เมื่อรักแท้ดูแลไม่ได้.....พรุ่งนี้ไม่สายที่จะรักกัน

giftzy_naa
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




เมื่อรักแท้ดูแลไม่ได้.....พรุ่งนี้ไม่สายที่จะรักกัน
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add giftzy_naa's blog to your web]
Links
 

 

SMTP คือ

Simple mail transfer protocol server คือเครื่องบริการส่ง e-mail ไปยังเครื่องบริการอื่น ๆ สำหรับ SMTP ส่วนใหญ่จะไม่ยอมให้คนนอกองค์กร หรือ IP ที่อยู่นอกองค์กรใช้งาน SMTP เพราะอาจมีคนในโลกใบนี้มาแอบใช้ ทำให้บริการ SMTP ทำงานหนักให้กับคนภายนอกโดยไม่เกิดประโยชน์ใด ๆ หากเครื่องของท่านบริการ SMTP แก่คนนอก แสดงว่าไม่ได้กำหนด RELAY ไว้ เพราะชาวโลกอาจใช้เครื่องมือค้นหา "OPEN RELAY" แล้วพบว่าเครื่องของท่านเป็นเครื่องหนึ่งที่ไม่ได้ทำ RELAY ไว้ก็ได้ และที่อันตรายคือ อาจมีชาวโลกบางคนใช้โปรแกรม MOBI+ กำหนดให้เครื่อง SMTP ของท่าน bomb mail ไปยัง mail box ของเป้าหมาย และหมายเลขเครื่องที่โจมตี ก็คือ เครื่อง SMTP ของท่านนั่นเอง




 

Create Date : 03 กุมภาพันธ์ 2551    
Last Update : 4 กุมภาพันธ์ 2551 21:19:13 น.
Counter : 359 Pageviews.  

SOAP คือ

SOAP-Simple Object Access Protocol) เป็นโพรโทคอลที่กำหนดรูปแบบข้อมูลเอกซ์เอ็มเอลสำหรับการส่งข้อความโดยใช้โพรโทคอลสื่อสารที่มีอยู่แล้ว เช่น เอชทีทีพี (HTTP) หรือ เอสเอ็มทีพี (SMTP) สำหรับการนำส่ง แต่เอชทีทีพีเป็นโพรโทคอลสื่อสารที่นิยมใช้มากกว่าในเว็บเซอร์วิซ และเนื่องจากการที่เอชทีทีพีเป็นโพรโทคอลมาตรฐานสำหรับอินเทอร์เน็ตและมีใช้กันแพร่หลายอยู่แล้ว ความนิยมแพร่หลายของเทคโนโลยีเว็บเซอร์วิซในปัจจุบันส่วนหนึ่งจึงมาจากการที่สามารถสื่อสารข้อความโดยอาศัยเอชทีทีพีนั่นเอง
ข้อความ SOAP ประกอบด้วย SOAP envelope ที่ภายในประกอบด้วยข้อมูล
2ส่วน SOAP HEADER ข้อมูลเกี่ยวกับชื่อในการระบุตัวผู้รับ ส่วนหัว ( header ) หากมีการแสดงอยู่ จะส่งข้อมูลข่าวสารที่บรรจุอยู่ภายใน ตัวอย่างเช่น รายละเอียดการดำเนินการ, วิธีการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล คำอธิบาย หรือข้อมูลรายละเอียดบุคคล SOAP BODY ประกอบด้วยการร้องขอหรือการตอบกลับของ Web Service ซึ่งจะอยู่ในรูปแบบของภาษา XML โครงสร้างระดับสูงของข้อความ SOAP




 

Create Date : 03 กุมภาพันธ์ 2551    
Last Update : 4 กุมภาพันธ์ 2551 21:19:27 น.
Counter : 412 Pageviews.  

XML คือ


(XML) ย่อมาจาก Extensible Markup Language ซึ่งเป็นภาษามาร์กอัปสำหรับการใช้งานทั่วไป พัฒนาโดยW3C โดยมีจุดประสงค์เพื่อเป็น สิ่งที่เอาไว้ติดต่อกันในระบบที่มีความแตกต่างกัน(เช่นใช้คอมพิวเตอร์มี่มีระบบปฏิบัติการคนละตัว หรืออาจจะเป็นคนละโปรแกรมประยุกต์ที่มีความต้องการสื่อสารข้อมูลถึงกัน)นอกจากนี้ยังเพื่อเป็นพื้นฐานในการสร้างภาษามาร์กอัปเฉพาะทางอีกขั้นหนึ่ง XML พัฒนามาจาก SGML โดยดัดแปลงให้มีความซับซ้อนลดน้อยลง XML ใช้ในแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่แตกต่างกัน และเน้นการแลกเปลี่ยนข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ต
XML ยังเป็นภาษาพื้นฐานให้กับภาษาอื่นๆ อีกด้วย (ยกตัวอย่างเช่น Geography Markup Language (GML), RDF/XML, RSS, MathML, Physical Markup Language (PML), XHTML, SVG, MusicXML และ cXML) ซึ่งอนุญาตให้โปรแกรมแก้ไขและทำงานกับเอกสารโดยไม่จำเป็นต้องมีความรู้ในภาษานั้นมาก่อน

