หญิงไทยในฝรั่งเศส
 

การจด PACS

การอยู่ร่วมกันโดยการทำสัญญา (PACS- Pacte civil de solidarité) หรือการจด PACS

ป็นสัญญาที่ทำขึ้นโดยบุคคลสองคนเพือใช้ชีวิตร่วมกันโดยไม่ต้องมีการจดทะเบียนสมรส บุคคลทั้ง สอง อาจเพศเดียวกันหรือต่างเพศกันก็ได้ ถือสัญชาติเดียวกัน หรือต่างกันก็ได้

กฎหมายกำหนดให้มีการทำสัญญาอยู่ร่วมกันและต้องมีการประกาศที่ศาลชั้นต้น (tribunal d'instance )หรือที่สถานทูตหรือ สถานกงสุลฝรั่งเศสในต่างประเทศ และเอกสารที่ต้องใช้มีดังนี้

  • บัตรประจำตัวประชาชนหรือ หนังสือเดินทาง

  • สำเนาสูติบัตร

  • หนังสือรับรองด้วยเกียรติและศักดิ์ศรีว่าไม่ได้มีความผูกพันกันทางสายเลือดโดยตรง

  • หรังสือรับรองที่อยู่ที่ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน

  • ทะเบียนบ้านฝรั่งเศสที่บันทึกการหย่าร้างกรณีที่มีการหย่าร้าง

  • ทะเบียนบ้านฝรั่งเศสที่บันทึกการเสียชีวิตของคู่สมรสกรณีที่เป็นหม้าย

  • สำหรับชาวต่างชาติที่เกิดนอกประเทศฝรั่งเศสต้องแสดงใบรับรองความเป็นโสด,เอกสารประจำตัวที่แปลเป็นภาษาฝรั่งเศส, และใบรับรองว่าไม่ เคยทำสัญญาอยู่ร่วมกันมาก่อน

ผลของการทำสัญญาอยู่ร่วมกัน

คู่สัญญาต้องให้ความช่วยเหลือเกื้อกูลกันในทุกๆด้านรวมทั้งกรณีที่มีหนี้สินร่วมกัน ส่วนหนี้สินส่วนตัวของคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งที่มีมาก่อนการเซ็นสัญญาหรือในช่วงที่ใช้ชีวิตร่วมกันฝ่ายนั้นต้องเป็นผู้รับ ผิดชอบ

กรณีที่มีการเซ็นสัญญาpacs ระหว่างชาวต่างชาติและชาวฝรั่งเศสหรือผู้ถือบัตรพำนักอาศัยที่ถูกต้องตามกฎหมายคู่สัญญาชาวต่างชาติไม่สามารถยื่นขอรับบัตรพำนักอาศัยโดยสิทธิอันชอบธรรมเหมือนคู่สมรสโดยทั่วไป แต่จะมีผลต่อการพิจารณาการยื่นขอ

คู่สัญญาสามารถแจ้งเสียภาษีร่วมกันได้เหมือนคู่สมรสทั่วไป

ผลต่อทรัพย์สิน

หากไม่มีการระบุข้อตกลงเกี่ยวกับทรัพย์สินในวันเซ็นสัญญากฎหมายกำหนดให้ใช้ระบบการแบ่งแยก ทรัพย์สินซึ่งหมายถึงทรัพย์สินส่วนตัวที่มีมาก่อนการเซ็นสัญญาก็เป็นของคนนั้นรวมทั้งทรัพย์สินที่ได้มาหลังการเซ็นสัญญาที่คู่สัญญาสามารถพิสูจน์ได้ว่าเป็นของตนแต่เพียงผู้เดียว หากพิสูจน์ไม่ได้ หรือไม่ได้เฉพาะเจาะจงว่าเป็นของคนใดคนหนึ่งก็ถือว่าทรัพย์สินนั้นเป็นของทั้งสองฝ่าย และต้องแบ่งกันคนละครึ่งเมื่อมีการสิ้นสุดสัญญา

คู่สัญญาอาจทำข้อตกลงเกียวกับทรัพย์สินในระบบการไม่แบ่งแยกทรัพย์สิน(régime de l'indivision les biens ) ซึ่งหมายถึงการนำเอาทรัพย์สินของทั้งสองฝ่ายที่ได้สร้างมาด้วยกันหรือไม่ก็ตามนับตั้งแต่วันทำ สัญญาข้อตกลงมารวมไว้เป็นทรัพย์สินส่วนกลางและคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายก็มีกรรมสิทธิ์ร่วมกันและต้อง แบ่งกันคนละครึ่งเมื่อสัญญาสิ้นสุดลง

กรณีที่คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเสียชีวิตหากคู่สัญญาที่มีชีวิตอยู่มีสิทธิได้รับมรดก กฎหมายได้ให้การ ยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีธรรมเนียมการรับมรดก

การสิ้นสุดของสัญญา pacs มีได้สี่กรณีคือ

  • การสิ้นสุดโดยการตัดสินใจของคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง

  • การตกลงใจเลิกสัญญากันโดยคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย

  • การสิ้นสุดโดยการสมรส

  • การสิ้นสุดโดยการตายของคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง




 

Create Date : 25 มกราคม 2558    
Last Update : 25 มกราคม 2558 20:57:22 น.
Counter : 5685 Pageviews.  

คนไทยที่มีคู่สมรสเป็นคนต่างด้าวมีสิทธิ์ซื้อที่ดินหรือไม่

เอาข้อมูลของกรมที่ดินมาให้อ่านกันค่ะ จะได้หายข้องใจเสียที ไม่ต้องไปถามคนโน้นคนนี้ ซึ่งบางทีให้ข้อมูลมาผิดๆถูกๆ

หนังสือ กรมที่ดิน มท 0515/ว 39288 22 ธันวาคม 2548

คู่มือการขอได้มาซึ่งที่ดินของคนไทยที่มีคู่สมรสเป็นคนต่างด้าว

๑. กฎหมายและระเบียบปฏิบัติ
๑.๑ มาตรา ๗๔ วรรคสอง และมาตรา ๘๖ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน
๑.๒ หนังสือกระทรวงมหาดไทย ด่วนที่สุด ที่ มท ๐๗๑๐/ว ๗๙๒ ลงวันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๔๒
เรื่อง บุคคลสัญชาติไทยที่มีหรือเคยมีคู่สมรสเป็นคนต่างด้าว และบุตรผู้เยาว์ของคนต่างด้าว
ที่มีสัญชาติไทย ขอได้มาซึ่งที่ดิน
๑.๓ หนังสือกรมที่ดิน ที่ มท ๐๗๑๐/ว ๐๐๗๙๕ ลงวันที่ ๑๑ มกราคม ๒๕๔๓ เรื่อง บุคคล
สัญชาติไทยที่มีคู่สมรสเป็นคนต่างด้าวทั้งที่ชอบและมิชอบด้วยกฎหมาย ขอได้มาซึ่งที่ดิน
หรือกรรมสิทธิ์ในห้องชุด
๑.๔ หนังสือกรมที่ดิน ที่ มท ๐๗๑๐/ว ๐๓๕๔๓ ลงวันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๔๓ เรื่อง สิทธิใน
การถือครองที่ดินหรือห้องชุดของคนสัญชาติไทยที่สมรสกับคนต่างด้าว
๑.๕ หนังสือกรมที่ดิน ที่ มท ๐๗๑๐/ว ๑๓๑๕๘ ลงวันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๔๓ เรื่อง คนต่างด้าว
หรือนิติบุคคลต่างด้าว หรือบุคคลสัญชาติไทยที่มีคู่สมรสเป็นคนต่างด้าว ขอซื้อและจำนอง
ห้องชุดหรือที่ดิน
๑.๖ หนังสือกรมที่ดิน ที่ มท ๐๗๑๐/ว ๑๖๐๕๑ ลงวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๔๓ เรื่อง บุคคล สัญชาติไทยที่มีคู่สมรสเป็นคนต่างด้าวทั้งที่ชอบและมิชอบด้วยกฎหมาย ขอได้มาซึ่งที่ดิน หรือกรรมสิทธิ์ในห้องชุด
๑.๗ หนังสือกรมที่ดิน ที่ มท ๐๗๑๐/ว ๑๘๐๗๓ ลงวันที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๔๓ เรื่อง บุคคล สัญชาติไทยที่มีคู่สมรสเป็นคนต่างด้าวทั้งที่ชอบและมิชอบด้วยกฎหมาย ขอได้มาซึ่งที่ดิน หรือห้องชุด
๑.๘ หนังสือกรมที่ดิน ที่ มท ๐๕๑๕/ว ๒๓๒๔๕ ลงวันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๔๖ เรื่อง บุคคล สัญชาติไทยที่มีคู่สมรสเป็นคนต่างด้าวทั้งที่ชอบและมิชอบด้วยกฎหมาย ขอได้มาซึ่งที่ดิน หรือกรรมสิทธิ์ในห้องชุด
๑.๙ หนังสือกรมที่ดิน ที่ มท ๐๕๑๕/ว ๓๓๒๕๙ ลงวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๔๗ เรื่อง การขอได้มาซึ่งที่ดินหรือห้องชุดของคนสัญชาติไทยที่มีคู่สมรสเป็นคนต่างด้าว

