Technical Traders Should Still Examine Fundamentals‏

Those who have read my features know I base the vast majority of my trading decisions on technical indicators and chart analysis--and also on market psychology. However, I do not ignore certain fundamentals that could impact the markets I'm trading. Neither should you.

In this feature I'd like to share with you the types of fundamentals in various markets about which technically oriented traders should be aware. While this article will be most beneficial to beginning and intermediate traders, the experienced traders may enjoy it as a "refresher."

I've told my readers many times that I have been very fortunate in my career in the futures industry. When I was a reporter and editor for FWN, I was forced to learn about the fundamentals impacting all the markets I covered. (At one time or another, I covered every futures market traded in the U.S., and also many overseas futures markets.) I had to talk to traders and analysts every day, regarding the fundamentals that impacted the particular market on which I was reporting.

Realizing very few get that kind of unique opportunity to learn about market fundamentals, what can beginning to intermediate traders do to "get up to speed" regarding the fundamentals of the markets they wish to trade?

Here are some useful nuggets to consider regarding market fundamentals:

You should know in what increments your market trades, the contract size, if it's physically deliverable, cash settled or both, and when first-notice day and last trading day occur. This information is all free and available on the websites of the exchanges on which the markets trade. For example, if you trade U.S. T-bonds, you should know that prices trade in 32nds of a point, based on a yield of 6%. You don't have to become an expert on yields, deliveries or notices, but you should be aware of the concepts. Reading about what the exchanges have to say about their markets is a great way to start out learning fundamentals.

The Internet is indeed a wonderful tool to help you learn about futures market fundamentals--for free. Use your favorite search engine and do a search on your market of interest. However, make sure you use "futures" in the search words, as this will narrow the focus of the search engine.

Here's a caveat on market fundamentals: The professional traders anticipate them and many times factor the fundamentals into price even before they occur. In fact, this happens quite often in futures markets. For example, it stands to reason that heating oil demand will increase in late fall and winter, and that heating oil futures prices should rise in that timeframe, as opposed to summertime prices. A novice trader may think it's a no-brainer to go long the December heating oil contract in September. However, keep in mind all the professional traders and commercial traders know this, and they have likely already factored this seasonal fundamental into the price of the December contract.

There are U.S. government economic reports that sometimes have a significant impact on markets. Associations also release reports that impact futures markets. Even private analysts' estimates can move markets. Try to learn about the reports or estimates that have the potential to impact the market you wish to trade. You should make it a priority to know, in advance, the release of any scheduled report or forecast that has the potential to move your market. For example, if you are thinking about establishing a position in the T-Bond market and the U.S. employment report is due out the next day, you may want to wait until the report is released before entering your position. The employment report can whipsaw the bond market in the minutes after it's released, which could stop you out of your position.

If you like to trade financial futures markets, newspapers like the Wall Street Journal and Investors Business Daily have sections that follow bonds, stock indexes and currencies, etc. Reading about how fundamental events impact these markets allows you to get up to speed on fundamentals.

If you trade commodities like cotton, coffee or cocoa, it's a little more difficult to find fundamental news sources for free.

You may want to subscribe to a news service like Bridge, where specialized reporters scour the world for news that impacts those markets. The U.S. Department of Agriculture has a website with reports on many commodities that trade in futures markets, including not only the major U.S. row crops, but also markets like coffee and orange juice.

Finally, traders should consider the knowledge of market fundamentals as just one more tool in their trading toolbox. The more tools in a trader's toolbox, the higher the odds he or she will be a successful trader.




 

Create Date : 08 กันยายน 2553   
Last Update : 8 กันยายน 2553 10:07:56 น.   
Counter : 546 Pageviews.  