Xml เป็นภาษาที่ใช้เน้น (มาร์กอัป) ส่วนที่เป็นข้อมูล โดยสามารถกำหนดชื่อแท็ก (Element) และชื่อแอตทิบิวต์ ได้ตามความต้องการของผู้สร้างเอกสาร xml โดยเอกสารนั้นจะต้องมีความเป็น Well-formed ส่วน DTD และ Schema จะมีหรือไม่มีก็ได้ ขึ้นอยู่กับว่ามีผู้ใช้เอกสารนั้นมากน้อยแค่ไหน เอกสาร xml จึงเป็นแค่เท็กซ์ไฟล์ชนิดหนึ่ง ที่มีแท็กเปิดและเท็กปิดครอบข้อมูลไว้ตรงกลางเท่านั้น ทำให้เอกสาร xml ถูกใช้ในการติดต่อกับระบบที่ต่างกัน เนื่องจากความง่ายในการสร้างเอกสาร การนำเอกสาร xml ไปใช้งาน จะสนใจแต่ข้อมูลที่ถูกเน้นด้วยแท็กมากกว่า

Well-formed เป็นไวยากรณ์พื้นฐานของเอกสาร xml อย่างเช่น เอกสาร xml ต้องเริ่มต้นด้วย เอกสาร xml 1 เอกสาร จะต้องมีแท็กรูทเพียงแท็กเดียว หมายความว่า แท็กและข้อมูลต่างๆ จะต้องอยู่ภายในแท็กแรกสุดเพียงแท็กเดียว การเปิดและปิดแท็กจะต้องไม่มีการครอมกัน เช่น ตัวหนาและเอียง จะไม่ Well-formed
เนื่องจากเอกสาร xml สามารถกำหนดชื่อแท็ก และชื่อแอตทิบิวต์ได้ตามความต้องการของผู้สร้างเอกสาร ทำให้ในการเน้นข้อมูลใดข้อมูลหนึ่ง สามารถมีเอกสาร xml หลายรูปแบบ (ผู้เขียนอาจใช้ชื่อแท็กต่างกัน ทั้งที่สื่อความหมายไปที่สิ่งเดียวกัน) หากว่าเอกสาร xml นั้น ถูกนำไปใช้ติดต่อกับระบบอื่นๆ อาจทำให้สื่อความหมายไม่ตรงกัน ดังนั้นจึงต้องมีการกำหนดรูปแบบที่เป็นมาตรฐานขึ้น (ตกลงรูปแบบระหว่างกัน) โดย DTD และ Schema จะเป็นตัวกำหนดว่าเอกสาร xml นั้น จะต้องมีแท็กอะไรบ้าง ภายในแท็กนั้นจะมีแท็ก แอตทิบิวต์ หรือข้อมูลอะไรได้บ้าง โดย DTD จะต่างกับ Schema ตรงที่ Schema เป็นเอกสาร xml ด้วย
เอกสาร XML จะเป็นอะไรก็ได้อาจเป็น ฟิสิคอลไฟล์ใน Hard Disk ของคุณหรือเป็นแค่สายอักขระในหน่วยความจำหลักในเครื่องของคุณก็ได้ เพราะโดยเนื้อแท้แล้วเอกสาร XML มีความประสงค์ที่จะให้เอาไว้ติดต่อสื่อสารกัน
XML เป็นภาษาที่ไม่มีรูปแบบโครงสร้างที่กำหนดไว้ล่วงหน้าใดๆเลย นี้เป็นข้อดีของมันเพราะมันทำให้ โปรแกรมประยุกต์ใดๆก็ได้สามารถใช้งานมันได้โดยข้อกำหนดที่ได้ตกลงกันไว้ล่วงหน้า ถึงแม้ว่า XML ไม่มีข้อกำหนดล่วงหน้าถึงโครงสร้างข้อมูลต่างๆแต่ก็มีรูปแบบที่เป็นที่ตกลงกัน

