Group Blog
 
<<
ธันวาคม 2552
 
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
15 ธันวาคม 2552
 
All Blogs
 
งานราชพฤกษ์รวมใจภักดิ์รักพ่อหลวง ปี 2552 [การแสดงประกอบแสงเสียง "นพบุรีศรีนครพิงค์ เชียงใหม่"]

งานราชพฤกษ์รวมใจภักดิ์รักพ่อหลวง ปี 2552 [การแสดงประกอบแสงเสียง "นพบุรีศรีนครพิงค์ เชียงใหม่"]

ช่วง 2-3 วันสุดท้ายของงานราชพฤกษ์รวมใจภักดิ์รักพ่อหลวง 2552
การแสดงสุดท้ายของแต่ละคืน จะเป็นการแสดงประกอบแสงเสียง "นพบุรีศรีนครพิงค์ เชียงใหม่" โดยวิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่

ถ้าใครมีโอกาสได้ชมใน blog ไปก่อนหน้านี้แล้ว อาจจะได้เคยชมไปครั้งหนึ่งแล้ว แต่ครั้งนั้นแสดงที่อนุสาวรีย์สามกษัตริย์

ครั้งก่อนนั้น ก็อยากจะถ่ายภาพและมีคำบรรยายตามการแสดงด้วย แต่ก็ลืมอัดเสียงไว้
ครั้งนี้ตั้งใจที่จะถ่ายภาพชุดนี้ให้ครบ พร้อมคำบรรยายประกอบเล่าเรื่อง

คิดไว้เหมือนกันว่า blog นี้จะยาวมากๆ แต่ก็ตั้งใจทำให้จบใน blog เดียว
มาชมกันเลยดีกว่า





คนเล่าเรื่องออกมาเล่าเกริ่นนำการแสดง

ย้อนรอยเมืองเชียงใหม่ในอดีต ที่รุ่งเรือง และไม่เคยจางหายไป ตราบจนถึงปัจจุบัน




ณ พื้นปฐพีแห่งนี้ เมื่อ 700 กว่าปีที่ผ่านมา มีสภาพภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่ม เชิงดอยสุเทพลาดเทไปทางทิศตะวันออกสู่ลำน้าปิง ที่มีน้ำไหลหล่อเลี้ยงตลอดทั้งปี ระบบนิเวศน์ที่เต็มไปด้วยแมกไม้ พืชพันธุ์ สิงสาราสัตว์ และชนเผ่าชาติพันธุ์ต่างๆ ที่กระจายอยู่กันทั่วไป








ด้วยอำนาจและความยิ่งใหญ่ของ เจ้าเมืองเม็งราย เชียงแสน
พระองค์ได้ขยายอาณาจักรโยนกออกไปอย่างกว้างขวาง



ทรงทำการรวบรวมอาณาจักรล้านนาไทยที่กระจัดกระจายให้เป็นปึกแผ่นขึ้นมาใหม่ และทำการสร้างเมืองเชียงราย พร้อมกับขยายอำนาจเข้ายึดอาณาจักรหริภุญชัย แล้วทำการตั้งอาณาจักรใหม่ขึ้นเรียกชื่อว่า "อาณาจักรล้านนา"




พญาเม็งราย ทรงเห็นว่าพื้นที่บริเวณริมฝั่งแม่น้ำปิงนี้ เป็นที่ราบอุดมสมบูรณ์ มีชัยภูมิเหมาะสมแก่การตั้งเมืองใหม่



พญาเม็งราย ได้เชิญพ่อขุนงำเมืองแห่งแคว้นพะเยาและพ่อขุนรามคำแหงแห่งแคว้นสุโขทัย มาร่วมกันวางแผนสร้างเมืองใหม่ขึ้นมา ชื่อ “นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่”



ทรงย้ายเมืองหลวงของล้านนามาอยู่ที่เมืองนพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่



พญาเม็งรายทรงเป็นนักรบและนักปกครองที่สามารถ ทำให้ชาวล้านนาในสมัยนั้นต่างก็ให้ความเคารพนับถือและศรัทธาต่อพญาเม็งรายเป็นอย่างมาก









