Group Blog
 
All blogs
 

นิยายอิงธรรมะจากบทละครวิทยุ เรื่อง "พระมหาชนก"
































 

Create Date : 02 พฤศจิกายน 2550    
Last Update : 8 พฤศจิกายน 2550 11:32:17 น.
Counter : 1116 Pageviews.  

พระปราบยักษ์



เรื่องโดยย่อมีอยู่ว่า มียักษ์ตนหนึ่งชื่อ อาฬวกะ อยู่ที่เมืองอาฬวี เป็นยักษ์อันธพาลดุร้าย ชอบตั้งปัญหาถามคนทั่วไป ที่ถามก็มิได้อยากรู้คำตอบ แต่ถามเพราะความพาลเกเรของตอนเองเท่านั้น ถ้าใครตอบปัญหาไม่เป็นที่พอใจก็จะแกล้งทรมานหรือจับฆ่าเสีย
วันหนึ่งพระพุทธเจ้าเข้าไปหายักษ์ถึงที่อยู่ เจ้ายักษืด้วยนิสัยพาลก็อยากจะอวดศักดาแก่พระ เขาจึงออกมาจากที่พัก แล้วก็ออกคำสั่งด้วยเสียงอันดังว่า
"พระ จงออกมา" พระพุทธเจ้าเสด็จออกมาอย่างว่าง่าย
"พระ จงเข้าไป" พระพุทธเจ้าทรงเข้าไปตามคำสั่งอีกเจ้ายักษ์เกเรได้สั่งให้พระออก ๆ เข้า ๆ ในที่พักของตนถึง 3 เที่ยว พระพุทธเจ้าก็ทรงยอมปฏิบัติตามด้วยดี พอยักษ์สั่งให้พระพุทธเจ้าเสด็จออกมาเป็นครั้งที่ 4 พระพุทธเจ้าทรงปฏิเสธ
"พอแล้วยักษ์ เราไม่ออกไปแล้วละ แกจะเอาอย่างไรก็ว่ามาเถอะ"
เมื่อใช้แผนออกคำสั่งไม่เป็นผล ยักษ์ เปลี่ยนมาเป็นถามปัญหาดังที่ยกมาไว้ต้นเรื่อง
เมื่อพระตอบเพียงแค่นั้นยักษ์ก็ยังไม่พอใจจึงถามต่อไปอีก
"คนจะข้ามโอฆะคือห้วงน้ำได้อย่างไร"
"ข้ามได้ด้วยศรัทธา"
"คนจะข้ามอรรถพได้อย่างไร"
"ข้ามได้ด้วยความไม่ประมาท"
"คนจะล่วงความทุกข์ได้อย่างไร"
"คนจะล่วงความทุกข์ด้วยความเพียร"
"คนจะบริสุทธิ์ได้อย่างไร"
"คนจะบริสุทธิ์ได้ด้วยปัญญา"
ยักษ์ถามปัญหาจนเบื่อ แล้วลงท้ายก็เลื่อมใสยกมือไหว้พระพุทธเจ้าแล้วก็กล่าวว่า
"พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระธรรมเป็นธรรมที่ดี"

ที่มา....ขอขอบคุณคุณพัชรี //www.tidso.com/















 

Create Date : 27 ตุลาคม 2550    
Last Update : 8 พฤศจิกายน 2550 11:34:54 น.
Counter : 1142 Pageviews.  