การลงทุนในธุรกิจ Apartment

การลงทุนในธุรกิจ Apartment

การที่จะลงทุนสร้าง Apartment ให้เช่า ถ้าผู้ประกอบการมีที่ดินเป็นของตนเอง และมีเงินลงทุนค่าก่อสร้างโดยไม่ต้อง ไปกู้ยืมก็จะไม่มีปัญหาวิตกกังวลใด ๆ แต่ถ้าต้องมีการกู้ยืมเงินเพื่อลงทุน องค์ประกอยต่อไปนี้เช่น การชำระหนี้คืน ระยะเวลาคุ้มทุน ผลตอบแทนการลงทุน และความเสี่ยงใด ๆ ที่จะเกิดขึ้น เป็นสิ่งที่สถาบันการเงินที่ให้การสนับสนุน ทางการเงินต้องการทราบ

ดังนั้นการสร้าง Apartment ให้เช่า ควรสร้างความเชื่อมั่นให้ตนเอง และผู้สนับสนุนทางการเงิน โดยการวางแผน
การพัฒนาโครงการ ซึ่งมีเกณฑ์การพิจารณาว่าโครงการ Apartment ที่จะสร้างให้ประสบความสำเร็จควรคำนึงถึง ปัจจัยต่างๆ ดังนี้

1. ทำเลที่ตั้ง (Location) ของโครงการ Apartment
การพิจารณาว่าทำเลที่ตั้งดีหรือไม่ โดยพิจารณาจาก ที่ตั้งโครงการอยู่ในเขตชุมชน อยู่ริมถนน หรือใกล้ถนนใหญ่
ใกล้ตลาด การเดินทางสะดวกมีรถโดยสารประจำทางผ่าน หรือใกล้สถานีรถไฟฟ้า( ในเขตกรุงเทพฯ) อยู่ในซอยลึกเกิน ไปหรือไม่ ทางเข้าออกเงียบและเปลี่ยวหรือไม่ การเดินทางเข้าออกของผู้เช่าลำบากหรือไม่ มีสิ่งอำนวยความสะดวก มากน้อยแค่ไหน

2. กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย (Target Group)
ต้องพิจารณาว่ากลุ่มลูกค้าเป้าหมายเป็นใคร มีปริมาณท่าไหร่ ความต้องการเช่าที่อยู่อาศัยประเภท Apartment
ยังมีอยู่หรือไม่ พฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายต้องการเปลี่ยนไปอยู่อพาร์ทเม้นท์ใหม่ที่มีราคาค่าเช่าเท่าเดิม ต้องการหรือ ไม่ต้องการอะไร

3 . คู่แข่ง
อพาร์ทเม้นท์ที่มีอยู่ในบริเวณนั้นมีเพียงพอต่อความต้องการหรือไม่ อัตราการเข้าพักอาศัย ระดับราคาค่าเช่า ค่าน้ำ
ค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์ ที่เรียกเก็บจากผู้เช่า สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ที่มีให้ นำสิ่งเหล่านี้มาปรับใช้กับโครงการ Apartment ที่จะก่อสร้าง

4. กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้าง Apartment
จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ
4.1 ส่วนที่เกี่ยวกับการก่อสร้างอาคาร
การก่อสร้างอาคารจะต้องเกี่ยวข้องกับกฎหมายหลายฉบับเช่น

พรบ. ผังเมือง ที่ดินที่จะก่อสร้างอยู่ในพื้นที่สีอะไร สามารถก่อสร้างอาคารที่อยู่อาศัยประเภท Apartment ได้หรือไม่
พรบ. ควบคุมอาคาร เกี่ยวกับการขออนุญาตก่อสร้างอาคาร ขนาดของอาคารที่จะก่อสร้างได้จะขึ้นอยู่กับ ความกว้างของถนนที่ติดพื้นที่ก่อสร้าง เนื่องจากมีพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร กำหนด ให้ต้องมีระยะล่น ในการก่อสร้างและจำกัดความสูงของอาคาร ดังนี้