/๒. หลักเกณฑ์


๒. หลักเกณฑ์การขอได้มาซึ่งที่ดินของคนไทยที่มีคู่สมรสเป็นคนต่างด้าว

คนไทยที่มีคู่สมรสทั้งที่ชอบและมิชอบด้วยกฎหมายเป็นคนต่างด้าว มีสิทธิรับโอนที่ดินในฐานะ ที่เป็นสินส่วนตัว (กรณีมีคู่สมรสที่ชอบด้วยกฎหมายเป็นคนต่างด้าว) และในฐานะที่เป็นทรัพย์ส่วนตัว (กรณีมีคู่สมรสที่มิชอบด้วยกฎหมายเป็นคนต่างด้าว) ได้โดยไม่จำกัดจำนวนเนื้อที่ โดยมีหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้

๒.๑ กรณีรับให้ที่ดิน เมื่อสอบสวนแล้วปรากฏว่า เป็นการรับให้ในฐานะที่เป็นสินส่วนตัวของคนไทย (กรณีมี คู่สมรสที่ชอบด้วยกฎหมายเป็นคนต่างด้าว) หรือเป็นทรัพย์ส่วนตัวของคนไทย (กรณีมีคู่สมรสที่ ไม่ชอบด้วยกฎหมายเป็นคนต่างด้าว) พนักงานเจ้าหน้าที่จะดำเนินการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ให้กับผู้ขอต่อไป (หนังสือกระทรวมหาดไทย ด่วนที่สุด ที่ มท ๐๗๑๐/ว ๗๙๒ ลงวันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๔๒)

๒.๒ กรณีซื้อที่ดิน
๒.๒.๑ กรณีคู่สมรสต่างด้าวอยู่ในประเทศไทย

(๑) กรณีคนต่างด้าวเป็นคู่สมรสที่ชอบด้วยกฎหมาย
ให้คนไทยและคู่สมรสต่างด้าวยืนยันเป็นลายลักษณ์อักษรร่วมกัน ในหนังสือ รับรอง (ตามเอกสารแนบท้ายคู่มือ “ตัวอย่าง ๑”) ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ในวันจดทะเบียนสิทธิและ นิติกรรมว่า เงินทั้งหมดที่นำมาซื้อที่ดินเป็นสินส่วนตัวของคนไทยแต่เพียงฝ่ายเดียว มิใช่สินสมรส

(๒) กรณีคนต่างด้าวเป็นคู่สมรสที่มิชอบด้วยกฎหมาย
ให้คนไทยและคู่สมรสต่างด้าวยืนยันเป็นลายลักษณ์อักษรร่วมกัน ในหนังสือรับรอง (ตามเอกสารแนบท้ายคู่มือ “ตัวอย่าง ๑”) ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ในวันจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ว่า เงินทั้งหมดที่นำมาซื้อที่ดินเป็นทรัพย์ส่วนตัวของคนไทยแต่เพียงฝ่ายเดียว มิใช่ทรัพย์ที่ทำมาหาได้ร่วมกัน (หนังสือกระทรวงมหาดไทย ด่วนที่สุด ที่ มท ๐๗๑๐/ว ๗๙๒ ลงวันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๔๒)
๒.๒.๒ กรณีคู่สมรสต่างด้าวอยู่ในประเทศไทย แต่ไม่สามารถดำเนินการตาม

๒.๒.๑ /กรณี

- ๓ -
กรณีคู่สมรสต่างด้าวอยู่ในประเทศไทย แต่ในวันจทะเบียนสิทธิและนิติกรรม คนต่างด้าวไม่สามารถไปยืนยันเป็นลายลักษณ์อักษรร่วมกันกับคนไทยในหนังสือรับรองต่พนักงาน เจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานที่ดิน ที่ทำการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ให้คนไทยและคู่สมรส ต่างด้าว ไปยื่นคำขอบันทึกถ้อยคำในหนังสือรับรอง (ตามเอกสารแนบท้ายคู่มือ “ตัวอย่าง ท.ด. ๙”) เพื่อยืนยันว่าเงินทั้งหมดที่คนไทยนำมาซื้อที่ดิน เป็นสินส่วนตัวหรือทรัพย์ส่วนตัวของคนไทยแต่เพียงฝ่ายเดียว มิใช่สินสมรสหรือทรัพย์ที่ทำมาหาได้ร่วมกัน โดยให้ยื่นคำขอกับพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานที่ดินจังหวัด หรือสำนักงานที่ดินจังหวัดสาขาแห่งใดแห่งหนึ่ง และให้ผู้ขอแสดงหลักฐานสำเนาหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน บัตร ประจำตัวประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน ใบสำคัญการสมรส (ถ้ามี) ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว หนังสือเดินทาง หลักฐานการเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุล (ถ้ามี) แล้วให้คนไทยนำหนังสือรับรองไป มอบให้พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งทำการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมต่อไป โดยการทำหนังสือรับรอง นี้ให้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมคำขอแปลงละ ๕ บาท ตามกฎกระทรวงฉบับที่ ๔๗
(พ.ศ.๒๕๔๑) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.๒๔๙๗ ข้อ ๒ (๑๐) (ก) สำหรับเอกสารคำขอและหลักฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการสอบสวนให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตั้งแฟ้มเฉพาะเพื่อ แยกเก็บ (หนังสือกรมที่ดิน ที่ มท ๐๕๑๕/ว ๓๓๒๕๙ ลงวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๔๗)

๒.๒.๓ กรณีคู่สมรสต่างด้าวอยู่ต่างประเทศ

กรณีคู่สมรสต่างด้าวอยู่ต่างประเทศ และไม่สามารถไปบันทึกถ้อยคำในหนังสือรับรอง ตาม ๒.๒.๑ ให้คนต่างด้าวไปติดต่อเพื่อให้สถานเอกอัครราชทูต สถานกงสุล หรือโนตารีพับลิค บันทึกถ้อยคำคู่สมรสต่างด้าวไว้ในหนังสือรับรอง (ตามเอกสารแนบท้ายคู่มือ “ตัวอย่าง ๒”) ว่าเงิน
ทั้งหมดที่คนไทยนำไปซื้อที่ดินนั้น เป็นสินส่วนตัวหรือทรัพย์ส่วนตัวของคนไทยมิใช่สินสมรส หรือ ทรัพย์ที่ทำมาหาได้ร่วมกัน แล้วให้สถานเอกอัครราชทูต สถานกงสุล หรือโนตารีพับลิค รับรองว่าบุคคลที่ทำหนังสือนั้นเป็นคู่สมรสหรืออยู่กินฉันสามีภริยากับคนไทยจริง แล้วให้ผู้จะซื้อที่ดินนำ ต้นฉบับหนังสือรับรองมามอบให้พนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งทำการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมต่อไป
(หนังสือกรมที่ดิน ที่ มท ๐๕๑๕/ว ๒๓๒๔๕ ลงวันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๔๖)
/สำหรับการ