พระไม่เคยถูกด่า



มีพราหมณ์อักโกสโกรธแค้นพระพุทธเจ้ามาก ที่สามารถเทศนาจนเพื่อเพราหรณ์ทีรักใคร่ของเขาคนหนึ่งชื่อ "ภาวทวาชโคตร" เลื่อมใสจนออกบวชเขาจึงผูกใจเจ็บแต่นั้นมา
จนวันหนึ่งเขาอดกลั้นความโกรธไม่ไหว จึงตามมาด่าพระพุทธเจ้าถึงสำนัก เขาด่าอย่างหยาบคายต่าง ๆ นานาสารพัด พระพุทธเจ้าก็นั่งฟังเฉยไม่ทรงโต้ตอบแม้แต่คำเดียว เขาด่าจนเหนื่อยหอบหมอแรงจึงได้หยุด พระพุทธเจ้าจึงทรงถามเขาว่า
"อักโกส เคยมีมิตร อำมาตย์ ญาติสาโลหิต เป็นแขกมาบ้านเรือนของท่านบ้างไหม"
"เคยมี" เขาตอบห้วน ๆ
"ท่านเคยจัดอาหารคาวหวาน รับรองเลี้ยงดูแขกเหรื่อเหล่านั้นบ้างไหม ?"
"เคยจัด" เขาตอบอย่างเสียไม่ได้
"ถ้าแขกเหล่านั้น ไม่บริโภคอาหารที่ท่านนำมารับรอง อาหารเหล่านั้นท่านจะเอาไปให้ใคร ?"
"ผมก็บริโภคเองนะสิ จะเอาไปให้ใครที่ไหน"
"เรื่องนี้ก็เช่นกันอักโกส ท่านด่าเราผู้ไม่ด่าตอบ ท่านโกรธเรา ผู้ไม่โกรธตอบ เราไม่รับคำด่าและความโกรธที่ท่านให้เรา คำด่าและความโกรธนั้น ก็เป็นของเท่านแต่ผู้เดียว
"อันโกส ผู้ใดด่าตอบบุคคลผู้กำลังด่าอยู่ โกรธตอบบุคคลที่กำลังโกรธอยู่ ผู้นั้นชื่อว่าบริโภคอาหารของความโกรธร่วมกัน ส่วนเรานั้นไม่ขอบริโภคร่วมด้วย"
สุดท้ายพราหมณ์อักโกสก็หายโกรธเป็นปลิดทิ้ง เขาเกิดความเสื่อมใสทูลขอบวชต่อพระพุทธเจ้า
พระอักโกสบวชแล้วไม่นานก็บำเพ็ญธรรมจนสำเร็จเป็นพระอรหันต์รูปหนึ่งในโลก

ที่มา....ขอขอบคุณคุณพัชรี //www.tidso.com/











 

Create Date : 27 ตุลาคม 2550    
Last Update : 4 พฤศจิกายน 2550 11:47:17 น.
Counter : 715 Pageviews.  

นิทานธรรมะเรื่องเจ้าของเรือ



นิทานธรรมะของท่านพุทธทาส เรื่องเจ้าของเรือ

"พ่อจ๋า พ่อว่า พ่อเป็นเจ้าของเรือ แต่พ่อต้องล้างเรือ เช็ดถูเรือ ต้องชะโลมน้ำมัน ให้มันบ่อยๆ พ่อต้องเก็บรักษา แจวพาย และ เครื่องใช้ ในเรือ ทุกๆ อย่าง แล้วพ่อก็แจว เมื่อพาพวกเราไปนั่งเรือเล่น พร้อมกับเพื่อนบ้านของเราทุกคน พ่อเหนื่อยเกือบตาย ทีพวกนั้น ทำไมนั่งสบาย ไม่ช่วยพ่อแจว ไม่ช่วยพ่อเช็ดล้างเรือบ้างเล่าพ่อจ๋า?" หนูจ้อย ถามพ่อ ทำตาแดงๆ