อาคารที่ก่อสร้างหรือดัดแปลงใกล้ถนนสาธารณะที่มีความกว้างน้อยกว่า 6 เมตร ให้ร่นแนวอาคารห่างจากกึ่งกลางถนน สาธารณะอย่างน้อย 3 เมตร
อาคารที่ก่อสร้างใกล้ถนนสาธารณะที่มีความกว้างน้อยกว่า 10 เมตร ให้ร่นแนวอาคารห่างจากกึ่งกลางถนนสาธารณะอย่างน้อย 6 เมตร
อาคารที่ก่อสร้างใกล้ถนนสาธารณะที่มีความกว้างตั้งแต่ 10 เมตรขึ้นไป แต่ไม่เกิน 20 เมตร ให้ร่นแนวอาคารห่างจากเขตถนนสาธารณะอย่างน้อย 1 ใน 10 ของความกว้างของถนนสาธารณะถ้าถนนสาธารณะนั้นมีความกว้างน้อยกว่า 20 เมตรขึ้นไป ให้ร่นแนวอาคารห่างจากเขตถนนสาธารณะอย่างน้อย 2 เมตร

โดยการก่อสร้างอาคารจะมีความสูงไม่เกิน 2 เท่าของความกว้างของถนนรวมกับระยะล่น เช่น พื้นที่ ที่จะก่อสร้างอพาร์ทเม้นท์ด้านหน้าติดถนนกว้าง 6 เมตร ดังนั้นการก่อสร้างอาคารจะต้องมีระยะล่น
ไม่ต่ำกว่า 3 เมตรจากที่ดินส่วนที่ติดกับถนน (อาคารที่ก่อสร้างใกล้ถนนสาธารณะที่มีความกว้างน้อย
กว่า 10 เมตร ให้ร่นแนวอาคารห่างจากกึ่งกลางถนนสาธารณะอย่างน้อย 6 เมตร) ดังนั้นการก่อสร้างอพาร์ทเม้นท์จะสูงได้ไม่เกิน 16 เมตร (6 + 3 = 9 เมตร X 2 เท่า = 18 เมตร) เป็นต้น
ตามพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้าง ได้กำหนดให้ภายในอาคารต้องมีทางเดินภายในอาคาร กรณีอาคารที่ถูกสร้างมีการสร้างห้อง 2 ฝั่ง ทางเดินภายในอาคารต้องกว้าง 2 เมตร แต่ถ้ากรณีอาคารที่ถูกสร้างมีการสร้างห้องฝั่งเดียว ทางเดินภายในอาคารต้องกว้าง 1.5 เมตร ส่วนพื้นที่ห้องขึ้นอยู่กับความกว้างยาวของแต่ละห้อง

ตามพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้าง ได้กำหนดให้มีพื้นที่จอดรถ 120 ตร.ม.ต่อรถ 1 คัน ดังนั้นถ้ามีพื้นที่ใช้สอยรวมภายในอาคารที่ก่อสร้าง 1,200 ตร.ม. จะต้องจัดให้มีพื้นที่จอดรถ ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ภายในอาคาร หรือพื้นที่ภายนอกอาคาร 10 คัน

ในส่วนนี้ยังมีข้อปลีกย่อยอีกมากที่ต้องพิจารณาครับ ในที่นี้ขอเสนอเพียงเท่านี้ก่อนครับ

4.2 ส่วนที่เกี่ยวข้องกับการบริหาร Apartment
หลังจากที่ก่อสร้างเสร็จแล้วก็จะเป็นส่วนของการบริหารจะมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องเช่น

พรบ. สิ่งแวดล้อม ถ้า Apartment ที่ก่อสร้างมีขนาดมากกว่า 80 ห้องต้องทำรายงานศึกษาผลกระทบ ต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อใช้ในการขออนุญาตเปิดใช้อาคาร
พรบ. หอพัก มีหลักเกณฑ์กำหนดว่า อพาร์ทเม้นท์ ที่อยู่ในข่ายต้องจดทะเบียนเป็น หอพัก และอยู่ในความดูแลของกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ จะต้องดำเนินกิจการเข้าข่าย และครบทั้งสาม ประเด็นต่อไปนี้