- ๔ -
สำหรับการบันทึกถ้อยคำในหนังสือรับรอง ตาม ๒.๒.๑ ถึง ๒.๒.๓ พนักงานเจ้าหน้าที่ ไม่ต้องสอบสวนอาชีพ รายได้ของผู้ขอ หรือที่มาของเงินแต่อย่างใด (หนังสือกรมที่ดิน ที่ มท ๐๗๑๐/ว ๑๖๐๕๑ ลงวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๔๓)

อนึ่ง ในกรณีที่คนไทยที่มีคู่สมรสทั้งชอบและมิชอบด้วยกฎหมายเป็นคนต่างด้าว สามารถแสดงหลักฐานได้ว่า เงินทั้งหมดที่นำมาซื้อที่ดินเป็นสินส่วนตัวหรือทรัพย์ส่วนตัวของตน
ตามมาตรา ๑๔๗๑ และมาตรา ๑๔๗๒ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ก็ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมให้กับคนไทยต่อไปได้ โดยไม่ต้องบันทึกถ้อยคำคนไทยและ คู่สมรสต่างด้าว ตาม ๒.๒.๑ ถึง ๒.๒.๓ แต่อย่างใด (หนังสือกรมที่ดิน ที่ มท ๐๕๑๕/ว ๓๓๒๕๙ ลงวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๔๗)

๒.๒.๔ กรณีคนไทยที่มีคู่สมรสเป็นคนต่างด้าวซื้อที่ดินก่อนวันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๔๒ โดยแจ้งหรือยื่นเอกสารเท็จว่าเป็นโสด

เพื่อเป็นการผ่อนปรนให้แก่คนไทยที่มีคู่สมรสทั้งชอบและมิชอบด้วยกฎหมายเป็น คนต่างด้าว ที่ซื้อหรือถือครองที่ดินหลังสมรส โดยแจ้งหรือยื่นเอกสารเป็นเท็จต่อเจ้าหน้าที่ว่า เป็นโสด มิได้มีคู่สมรสเป็นคนต่างด้าว ก่อนที่กระทรวงมหาดไทยมีหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ มท
๐๗๑๐/ว ๗๙๒ ลงวันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๔๒ให้คนไทยและคู่สมรสต่างด้าวยืนยันเป็นลายลักษณ์ อักษรร่วมกันในหนังสือรับรองต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ว่า เงินทั้งหมดที่คนไทยนำมาซื้อที่ดินเป็น สินส่วนตัวหรือทรัพย์ส่วนตัวของคนไทยแต่เพียงฝ่ายเดียว มิใช่สินสมรสหรือทรัพย์ที่ทำมาหา ได้ร่วมกัน เสร็จแล้วให้เก็บเรื่องเข้าสารบบ ถ้าคู่สมรสที่เป็นคนต่างด้าวอยู่ต่างประเทศ และไม่สามารถไปยืนยันเป็นลายลักษณ์อักษรร่วมกันกับคู่สมรสต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ ให้คนต่างด้าว ไปติดต่อเพื่อให้สถานเอกอัครราชทูต สถานกงสุล หรือโนตารีพับลิค บันทึกถ้อยคำคู่สมรสต่างด้าว ไว้ในหนังสือรับรอง (ตามเอกสารแนบท้ายคู่มือ “ตัวอย่าง ๒“) ว่าเงินทั้งหมดที่คนไทยนำไป
ซื้อที่ดินนั้น เป็นสินส่วนตัวหรือทรัพย์ส่วนตัวของคนไทย มิใช่สินสมรสหรือทรัพย์ที่ทำมาหาได้ ร่วมกัน แล้วให้สถานเอกอัครราชทูต สถานกงสุล หรือโนตารีพับลิค รับรองว่าบุคคลที่ทำ หนังสือนั้นเป็นคู่สมรสหรืออยู่กินฉันสามีภริยากับคนไทยจริง แล้วให้ผู้ซื้อที่ดินนำต้นฉบับ หนังสือรับรองมามอบให้พนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อเก็บเรื่องเข้าสารบบ (หนังสือกรมที่ดิน ที่ มท ๐๗๑๐/ว ๐๓๕๔๓ ลงวันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๔๓)

/๒.๓ คนไทย

- ๕ -
๒.๓ คนไทยที่มีคู่สมรสทั้งชอบและมิชอบด้วยกฎหมายเป็นคนต่างด้าว ซื้อที่ดินแล้วขอจด ทะเบียนจำนองที่ดิน
คนไทยที่มีคู่สมรสเป็นคนต่างด้าวหรืออยู่กินฉันสามีภริยากับคนต่างด้าวขอซื้อที่ดิน เพื่อเป็นสินส่วนตัวหรือทรัพย์ส่วนตัว โดยผู้ขอและคู่สมรสต่างด้าว ได้ยืนยันเป็นลายลักษณ์อักษร ร่วมกันว่าเงินทั้งหมดที่คนไทยนำมาซื้อที่ดิน เป็นสินส่วนตัวหรือทรัพย์ส่วนตัวของคนไทยแต่เพียง ฝ่ายเดียว มิใช่สินสมรสหรือทรัพย์ที่ทำมาหาได้ร่วมกัน และพนักงานเจ้าหน้าที่ได้จดทะเบียนสิทธิ แลนิติกรรมเกี่ยวกับการซื้อที่ดินดังกล่าวแล้ว ที่ดินย่อมตกเป็นสินส่วนตัวหรือทรัพย์ส่วนตัวของ คนไทย ตามความในมาตรา ๑๔๗๒ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ดังนั้น หากผู้ซื้อที่ดิน มีความประสงค์จะจดทะเบียนจำนอง ไม่ว่าจะกระทำในวันเดียวกันหรือภายหลัง ก็สามารถดำเนินการ
ได้ โดยไม่ต้องให้คู่สมรสต่างด้าวมาให้ถ้อยคำยืนยันอีก (หนังสือกรมที่ดิน ที่ มท ๐๗๑๐/ว ๑๓๑๕๘ ลงวันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๔๓)

๓. แนวทางการพิจารณาของกรมที่ดินเกี่ยวกับการขอได้มาซึ่งที่ดินของคนไทยที่มีคู่สมรสเป็นคน ต่างด้าว

๓.๑ หญิงไทยถือที่ดินแทนคู่สมรสที่เป็นคนต่างด้าว
นางสาว ก. ซื้อที่ดินโดยแจ้งความเท็จว่าเป็นคนโสด (มิได้แจ้งว่ามีคู่สมรสเป็นคนต่างด้าว)

ดังนั้น เมื่อนางสาว ก. ไม่อาจพิสูจน์ได้ว่าเงินที่นำมาซื้อที่ดิน (ระหว่างสมรสกับคนต่างด้าว) เป็น สินส่วนตัวของตน กรณีนี้จึงต้องด้วยข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่าเป็นสินสมรส ตามมาตรา ๑๔๗๔ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เมื่อที่ดินดังกล่าวเป็นสินสมรส คนต่างด้าวย่อมมีส่วนเป็น เจ้าของร่วมด้วย จึงถือว่า

๓.๑.๑ คนต่างด้าวได้ที่ดินมาโดยฝ่าฝืนมาตรา ๘๖ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ย่อมมีความผิด
ตามมาตรา ๑๑๑ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน

๓.๑.๒ นางสาว ก.ถือที่ดินแทนคนต่างด้าวตามมาตรา ๙๖ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ย่อมมี ความผิดตามมาตรา ๑๑๓ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ทั้งถือว่ากระทำความผิดฐานแจ้งข้อความอัน เป็นเท็จแก่เจ้าพนักงาน และแจ้งให้เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่ จดข้อความอันเป็นเท็จลงใน /เอกสาร