ประโยชน์ XML

สามารถนำไปแสดงในระบบปฏิบัติ อุปกรณ์ หรือสื่อต่าง ๆ ได้โดยง่าย เพราะได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง (ขนาดผมเองยังมีแผนนำเสนอข้อมูลทั้งหมด ที่เคยจัดเก็บในรูป xml) เพราะท่านสามารถเขียน xsl จัดรูปแบบข้อมูลใหม่ แต่เรียกข้อมูลจากเว็บของผม คล้ายตัวอย่าง educationt.xsl และ educationt.htm




 

Create Date : 03 กุมภาพันธ์ 2551    
Last Update : 4 กุมภาพันธ์ 2551 21:19:59 น.
Counter : 364 Pageviews.  

VPN คือ

คือ ระบบเครือข่ายส่วนบุคคลที่มีการรักษาความปลอดภัย ซึ่งทำงานอยู่บนระบบเครือข่ายสาธารณะ โดยเครือข่ายทั้งสองนี้มีจุดเข้า-ออกร่วมกัน เช่น ระบบ WAN ส่วนบุคคลบนอินเทอร์เน็ตที่มีอยู่เดิม ช่วยให้คุณเสียค่าบำรุงรักษาระบบ WAN เพียงอย่างเดียว แทนที่จะต้องเสียค่าใช้จ่ายกับระบบอินเทอร์เน็ตด้วย

บางที คุณอาจเคยได้ยินการเปรียบเทียบข้อมูลที่ถูกส่งผ่านอินเทอร์เน็ต ว่าเหมือนกับข้อความที่ถูกเขียนลงบนโปสการ์ด โดยหากคุณส่งโปสการ์ดแบบไม่ใส่ซองปิดผนึก ไม่ว่าใครก็ตามที่หยิบจับมันก็สามารถอ่านข้อความนั้นได้ เช่นเดียวกับการส่งข้อมูลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทั่วไป ไม่ว่าใครก็ตามที่มีฝีมือมากพอ ก็สามารถแอบอ่านข้อมูลของคุณได้เหมือนกัน ซึ่งไม่ปลอดภัย

ดังนั้น ถ้าต้องการความปลอดภัยมากขึ้น คุณก็ต้องเขียนข้อความบนกระดาษ แล้วใส่ซองปิดผนึกก่อนที่จะหย่อนลงตู้ไปรษณีย์ ซึ่งถึงแม้เป็นวิธีที่ต้องใช้ความพยายามเพิ่มอีกนิด แต่ก็ไม่มีผู้ใดเห็นข้อความนั้นอีก เช่นเดียวกับระบบ VPN ที่สามารถปกป้องข้อมูลของคุณได้ ขณะที่เดินทางจากฝั่งหนึ่งไปยังอีกฝั่งหนึ่งของระบบเครือข่าย

เชื่อมต่อสำนักงานเข้าด้วยกัน

ลองพิจารณาบริษัทที่ประกอบด้วยสำนักงานใหญ่ และสำนักงานสาขาย่อย ซึ่งระบบเครือข่ายทั้งคู่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต สำนักงานเหล่านี้ จะมีทางเลือกในการสื่อสารข้อมูลได้สองทาง ได้แก่ การใช้อุปกรณ์จำพวก ISDN สายเคเบิล T1 หรือเฟรมรีเลย์เชื่อมแต่ละไซต์เข้าหากัน ซึ่งเป็นกรรมวิธีที่นิยมใช้กันทั่วไป แต่เสียค่าธรรมเนียมในการเช่าสายสูง

อีกทางเลือกหนึ่ง ถ้าสำนักงานทั้งคู่มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต และ LAN ในเวลาเดียวกัน คุณก็เพียงกำหนดให้เซิร์ฟเวอร์ที่รันวินโดวส์ 2000 ในแต่ละแห่งลิงก์เข้ากันด้วย VPN ได้ ดังภาพที่ 1 ที่แสดงตัวอย่างของระบบ WAN ที่ประกอบด้วยเซิร์ฟเวอร์ชื่อ MAIN-OFFICE และ REMOTEOFFICE จะเห็นว่าเครื่องฝั่งสำนักงานใหญ่มีซับเน็ต (Subnet) อยู่ในช่วงระหว่าง 172.16.0.1 ถึง 172.16.0.254 และฝั่งสำนักงานสาขาย่อยก็มีช่วงซับเน็ตที่ 192.168.0.1 ถึง 192.168.0.254 พร้อมทั้งมีอินเทอร์เน็ตคั่นกลาง ซึ่งคุณสามารถใช้สร้างเครือข่าย VPN ได้ โดยในบทความฉบับนี้ แอดเดรสใดที่อยู่ในช่วง 10.x.x.x จะหมายถึงแอดเดรสที่เป็นของอินเทอร์เน็ตสาธารณะ