ในปี พ.ศ. 1898 พญากือนา กษัตริย์ในลำดับที่ 6 ของราชวงศ์เม็งรายได้ขึ้นครองราชย์ พระองค์ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก


พญากือนา ได้อาราธนาพระสงฆ์จากสุโขทัย และโปรดให้สร้างวัดสวนดอก วัดพระธาตุดอยสุเทพ พร้อมทั้งอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุจากสุโขทัยมาที่วัดพระธาตุดอยสุเทพ ในช่วงยุคของพญากือนานี้ พุทธศาสนาได้เจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างมาก สถิตย์อยู่ในจิตในใจของคนเวียงเชียงใหม่ทุกผู้ทุกคน








ในปี พ.ศ. 1928 โอรสของพญากือนา คือ พญาแสนเมืองมา ได้ขึ้นครองราชย์ และทรงได้สร้างวัดเจดีย์หลวง เพื่ออุทิศผลบุญแด่พระบิดา และให้เมืองเชียงใหม่เป็นศูนย์รวมพุทธศาสนา และศูนย์กลางวัฒนธรรมประเพณีที่ยิ่งใหญ่



เมื่อถึงเทศกาลยี่เป็ง พุทธศาสนาชาวเชียงใหม่ต่างพร้อมใจกันร่วมเฉลิมฉลองเทศกาลยี่เป็ง



ชาวเชียงใหม่ต่างพร้อมใจกันร่วมกันจุดผางประทีป









ปล่อยโคมลอย



เพื่อน้อมถวายเป็นพุทธบูชาแด่องค์สัมมาสัมพุทธเจ้า











รัชสมัยพระเจ้าติโลกราช กษัตริย์ลำดับที่ 10 ของราชวงศ์มังราย พุทธศาสนาได้เจริญถึงขีดสุด



พระเจ้าติโลกราชได้สร้างวัดเจ็ดยอด และได้ทรงจัดให้มีการสังคายนาพระไตรปิฏกครั้งที่ 8 ของโลกขึ้น ณ วัดเจ็ดยอด
การชำระพระไตรปิฏกในครั้งนั้นใช้เวลา 1 ปี จึงแล้วเสร็จ





ไม่เพียงแต่ด้านศาสนาที่เจริญรุ่งเรืองในสมัยนั้น
ในด้านศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีของเวียงเชียงใหม่ ก็เจริญรุ่งเรืองตามไปด้วย



เมื่อถืงช่วงตรุษสรงกรานต์ ชาวเชียงใหม่ได้มีประเพณีสรงกรานต์ที่งดงาม และยังเป็นการค้ำจุนพระพุทธศาสนาในอีกทางหนึ่งด้วย



มีการแห่ตุง ปักตุง ขนทรายเข้าวัด





การแสดงศิลปวัฒนธรรม รำฟ้อนนกกิงกะหล่า








ในวันพญาวัน มีการรดน้ำดำหัวต่อบิดามารดา ญาติผู้ใหญ่ ผู้เฒ่าผู้แก่ ผู้มีพระคุณ ผู้หลักผู้ใหญ่ของบ้านเมือง



การรดน้ำดำหัวถือเป็นประเพณีที่สืบทอดต่อกันมายาวนานจนถึงปัจจุบันนี้








มีการเล่นน้ำ ในหมู่หนุ่มสาวต่างก็มีการเล่นน้ำในประเพณีสรงกรานต์กันอย่างสนุกสนาน รื่นเริงกันทั้งเมือง เย็นชุ่มกายชุ่มใจ พร้อมรอยยิ้มที่สร้างความประทับใจ แสดงออกถึงมิตรไมตรีของชาวเชียงใหม่ได้เป็นอย่างดี











เมื่อสิ้นรัชสมัยของพระเจ้าติโลกราช




เมืองเชียงใหม่ตกอยู่ภายใต้การปกครองจากหงสาวดี และอังวะกว่า 200 ปี
ทำให้ศิลปวัฒนธรรมล้านนาของเชียงใหม่ที่เคยโดดเด่นต้องสูญสิ้นลง และปรับตัวเข้ากับสกุลช่างของหงสาวดีและอังวะ