"ก็พ่อเป็น เจ้าของเรือ นี่ลูกเอ๋ย"
"ใครเป็นเจ้าของอะไร ก็ต้องเหนื่อยเกือบตาย ใครไม่เป็นเจ้าของก็สบาย พ่อเห็นว่า มันจะยุติธรรมหรือ?"
"ธรรมเนียม มันเป็นอย่างนั้นเอง ใครเป็นเจ้าของ ก็ต้องทนเหนื่อย ทนหนักใจ"
"แล้วพ่อจะขืน เป็นเจ้าของเรือ ไปทำไม ให้เขาเสีย แล้วขอนั่งกะเขา เป็นครั้งคราว เหมือนที่เขานั่งเรือเรา อย่างสนุกสนาน มิดีกว่าหรือ?"
"ก็ พ่อ อยากจะเป็น เจ้าของเรือสักลำหนึ่ง นี่ลูกเอ๋ย"
"ขออย่าให้ ฉันต้องเป็น เจ้าของเรือ ร่วมกับพ่อ ฉันจะ ไม่ยอมเป็น เจ้าของ อะไรๆ เลย แม้แต่ ตัวของฉันเอง!"
"แล้วลูก จะอยู่ได้อย่างไร?"
"อยู่อย่าง ไม่ต้อง ทนเหนื่อย เหมือนพ่อ และตรงกันข้าม จากพ่อ ทุกประการ!"

ดังนั้น หนูจ้อยจึงกลายเป็น เณรจ้อยไป เพราะเขา ไม่อยากเป็น เจ้าของสิ่งใด แต่อยากเป็นอยู่ ชนิดที่เขาเห็นว่า ตรงกันข้าม จากพ่อ ทุกประการ

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า: ถ้าใครไม่เป็น เจ้าของสิ่งใด กลับจะได้กิน "ไข่แดง" ของสิ่งนั้น (เหมือน คนที่มาพลอย นั่งเรือเล่น กับพ่อ) ส่วนใครที่เป็น เจ้าของสิ่งใด เขาจะกินได้เพียง "ไข่ขาว" ของสิ่งนั้น ซึ่งบางที ถึงกับอาจจะต้อง กินเปลือกไข่ หรือ มูลโสโครก ที่ติดอยู่กับ เปลือกไข่ เข้าไปด้วยกัน ดังนี้แล้ว ใครจะอยู่ใน สภาพที่น่าสงสาร กว่าใคร ในระหว่าง พ่อ-ลูก สองคนนี้ เพื่อตอบปัญหา เกี่ยวกับ ตัวเราโดยตรง สืบไป








 

Create Date : 21 ตุลาคม 2550    
Last Update : 21 ตุลาคม 2550 11:23:42 น.
Counter : 1191 Pageviews.  

ศิลปะของการดับทุกข์ ตอนที่2 หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ






เราหัดทำตนเป็นเด็กอ่อนทางจิตใจเสียบ้างก็จะสบาย เด็กได้เปรียบผู้ใหญ่เพราะเด็กไม่มีความยึดมั่นในเรื่องอะไรต่างๆ เด็กยังไม่ฉลาดในการที่จะยึด แต่ว่าเรานี่ฉลาดในการที่จะยึด แต่เป็นความฉลาดที่ไม่ได้เรื่อง เพราะฉลาดในการที่จะยึดจะแบก เอามาไว้เป็นของตัวโดยไม่รู้ว่าสิ่งนั้นจะทำให้เราหนักใจ ทำให้เราเกิดความทุกข์ทางใจ เราไม่เข้าใจเราก็เข้าไปยึดสิ่งนั้นไว้ สำคัญว่าสิ่งนั้นเป็นของเราตลอดเวลาไม่รู้จักปล่อยไม่รู้จักวางในสิ่งเหล่านั้น เราก็แบกหนักอยู่เรื่อยไป เหมือนกับคำที่พระท่านว่า “ภาราหะเว ปัญจักขันธา - ขันธ์ห้า เป็นภาระอันหนักเน้อ”หมายความว่า หนักเพราะเข้าไปแบก ถ้าเราไม่ไปแบก มันก็ไม่หนักอะไร มันเป็นเรื่องธรรมชาติของมันอย่างนั้น