- ๖ -
เอกสารราชการตามมาตรา ๑๓๗ และ ๒๖๗ แห่งประมวลกฎหมายอาญา ต้องจำหน่ายที่ดินภายในเวลาที่อธิบดีกรมที่ดินกำหนด ตามมาตรา ๙๔ และ ๙๖ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน แต่เมื่อปรากฏว่า
นางสาว ก. ได้จดทะเบียนให้ที่ดินแปลงดังกล่าวแก่มารดาของตน จึงถือว่าเป็นการจำหน่ายที่ดิน ไปแล้ว กรมที่ดินจึงแจ้งให้จังหวัดสั่งพนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน เพื่อดำเนินคดีกับนางสาว ก. ในความผิดตามมาตรา ๑๑๓ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ตามมาตรา ๑๓๗ และ ๒๖๗ แห่งประมวลกฎหมายอาญา และคนต่างด้าวในความผิดตามมาตรา ๑๑๑ แห่งประมวลกฎหมายที่ดินต่อไป

๓.๒ หญิงไทยมีคู่สมรสเป็นคนต่างด้าวซื้อที่ดินได้จากการขายทอดตลาด

นาง บ. มีคู่สมรสไม่ชอบด้วยกฎหมายเป็นคนต่างด้าว ซื้อที่ดินจากการขายทอดตลาดของ
เจ้าพนักงานบังคับคดี ศาลแพ่งแจ้งให้เจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนระงับจำนอง และโอนกรรมสิทธิ์ ให้นาง บ.
สำนักงานที่ดินจึงแจ้งให้ศาลแพ่งทราบว่าไม่อาจดำเนินการจดทะเบียนได้ เพราะผู้ขอมีคู่ สมรสเป็นคนต่างด้าว เงินที่นำมาซื้อที่ดินเป็นเงินที่ทำมาหาได้ร่วมกัน เป็นการซื้อที่ดินเพื่อประโยชน์แก่คนต่างด้าว

ศาลแพ่งเห็นว่า นาง บ. ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับคนต่างด้าว เมื่อเป็นผู้ซื้อที่ดินได้จากการขายทอดตลาดของศาลโดยชอบด้วยกฎหมายแล้วเป็นหน้าที่ของเจ้าพนักงานที่ดินที่จะต้องดำเนินการ ตามประมวลกฎหมายที่ดินต่อไป
นาง บ. ได้ยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี (ศาลแพ่ง) ขอเปลี่ยนชื่อผู้ซื้อจากตนเป็น นางสาว ล. บุตรของตน เจ้าพนักงานบังคับคดีได้แจ้งให้นาง บ. นำหลักฐานที่อ้างว่า เจ้าพนักงานที่ดิน ไม่ยอมจดทะเบียนโอนที่ดินเพื่อประกอบการพิจารณามีคำสั่งต่อไป กรมที่ดินพิจารณาแล้วเห็นว่า การที่ศาลมีคำสั่งขายทอดตลาดทรัพย์ในคดีแพ่งนั้น ผู้ซื้อได้ จากการขายทอดตลาด ย่อมได้สิทธิตามมาตรา ๑๓๓๐ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แต่เป็น คนละกรณีกับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ซึ่งการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมได้มาซึ่งที่ดิน ของบุคคลบางประเภท ประมวลกฎหมายที่ดินได้บัญญัติไว้อีกส่วนหนึ่ง การที่ศาลสั่งขายทอดตลาด ที่ดิน ศาลมิได้พิจารณาว่าผู้ซื้อได้จากการขายทอดตลาด จะมีสิทธิที่จะซื้อที่ดินตามประมวลกฎหมาย ที่ดินหรือไม่ ดังนั้นเมื่อมีผู้ซื้อที่ดินได้จากการขายทอดตลาด ศาลเพียงแต่แจ้งให้เจ้พนักงานที่ดิน ดำเนินการ

- ๗ -
ดำเนินการจดทะเบียนโอนให้ถูกต้องตามกฎหมายเท่านั้น การที่ศาลแจ้งผลการขายทอดตลาด เพื่อให้
เจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนโอนขายให้แก่ผู้ซื้อจากการขายทอดตลาด เป็นเรื่องในทางธุรการของ ศาลเท่านั้น ไม่ใช่คำสั่งให้โอนแต่อย่างใด

สำหรับกรณีนี้ นาง บ. (ซึ่งเป็นผู้ซื้อได้จากการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดี) มีคู่สมรสที่มิชอบด้วยกฎหมายเป็นคนต่างด้าว เงินที่นำมาซื้อที่ดินได้มาจากการทำมาหาได้ร่วมกัน ระหว่างอยู่กินฉันสามีภริยา หากให้นาง บ. ซื้อที่ดิน ก็จะเป็นผลให้คนต่างด้าวมีสิทธิในที่ดินร่วมด้วย เพราะเป็นทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกัน ทั้งเป็นผลให้คนต่างด้าวได้มาซึ่งที่ดินโดยไม่ชอบด้วย กฎหมาย ตามมาตรา ๘๖ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน และเป็นกรณีที่ฟังได้ว่าซื้อที่ดินเพื่อประโยชน์ แก่คนต่างด้าว กรมที่ดินเสนอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีคำสั่งไม่อนุญาตให้นาง บ. ซื้อที่ดินแปลงดังกล่าวตามมาตรา ๗๔ วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน และรัฐมนตรีฯ ได้มี คำสั่งไม่อนุญาตให้นาง บ. ซื้อที่ดินแปลงดังกล่าว

๓.๓ ศาลพิพากษาให้เพิกถอนชื่อคนไทยออกจากโฉนดที่ดินเนื่องจากถือที่ดินแทนคนต่างด้าว
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า โจทก์เป็นคนต่างด้าวซื้อที่ดิน แต่ให้นาง ก. (คู่สมรส) ลงชื่อในโฉนดที่ดิน ในฐานะเป็นเจ้าของแทน จึงพิพากษาให้เพิกถอนชื่อนาง ก. ออกจากโฉนดที่ดิน และให้คนต่างด้าว จำหน่ายที่ดินภายในเวลาที่อธิบดีกรมที่ดินกำหนด โดยให้นาง ก. ผู้ถือกรรมสิทธิ์แทนไปจดทะเบียน โอนจำหน่ายให้ หากไม่ไปให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนา
กรมที่ดินพิจารณาแล้วเห็นว่า คนต่างด้าวได้มาซึ่งที่ดินดังกล่าวโดยมิชอบด้วยกฎหมาย เป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๘๖ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน (มาตรา ๘๖ บัญญัติว่า “คนต่างด้าวจะได้มา ซึ่งที่ดินก็โดยอาศัยบทสนธิสัญญาซึ่งบัญญัติให้มีกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ได้ ฯลฯ” แต่ขณะนี้ ประเทศไทยได้บอกเลิกสนธิสัญญาในเรื่องดังกล่าวกับทุก ๆ ประเทศแล้ว) ย่อมมีความผิดตาม
มาตรา ๑๑๑ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ส่วนคนไทยนั้นปรากฏว่าได้ถือที่ดินในฐานะเป็นเจ้าของ แทนคนต่างด้าวตามมาตรา ๙๖ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ต้องจำหน่ายที่ดินตามมาตรา ๙๔ แห่ง ประมวลกฎหมายที่ดิน และย่อมมีความผิดตามมาตรา ๑๑๓ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ทั้งมีความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงาน และแจ้งให้เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่จดข้อความ อันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการ ตามมาตรา ๑๓๗ และ ๒๖๗ แห่งประมวลกฎหมายอาญา กรมที่ดินได้แจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการ ดังนี้

๓.๓.๑ แจ้งความ

- ๘ -
๓.๓.๑ แจ้งความดำเนินคดีกับคนไทยและคนต่างด้าว
๓.๓.๒ ให้คนต่างด้าวจำหน่ายที่ดินภายในเวลาหนึ่งปี นับแต่วันที่รับทราบ และแจ้งให้ ทราบด้วยว่าถ้าไม่จัดการจำหน่ายที่ดินในเวลาที่กำหนด อธิบดีมีอำนาจจำหน่ายที่ดิน และสามารถ เรียกเก็บค่าธรรมเนียมร้อยละห้าของราคาที่จำหน่าย นอกเหนือจากค่าธรรมเนียม ภาษี อากร ที่ต้อง เรียกเก็บ