1. มีการจัดสถานที่ขึ้นเพื่อรับผู้พัก เช่น มีห้องนอน และเครื่องใช้ในการหลับนอน ห้องน้ำ และห้องส้วม
2. เจ้าของมีเจตนารับผู้พักเพื่อเอาค่าตอบแทน
3. รับผู้พัก ตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป และอยู่ในระหว่างการศึกษาตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

อพาร์ทเม้นต์ที่ดำเนินกิจการครบทั้ง 3 ข้อนี้ต้องจดทะเบียน หอพัก หากอพาร์ทเม้นท์ใด แม้จะดำเนิน กิจการคล้ายคลึงข้างต้น แต่เข้าข่ายไม่ครบทั้งสามประเด็น ขาดประเด็นที่สำคัญ คือ รับผู้พักที่มิได้อยู่ใน ระหว่างการศึกษาตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ก็มิต้องจดทะเบียนขึ้นอยู่ในความดูแลของ กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ
5. การก่อสร้าง
ค่าก่อสร้าง
สถาปนิกและวิศวกรจะบอกข้อมูลเบื้องต้นของค่าก่อสร้าง โดยคิดเป็นตารางเมตร เช่น ต้นทุนค่าก่อสร้างจะคิดเป็น ต่อตารางเมตรเช่น 7,500 บาทต่อตร.ม. (ไม่รวมงานระบบลิฟท์) แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับวัสดุตกแต่ง นอกจากนี้ยัง มีค่าออกแบบ ค่าควบคุมงานก่อสร้างอีก
การควบคุมการก่อสร้าง
ผู้ประกอบการควรพิจารณาตรวจสอบให้ระยะเวลาการก่อสร้างเป็นไปตามแผน เพราะถ้าระยะเวลาการก่อสร้างไม่เป็น ไปตามที่กำหนด ผู้ประกอบการอาจได้รับรายได้ล่าช้ากว่ากำหนด แต่ต้องชำระหนี้เงินกู้พร้อมดอกเบี้ยแล้ว และอาจ กลายเป็นปัญหาขึ้นมาได้

6. การดำเนินการ
รายจ่าย
เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จก็จะเข้าสู่ขั้นตอนการบริหาร ค่าใช้จ่ายเริ่มต้นของการทำ Apartment จะประกอบไปด้วย ค่าจ้างพนักงานต่างๆ เช่น ยาม พนักงานทำความสะอาด ค่าทำบัญชี ค่าทำป้ายโฆษณา และประชาสัมพันธ์โครงการ ค่าใช้จ่ายส่วนกลางเช่นค่าไฟฟ้าส่วนกลาง เป็นต้น
รายรับ
ผู้ประกอบการ ต้องพิจารณาอัตราการเข้าพักของผู้เช่าห้องว่าจะมีสัดส่วนเท่าใด ในแต่ละช่วงเวลา เช่น คาดว่าจะมีผู้เช่า ห้องพัก ประมาณ 50% ในช่วง 6 เดือนแรก หลังจากนั้นจะเพิ่มเป็น 70% ของจำนวนห้อง อัตราการเข้าพักนี้จะมีผล ต่อรายได้ ในแต่ละเดือนของผู้ประกอบการ เพราะนอกจากรายได้จากค่าเช่าห้องแล้วยังมีรายได้จากค่าไฟฟ้า ค่าน้ำ และค่าโทรศัพท์ด้วย การประมาณการรายรับที่ดีจะทำให้ควบคุมรายจ่ายในส่วนของการดำเนินงานได้ด้วย

7. ผลตอบแทนที่จะได้รับและระยะเวลาคืนทุน
เมื่อสามารถประเมิน เงินลงทุนในการก่อสร้างอพาร์ทเม้นท์ รายรับ และรายจ่ายที่จะมีขึ้นในอนาคตได้แล้วว่าเป็นจำนวน เท่าใด ก็จะทำให้ทราบถึงผลตอบแทนจากการลงทุนสร้างอพาร์ทเม้นท์และระยะเวลาคืนทุนกี่ปี ซึ่งต้องใช้วิธีทางการเงิน มาคำนวณ โดยคิดถึงเรื่องมูลค่าของเงินพิจารณาจากรายได้ รายจ่าย และค่าก่อสร้าง สมมุติว่าผลตอบแทนที่ได้รับเป็น 12% คืนทุนภายใน 10 ปี ซึ่งผลตอบแทนที่ได้รับต้องนำไปเปรียบเทียบกับอัตราดอกเบี้ย ซึ่งผลตอบแทนที่ได้รับควรสูง กว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้