มันเกิดขึ้น-ตั้งอยู่-ดับไป ตามวิถีทางของธรรมชาติ ถ้าเราไม่เข้าไปยึด มันก็เป็นของมันอย่างนั้น เราไม่ต้องเป็นทุกข์กับสิ่งเหล่านั้น แต่เมื่อใดเราไปยึดถือว่าสิ่งนี้ที่เป็น“ของฉัน”ขึ้นมา เราก็เป็นทุกข์เพราะความยึดถือนั้นด้วยตัวอุปาทาน ตัวศัพท์ธรรมะเรียก“อุปาทาน” แปลเป็นภาษาไทยว่า ยึดมันถือมั่น หรือท่านใช้ศีพท์อีกคำหนึ่งว่า“อภินิเวส”เช่นในพระพุทธภาษิตที่ว่า “สัพเพ ธัมมา นาลัง อะภินิเวสายะ”

“อะภินิเวสายะ” ก็หมายถึงว่าการยึดมั่นถือมั่นเหมือนกัน เหมือนกับตัวอุปาทานนั่นแหละ แต่ว่าใช้ศัพท์อีกศัพท์หนึ่งว่า อะภินิเวสายะแปลว่า เข้าไปยึดมั่นถือมั่น ว่าเป็นตัวฉัน เป็นของฉัน เมื่อเราเข้าไปยึดสิ่งใดว่าเป็นตัวเราเป็นของเรา เป็นตัวฉันเป็นของฉัน จิตก็เป็นทุกข์ทันที เป็นทุกข์เพราะสิ่งนั้น

อันนี้เป็นเคล็ดที่เราควรจะรู้ไว้ในใจของเรา แล้วก็จะได้ไปแก้ปัญหาชีวิตของเราได้ เวลาใดที่เราเป็นทุกข์ เราก็ต้องพิจารณาว่าที่ได้เกิดความทุกข์นี่เพราะอะไร เพราะเราไปยึดถือว่าเป็นของเรานั่นเองเป็นของฉัน ทรัพย์ของฉัน สามีของฉัน ภรรยาของฉัน บ้านของ ฉันรถของฉัน รวมไปถึงประเทศของฉัน มันก็ยิ่งไปกันใหญ่ ถ้าใครไปยึดถืออย่างนั้นความทุกข์มันก็เพิ่มขึ้น

ยึดถือของน้อย ทุกข์มันก็มีปริมาณน้อยหน่อยใหญ่มันก็มีปริมาณมาก ยึดมากก็ทุกข์มาก ยึดน้อยก็ทุกข์น้อย แต่ถ้าเราไม่ยึดเสียเลย...การไม่ยึดก็คือ มีปัญญา มีปัญญารู้เท่ารู้ทันในสิ่งนั้นตามสภาพที่เป็นจริง คือรู้ว่าอะไรๆ มันก็มีแต่เพียง ๓ เรื่องเท่านั้น คือเกิดขึ้น-ตั้งอยู่-ดับไป เกิดขึ้น-ตั้งอยู่-ดับไป สภาพมันเป็นเช่นนั้นอยู่ตลอดเวลา อย่าไปจับเอาตอนใดตอนหนึ่งของสิ่งนั้นว่าเป็นตัวเรา เป็นของเรา เราก็ไม่ต่อมีปัญหา ไม่ต่องมีความทุกข์ เพราะเรื่องอย่างนั้น

ทีนี้ คนเราไม่รู้จักใช้ปัญญา พิจารณาสิ่งต่างๆให้เกิดความเข้าใจว่า ธรรมชาติแท้จริงของสิ่งเหล่านั้นมันเป็นอยางไร เราไม่ได้คิดให้เกิดปัญญาให้เกิดความเข้าใจแจ่มแจ้ง พออะไรเกิดเปลี่ยนแปลงขึ้นมาเราก็ต้องเป็นทุกข์เพราะสิ่งนั้น บางทีทุกข์ขนาดหนัก ทุกข์จนกระทั่งว่าจะกินไม่ได้ นอนไม่หลับเอาเสียทีเดียว แล้วถ้าทุกข์มากๆ เข้า สภาพจิตก็จะเปลี่ยนแปลงไป คือ จะเป็นโรคทางจิต หรือเป็นโรคทางประสาทอาการทางร่างกายก็เปลี่ยนแปลงไปด้วย