๓.๓.๓ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทำบันทึกถ้อยคำระหว่างคนต่างด้าวกับคนไทยผู้ถือที่ดินแทน ดังนี้

- ผู้ที่จะรับโอนที่ดินจากการจำหน่ายที่ดินนอกจากเป็นผู้ที่มีความสามารถและมี สิทธิถือที่ดินได้ตามกฎหมาย ต้องเป็นบุคคลที่คนต่างด้าวยินยอมให้รับโอน - ราคาที่ดินที่จะจำหน่าย ให้คนต่างด้าวเป็นผู้กำหนด และให้คนต่างด้าวเป็นผู้ รับเงิน - คนไทยซึ่งถือที่ดินแทนคนต่างด้าว มีหน้าที่เฉพาะจัดการจำหน่ายที่ดินในฐานะ มีชื่อในโฉนดที่ดิน ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในการเลือกผู้รับโอนที่ดิน

๓.๔ คนไทยขอจดทะเบียนจำนองที่ดินกับสามีต่างด้าว
คนต่างด้าวอยู่กินฉันสามีภริยากับนาง ก. โดยมิได้จดทะเบียนสมรส และได้ซื้อที่ดิน ลงชื่อนาง ก. ไว้ ต่อมานาง ก. ขอจดทะเบียนจำนองที่ดินแปลงดังกล่าวกับคนต่างด้าว สำนักงาน ที่ดินไม่ดำเนินการให้ นาง ก. จึงมอบโฉนดที่ดินให้คนต่างด้าวยึดไว้ ต่อมานาง ก. ได้ยื่นคำขอ
ออกใบแทนโฉนดที่ดินดังกล่าว คนต่างด้าวจึงขอให้กรมที่ดินแจ้งเจ้าพนักงานที่ดินให้ระงับการออก ใบแทนโฉนดที่ดินให้นาง ก. กรมที่ดินพิจารณาแล้วเห็นว่า

๓.๔.๑ การขอจดทะเบียนจำนองระหว่างนาง ก. กับคู่สมรสคนต่างด้าว มีวัตถุประสงค์ เพื่อป้องกันมิให้นาง ก. นำที่ดินแปลงดังกล่าวไปจำหน่ายจ่ายโอนเท่านั้น ไม่มีการกู้ยืมเงิน หรือเพื่อ เป็นหลักประกันในการชำระหนี้แต่อย่างใด

๓.๔.๒ กรณีเช่นนี้ถือได้ว่า นาง ก. ได้มาซึ่งที่ดินในฐานะเป็นเจ้าของแทนคนต่างด้าว ตามมาตรา ๙๖ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน จึงมีความผิดตามมาตรา ๑๑๓ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน

/และฐานแจ้ง

- ๙ -
และฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงาน และแจ้งให้เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่ จดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการ ซึ่งเป็นความผิดตามมาตรา ๑๓๗ และ ๒๖๗ แห่งประมวลกฎหมายอาญา สำหรับคนต่างด้าวได้มาซึ่งที่ดิน โดยฝ่าฝืนมาตรา ๘๖ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน จึงมีความผิดตามมาตรา ๑๑๑ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน กรมที่ดินจึงได้ให้จังหวัดดำเนินการแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินคดีกับบุคคลทั้งสอง

๓.๔.๓ ให้จังหวัดแจ้งให้คนต่างด้าวจัดการจำหน่ายที่ดินภายใน ๑ ปี นับแต่วันที่รับทราบ
การให้จำหน่ายที่ดินจากเจ้าหน้าที่ และแจ้งให้ทราบด้วยว่า ถ้าไม่จำหน่ายในเวลาที่กำหนด อธิบดี มีอำนาจจำหน่ายที่ดิน และสามารถเรียกเก็บค่าธรรมเนียมร้อยละห้าของราคาที่จำหน่าย นอกเหนือ จากค่าธรรมเนียม ภาษี อากร ที่ต้องเรียกเก็บ โดยให้บันทึกถ้อยคำระหว่างคนต่างด้าวกับคนไทยผู้ถือ ที่ดินแทน ดังนี้

- ผู้ที่จะรับโอนที่ดินจากการจำหน่ายที่ดินนอกจากเป็นผู้มีความสามารถและมี สิทธิถือที่ดินได้ตามกฎหมาย ต้องเป็นบุคคลที่คนต่างด้าวยินยอมให้รับโอน

- ราคาที่ดินที่จะจำหน่าย ให้คนต่างด้าวเป็นผู้กำหนด และให้คนต่างด้าวเป็นผู้
รับเงิน - คนไทยซึ่งถือที่ดินแทนคนต่างด้าว มีหน้าที่เฉพาะจัดการจำหน่ายที่ดินในฐานะ มีชื่อในโฉนดที่ดิน ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในการเลือกผู้รับโอนที่ดิน ๓.๕ รัฐมนตรีไม่อนุญาตให้หญิงไทยที่มีคู่สมรสต่างด้าวนำเงินที่เป็นสินสมรสมาซื้อที่ดินตาม คำพิพากษา
ตามคำพิพากษาของศาล (ระหว่างคนต่างด้าว โจทก์ กับนาย ก.จำเลย เรื่องซื้อขาย) ศาลได้ พิพากษาให้จำเลยส่งมอบการครอบครอง พร้อมจดทะเบียนโอนเปลี่ยนชื่อจากจำเลยเป็นชื่อนาง น. (ภริยาชอบด้วยกฎหมายของคนต่างด้าว) มิฉะนั้น ให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนาของจำเลย หากไม่สามารถจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อได้ ให้จำเลยคืนเงินจำนวน ๑,๓๕๐,๐๐๐ บาท แก่โจทก์
นาง น. เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของคนต่างด้าวได้ยื่นคำขอจดทะเบียนได้มาซึ่งที่ดินตามคำพิพากษาของศาลโดยให้ถ้อยคำว่า เงินทั้งหมดที่นำมาซื้อที่ดินเป็นของคู่สมรสซึ่งเป็นคน ต่างด้าว

/กรมที่ดิน

- ๑๐ -
กรมที่ดินพิจารณาแล้วเห็นว่า นาง น. ผู้ขอลงชื่อใน น.ส.๓ ตามคำสั่งศาล มีคู่สมรสเป็น
คนต่างด้าว และนาง น. ได้ให้ถ้อยคำยืนยันว่าเงินทั้งหมดที่นำไปซื้อที่ดินเป็นของคนต่างด้าวทั้งสิ้น
ดังนั้น การที่นาง น. ขอจดทะเบียนลงชื่อใน น.ส.๓ ดังกล่าว จึงเป็นการถือครองที่ดินแทนคู่สมรส ซึ่งเป็นคนต่างด้าว พนักงานเจ้าหน้าที่ไม่สามารถจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามคำพิพากษาได้
แต่อย่างไรก็ดี ศาลได้มีคำพิพากษาเป็นทางออกไว้แล้วว่า “หากไม่สามารถจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อได้
ให้จำเลยคืนเงินจำนวน ๑,๓๕๐,๐๐๐ บาท แก่โจทก์” ซึ่งโจทก์ก็สามารถดำเนินการตามคำพิพากษา ดังกล่าวต่อไปได้
กรมที่ดินได้เสนอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีคำสั่งไม่อนุญาตให้นาง น. ซื้อ
ที่ดินแปลงดังกล่าวตามมาตรา ๗๔ วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ซึ่งรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงมหาดไทยได้สั่งไม่อนุญาตให้นาง น. รับโอนที่ดินแปลงดังกล่าว