ผลสรุปของการวิเคราะห์ ผลตอบแทนที่จะได้รับจากการลงทุนในธุรกิจ Apartment จะทำให้ ผู้ประกอบการรู้ถึงความเป็นไปได้ของการลงทุนในธุรกิจนี้ ทำให้ทราบว่าคุ้มค่าต่อการลงทุนหรือไม่




 

Create Date : 03 สิงหาคม 2552   
Last Update : 3 สิงหาคม 2552 12:57:31 น.   
Counter : 869 Pageviews.  

การบริหารกลุ่มสินทรัพย์

ทฤษฎีตลาดทุน

1. แนวคิดอัตราผลตอบแทน

1.1 ผลตอบแทน 1 ช่วงเวลาที่ถือครอง
= (ราคาขาย + เงินปันผล) / ราคาซื้อ

1.2 อัตราผลตอบแทน 1 ช่วงเวลาที่ถือครอง
= [(ราคาขาย + เงินปันผล) / ราคาซื้อ ] - 1

1.3 ผลตอบแทน 1 ปีที่ถือครอง
= [(ราคาขาย + เงินปันผล) / ราคาซื้อ]^1/n

1.4 อัตราผลตอบแทน 1 ปีที่ถือครอง
={ [(ราคาขาย + เงินปันผล) / ราคาซื้อ]^1/n } - 1

1.5 อัตราผลตอบแทนถัวเฉลี่ยเลขคณิต
= ( ผลบวกของอัตราผลตอบแทนตั้งแต่ปีที่ 1 -n ) / n

1.6 อัตราผลตอบแทนถัวเฉลี่ยเรขาคณิต
= {( ผลคูณของอัตราผลตอบแทนตั้งแต่ปีที่ 1 -n )^1/n} - 1

2. อัตราผลตอบแทนที่ต้องการ

E(r) = [(1+Rf) x (1+ IP) x (1+ RP)] - 1

Rf : Real Risk Free rate = [(1 + Nominal Risk Free) / (1 + IP)] - 1
Nominal Riks Free : อัตราผลตอบแทนตั๋วเงินคลัง

IP : Inflation Premium

RP : Risk Premium
- Business Risk
- Financial Risk
- Liquidity Risk
- Forex Risk
- Politics Risk / Country Risk

** Hi risk - Hi return** เพราะนักลงทุนเป็นผู้หลีกเลี่ยงความเสี่ยง

Total Risk = Unsystematic Risk + Systematic Risk

Unsystematic Risk สามารถกำจัดได้โดยการกระจายการลงทุน แต่ Systematic Risk ไม่สามารถกำจัดได้

3. การจัดสรรเงินของบุคคลทั่วไป เพื่อใช้จ่ายประจำวัน สำรองฉุกเฉิน เหลือแล้วจึงค่อยลงทุน

ช่วงชีวิตในการลงทุน แบ่งเป็น 4 ช่วง ได้แก่

ระยะสะสม วัยทำงาน - วัยกลางคน ยอมรับความเสี่ยงได้สูงเพราะต้องการผลตอบแทนสูง

ระยะมั่นคง วัยกลางคน ลงทุนระยาว รับความเสี่ยงได้ปานกลาง เป้าหมายมีเงินใช้ยามเกษียณ

ระยะใช้จ่าย
ระยะอุทิศ












 

Create Date : 18 มีนาคม 2552   
Last Update : 18 มีนาคม 2552 15:30:41 น.   
Counter : 629 Pageviews.  