สิ่งเหล่านี้มันเกิดขึ้นเพราะเราไม่เข้าใจในเรื่องทั้งหลายตามสภาพที่เป็นจริง ถ้าพูดกันอย่างตรงไปตรงมาก็พูดว่า เราโง่ นั่นเองไม่ใช่เรื่องอะไร เราโง่...พอเราโง่แล้วเราก็เข้าไปหาเรื่องที่มันเป็นทุกข์ตลอดเวลา ถ้าเรามีความฉลาดเราก็ต้องคิดในแง่ที่จะไม่ทำให้เราเป็นทุกข์ มีการคิดที่จะไม่ให้เป็นทุกข์ก็ได้ คิดให้เป็นทุกข์ก็ได้เหมือนกัน

ถ้าเราคิดให้เป็นทุกข์ก็คิดด้วยความโง่ความเขลา แต่ถ้าเราคิดให้ไม่เป็นทุกข์ก็หมายความว่า เราคิดด้วยปัญญา มันมีทางอยู่ตั้ง ๒ ทางที่จะให้เราเดิน ทีนี้เราจะเดินทางใด เดินทางที่จะคิดให้เป็นทุกข์หรือว่าเส้นทางที่เราคิดแล้วไม่มีความทุกข์ ญาติโยมลองนึกดู นึกดูด้วยปัญญาของตัวเอง ก็จะเห็นว่า เอ! คิดแล้วไม่ให้เป็นทุกข์นี่มันดี แต่คิดแล้วไห้เป็นทุกข์มันไม่ดี เราก็มองเห็น แต่มองเห็นแล้วทำไมเราไปคิดให้เป็นทุกข์อีก ทำไมไม่มาคิดในท่าทีที่จะไม่ให้เกิดความทุกข์ขึ้นในจิตใจของเรา ทำไมเราไม่คิดอย่างนั้น ความเคยชินนั่นเอง เพราะตั้งแต่เกิดมานี่เราเรียนรู้แต่เรื่องให้ยึดทั้งนั้น เขาสอนให้เรายึดถือทั้งนั้น

ตั้งแต่เป็นเด็กพอรู้เดียงสาเขาก็บอกให้เรารู้ว่าอันนี้ของหนู อันนี้ของพ่อนั่นของหนูให้ยึดถือเรื่อยมาตั้งแต่เป็นเด็กเล็ก เราสอนอย่างนั้นให้เด็กยึดถือทั้งนั้นไม่ได้สอนให้ปล่อยให้วาง แต่ว่าเด็กมันก็รับไว้อย่างนั้นจนกระทั่งเติบโตขึ้นเป็นเด็กอนุบาลเป็นเด็กประถมมัธยมอะไรในโรงเรียนในการสอนต่างๆ ก็สอนให้“ยึด”ทั้งนั้น ให้รักชาติ ไห้รักประเทศ อะไรอย่างนี้ สอนให้รักก็คือให้ยึดถือในชาติของตัวในประเทศของตัว แล้วก็ในพระศาสนานี่ก็สอนให้ยึดถือ คือไม่ได้สอนให้สมาทานเอาไปปฏิบัติ

มันมีคำอยู่คู่กันเรียกว่าความยึดมั่นถือมั่น มาจากคำว่า“อุปาทาน”หรือ“อะภินิเวายะ” อีกคำหนึ่งเรียกว่า“สมาทาน” เช่นเราสมาทานศีลนี่ก็หมายความว่ารับเอาข้อปฏิบัติไปใช้ในชีวิตของเรา นั่นมันไม่ทำให้เกิดความยึดถือ..เป็นทุกข์ ถ้าเราสมาทานด้วยปัญญาเราก็ไม่เป็นทุกข์อะไร เอาไปใช้โห้เกิดความเจริญทางด้านจิตใจ เช่น เราสมาทานศีล ๕ เราก็ระวังใจของเรา ไม่ให้มีเจตนาที่จะไปฆ่าใครทำร้ายใครไปลักของใคร ไปประพฤติผิดโนทางกามกับใครๆ ไม่พูดโกหก คำหยาบ คำเหลวไหล ไม่เสพสิ่งเสพติดมึนเมา รักษาสภาพใจไว้อย่างนั้นเรียกว่าเราสมาทานศีลอยู่ ปฏิบัติศีลอยู่ ไม่ได้เกิดความทุกข์อะไรไม่ได้ทำใจให้เป็นทุกข์เพราะการสมาทานอย่างนั้น