๓.๖ ศาลพิพากษาให้เพิกถอนชื่อคนไทยซึ่งถือที่ดินไว้แทนคนต่างด้าว
ศาลได้มีคำพิพากษาถึงที่สุด (คดีระหว่างนาย ป. คนต่างด้าว โจทก์ที่ ๑ นาง จ. (คู่สมรสของ นาย ป.) โจทก์ที่ ๒ และนาง ท. จำเลย) โดยวินิจฉัยว่าการที่โจทก์ที่ ๑ ซึ่งเป็นคนต่างด้าวซื้อที่ดิน โดยให้นาง ท. ซึ่งมีสัญชาติไทยเป็นผู้รับโอนที่ดินไว้แทน วัตถุประสงค์ของสัญญาซื้อขาย จึงเป็น การต้องห้ามชัดแจ้งตามกฎหมาย เพราะขัดมาตรา ๘๖ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน และเป็นโมฆะ
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ นาย ป.จะฟ้องบังคับให้นาง ท. โอนที่ดินเฉพาะส่วนของตน ครึ่งหนึ่งให้แก่ตนไม่ได้ และนาง ท.ในฐานะผู้รับโอนไว้แทนนาย ป. ก็อ้างว่าเป็นเจ้าของมิได้ ผลต่อไปต้องเป็นไปตามมาตรา ๙๖ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน โดยไม่มีผลกระทบ
กระเทือนถึงกรรมสิทธิ์ในที่ดินของนาง จ. (โจทก์ที่ ๒) อีกครึ่งหนึ่งแต่อย่างใด และศาลได้พิพากษา ให้เพิกถอนชื่อนาง ท. ออกจากโฉนดที่ดิน และให้นาง ท. จัดการโอนที่ดินเป็นของนาง จ. ครึ่งหนึ่ง หากนาง ท.ไม่ดำเนินการให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย
กรมที่ดินพิจารณาแล้วให้ดำเนินการตามคำพิพากษาของศาลโดย

๓.๖.๑ จดทะเบียนให้นาง ท. โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่นาง จ. ครึ่งหนึ่งตามคำพิพากษาของ
ศาลในประเภท “กรรมสิทธิ์รวม (โอนให้ตัวการ) ตามคำพิพากษา …….” และเรียกเก็บค่าธรรมเนียม
ในประเภทไม่มีทุนทรัพย์

/๓.๖.๒ ส่วนที่เหลือ

- ๑๑ -
๓.๖.๒ ส่วนที่เหลืออีกครึ่งหนึ่งซึ่งมีชื่อนาง ท. ก็ดำเนินการจำหน่ายไปตามมาตรา ๙๖ แห่ง ประมวลกฎหมายที่ดิน ซึ่งเมื่อดำเนินการดังกล่าวแล้ว ก็จะไม่ปรากฏชื่อนาง ท. ในโฉนดที่ดิน แต่อย่างใด การดำเนินการดังกล่าวก็จะถือได้ว่าเป็นการเพิกถอนชื่อนาง ท. ออกจากโฉนดที่ดิน ตรงตามที่ศาลมีคำพิพากษาแล้ว

๓.๖.๓ แจ้งให้จังหวัดแจ้งคนต่างด้าว (โจทก์ที่ ๑) จัดการจำหน่ายที่ดินเฉพาะส่วนที่เหลือ ภายในกำหนดหนึ่งปี นับแต่วันรับทราบการให้จำหน่ายจากพนักงานเจ้าหน้าที่พร้อมทั้งบันทึก ถ้อยคำรับทราบไว้เป็นหลักฐาน ถ้านาย ป. คนต่างด้าวไม่จัดการจำหน่ายที่ดินภายในเวลาที่กำหนด อธิบดีกรมที่ดินมีอำนาจจำหน่ายที่ดินนั้นตามมาตรา ๙๔ แห่งประมวลกฎหมายที่ดินต่อไป
…………………..

ตัวอย่าง 1
หนังสือรับรอง
Letter of Confirmation
เขียนที่.....................................………………
At
วันที่........…….เดือน.........................................ปี……..........…...... Date Month Year
ข้าพเจ้านาย/นาง.............................................……..และนาย/นาง………………............................
I, Mr./Mrs and Mr./Mrs
เป็นคู่สมรสโดยชอบหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้ถ้อยคำยืนยันร่วมกันว่าเงิน
are registered/unregistered both spouses. We together confirm that the money
ที่ นาย/นาง ...........................................................................................นำมาซื้อที่ดิน
which Mr./Mrs shall expend on the purchase of
ตามโฉนดที่ดิน/น.ส.3 ก./น.ส. 3 เลขที่….................…................ตำบล...........…...............................................
land title deed/N.S. 3 K/N.S. 3 no Sub-district
อำเภอ..............................................................................จังหวัด…........................................…….....................
District Province
พร้อมสิ่งปลูกสร้าง……….....................................................................ตำบล....................................….............
with the construction Sub-district
อำเภอ.............................................................................จังหวัด.............................…...............……...................
District Province
หรือห้องชุดเลขที่……..........................................ชั้นที่……................ชื่ออาคารชุด.…….........….............….....
or Condominium unit no Floor Name of the Condominium
ตำบล….................................................................................อำเภอ................................……..........................…
Sub-district District
จังหวัด..................................................................................……......เป็นสินส่วนตัวหรือทรัพย์ส่วนตัว
Province is wholly Sin Suan Tua or the personal
ของ นาย/นาง...................................................................……...........แต่เพียงฝ่ายเดียว มิใช่สินสมรส หรือ
property of Mr./Mrs alone, not Sin Som Ros or the
ทรัพย์ที่ทำมาหาได้ร่วมกัน
matrimonial property between husband and wife.
(ลงชื่อ)...........................................................สามี/ภริยา ผู้รับรอง
(Signature) Certified spouse
(ลงชื่อ)..........................................................สามี/ภริยา ผู้รับรอง
(Signature) Certified spouse
(ลงชื่อ)...........................................................พยาน
(Signature) Witness
(ลงชื่อ)...........................................................พยาน
(Signature) Witness
หนังสือฉบับนี้ได้ทำต่อหน้า
This record is made in the presence of
(ลงชื่อ)...........................................................เจ้าพนักงานที่ดิน
(Signature) (Competent official)

ตัวอย่าง 2
หนังสือรับรอง
Letter of Confirmation
เขียนที่.....................................………………
At
วันที่........…….เดือน.........................................ปี……..........…...... Date Month Year
ข้าพเจ้านาย/นาง.............................................……..และนาย/นาง………………............................
I, Mr./Mrs and Mr./Mrs
เป็นคู่สมรสโดยชอบหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้ถ้อยคำยืนยันร่วมกันว่าเงิน
are registered/unregistered both spouses. We together confirm that the money
ที่ นาย/นาง ...........................................................................................นำมาซื้อที่ดิน
which Mr./Mrs shall expend on the purchase of
ตามโฉนดที่ดิน/น.ส.3 ก./น.ส. 3 เลขที่….................…................ตำบล...........…...............................................
land title deed/N.S. 3 K/N.S. 3 no Sub-district
อำเภอ..............................................................................จังหวัด…........................................…….....................
District Province
พร้อมสิ่งปลูกสร้าง……….....................................................................ตำบล....................................….............
with the construction Sub-district
อำเภอ.............................................................................จังหวัด.............................…...............……...................
District Province
หรือห้องชุดเลขที่……..........................................ชั้นที่……................ชื่ออาคารชุด.…….........….............….....
or Condominium unit no Floor Name of the Condominium
ตำบล….................................................................................อำเภอ................................……..........................…
Sub-district District
จังหวัด..................................................................................……......เป็นสินส่วนตัวหรือทรัพย์ส่วนตัว
Province is wholly Sin Suan Tua or the personal
ของ นาย/นาง...................................................................……...........แต่เพียงฝ่ายเดียว มิใช่สินสมรส หรือ
property of Mr./Mrs alone, not Sin Som Ros or the
ทรัพย์ที่ทำมาหาได้ร่วมกัน
matrimonial property between husband and wife.
การรับรอง (ลงชื่อ)...........................................................สามี/ภริยา ผู้รับรอง
Confirmation (Signature) Certified spouse
(ลงชื่อ)..........................................................สามี/ภริยา ผู้รับรอง
(Signature) Certified spouse
(ลงชื่อ)...........................................................พยาน
(Signature) Witness
(ลงชื่อ)...........................................................พยาน
(Signature) Witness




 

Create Date : 16 มกราคม 2550    
Last Update : 17 มกราคม 2550 4:55:58 น.
Counter : 873 Pageviews.  

