ห้องสมุด Xiengyod
ว่าด้วยเรื่องธงต่างๆ ในเมืองไทยและนานาสาระ

เซียงยอด
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add เซียงยอด's blog to your web]
Links
 

 
หมวดธงเสือป่าและลูกเสือ (ธงเสือป่า)

(คัดลอกจาก ฉวีงาม มาเจริญ. ธงไทย. กรุงเทพมหานคร : กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, 2520.)


หมวดธงเสือป่าและลูกเสือ



พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริว่า สถานการณ์บ้านเมืองของประเทศต่างๆ ในโลกและของประเทศไทยในขณะนั้นอยู่ในสภาพที่ไม่น่าไว้วางใจ ไม่สมควรที่จะวางเฉยตั้งอยู่ในความประมาท จึงมีพระราชประสงค์ที่จะฝึกหัดข้าราชการพลเรือนทั้งหลายให้ได้เรียนรู้วิชาทหารไว้บ้าง เพื่อสามารถช่วยเหลือราชการในคราวจำเป็นหรือคับขัน เช่น การกรามปรามโจรผู้ร้าย การปราบปรามจลาจล รวมทั้งเวลาที่เกิดศึกสงครามเป็นต้น นอกจากนี้การฝึกหัดวิชาการทหารให้แก่บุคคลดังกล่าวยังจะก่อให้เกิดประโยชน์อันยิ่งใหญ่อีกด้วย คือ

- ช่วยปลูกฝังความจงรักภักดีต่อผู้เป็นประมุขของประเทศให้บังเกิดแก่บุคคลเหล่านั้น
- ปลูกฝังความรักชาติบ้านเมือง และความนับถือศรัทธาเลื่อมใสในศาสนาอย่างจริงใจ
- ปลูกฝังความสามัคคีรักใคร่กลมเกลียวในหมู่คณะ และไม่คิดทำลายซึ่งกันและกัน

ดังนั้นจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนากิจการเสือป่าขึ้นเป็นอันดับแรก โดยประกาศพระบรมราชโองการเมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๕๔ ตั้งแต่นั้นมากิจการเสือป่าก็เจริญรุ่งเรืองขึ้นเป็นลำดับ มีการแบ่งแยกออกเป็นกรมกองต่างๆ และแพร่ออกไปยังหัวเมือง ทั้งยังมีการฝึกซ้อมกันอยู่เสมอ

ธงของเสือป่ามีอยู่หลายประเภท ได้แก่ ธงชัยเฉลิมพลเสือป่า ธงประจำกรม กอง และหมวดต่างๆ ตลอดจนธงประจำตัวผู้บัญชาการกรม นายกอง นายหมวด นายหมู่ต่างๆ ธงประจำตัวนี้มีสีและรูปกลางธงโดยเฉพาะ ซึ่ง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประดิษฐ์ขึ้นเป็นสัญลักษณ์ตามวงศ์ตระกูล หรือนามบุคคลผู้ได้รับพระราชทาน เรื่องของธงประจำกรมกองและธงประจำตัวนี้ มีรายละเอียดปรากฏอยู่ในหนังสือเรื่อง “เสือป่าและลูกเสือในประวัติศาสตร์รัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว” ซึ่งจมื่นอมรดรุณารักษ์ (แจ่ม สุนทรเวช) ค้นคว้าเรียบเรียงออกเผยแพร่แล้ว ดังนั้นในที่นี้ขอกล่าวถึงเฉพาะธงชัยเฉลิมพลเสือป่าเท่านั้น



ธงมหาศารทูลธวัช

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อเป็นธงชัยเฉลิมพลของเสือป่า มีลักษณะ คือ เป็นธงรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส กลางธงเป็นรูปเสือลายพาดกลอนเต็มตัวยืนหันหน้าไปทางเสา ใต้รูปเสือมีตัวอักษรว่า “เสียชีพอย่าเสียสัตย์” ริมธงทั้ง ๔ ด้าน เป็นตัวอักษรคาถาภาษาบาลี (รูปที่ ๕๐,๕๑)


รูปที่ ๕๐ ธงชัยเฉลิมพลเสือป่า (ธงมหาศารทูลธวัช)



รูปที่ ๕๑ ธงประจำกรมเสือป่าราบหลวง


ต่อมาธงชัยเฉลิมพลเสือป่าได้เปลี่ยนแบบใน พ.ศ. ๒๔๕๙ โดย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนธงเสือป่าที่ได้พระราชทานไปแล้วใหม่ คือเปลี่ยนพื้นธงเป็นธงไตรรงค์ กลางธงมีพระปรมาภิไธยย่อ “รร.๖” ภายใต้รูปพระมหามงกุฎ มุมธงด้านบนยอดคันธง มีแถบแพรสีตามกรมเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส กลางเป็นรูปหน้าเสือตรง ล้อมรอบด้วยอักษรชื่อกรมกองเสือป่านั้นๆ และคำขวัญว่า “เสียชีพอย่าเสียสัตย์” (รูปที่ ๕๒,๕๓) หลังจากที่ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคตใน พ.ศ. ๒๔๖๘ แล้ว ในรัชกาลที่ ๗ กิจการเสือป่าก็ได้ร่วงโรยไป ในที่สุดก็เหลือแต่กิจการลูกเสือซึ่งนับเป็นสาขาหนึ่งของกิจการเสือป่าเท่านั้น




รูปที่ ๕๒ ธงกรมเสือป่าพรานหลวงรักษาพระองค์



รูปที่ ๕๓ ธงกรมเสือป่าหลวงรักษาดินแดนกรุงเทพฯ




Create Date : 17 ตุลาคม 2550
Last Update : 9 สิงหาคม 2551 17:16:14 น. 1 comments
Counter : 4052 Pageviews.

 
สวัสดีครับ ท่านเว็บมาสเตอร์

ผมเป็นวิทยากรลูกเสือวิสามัญ ในสังกัดของ สโมสรลูกเสือวิสามัญแห่งประเทศไทย ผมมีปัญหาเกี่ยวกับภาพลายเส้นของธงชัยเฉลิมพลเสือป่า (ธงมหาศารทูลธวัช) มานานแล้ว เพราะภาพที่ผมมีอยู่ล้วนเป็นภาพถ่ายเก่าทั้งสิ้น ทำให้ไม่เห็นรายละเอียดของธง ผมเคยไปสืบค้นที่หอสมุดแห่งชาติก็ไม่พบ จนกระทั้งมาพบใน เว็บไซต์ของคุณ ซึ่งผมรู้สึกดีใจมากเพราะจะได้นำภาพนี้ไปเผยแพร่ให้กับ ผู้กำกับลูกเสือที่มาอบรม เพื่อเป็นวิทยาทาน และจะเป็นความกรุณาหากจะขอรบกวนส่ง ไฟล์รูปธง(รูปที่50) มายัง rathakrit@hotmail.com ขอขอบพระคุณมาณะที่นี้

ขอแสดงความเคารพ

รัฐกฤษ สงสำเภา


โดย: รัฐกฤษ สงสำเภา IP: 124.121.32.26 วันที่: 7 พฤศจิกายน 2550 เวลา:10:46:06 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.