เราสมาทานในเรื่องที่จะทำสมาธิ หมายความว่า อธิษฐานใจให้เกิดความมั่นคงทางใจว่า เราจะฝึกสมาธิชั่วเวลาเท่านั้นเวลาเท่านี้ เช่นจะนั่งทำใจให้สงบเป็นเวลา ๑๐ นาที ๒๐ นาที หรือ ๑ ชั่วโมง อย่างนี้ก็เรียกว่าเป็นการสมาทาน เพื่อให้เกิดอาการเช่นนั้นขึ้นมาในใจไม่เรียกว่าเป็นการยึดมั่นถือมั่นหรือไม่เรียกว่าเป็นตัวอุปาทาน มันเป็นความตั้งใจที่จะทำในสิ่งถูกต้อง สภาพจิตเราจะไม่เป็นทุกข์อะไร

แต่ถ้าเราไปทำอาการยึดมั่นถือมั่นขึ้นมา ก็เกิดเป็นปัญหา เช่น นับถือศาสนานี่ ก็เรียกว่านับถือเพื่อนำมาใช้เป็นระเบียบสำหรับปฏิบัติในชีวิตประจำวัน แต่ถ้าเราไปยึดมั่นถือมั่นในตัวศาสนา อะไรนิดอะไรหน่อยกระทบไม่ได้ เกิดความขัดแย้งกันรุนแรงในระหว่างศาสนา ดังที่เห็นเป็นข่าวบ่อยๆ ความขัดแย้งทางศาสนา นั่นก็เป็นความยึดมั่นไปจึงเกิดการกระทำที่เราเห็นว่าเขาทำลายเรา ความจริงเขาทำลายไม่ได้

ตัวธรรมะหรือตัวคำสอนที่แท้จริงนั้นไม่มีใครจะทำลายได้ มันอยู่อย่างนั้นตลอดเวลาไม่มีอะไรจะมาทำลาย เหมือนในสมัยหนึ่งที่เขาโฆษณาว่า“คอมมิวนิต์มา ศาสนาหมด” เขาว่าอย่างนั้น คนก็กลัวกันกลัวว่าคอมมิวนิลต์มาศาสนาจะหมด ความจริงมันก็หมดไปไม่ได้ธรรมะเป็นของอยู่คู่โลก มันไม่หมดไป ถ้าตราบใดยังมีคนสมาทานคือเอามาปฏิบัติอยู่ ศาสนาก็ไม่หมดไปจากจิตใจคน คอมมิวนิสต์ไม่มาแต่ถ้าเราไม่สมาทาน คือไม่เอาธรรมะมาปฏิบัติ ธรรมะมันก็หมดไปจากใจเรา แต่มันก็อยู่กับโลก