สัญญาสมรส

สัญญาสมรสหรือสัญญาเกี่ยวกับทรัพย์สิน ( Contrat de mariage)

ลูกไก่ขอไม่แนะนำนะคะว่าสัญญาอันไหนดีอันไหนไม่ดี ควรทำสัญญานี้ดีกว่าอันโน้น เราได้เปรียบกว่า…. ฯลฯ แต่จะเอามาให้ดูว่ามีสัญญาแบบไหน บ้างแต่ละอย่างมีข้อดีข้อเสียอย่างไร ให้พิจารณาตัดสินใจเอาเอง ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่ กับบุคคลที่เกี่ยวข้องโดยตรงด้วย คือคนที่เราจะจดทะเบียนสมรสและทำสัญญาด้วย ว่าเขาจะเห็นด้วย หรือตกลงด้วย หรือเปล่า
สัญญาที่ทำไปแล้วตอนแต่งงานจะเปลี่ยนแปลงได้ก็ต้องได้รับอนุญาตจากศาล กฎหมายใหม่ที่จะนำมาใช้ ในวันที่ 1 มกราคม 2007 ที่จะถึงนี้ ยกเลิกขั้นตอนยุ่งยากเหล่านี้ไป

1 สัญญาแบบสินสมรสร่วมกัน Régime de la communauté légale

(ของๆเธอไม่เป็นของฉัน ของๆฉันไม่เป็นของเธอ ของที่เราสร้างด้วยกันเป็นของเรา)
เป็นสัญญาที่ได้มาโดยอัตโนมัติ หากตอนจด ทะเบียนสมรสไม่ได้ทำสัญญาเกี่ยวกับทรัพย์สินอย่างอื่น คู่สมรสชาวฝรั่งเศส ส่วนใหญ่ใช้สัญญา แบบนี้เพราะ ตอน จดทะเบียนสมรสไม่ได้ทำสัญญาทรัพย์สิน
สินสมรสในที่นี้หมายถึง ทรัพย์สินที่คู่สมรสได้มาสร้างมาด้วยกันในระหว่างสมรส ซึ่งไม่เกี่ยวกับทรัพย์สินส่วนตัวที่มีอยู่ก่อนสมรส หรือทรัพย์สินที่ได้มาโดยการรับมรดกก็จัดเป็นสินส่วนตัวเช่นกัน

กรณีที่หย่าก็ต้องแบ่งกันคนละครึ่ง
กรณีที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเสียชีวิต คู่สมรสที่มีชิวิตก็จะได้ ครึ่งหนึ่งหรือ 50 % ของสินสมรส จะได้ 25% ของสินส่วนตัว ของคู่สมรสที่เสียชีวิต ที่เหลือ 75% เป็นของลูก ถ้าคู่สมรสที่เสียชีวิตไม่มีลูกแต่มีพี่ๆ น้องๆ หรือพ่อแม่ คู่สมรสที่มีชีวิต ก็จะได้ 50% หรือ ครึ่งหนึ่งของสินส่วนตัวอาจจะได้มากกว่านี้ ถ้ได้มีการทำพินัยกรรมไว้ให้ก่อนเสียชีวิต

สัญญานี้จะให้ผลประโยชน์แก่ลูกมากกว่าคู่สมรส อย่างเช่นกรณีที่สามีมีอพาตเมนต์ราคา 200000 ยูโร ซึ่งเป็นสินส่วนตัว ของเขาที่มีอยู่ก่อนสมรส ถ้าเกิดเขาเสียชีวิต ภรรยาจะได้แค่ 25% คือ 50000 ยูโร ที่เหลือจะตกเป็นของลูกทั้งหมด สัญญานี้สามารถแก้ใขเพิ่มเติมได้โดยการให้ผลประโยชน์แก่ภรรยามากกว่านั้นมากกว่านั้น หรืออาจยก ทรัพย์สิน ให้ทั้งหมดเลย แต่ถ้าเขามีลูกก็ต้องขอความยินยอมจากลูกเขาด้วย ไม่งั้นอาจเกิดการฟ้องร้องเอาได้

คู่สมรสสามารถเปลี่ยนสัญญาได้ 2 ปี หลังแต่งงาน แต่ขั้นตอนยุ่งยากมาก ใช้เวลานาน ต้องผ่าน notaire (ผู้ร่างสัญญา เปิดพินัยกรรม จัดการมรดกฯลฯ ) ต้องผ่านศาลผ่านทนาย และต้อง เสียค่าใช้จ่ายสูงประมาณ 3000-4000 ยูโรหรือมากกว่านั้น แต่โชคดีที่มีกฎหมายใหม่ซึ่งจะเริ่มใช้ ในวันที่ 1/1/2007 นี้ ได้ตัดขั้นตอนยุ่งยาก ทั้งหลายออกไป โดยเหลือแค่ผ่าน Notaire ให้ร่างสัญญาใหม่ เสียค่าธรรมเนียมไม่กี่ร้อยยูโรเอง (ประมาณ 400 )

ข้อดี
*ให้ความคุ้มครองที่ดีกับคู่สมรสที่มีรายได้น้อยหรือคู่สมรสที่ไม่ได้ทำงาน
* การแยกทรัพย์สินส่วนตัวและสินสมรส
* ทั้งสองฝ่ายมีอำนาจในการจัดการทรัพย์สินเท่าเทียมกัน

ข้อเสีย
*ต้องรับผิดชอบหนี้สินร่วมกัน
*ค่อนข้างเสี่ยงสำหรับผู้ที่ทำธุรกิจบางชนิด ที่เสี่ยงต่อการขาดทุน ล้มละลาย สร้างหนี้สินมากมาย

2 สัญญาแบบสินสมรสและสินส่วนตัวร่วมกัน ( Communauté universelle )

(ของๆเธอเป็นของฉัน ของๆฉันเป็นของเธอ แม้ว่าของๆฉันจะมีน้อย ของๆเธอก็เป็นของฉัน)
ทรัพย์สินของทั้งสองฝ่าย รวมทั้งสินส่วนตัวหรือสินเดิมและหนี้สินที่ได้มาก่อนสมรสจะถูกนำมาเป็นทรัพย์สิน ส่วนกลาง ซึ่งทั้ง สองฝ่ายมีอำนาจจัดการเท่าเทียมกัน เมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเสียชีวิต อีกฝ่ายก็รับส่วนแบ่งไป ครึ่งหนึ่ง

สัญญานี้สามารถแก้ใขเพิ่มเติมเพื่อให้ความคุ้มครองมากขึ้นโดยเพิ่ม « clause d’attribution intégrale » คือยกทรัพย์สินทั้งหมดให้แก่คู่สมรสที่มีชีวิตอยู่ในกรณีที่ฝ่ายหนึ่งเสียชีวิต โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการรับมรดกและเสีย ภาษีและค่าธรรมเนียมต่างๆมากมาย
สัญญาแบบนี้ให้ผลประโยชน์ต่อคู่สมรสมากกว่าลูก จึงไม่ค่อยเหมาะสำหรับคู่สมรสที่มีลูก

ข้อดี
*ให้ความคุ้มครองและให้ผลประโยชน์แก่คู่สมรสที่มีชีวิตอยู่
*ให้อำนาจในการจัดการทรัพย์สินเท่าเทียมกัน
*เสียภาษีมรดกน้อย

ข้อเสีย
*ลูกจะเสียผลประโยชน์
*ต้องรับผิดชอบหนี้สินร่วมกัน

3 สัญญาแบบแบ่งแยกทรัพย์สิน ( Séparation de bien )

