Group Blog
 
 
พฤศจิกายน 2558
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
 
30 พฤศจิกายน 2558
 
All Blogs
 

ชี้แจงเรื่องประกันผู้สูงอายุ

 ความจริงเรื่อง ประกันผู้สูงอายุ

ในระยะนี้ มีการแชร์ข้อมูลเกี่ยวกับการประกันผู้สูงอายุหรือสูงวัย ทางโซเชียลมีเดียกันมาก ผู้เขียนที่ตั้งใจส่งเรื่องมาให้อ่าน ดูเหมือนจะหวังดี ต้องการตักเตือนให้ระวังเงื่อนไขของกรมธรรม์ที่ซับซ้อน เมื่อผมได้อ่านดูแล้ว พบว่าไม่ได้เขียนจากผู้ที่รู้จริง แต่ใช้วิธีจับแพะมาชนแกะ แทนที่จะสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง กลับสร้างความเข้าใจที่ผิดๆ ในฐานะคนที่คลุกคลีอยู่ในธุรกิจประกันชีวิตมา 30 ปี ได้ทำงานเป็นกรรมการฝ่ายวิชาการขององค์กรต่างๆในธุรกิจประกันชีวิตทั้งภาครัฐและเอกชน ใคร่ถือโอกาสนี้สร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง ระหว่างการทำประกันชีวิตผู้สูงวัยกับการทำประกันชีวิตแบบทั่วไป ดังนี้

ทั่วไป เปิดขายให้คนอายุแรกเกิดถึงอายุ 70 ปี
สูงวัย ขายเฉพาะคนอายุ 50-70 ปี
ทั่วไป คุ้มครองชีวิต การพิการ สุขภาพและชดเชยรายได้
สูงวัย คุ้มครองเฉพาะการเสียชีวิต
ทั่วไป ไม่จำกัดวงเงินเอาประกันชีวิต
สูงวัย จำกัดวงเงินทุนประกันไม่เกิน 200,000-500,000 บาท(ขึ้นกับแต่ละบริษัท) ทั่วไป ส่วนใหญ่ขายผ่านตัวแทนประกันชีวิตหรือธนาคาร
สูงวัย ส่วนใหญ่ขายทางโทรศัพท์ ผ่านคอลล์ เซ็นเตอร์
ทั่วไป การสมัครมีขั้นตอนการกรอกเอกสาร สอบถามข้อมูลจำนวนมาก มีการลงนามเป็นหลักฐาน และจ่ายเงินกับคนที่เสนอขายโดยตรง
สูงวัย การสมัครทำได้ง่าย เพียงโทรศัพท์ไปขอซื้อ โดยเจ้าหน้าที่จะอัดเทปไว้เป็นหลักฐาน(ว่าคุยอะไรกันไว้) แล้วให้คนซื้อไปจ่ายเงินเองที่ร้านสะดวกซื้อหรือธนาคาร
ทั่วไป อาจตรวจสุขภาพโดยแพทย์หรือไม่ต้องตรวจ แต่ต้องแถลง(ตอบคำถาม)เรื่องสุขภาพ (ถ้าเคยมีประวัติสุขภาพมาก่อน จะถูกเรียกให้ตรวจ)
สูงวัย ไม่ต้องตรวจสุขภาพหรือตอบคำถามสุขภาพใดๆเลย
ทั่วไป หากพบว่าลูกค้ากำลังป่วยด้วยโรคร้ายแรง บริษัทจะปฏิเสธไม่รับประกัน
สูงวัย รับทุกราย ไม่ว่ากำลังป่วยด้วยโรคมะเร็ง ตับแข็ง ไตวาย ฯลฯ (เป็นลักษณะเฉพาะของแบบนี้)
ทั่วไป คุ้มครองชีวิตจากเจ็บป่วยและอุบัติเหตุ ตั้งแต่วันแรกที่สมัครตามทุนประกัน
สูงวัย เสียชีวิตจากอุบัติเหตุ คุ้มครองตั้งแต่วันแรก แต่เจ็บป่วยต้องมีระยะรอคอย 2 ปี (เงื่อนไขนี้ เจ้าหน้าที่จะถูกบังคับให้ต้องบอกลูกค้าทุกราย และต้องมีการอัดเทปไว้ยืนยัน)
ทั่วไป ปกปิดข้อเท็จจริงเรื่องสุขภาพ(โรคที่ระบุในใบสมัคร) หากเสียชีวิตใน 2 ปีแรกไม่ว่าจากสาเหตุใด บริษัทมีสิทธิ์บอกล้างสัญญา แต่ถ้าเลย 2 ปี บริษัทต้องจ่ายทุกกรณี (ยกเว้นถูกผู้รับประโยชน์ฆ่าโดยเจตนา)
สูงวัย ไม่มีเงื่อนไขเรื่องปกปิดเรื่องสุขภาพ(เพราะไม่ถามตั้งแต่แรก) เสียชีวิตจากเจ็บป่วยใน 2 ปีแรก จ่ายคืนเบี้ยประกันพร้อมดอกเบี้ย 2-5%(ขึ้นกับแบบของแต่ละบริษัท) เสียชีวิตหลัง 2 ปี ชดเชยเต็มทุนประกัน
ทั่วไป มีสิทธิ์ยกเลิกกรมธรรม์ได้ใน 15 วัน หลังได้รับกรมธรรม์ (ที่เรียกว่า Free look คือให้อ่านสัญญาว่าตรงกับที่คุยกันไว้หรือไม่)
สูงวัย ให้สิทธิ์ยกเลิกกรมธรรม์ใน 30 วัน นับจากวันที่ได้รับกรมธรรม์
ทั่วไป โฆษณาที่ผ่านโทรทัศน์ วิทยุ มักเน้นในเรื่องภาพลักษณ์บริษัทหรือ เน้นความรักต่อคนในครอบครัว
สูงวัย มักโฆษณาผ่านโทรทัศน์ โดยเน้นว่าสำหรับผู้สูงอายุ และไม่ต้องตอบคำถามสุขภาพใดๆ

