เป็นสุขอยู่ในอู่แห่งทะเลบุญอันกว้างใหญ่.......

ความรู้เกี่ยวกับวันเข้าพรรษา ตอนที่ 1









 

Create Date : 03 มิถุนายน 2554   
Last Update : 3 มิถุนายน 2554 12:34:03 น.   
Counter : 589 Pageviews.  

โครงการบวชอุบาสิกาแก้วหน่ออ่อน 1 ล้านคน บวชยอดหญิงผู้นำฟื้นฟูศีลธรรมโลก 1 ล้านคน ใบสมัครบวชอุบาสิกาแก้ว ...........ดาวน์โหลด เลยจ้า

อุบาสิกาแก้วหน่ออ่อน

โอวาทพระเดชพระคุณพระราชภาวนาวิสุทธิ์ (หลวงพ่อธัมมชโย)
อุบาสิกาแก้วหน่ออ่อน คือ ผู้สมัครใจ เข้าใจ และมีความพร้อมที่จะมาเป็นต้นแบบ และต้นบุญให้กับคนอื่นๆ ได้ ภาพของอุบาสิกาแก้วนี้จะได้แพร่ภาพไปทั่วโลก ซึ่งจะทำให้ความเข้าใจ และภาพพจน์ของผู้หญิงไทยดีขึ้น ทั่วโลกจะได้เห็นความตั้งใจในการปฏิบัติธรรม การฝึกฝนอบรมตุณธรรมแก่ตัวเอง และกระตุ้นให้เกิดการตื่นตัวในการปฏิบัติธรรมไปทั่วประเทศ ซึ่งจะเป็นเหตุให้สังคม ประเทศชาติ สงบร่มเย็นและพระพุทธศาสนารุ่งเรืองมั่นคงถาวร อยู่คู่แผ่นดินไทยตราบนานเท่านาน

ความเป็นมาของอุบาสิกาแก้วหน่ออ่อน

อุบาสิกาแก้วหน่ออ่อน ผู้งดงามด้วยอาภรณ์แห่งศีล สมาธิ(Meditation) และปัญญา เนื่องจากปัจจุบันสภาพเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองทั้งภายในและต่างประเทศมีการเปลี่ยนแปลงอย่างสูง เทคโนโลยี และวิทยาการมีความเจริญเป็นอย่างมาก แต่สภาพจิตใจของผู้คนกลับถดถอยลง ซึ่งผลจากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวทำให้สถาบันพระพุทธศาสนาได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก เช่น จำนวนพระภิกษุสงฆ์เริ่มลดลง วัดร้างเพิ่มมากขึ้น ฯลฯ แม้หลายฝ่ายจะหาทางแก้ไขปัญหาดังกล่าว แต่ก็ยังไม่สามารถ หาวิธีการที่เหมาะสมได้ พระเดชพระคุณพระราชภาวนาวิสุทธิ์ (หลวงพ่อธัมมชโย) ตระหนักในปัญหาดังกล่าว และมีความมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมความสงบร่มเย็นในสังคม ด้วยการนำเอาพระธรรมคำสั่งสอนแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาเผยแผ่ให้ผู้คนได้นำไปปฏิบัติอย่างจริงจัง ซึ่งความสงบร่มเย็นในจิตใจของแต่ละบุคคลจะส่งผลให้เกิดความสงบร่มเย็นในสังคมอย่างแท้จริง และยังเป็นการสืบต่ออายุพระพุทธศาสนาให้ยืนยาวนานอีกด้วย

ขณะนี้ แม้จะมีการส่งเสริมให้มีการบวชพระมากขึ้น เช่น โครงการอุปสมบทหมู่ 100,000 รูป ทุกหมู่บ้านทั่วไทย จนเกิดการตื่นตัวขึ้นทุกวงการก็ตาม แต่บุคคลที่จะเป็นพลังขับเคลื่อนสนับสนุนให้งานพระพุทธศาสนาก้าวหน้าอย่างทรงพลัง
นั้น ก็คือ "สตรี" ผู้เป็นอุบาสิกาผู้ที่อยู่ใกล้ชิดพระรัตนตรัย

ดังนั้น การบวชอุบาสิกาแก้ว จึงเป็นกิจกรรมที่มีความสำคัญและเป็นความหวังของการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้มั่นคง และจะร่วมจรรโลงพระพุทธธรรมให้ก้าวไกล เพราะพลังสตรีนั้น เป็นพลังอันบริสุทธิ์และยิ่งใหญ่ที่จะทำให้งานพระพุทธศาสนา ตลอดจนการสร้างสันติสุขในสังคมโลกเกิดขึ้นได้