ต่อมาพญาจ่าบ้าน และพญากาวิละ ขอความร่วมมือจากพระเจ้าตากสินมหาราชแห่งกรุงธนบุรี ร่วมกันขับไล่พม่าออกจากเมืองเชียงใหม่ได้สำเร็จ
พญาจ่าบ้านและพญากาวิละได้ประกาศเอกราชย์ของเมืองเชียงใหม่่ ในปี พ.ศ. 2317
พระเจ้าตากสินมหาราช ได้ทรงแต่งตั้งพญาจ่าบ้าน ขึ้นครองเมืองเชียงใหม่ และทรงตั้งสมญานามให้ว่า "พระยาหลวงวชิรปราการ"





ในปี พ.ศ. 2325 พระเจ้ากาวิละ ได้ขึ้นครองเมืองเชียงใหม่ เป็นต้นราชวงศ์เจ้าเจ็ดตน






เมืองเชียงใหม่ในยามนั้นร้างผู้คน...
เนื่องจากชาวบ้านส่วนหนึ่งถูกต้อนไปเมืองหงสาวดีและอังวะ
ส่วนหนึ่งต่างก็หลบลี้ ซ่อนตัวอยู่ในป่า



พระเจ้ากาวิละได้รวบรวมผู้คน ชาวไทยกลุ่มต่างๆ มาอยู่ในเมืองเชียงใหม่
ถือเป็นยุค
เก็บผักใส่ซ้า
เก็บข้าใส่เมือง



พระเจ้ากาวิละได้รวบรวมผู้คนที่อยู่กระจัดกระจายจากเมืองต่างๆ เข้าด้วยกัน จนทำให้เมืองเชียงใหม่คึกคัก เจริญรุ่งเรือง และเต็มไปด้วยผู้คนจากชนเผ่าชาติพันธุ์ต่างๆ







เมื่อถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์



พระเจ้าอินทวิชยานนท์เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ 7 ได้ถวายพระธิดาเจ้าดารารัศมี ให้เป็นพระชายา ทรงมีพระราชอิสริยศ เป็น "พระราชชายาเจ้าดารารัศมี"





เมื่อพระองค์ได้กลับคืนสู่เมืองเชียงใหม่

เจ้าดารารัศมีทรงฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมกลับขึ้นมาใหม่




ศิลปวัฒนธรรมในยุคเจ้าดารารัศมีจึงเฟื่องฟู มีความงดงาม อ่อนช้อย



และกลายเป็นสมบัติอันล้ำค่าของแผ่นดินล้านนา จวบจนมาถึงทุกวันนี้









ในปี พ.ศ. 2477
ครูบาเจ้าศรีวิชัย พระอาริยสงฆ์ ผู้เป็นที่เลื่อมใสสูงสุดของชาวล้านนา
ได้รับเป็นประธานสงฆ์ ในการสร้างถนนขึ้นสู่วัดพระธาตุดอยสุเทพ



ด้วยบุญญาบารมีของท่าน ทำให้ชาวเชียงใหม่ทุกสารทิศ
ต่างหลั่งไหลพร้อมใจกันมาช่วยแผ้วถาง สร้างถนน
จนแล้วเสร็จได้ภายใน 5 เดือน




ร่วมรำลึกถึงพระคุณบารมีของครูบาเจ้าศรีวิชัย
ชาวล้านนาจึงได้สร้างอนุสาวรีย์ คูรบาเจ้าศรีวิชัย ไว้ที่เชิงดอยสุเทพ
เพื่อเป็นที่เคารพสักการะ และเป็นศิริมงคลของชาวล้านนา เชียงใหม่ และชาวไทย





นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ ได้ตั้งมั่นเจริญรุ่งเรือง เข้มแข็งมากว่า 700 ปี
และได้เป็นศูนย์กลางความเจริญในด้านต่างๆ มากมาย