จากข้อมูลข้างต้น พวกเราจะเห็นได้ว่า การแชร์ข้อมูลว่า “ตอนซื้อประกัน บอกไม่ต้องตรวจสุขภาพ แต่พอเข้ารักษาในรพ. กลับไม่จ่าย หาว่าเป็นเบาหวานมาก่อน” หรือ “พอตายกลับขอบอกล้าง(ยกเลิก)สัญญา หาว่าเคยเป็นโรคร้ายแรงมาก่อน” กรณีข้างต้นล้วนแต่ไม่ใช่แบบประกันผู้สูงวัย เพราะประกันผู้สูงวัยไม่คุ้มครองสุขภาพ และถ้าเกิดตายจากเจ็บป่วยใน 2 ปีแรก บริษัทจะจ่ายดอกเบี้ย 2-5% พร้อมคืนเบี้ยประกันที่จ่ายมา แต่ถ้าเลย 2 ปี จะจ่ายเต็มทุนประกัน คืออย่างไรเสีย บริษัทก็ต้องจ่าย ไม่มีการบอกล้างสัญญา

ผมไม่เถียงว่า ทุกวันนี้ ยังมีตัวแทนประกันชีวิตแกะดำ ที่ชักชวนให้ลูกค้าซื้อประกันชีวิตแบบทั่วไป แล้วให้ปกปิดประวัติสุขภาพเอาไว้ เราในฐานะผู้บริโภค ต้องรู้เท่าทันว่า นั่นคือการร่วมกันทุจริต เราจะอ้างว่าเราไม่รู้กฎหมายไม่ได้ โรคใดที่มีระบุไว้ในใบสมัคร (ของแบบประกันทั่วไป) เราต้องตอบคำถามตามความเป็นจริง แต่ก็ไม่วายที่จะมีผู้เสียหายเกิดขึ้นเป็นระยะๆ แต่เมื่อเทียบกับจำนวนกรมธรรม์ที่มีอยู่ในปัจจุบัน 20 ล้านกรมธรรม์ ก็ถือว่าเป็นตัวเลขส่วนน้อย จะทำให้ไม่มีเลย ก็คงยาก คงต้องช่วยๆกันกำจัดตัวแทนแกะดำเหล่านี้ โดยการร้องเรียนต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย(คปภ.)ให้เพิกถอนใบอนุญาตแกะดำเหล่านี้ให้หมดไป

ท้ายที่สุดนี้ ผมไม่ได้สรุปว่า ประกันผู้สูงวัยนี้ดีที่สุด แต่อย่างน้อยมันก็เป็นทางออกสำหรับคนแก่บางคนที่ป่วยอยู่และกังวลว่า ตายไปจะเป็นภาระให้ลูกหลาน ครั้นจะไปซื้อประกันชีวิตแบบทั่วไป เขาก็ไม่รับ อย่างน้อยก็มีทางเลือกนี้เหลืออยู่ แต่ต้องยอมรับว่ามันไม่เหมือนกรมธรรม์ทั่วไปที่มีระยะรอคอย 2 ปีสำหรับการเสียชีวิตจากเจ็บป่วย บางครั้งพวกเราก็นึกภาพไม่ออกหรอก ว่าความกังวลของคนแก่เป็นอย่างไร ดังนั้น ถ้าทางออกของเขามีน้อยนิดอยู่แล้ว ก็อย่าไปยืนขวางทางเขาเลย ถ้าหากว่าเราไม่มีทางออกที่ดีกว่าให้เขา

อย่างไรก็ตาม การที่มีผู้แชร์เรื่องต่างๆเหล่านี้ ก็มีข้อดี ทำให้คนตื่นตัว เรียนรู้เรื่องประกันชีวิตมากขึ้น พวกฝรั่ง เขามีการใส่เนื้อหาเรื่องประกันชีวิตไว้ ในหลักสูตรตั้งแต่ชั้นประถม ทำให้ทุกคนตื่นตัว ถึงขนาดว่าพอทุกคนเรียนจบ ต้องซื้อประกันชีวิตกันทันทีที่มีรายได้ แต่สำหรับเมืองไทยเรา ต้องใช้วิธีลองผิดลองถูก ฟังคนโน้นที คนนี้ที แล้วนำมาประมวลผลเอง แต่ผมเชื่อว่าในยุคออนไลน์นี้ คนจะเรียนรู้ได้เร็วขึ้น มีความเข้าใจมากขึ้น และมีทางเลือกมากขึ้นครับ

เชื่อมั่นในวิจารณญาณของท่าน
บรรยง วิทยวีรศักดิ์
อดีตนายกสมาคมตัวแทนประกันชีวิตและที่ปรึกษาการเงิน




 

Create Date : 30 พฤศจิกายน 2558
0 comments
Last Update : 30 พฤศจิกายน 2558 9:28:45 น.
Counter : 583 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


สมาชิกหมายเลข 2815144
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add สมาชิกหมายเลข 2815144's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.