เราลองมาสมมติกันว่า ไซต์ทั้งคู่ล้วนมีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบถาวร และมีหมายเลขไอพีที่ตายตัวจากไอเอสพี ถึงแม้คุณจะสามารถเซต VPN ให้ทำงานกับการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบ Dial-up ได้ แต่การใช้การเชื่อมต่อแบบถาวรจะทำได้ง่ายกว่า และหมายเลขไอพีที่ตายตัวก็จำเป็นสำหรับไซต์แต่ละแห่ง เพราะว่าคุณจะต้องเจาะจงเส้นทางเดินข้อมูลที่แน่นอน ซึ่งต้องอาศัยแอดเดรสที่ตายตัวด้วย

ส่วนบรรดาเซิร์ฟเวอร์ที่รันวินโดวส์ 2000 ในตัวอย่างเป็นเครื่องที่ทำงานแบบสแตนอโลน (ไม่ใช่เครื่องที่เป็นสมาชิกของโดเมน หรือ แอ็กทีฟไดเรกทอรี : AD ใดๆ ) และมีเพียงระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 2000 เซิร์ฟเวอร์ ติดตั้งอยู่เท่านั้น ด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัย เซิร์ฟเวอร์ที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต ควรมีบัญชีผู้ใช้ให้น้อยที่สุดเท่าที่จะน้อยได้ ซึ่งทำให้หลีกไม่พ้นที่จะใช้เครื่องสแตนอโลนดังที่กล่าวมา นอกจากนี้ การที่เราแนะนำให้ในเครื่องมีเพียงวินโดวส์ 2000 ก็เนื่องจากการติดตั้งโปรแกรมต่างๆ เช่น Microsoft Proxy Server, Microsoft Exchange Server, RRAS หรือ Microsoft IIS บนเซิร์ฟเวอร์เดียวกันนั้น ทำให้คอนฟิกูเรชันที่แต่ละโปรแกรมสร้างขึ้นตีกันยุ่งเหยิงเกิดปัญหาได้

ขั้นตอนและวิธีการ

ตอนนี้ เรามาทำความเข้าใจขั้นตอนและวิธีการสร้างระบบ VPN ในภาพรวมกัน โดยเริ่มแรกที่แต่ละไซต์ คุณต้องกำหนดอินเทอร์เฟซ Demand-Dial (เป็นศัพท์เทคนิคที่ทางไมโครซอฟท์ใช้เรียกอินเทอร์เฟซการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตระหว่างเซิร์ฟเวอร์ - ไม่ใช่การเชื่อมต่อผ่านสายโทรศัพท์อย่างที่บางคนเข้าใจ) ซึ่งชี้ไปยังเซิร์ฟเวอร์วินโดวส์ 2000 ของฝั่งตรงข้าม และเส้นทางตายตัว (Static Route) ที่นำไปสู่ระบบเครือข่ายฝั่งตรงข้ามก่อน จากนั้น คุณสร้างบัญชีผู้ใช้ที่แต่ละไซต์สำหรับให้เราเตอร์เรียกใช้ เมื่อถึงคราวเชื่อมต่อไซต์เข้าด้วยกัน สุดท้าย คุณก็กำหนดคอนฟิกให้เวิร์กสเตชันต่างๆ บนแต่ละเครือข่ายให้ใช้เซิร์ฟเวอร์วินโดวส์ 2000 ที่ผ่านการอีนาเบิล VPN แล้วเป็นดีฟอลต์เกตเวย์ เท่านี้เป็นอันเสร็จพิธี

ถึงแม้การสร้าง VPN เชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายบนวินโดวส์ 2000 จะทำได้ง่ายกว่าบนเอ็นทีเล็กน้อย แต่ตัววิซาร์ดที่มียังคงขาดการคอนฟิกไอเท็มบางตัวที่จำเป็นอยู่ ดังนั้น เราจึงขอแนะนำให้คุณคอนฟิกระบบโดยเริ่มจากไซต์ของสำนักงานสาขาย่อยก่อน แล้วจึงไปทำที่ไซต์ของสำนักงานใหญ่ดังแสดงในภาพที่ 1 แบบดำเนินทีละขั้นตอนเองจะดีกว่า โดยบนเซิร์ฟเวอร์ฝั่งสาขาย่อย ให้เลือกออปชัน Routing and Remote Access จากเมนู Administrative Tools ซึ่งถ้าระบบของคุณไม่มี RRAS คุณก็ต้องติดตั้งมันเข้าไปด้วย เนื่องจากตามปกติ วินโดวส์ 2000 เซิร์ฟเวอร์ จะไม่ติดตั้งหรือคอนฟิก RRAS ให้เอง แต่ถ้าคุณได้ติดตั้ง RRAS อยู่ก่อนแล้ว ก็สามารถจัดการเซต VPN บนคอนฟิกูเรชันที่คุณสร้างไว้ได้ทันที

