มนุษย์เป็นเพียงสิ่งมีชีวิตตัวเล็กๆ ในจักรวาลนี้
Group Blog
 
All blogs
 
ดาวเคราะห์ในเดือนมิถุนายน 2549



ภาพจำลองดาวเคราะห์ในเดือนมิถุนายน 2549 แสดงให้เห็นส่วนสว่างของดาวเคราะห์และขนาดปรากฏเปรียบเทียบ
(ดัดแปลงจาก Solar System Simulator/NASA)

ดาวเคราะห์ในเดือนมิถุนายน 2549

ดาวพุธ หลังจากผ่านตำแหน่งร่วมทิศแนววงนอก (superior conjunction) เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม ดาวพุธมาปรากฏบนท้องฟ้าทิศตะวันตกในเวลาหัวค่ำตลอดเดือนมิถุนายนนี้ในกลุ่มดาวคนคู่ ใกล้ขอบฟ้ามากกว่าดาวอังคารกับดาวเสาร์ที่อยู่สูงเหนือขึ้นไป วันที่ 27 มิถุนายน อาจเห็นพระจันทร์เสี้ยวบาง ๆ อยู่ทางขวามือของดาวพุธในเวลาที่ท้องฟ้ายังไม่มืดสนิท

ดาวศุกร์ (โชติมาตร -3.9) ขึ้นเหนือขอบฟ้าทิศตะวันออกในเวลาประมาณตี 3 ครึ่ง เกือบตี 4 สังเกตเห็นได้ในช่วงก่อนดวงอาทิตย์ขึ้นของทุกวัน ดาวศุกร์อยู่ในกลุ่มดาวแกะจนถึงวันที่ 18 มิถุนายน จากนั้นเข้าสู่กลุ่มดาววัว ผ่านใกล้กระจุกดาวลูกไก่ในวันที่ 24 มิถุนายน โดยเช้ามืดวันที่ 23 มิถุนายน จะเห็นพระจันทร์เสี้ยวอยู่ใกล้กระจุกดาวลูกไก่ ทางซ้ายมือของดาวศุกร์

ดาวอังคาร เข้าสู่กลุ่มดาวปู อยู่บนท้องฟ้าทิศตะวันตกในเวลาหัวค่ำ ความสว่างลดลงเล็กน้อยจากโชติมาตร +1.7 ที่ต้นเดือน ไปอยู่ที่ +1.8 ในปลายเดือน ปรากฏสูงจากขอบฟ้าประมาณ 30 องศา ในเวลา 19.40 น. และตกลับขอบฟ้าในเวลาประมาณ 21.20-22.00 น. วันที่ 15-16 มิถุนายน จะเห็นดาวอังคารผ่านเข้าไปในกระจุกดาวรังผึ้ง และเดือนนี้ดาวอังคารกับดาวเสาร์จะเข้าใกล้กันมากที่สุดในวันที่ 18 มิถุนายน

ดาวพฤหัสบดี (โชติมาตร -2.4) ยังคงเคลื่อนที่ถอยหลังอย่างช้า ๆ ในกลุ่มดาวคันชั่ง สังเกตเห็นได้ตั้งแต่เวลาหัวค่ำหลังจากดวงอาทิตย์ตก อยู่สูงจากขอบฟ้าทิศตะวันออกเยื้องไปทางทิศใต้ ต้นเดือนดาวพฤหัสบดีจะตกลับขอบฟ้าในเวลาประมาณตี 4 และตกเร็วขึ้นทุกวัน เมื่อถึงปลายเดือนมิถุนายนจะมีเวลาดูดาวพฤหัสบดีได้จนถึงก่อนตี 2 คืนวันที่ 8 มิถุนายน จะเห็นดวงจันทร์สว่างเกือบเต็มดวงอยู่ใกล้ดาวพฤหัสบดี

ดาวเสาร์ (โชติมาตร +0.4) อยู่ใกล้กับกระจุกดาวรังผึ้งในกลุ่มดาวปู ปรากฎบนท้องฟ้าทิศตะวันตกในเวลาหัวค่ำ เดือนนี้เป็นเดือนสุดท้ายที่จะเห็นดาวเสาร์ได้ชัดเจน หลังจากนี้ดาวเสาร์จะเข้าใกล้ขอบฟ้ามากขึ้นในเวลาหัวค่ำของแต่ละวัน ทำให้สังเกตได้ยากขึ้น วันที่ 28 มิถุนายน พระจันทร์เสี้ยวจะปรากฏทางขวามือของดาวเสาร์ สูงจากขอบฟ้าประมาณ 20 องศา ในเวลา 19.40 น.