รวมถึงศิลปวัฒนธรรมอันดีงาม เป็นแบบแผน ถ่ายทอดสืบต่อมาจนถึงทุกวันนี้



เพื่อให้คนรุ่นหลังได้สืบทอดและรักษาศิลปวัฒนธรรมอันดีนี้ไว้ให้คงอยู่ และเจริญรุ่งเรืองสืบต่อๆ กันไป ให้สมกับที่เรียกขานกันว่า "นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่"



สุดท้า่ยขอขอบคุณทีมงานนักแสดงทุกๆ ท่านจากวิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่ ครู-อาจารย์ทุกๆ ท่าน ที่นำการแสดงประกอบแสงเสียง "นพบุรีศรีนครพิงค์ เชียงใหม่" มาให้ชมกันด้วยครับ



blog นี้แอบทำไว้หลายวันทีเดียวกว่าจะเสร็จทั้งหมด

ตั้งใจที่จะถ่ายทอดภาพถ่ายออกมา ให้พอเข้าตามเนื้อเรื่องทั้งหมดไว้ด้วย เนื้อหาที่เล่าเรื่องก็ถ่ายทอดมาจาก script ตามเสียงพากษ์การแสดง แต่ก็ไม่ได้คัดลอกมาทุกคำบรรยาย บางช่วงบางตอนฟังไม่ทันเหมือนกัน และยังเผื่อไว้ให้น้องๆ นักแสดงมา load ภาพไปด้วย แต่ภาพทั้งหมดก็ตั้งใจจะนำส่งให้กับทางวิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่อยู่แล้ว




blog นี้จึงอาจจะมีภาพเยอะไปบ้าง ส่วนเนื้อหาอาจจะยังไม่ครอบคลุมหรือขาดตกบกพร่องไว้อยู่ ขอไว้มารวบรวมเพิ่มเติมแก้ไขกันภายหลังอีกทีก็แล้วกันครับ



ขอขอบคุณทุกๆ ท่านที่แวะมาชมภาพถ่ายชุดนี้ด้วยนะครับ


Create Date : 15 ธันวาคม 2552
Last Update : 15 ธันวาคม 2552 11:52:42 น. 5 comments
Counter : 5399 Pageviews.

 
เป็นบล็อกที่สุดยอดมากๆเลยครับพี่เบิร์ด
รูปก็สวย
แล้วคำบรรยายถ้าใครตั้งใจอ่าน
จะทราบความเป็นมาของการก่อร่างสร้างเมืองเชียงใหม่เลย


สุดยอดจริงๆครับพี่




โดย: กะว่าก๋า วันที่: 15 ธันวาคม 2552 เวลา:8:23:32 น.  

 


สวัสดียามเช้าค่ะพี่
ดี.แวะมาชมนิสสสสสนึงก่อน
เดี๋ยวเสร็จงาน แล้วมาอ่านอีกรอบค่ะ


ทำงานอย่างมีความสุขนะคะวันนี้





โดย: d__d (มัชชาร ) วันที่: 15 ธันวาคม 2552 เวลา:10:15:20 น.  

 

มาเยี่ยมชม มาทักทายครับ

มาตามชมครับ คุณถปรรถ่ายภาพได้สวยงามมากเลยครับ

เห็นมีงานแบบนี้แล้วยิ่งทำให้อยากจะไปเที่ยวที่เชียงใหม่จังเลยครับ

อิอิ


โดย: อาคุงกล่อง (อาคุงกล่อง ) วันที่: 15 ธันวาคม 2552 เวลา:12:33:43 น.  

 

แหล่มจ๊ะ


โดย: อุ้มสี วันที่: 15 ธันวาคม 2552 เวลา:23:27:16 น.  

 
ถ่ายรูปได้สวยดีนะค่ะ เอ่อ พี่ค่ะที่จริงรูปหนูก็มีนะ แต่ทำใมไม่เห็นเอารูปหนูหน้าเต็มๆบ้างละค่ะ


โดย: พลอย IP: 223.204.135.173 วันที่: 12 มกราคม 2554 เวลา:19:32:24 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ถปรร
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 39 คน [?]




New Comments
Friends' blogs
[Add ถปรร's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.