เอาล่ะ หลังจากที่คุณบอกวิซาร์ดว่าคุณต้องการจะคอนฟิกระบบเองเรียบร้อยแล้ว RRAS ก็จะโหลดขึ้นมา จากนั้นให้คลิ้กขวาที่ชื่อเซิร์ฟเวอร์ในฝั่งซ้ายมือของหน้าต่าง MMC อีกครั้งหนึ่ง แต่ตอนนี้ ให้เลือก Properties เพื่อเปิดหน้า REMOTEOFFICE Properties จากนั้นไปที่แท็บ General แล้วเลือกออปชันอีนาเบิล LAN และอินเทอร์เฟซ Demand-Dial

สำหรับขั้นตอนถัดไป คือ การเลือกโพรโตคอลสำหรับส่งข้อมูลแก่เซิร์ฟเวอร์ ซึ่ง VPN จะเข้ารหัสและรวบรวมข้อมูลไว้ภายในแพ็กเก็ต IP ทำให้สามารถขนส่งโพรโตคอลชนิดต่างๆ ที่ปกติจะไม่สามารถวิ่งข้ามอินเทอร์เน็ต เช่น NWLink IPX/SPX ให้วิ่งข้ามอินเทอร์เน็ตไปได้ ในการเลือกโพรโตคอลที่ต้องการนั้น ให้คุณคลิ้กที่แท็บชื่อโพรโตคอล เลือกออปชัน Enable IP routing กับ Allow IP-based remote access and demand-dial connections แล้วคลิ้ก Apply ดังภาพที่ 2 ส่วนโพรโตคอลใดที่ไม่ต้องการใช้ ให้ลบเครื่องหมายหน้าออปชันสองตัวนี้ออกไปด้วย




 

Create Date : 03 กุมภาพันธ์ 2551    
Last Update : 4 กุมภาพันธ์ 2551 21:20:36 น.
Counter : 312 Pageviews.  

TCP/IP คือ

TCP/IP (Transmitsion Control Protocol/Internet Protocol) เป็นชุดของโปรโตคอลที่ถูกใช้ในการสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สามารถใช้สื่อสารจากต้นทางข้ามเครือข่ายไปยังปลายทางได้ และสามารถหาเส้นทางที่จะส่งข้อมูลไปได้เองโดยอัตโนมัติ ถึงแม้ว่าในระหว่างทางอาจจะผ่านเครือข่ายที่มีปัญหา โปรโตคอลก็ยังคงหาเส้นทางอื่นในการส่งผ่านข้อมูลไปให้ถึงปลายทางได้ ชุดโปรโตคอลนี้ได้รับการพัฒนามาตั้งแต่ปี 1960 ซึ่งถูกใช้เป็นครั้งแรกในเครือข่าย ARPANET ซึ่งต่อมาได้ขยายการเชื่อมต่อไปทั่วโลกเป็นเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ทำให้ TCP/IP เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางจนถึงปัจจุบันTCP/IP นี้มีการออกแบบเป็นเวลานาน และได้ปรับปรุงไปเรื่อยๆ เพื่อให้สามารถใช้งานได้หลากหลาย และมีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่อย่างไรก้อตามโปรโตคอลชุดนี้ก้อยังมีจุดบกพร่องอีกมาก //www.us-cert.gov/cas/techalerts/index.html และจุดบกพร่องเหล่านี้อาจเป็นนำมาเป็นเครื่องมือใช้ในการโจมตีของเหล่าแฮกเกอร์ได้ การเรียนรู้พื้นฐานด้าน TCP/IP นี้เป็นพื้นฐานเพื่อที่จะศึกษาเรื่องข้อบกพร่องของโปรโตคอล ผลกระทบ และวิธีการป้องกันตัวเองจากการโจมตีของแฮกเกอร์ต่อไป




 

Create Date : 03 กุมภาพันธ์ 2551    
Last Update : 4 กุมภาพันธ์ 2551 21:20:52 น.
Counter : 320 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.