ดาวยูเรนัส (โชติมาตร +5.8) และ ดาวเนปจูน (โชติมาตร +7.9) อยู่ในกลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำและกลุ่มดาวแพะทะเล ตามลำดับ ปรากฏบนท้องฟ้าก่อนเช้ามืด สังเกตการณ์ได้ในช่วง 10 วันแรกของเดือนและสัปดาห์สุดท้ายซึ่งเป็นช่วงที่ไม่มีแสงจันทร์รบกวน โดยต้องอาศัยแผนที่ดาว กล้องสองตาหรือกล้องโทรทรรศน์

ดาวพลูโต อยู่ในกลุ่มดาวงู มีโชติมาตร 14 ต้องอาศัยกล้องโทรทรรศน์ขนาด 8 นิ้วขึ้นไปและแผนที่ดาวแบบละเอียดช่วยในการระบุตำแหน่ง

ดวงจันทร์ สองสัปดาห์แรกของเดือนเป็นช่วงข้างขึ้น จึงเห็นดวงจันทร์ปรากฏเป็นเสี้ยวบนท้องฟ้าเวลาหัวค่ำ ดวงจันทร์อยู่เหนือดาวอังคารกับดาวเสาร์ในวันที่ 1 มิถุนายน จากนั้นสว่างครึ่งดวงในวันที่ 4 มิถุนายน ขณะอยู่ในกลุ่มดาวสิงโต ผ่านใกล้ดาวพฤหัสบดีในคืนวันที่ 8 มิถุนายน และเพ็ญเต็มดวงในคืนวันที่ 11/12 มิถุนายน

เมื่อเข้าสู่ข้างแรม ดวงจันทร์จะมีด้านสว่างลดลงจนกระทั่งเหลือครึ่งดวงในวันที่ 18 มิถุนายน ผ่านใกล้กระจุกดาวลูกไก่กับดาวศุกร์ในวันที่ 23 มิถุนายน ก่อนจะเข้าสู่วันเดือนดับในวันที่ 25 มิถุนายน แล้วกลับมาให้เห็นในเวลาหัวค่ำเมื่อเข้าสู่ข้างขึ้นอีกครั้ง โดยอยู่ใกล้ดาวพุธในค่ำวันที่ 27 มิถุนายน และใกล้ดาวอังคารกับดาวเสาร์ในวันที่ 28 มิถุนายน



ดาวอังคารอยู่เคียงดาวเสาร์ในค่ำวันที่ 18 มิถุนายน ดวงจันทร์ผ่านใกล้ดาวศุกร์และกระจุกดาวลูกไก่ในเช้ามืดวันที่ 23 มิถุนายน และดวงจันทร์ผ่านใกล้ดาวอังคารกับดาวเสาร์ ในค่ำวันที่ 28 มิถุนายน

ที่มา //thaiastro.nectec.or.th/skyevnt/planets/index.html


Create Date : 02 มิถุนายน 2549
Last Update : 3 มิถุนายน 2549 2:27:21 น. 2 comments
Counter : 755 Pageviews.

 
ขอบคุณค่ะ ปกติก็ชอบดูพระจันทร์ดวงดาว วันไหนจันทร์สวยทรงกลดมีการบอกต่อให้ดูกันด้วย แต่กลุ่มดาวนี่ลืมๆไปมั่งแล้วที่จำแม่นก็ดาวลูกไก่


โดย: ป่ามืด วันที่: 3 มิถุนายน 2549 เวลา:21:21:45 น.  

 
แล้วมีความหมายว่าไรล่ะคะ...แหะ...แหะ...ป้ามันความรู้น้อยด้อยปัญญา...อย่าว่านะคะ


โดย: ป้าหู้เองค่ะ (fifty-four ) วันที่: 12 มิถุนายน 2549 เวลา:22:37:31 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

XLmen
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




สวัสดีเพื่อนๆ ทุกท่านครับ สำหรับท่านที่มีความสนใจทางด้านดาราศาสตร์ หรือโหราศาสตร์ถ้าสนใจที่จะเสวนาแลกเปลี่ยนความรู้ หรือเสวนาธรรมเชิญได้นะครับยินดีรับใช้เพื่อนๆ ทุกคนครับ
ก้าวแรกสู่การค้นพบ
Friends' blogs
[Add XLmen's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.