การจัดสรรเงินลงทุน

การจัดสรรเงินลงทุน ประกอบด้วย การจัดกลุ่มหลักทรัพย์ลงทุน + การกำหนดนโยบายการลงทุนให้สอดคล้องกับช่วงอายุ

การจัดสรรเงินลงทุนของบุคคลทั่วไป (asset allocation of individual investors)

คนทั่วไปจัดสรรเงินไว้เพื่อ 3 วัตถุประสงค์
1. ใช้จ่ายประจำวัน 2. เผื่อฉุกเฉิน 3. ลงทุน

การลงทุนที่เหมาะสมในแต่ช่วงอายุ
1.ระยะสะสม วัยทำงาน-กลางคน ในระยะนี้มักจะลงทุนยาวดังนั้นจึงยอมรับความเสี่ยงได้สูง

2.ระยะมั่นคง วัยกลางคน การลงทุนมักเป็นระยะยาว ยอมรับความเสี่ยงปานกลางเพราะเป้าหมายรักษาเงินต้นไว้ใช้ยามเกษียณ

3.ระยะการใช้จ่าย วัยเกษียณ รายได้ลด มีแต่ค่าใช้จ่าย ดังนั้นจึงเน้นปกป้องความเสี่ยงจากเงินเฟ้อ

4.ระยะอุทิศ ระยะนี้ต้องการผลตอบแทนเป็นรายได้ประจำและเสี่ยงต่ำ

กระบวนการจัดการกลุ่มหลักทรัพย์ (portfolio management process)
เป็นวงจรไม่มีสิ้นสุด จาก 1 ไป 4 และกลับมา 1 ใหม่

1.ระบุนโยบายการลงทุน = เป้าหมายการลงทุน + ข้อจำกัดในการลงทุน
เป้าหมายการลงทุน = ความเสี่ยงที่ยอมรับได้ + ผลตอบแทนที่ต้องการ

รูปแบบผลตอบแทนที่ต้องการ
-Capital preservation รักษาเงินต้นเหมาะกับผู้ไม่ต้องการเสี่ยงหรือลงทุนระยะสั้น
-Capital aprreciation เงินต้นเพิ่มค่า เหมาะกับผู้ต้องการส่วนต่างราคารับความเสี่ยงได้และเป้าหมายลงทุนระยะยาว
-Current incom รายได้ประจำ ต้องการเงินมาใช้จ่ายในชีวิตประจำวันด้วย
-Total return ต้องการทั้งกำไรและรายได้ประจำ

ข้อจำกัดของการลงทุน
-ด้านสภาพคล่อง
-ด้านระยะเวลาการลงทุน
-ด้านภาษี
-ด้านกฏระเบียบ
-ด้านความพอใจส่วนตัว

2.กำหนดกลยุทธ์

3.สร้างกลุ่มหลักทรัพย์

4.ตรวจสอบและติดตามผล

ทำไมต้องมีนโยบายในการลงทุน
1.ช่วยให้มีวินัย และสอดคล้องกับเป้าหมาย
2.ช่วยให้เข้าใจความต้องการ และข้อจำกัดของการลงทุน
3.ช่วยในการวัดผลการดำเนินงาน
4.เพิ่มความเชื่อมั่นให้นักลงทุนว่าปลอดภัยจากการลงทุนไม่เหมาะสม




 

Create Date : 13 มีนาคม 2552   
Last Update : 13 มีนาคม 2552 14:20:38 น.   
Counter : 1627 Pageviews.  