(ของๆเธอไม่เป็นของฉัน ของๆฉันก็ไม่เป็นของเธอ)
เหมือนชื่อบอกคือแบ่งแยกทรัพย์สินของใครก็ของคนนั้น ไม่มีสินสมรสร่วมกัน ไม่มีหนี้สิน ร่วมกัน ใครสร้างหนี้ก็จ่ายหนี้เอง กรณีหย่าก็ไม่มีการแบ่งทรัพย์สินกัน กรณีที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเสียชีวิต อีกฝ่ายจะไม่ได้อะไรเลย
สัญญานี้มักเป็นที่สนใจของผู้ที่มีทรัพย์สินมากและไม่อยากเสียผลประโยชน์ และเป็นที่สนใจของผู้ที่มีหนี้สินมากด้วย เพื่อหลีกเลี่ยงความเดือดร้อนต่อคู่สมรสในอนาคต

ข้อดี
*ไม่นำความเดือดร้อนมาให้อีกฝ่ายหนึ่ง อย่างในกรณีที่ทำธุรกิจหรืออาชีพที่เสี่ยงต่อการขาดทุน
*ไม่ต้องรับผิดชอบหนี้สินของอีกฝ่ายหนึ่ง
*ต่างคนต่างมีอำนาจเต็มที่ในการจัดการทรัพย์สินของตนเอง
*คู่สมรสที่มีลูกติดจะไม่มีปัญหาเรื่องมรดกเพราะทรัพย์สินจะตกเป็นของลูกทั้งหมด

ข้อเสีย
*คู่สมรสที่มีชีวิตอยู่และไม่มีรายได้จะไม่ได้รับความคุ้มครองเลย
*กรณีหย่าร้างก็จะไม่ได้รับความคุ้มครองเหมือนกัน

4. สัญญาแบบสินสมรสร่วมและแบ่งแยกทรัพย์สิน ( la participation aux acquêts )

เป็นสัญญาที่ไม่ค่อยเป็นที่รู้จัก ที่มีการใช้ 2 แบบร่วมกัน คือในช่วงชีวิตสมรสจะใช้แบบแบ่งแยกทรัพย์สิน แต่เมื่อมีการหย่าร้างหรือเสียชีวิต จะใช้สัญญาแบบสินสมรสร่วม คือผลประโยชน์ที่ได้มาในช่วงสมรสต้องมาแบ่งกัน คนละครึ่ง ฝ่ายที่ได้ผลประโยชน์หรือดอกผลจากสินส่วนตัวมามากต้องช่วยเหลือจุนเจือฝ่ายที่มีน้อยกว่า




 

Create Date : 23 พฤศจิกายน 2549    
Last Update : 25 พฤศจิกายน 2549 5:57:51 น.
Counter : 4393 Pageviews.  

จดทะเบียนสมรสในฝรั่งเศส

การจดทะเบียนสมรสในฝรั่งเศส

ขั้นตอนการจดทะเบียนสมรสในฝรั่งเศส คุ๋สมรสจะต้องยื่นเรื่องติดต่อกับทางสำนักงานเทศบาล( mairie )อย่างน้อย 2 เดือนก่อนวันแต่งงานจดทะเบียน

และต้องไปตรวจโรคขอใบรับรองแพทย์ ทางสำนักงานเทศบาลจะทำการปิดประกาศการสมรสเป็นเวลา 10 วัน ในวันแต่งงานเจ้าหน้าที่จะมอบทะเบียนบ้าน

(Livret de famille) ให้

เอกสารที่ต้องใช้

· หนังสือเดินทางและวีซ่าที่ยังไม่หมดอายุ

· สำเนาสูติบัตรแปลเป็นภาษาฝรั่งเศสและได้รับการรับรองเอกสารจากสถานทูต

· ใบรับรองความเป็นโสด ออกให้โดยสำนักงานเขต หรือที่ว่าการอำเภอ ( Certificat de célibat)

· หนังสือรับรองจารีตประเพณี (Certificat de coutume)* ต้องยื่นขอจากสถานทูต

· ใบรับรองแพทย์

· เอกสารยืนยันที่อยู่ในฝรั่งเศส ( ใบเสียภาษี สัญญาเช่า ….)

· ใบมรณบัตรของคู่สมรสเดิมหรือเอกสารรับรองการหย่า (กรณีที่มีการสมรสมาแล้ว)

· เอกสารสัญญาสมรสออกให้โดยสำนักงานโนตารี กรณีที่มีการทำสัญญาสมรส

· สำนักงานเทศบาลบางแห่งอาจขอล่ามแปลด้วยในวันทำพิธี

*หนังสือรับรองจารีตประเพณี (Certificat de coutume) สามารถขอได้ที่สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงปารีส ที่แผนกกงสุล โดยยื่นคำร้องพร้อมสำเนาหนังสือเดินทางของคู่สมรส

นำเอกสารดังกล่าวไปแปลเป็นภาษาฝรั่งเศส โดยนักแปลที่ได้รับรองจากทางการฝรั่งเศส (traducteur assermenté) พร้อมกับนำเอกสารของฝ่ายชายไปยื่นที่สำนักงานเทศบาล(Mairie)ในเขตที่พำนักอยู่ อย่างน้อย 8 วันก่อนวันประกอบพิธีแต่งงาน





 

Create Date : 01 มิถุนายน 2549    
Last Update : 5 สิงหาคม 2557 3:27:34 น.
Counter : 9864 Pageviews.  

จดทะเบียยนสมรสในเมืองไทย


ก่อนอื่น ต้องมี « หนังสือรับรองเพื่อประกอบการสมรส » หรือที่ภาษาฝรั่งเศสเรียกว่า « Certificat de capacité à mariage » ซึ่งชาวฝรั่งเศสต้องกรอกแบบฟอร์มยื่นคำร้องขอได้ที่สถานทูตฝรั่งเศส พร้อมกับสำเนาสูติบัติ ใบรับรองอาชีพและรายได้
ทางสถานทูตจะจัดการติดต่อกับ mairrie ที่ชาวฝรั่งเศสมีภูมิลำเนาอยู่ เพื่อ ปิดประกาศการสมรส ให้รู้หาก ไม่มีใครคัดค้าน การแต่งงาน ทาง mairie ของฝรั่งเศสก็จะส่ง « ใบรับรองว่าได้มีการปิดประกาศการสมรสโดยถูก ต้องตามกฏหมายแล้ว แล้วและไม่มีการคัดค้าน » ไปให้สถานทูต

ทางสถานทูตก็จะออก « certificat de capacité à mariage » เป็นภาษาฝรั่งเศสและภาษาไทยให้เพื่อใช้เป็นเอกสารประกอบ การจดทะเบียนสมรส ณ.สำนักงานเขตหรือ ณ.ที่ว่าการอำเภอ และที่สำคัญเอกสารใบนี้ต้องให้กระทรวงการต่างประเทศรับรอง

จดทะเบียนเรียบร้อยแล้วทางสำนักงานเขตหรือทางอำเภอก็จะออก ใบทะเบียนสมรส ให้ นำใบนี้ไปให้กระทรวงการต่างประเทศรับรองเอกสาร และขั้นสุดท้ายก็ไปจดทะเบียนที่สถานทูตฝรั่งเศส จากนั้นทางสถานทูตจะออก « Livret de famille » ให้




 

Create Date : 01 มิถุนายน 2549    
Last Update : 16 มิถุนายน 2549 20:36:38 น.
Counter : 1660 Pageviews.  

 
 

poussin
Location :
Alsace-Mulhouse France

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 29 คน [?]




สวัสดีค่ะ....ลูกไก่สร้างบล็อกนี้ขึ้นมาเพราะอยากแลกเปลี่ยนแบ่งปันข้อมูลและสาระความรู้ต่างๆที่น่าสนใจเกี่ยวกับฝรั่งเศสกับเพื่อนคนไทยด้วยกันที่อาศัยอยู่ในฝรั่งเศสและคนอื่นๆด้วยนะคะ

เพื่อนหญิงไทยที่มีประสบการณ์ที่น่าสนใจอยากเล่าสู่กัน ก็เชิญตามสบายค่ะ

[Add poussin's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com
pantip.com pantipmarket.com pantown.com