่น อุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิด การอาร์ค การสปาร์ค

วิธีการดับที่ดีที่สุดคือ ตัดกระแสไฟฟ้าแล้วจึงใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไล่ออกซิเจน

ไฟประเภท D คือไฟที่เกิดจากเชื้อเพลิงที่มีลักษณะเป็นโลหะและสารเคมีติดไฟ เช่น วัตถุระเบิด,ปุ๋ยยูเรีย(แอมโมเนียมไนเตรด) ผงแมกนิเซียม,ผงอลูมิเนียม

วิธีการดับดีที่สุดคือ การทำให้อับอากาศขาดออกซิเจน


ประเภทของถังดับเพลิง

1. ชนิดผงเคมีแห้ง (Dry Chemical)  สามารถดับไฟได้เกือบทุกประเภท A B C ยกเว้น CLASS  K  ราคาถูก  หาซื้อง่าย แต่มีข้อเสียคือเมื่อฉีดออกมาจะฟุ้งกระจาย และเมื่อเราทำการฉีดแล้ว จะฉีดจนหมดหรือไม่หมดถัง แรงดันจะตก ไม่สามารถใช้งานได้อีก ต้องส่งบรรจุใหม่
ถังสีแดง

2. ชนิดเคมีสูตรน้ำ หรือ Low Pressure Water Mist สารเคมีจะเป็นน้ำยาชื่อว่า “ABFFC” ที่ใช้สำหรับการดับไฟได้ดี ไม่เป็นสื่อนำไฟฟ้า สามารถดับไฟได้ทุกประเภท A B C และ K ราคากลางๆ แต่จะแพงกว่าถังชนิดเคมีแห้ง เหมาะกับใช้ในบ้าน เนื่องจากสามารถดับไฟที่เกิดจากน้ำมันทอดในครัวเรือนได้ และหากมีการใช้งานแล้ว ฉีดสารเคมีไม่หมด ยังสามารถใช้ต่อจนหมดได้
ถังมีหลายสี แล้วแต่ผู้จำหน่าย ได้แก่ สีฟ้า  แสตนเลส  หรือบางรายใช้สีเขียว


3. ชนิดสารสารสะอาด หรือ ฮาโลตรอนวัน  สารเคมีภายในบรรจุก๊าซ Halotron-1 เมื่อฉีดแล้วจะระเหยไปเอง ไม่ทิ้งคราบสกปรก สามารถดับไฟได้ทุกประเภท A B C เหมาะสำหรับการใช้งานในห้องคอมพิวเตอร์ คลีนรูม ไลน์การผลิต ห้องไฟฟ้า ห้องเก็บอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากสารเคมีชนิดนี้ค่อนข้างผูกขาดครับ จึงทำให้ถังมีราคาสูง และมีผู้แทนจำหน่ายน้อยรายในประเทศไทย  อีกทั้งในตลาดที่วางขายกันส่วนใหญ่เป็นสารเคมีเทียบเคียงครับ ไม่ใช่ฮาโลตรอนวัน ดังนั้นประสิทธิภาพการดับไฟอาจจะสู้สารแท้ไม่ได้ครับ
ถังสีเขียว

4. ชนิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) สารเคมีภายในบรรจุก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซที่ฉีดออกมาจะเป็นไอเย็นจัด คล้ายน้ำแข็งแห้ง ลดความร้อนของไฟได้ ไม่ทิ้งคราบสกปรก สามารถดับไฟได้ประเภท B C เหมาะสำหรับการใช้งานในห้องเครื่องจักร  Line การผลิต  อุตสาหกรรมอาหาร
ถังสีแดง ปลายกระบอกฉีดจะใหญ่ๆ

5. ชนิดโฟม สารเคมีภายในบรรจุโฟม เมื่อฉีดออกมาจะเป็นฟองโฟมคลุมผิวเชื้อเพลิงที่ลุกไหม้ จึงสามารถดับไฟได้ประเภท A B แต่ไม่สามารถนำไปดับไฟประเภท C ได้เพราะเป็นสื่อนำไฟฟ้า  เหมาะสำหรับภาคอุตสาหกรรม ดับเชื้อเพลิงประเภททินเนอร์ และสารระเหยติดไฟ
ถังแสตนเลส

วิธีการใช้ถังดับเพลิง
1.    เข้าไปทางเหนือลมโดยห่างจากฐานของไฟประมาณ  2 - 3  เมตร
2.    ดึงสลักหรือลวดที่รั้งวาล์วออก
3.    ยกหัวฉีดปากกลวยชี้ไปที่ฐานของไฟ  ( ทำมุมประมาณ  45  องศา )
4.    บีบไกเพื่อเปิดวาล์วให้ก๊าซพุ่งออกมา
5.    ให้ฉีดไปตามทางยาว  และกราดหัวฉีดไปช้า ๆ
6.    ดับให้สนิทจนแน่ใจแล้ว จึงฉีดต่อไปข้างหน้า
ในกรณีที่เกิดเพลิงไหม้วางอยู่ในระดับต่างกัน  ให้ฉีดจากข้างล่างไปหาข้างบน  และถ้าน้ำมันรั่วไหลให้ฉีดจากปลายทางที่รั่วไหลไปยังจุดที่รั่วไหล  และเหตุเพลิงไหม้ที่เกิดจากอุปกรณ์ไฟฟ้า ที่มีกระแสไฟฟ้าไหลอยู่  ต้องรีบตัดกระแสไฟฟ้าก่อน  เพื่อป้องกันมิให้เกิดการลุกไหม้ขึ้นมาอีกได้

วิธีการตรวจสอบถังดับเพลิง
1. ดูที่เข็มในมาตรวัด (Pressure Gauge) ของถังดับเพลิง เครื่องดับเพลิงที่อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานได้ เข็มจะชี้ที่ช่องสีเขียว ( สังเกตตามรูป ) แต่ถ้าเข็มเอียงมาทางซ้ายแสดงว่าแรงดันไม่มี ต้องรีบนำไปเติมแรงดันทันที ซึ่งควรตรวจสอบเป็นประจำทุกเดือน

2.    ตรวจ สายฉีด หัวฉีด อย่าให้มีผงอุดตัน  เป็นประจำทุกเดือน
3.    ถ้าไฟไหม้ หรือกระทบกระเทือนอย่างรุนแรง ให้ส่งไปตรวจสอบและบรรจุใหม่
4.    สภาพบรรจุของถังดับเพลิงต้องไม่บุบ หรือบวม และไม่ขึ้นสนิม
5.    อายุการใช้งาน ถังดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้ง (ถังสีแดง) มีอายุประมาณ 5 ปี  ชนิดฮาโลตรอนวัน (ถังสีเขียว) และชนิดก๊าซ CO2 มีอายุประมาณ 10 ปี
6.    ถังดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้ง (ถังสีแดง) หากมีการใช้งานแล้ว ต้องนำไปเติมสารเคมีใหม่ทุกครั้ง






 

Create Date : 17 สิงหาคม 2559
0 comments
Last Update : 17 สิงหาคม 2559 18:02:09 น.
Counter : 3651 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะ VIP Friend
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

space

สมาชิกหมายเลข 3364737
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 3364737's blog to your web]
space
space
space
space
space