ความรู้พื้นฐานก่อนการลงทุนในตลาดทุน

ก่อนจะลงทุนในตลาดทุน ควรจะมีเข้าใจแนวคิดพื้นฐานในเรื่องดังต่อไปนี้

1. การคำนวณหาอัตราผลตอบแทนที่ต้องการ E(r)

2. ความแตกต่างระหว่างอัตราผลตอบแทนที่ปราศจากความเสี่ยงที่แท้จริง และอัตราผลตอบแทนที่ป็นตัวเงิน

3. ส่วนชดเชยความเสี่ยง และปัจจัยที่มีผลต่อส่วนชดเชยความเสี่ยง

4. ความสัมพันธ์ระหว่างความเสี่ยง และอัตราผลตอบแทน

---------------------------------------------------------------------------
1. ผลตอบแทนจากการลงทุน

1.1 การคำนวณ

อัตราผลตอบแทนใน 1 ช่วงเวลา = (ราคาขาย + เงินปันผล)/ ราคาซื้อ

ตัวอย่าง วันที่ 1 มค 2552 ซื้อหุ้น SCC ราคา 100 บาท ได้ปันผล 2 บาท และขายออกไปในวันที่ 30 มิย 2552 ราคา 110 บาท

ผลตอบแทน = ( 110 + 2) / 100 ===> 1.12
คิดเป็น % = (1.12 - 1) x 100 ===> 12% ต่อ 6 เดือน
หรือ คิดเป็น % = {[0.12^(1/0.5)] - 1} x 100 ===> 25.44% ต่อปี

อัตราผลตอบแทนถัวเฉลี่ย
วิธีค่าเฉลี่ยเลขคณิต (arithmetic average)= ผลบวกของ%อัตราผลตอบแทน / จำนวนปีที่ถือครอง

วิธีค่าเฉลี่ยเรขาคณิต (geometric average)=[ผลคูณของผลตอบแทน^(1/จำนวนปีที่ถือครอง)] - 1

ตัวอย่าง ปีที่ 1 ผลตอบแทน 1.15 ปีที่ 2 ผลตอบแทน 1.2 และปีที่ 3 ผลตอบแทน 0.80

วิธีค่าเฉลี่ยเลขคณิต = (0.15 + 0.20 - 0.20) / 3 => 0.05 หรือ 5%

วิธีค่าเฉลี่ยเรขาคณิต = [(1.15 x 1.20 x 0.80)^(1/3)] - 1 => 0.03353 หรือ 3.353%

1.2 ปัจจัยที่กำหนดอัตราผลตอบแทนที่ต้องการ E(r)
E(r) = [(1+Rf) x (1+IP) x (1+RP)] - 1

- Risk free ผลตอบแทนที่ปราศจากความเสี่ยง (Rf)
Nominal Risk Free Rate = [(1 + real risk free rate) x (1 + อัตราเงินเฟ้อ)] -1

Nominal Risk free คืออัตราดอกเบี้ยที่ใช้อ้างอิงในการทำธุรกรรมต่างๆในตลาดการเงิน เช่น อัตราผลตอบแทนของตั๋วเงินคลังระยะสั้น

Real Risk Free Rate = [(1 + real risk free rate) / [(1 + อัตราเงินเฟ้อ)] -1]

- Inflation premium เงินเฟ้อ (IP)

- Risk premium ส่วนชดเชยความเสี่ยง (RP)
Risk premuim = realization outcome แตกต่างไปจาก expectation ทั้งดีและร้าย

RP = Operation risk + Financial risk + Liquidity risk + Forex + Politics


2. Risk VS Return

Total risk = Systematic risk + Unsystematic risk

Unsystematic risk กำจัดได้ด้วยการกระจายความเสี่ยง (Diversify)
Systematic risk ไม่สามารถกำจัดได้

Hi risk - Hi return เพราะนักลงทุนนั้นเป็นผู้หลีกเลี่ยงความเสี่ยง (risk averter)

ดังนั้น E(r) = Rf + [(Rm - Rf) x Beta]

Security Mkt Line (SML) เป็นเส้นตรงที่บอกความสัมพันธ์ระหว่าง Risk vs Return




 

Create Date : 13 มีนาคม 2552   
Last Update : 13 มีนาคม 2552 12:59:27 น.   
Counter : 9058 Pageviews.  

1  2  

vizion
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




คนคิดการณ์ไกล 10 ปีจะปลูกต้นไม้ ส่วนคนคิดการณ์ไกล 100 ปีจะมีลูกหลาน
[Add vizion's blog to your web]