ธรรมะยังอยู่กับโลกแต่เราไม่ได้เอามาใช้ เหมือนกับแร่ธาตุต่างๆที่อยู่ใต้ดิน มันก็อยู่อย่างนั้น แก๊สในอ่าวไทยมันก็อยู่มานานแล้ว น้ำมันมีมันก็อยู่มาอย่างนั้น แร่ดีบุก..ทองเหลือง..สังกะสี..ทองคำ..เพชรนิลจินดา..สิ่งทั้งหลายทั้งปวงมันก็มีอยู่ในโลก อยู่ใต้พื้นพสุธาที่เราอาศัยแต่ว่าเราไม่ได้ไปขุดเอามาใช้ มันก็จมดินจมทรายอยู่อย่างนั้น เมื่อใดมีคนฉลาดมารู้เข้าด้วยการพิสูจน์ตามแง่ของวิทยาศาสตร์หรือทางธรณีวิทยาเขาก็รู้ว่าตรงนี้มีสิ่งนั้นมีสิ่งนี้ กรมทรัพยากรธรณีนี่เขารู้หมดรู้ว่าในประเทศไทยมีอะไรบ้าง เขารู้แล้ว แต่ว่าไม่มีทุนจะทำไม่มีคนที่สามารถจะไปทำ ก็เลยอุบไว้ก่อนไม่พูดไม่จา แต่เมื่อมีคนฉลาดมีความสามารถมีเงินทองพอจะใช้ได้เขามาขออนุญาตทำ เขาก็ให้ทำเจาะไปเจาะมาก็เจอเข้า ได้สิ่งนั้นมาใช้ สิ่งนั้นมันอยู่ในโลก

ธรรมะนี่ก็เหมือนกัน มีอยู่เป็นอยู่ตลอดเวลา แต่เราไม่ได้สมาทาน คือไม่ได้เอามาปฏิบัติ ธรรมะนั้นก็อยู่แต่ลำพัง ธรรมะยังไม่เกิดประโยชน์แก่ใคร เมื่อใดเราสมาทานธรรมะเราปฏิบัติธรรมะธรรมะก็คุ้มครองเรารักษาเราให้มีความสุขความเจริญขึ้น

ให้เข้าใจความหมายของคำเหล่านี้เสียด้วยว่า “สมาทาน” นั้นคือการยอมปฏิบัติตามหลักนั้นๆ เพื่อทำตนให้หลุดพ้นจากความทุกข์ทางใจ ส่วน“อุปาทาน” ความยึดมั่นถือมั่นนั้นเป็นการยึดไว้ด้วยความไม่เข้าใจ ทำให้เกิดความทุกข์ คล้ายกับคนไปกอดเสาไว้ เอามือประสานกอดเสาไว้แล้วก็พูดว่า..เอาออกอย่างไร..เอาออกอย่างไร.. มันไม่รู้จะเอาออกอย่างไร มันกอดไว้อย่างเดียว ความจริงเอาออกมันก็ง่ายนิดเดียวไม่ยากอะไร แต่ว่าเอาออกไม่ได้ มันคล้ายอย่างนั้น

คนเราที่ยึดถืออะไรแล้วมันก็ยึดอยู่อย่างนั้นไม่ยอมเปลี่ยนแปลงความคิดของตัวให้เป็นอย่างอื่น คิดแต่ในเรื่องที่จะให้เกิดปัญหาในซีวิตประจำวันอยู่ตลอดเวลา แม้เราจะรู้ เช่นอ่านธรรมะ.รู้ ฟังเทปธรรมะก็รู้มาฟังพระเทศน์พระสอนในวันอาทิตย์ก็รู้ แต่ว่าพอกลับไปถึงบ้านถึงเรือน จิตมันก็กลับไปสู่ภาวะเดิม เพราะเราเคยคิดในรูปอย่างนั้นเคยนึกในเรื่องอย่างนั้นอยู่ตลอดเวลา วิตกกังวลไปด้วยเรื่องอะไรต่างๆ มากมายกายกองในชีวิตของเรา สิ่งใดเกี่ยวข้องในชีวิตเราก็นึกไปไกล กลัวจะเป็นอย่างนั้น กลัวจะเป็นอย่างนี้ อะไรต่างๆ มันก็เกิดเป็นปัญหา ทำให้เราเกิดความทุกข์ความเดือดร้อนใจ







 

Create Date : 15 ตุลาคม 2550    
Last Update : 15 ตุลาคม 2550 10:57:37 น.
Counter : 1038 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  

ธิธารา
Location :
สุโขทัย Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]




Friends' blogs
[Add ธิธารา's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.