ความสำคัญของอุบาสิกาแก้ว

สตรีสามารถเป็นได้ทั้งแม่ของลูกและแม่ของโลก อีกทั้งได้ชื่อว่าเป็นผู้จรรโลงและปกป้องพระพุทธศาสนา ดังเช่นเหตุการณ์สำคัญในสมัยพุทธกาลหลายครั้ง
- นางสุชาดา ได้ถวายข้าวมธุปายาส 49 ก้อนแด่พระบรมโพธิ์สัตว์ ซึ่งถือว่าเป็นอาหารมื้อสำคัญเพื่อบำรุงพระวรกาย จนพระองค์ได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
- นางวิสาขามหาอุบาสิกา ผู้มีบทบาทสำคัญในฐานะอุปัฏฐายิกา เป็นกองเสบียงคออุปถัมภ์บำรุงพระภิกษุอย่างมากมาย และยังเป็นกำลังสนับสนุนการเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้กว้างไกล เป็นต้น

สตรีจึงเป็นบุคคลสำคัญ ควรค่าแก่การยกย่องให้เป็น หนึ่งในพุทธบริษัท 4 ที่จะช่วยสืบทอดอายุพระพุทธศาสนาให้ยั่งยืนยาวนานต่อไป และสตรีผู้นั่งใกล้พระรัตนตรัยนี้

การ บวชในครั้งนี้ มีระยะเวลาทั้งสิ้น 14 วัน อุบาสิกาแก้วจะมีโอกาสเรียนรู้ หลาย ๆ สิ่งที่ไม่เคยรู้มาก่อน จะได้ถือศีล 8 ได้เรียนรู้วัฒนธรรมชาวพุทธที่สามารถ นำไปใช้ได้ในชีวิตจริง ได้สวดมนต์ ฟังธรรม นั่งสมาธิ รักษากาย วาจา ใจ ให้บริสุทธิ์


14 วันแห่งการบวชอุบาสิกาแก้วหน่ออ่อนในครั้งนี้ จึงเป็นช่วงเวลาที่ดีงามและทรงคุณค่าอย่างยิ่ง ที่อุบาสิกา แก้วทุกท่านจะได้บุญมหาศาลจากการตั้งใจทำทาน รักษา ศีล และเจริญสมาธิภาวนา ซึ่งจะเป็นประสบการณ์อันลํ๋าค่า ที่ตลอดชีวิตนี้จะไม่มีวันลืมเลือน

เมื่อคุณธรรมความดีงามได้ก่อเกิดขึ้นในใจของอุบาสิกาแก้วแล้ว ชีวิตของผู้เป็นที่รักทุกคนในครอบครัว ก็จะพลิกผันไปสู่วิถีทางที่ดียิ่งขึ้น เพราะสตรีซึ่งถือเป็น เพศมารดาของโลก เป็นผู้มีบทบาทสำคัญยิ่งในครอบครัว เมื่อหลายๆ ครอบครัวเปลี่ยนแปลงไป สังคมก็จะค่อย ๆ เปลี่ยนตาม ประเทศชาติ และโลกของเราก็จะแปรเปลี่ยน ไปสู่ความสงบสุขอย่างที่ทุกๆ คนรอคอยในที่สุด

หลักการและเหตุผล

อุบาสิกา คือ ตำแหน่งของสตรีผู้นั่งใกล้พระรัตนตรัย ทำหน้าที่ในการอุปถัมภ์บำรุงและปกป้องคุ้มภัยให้แก่พระพุทธศาสนามาตลอดอายุ พุทธกาล ดังเช่น มหารัตนอุบาสิกาวิสาขา ผู้สร้างบุพพาราม วัดสำคัญในสมัยพุทธกาล จวบจนถึงปัจจุบันอุบาสิกาก็ยังคงเป็น 1 ใน 4 เสาหลักแห่งความมั่นคงของพระพุทธศาสนาเหมือนเมื่อครั้งพุทธกาล อุบาสิกา แก้วหน่ออ่อน หมายถึง อุบาสิกาผู้มีศีล 8 เป็นอาภรณ์ประดับกาย วาจา ใจ และปฏิบัติตามทางสายกลางคือ อริยมรรคมีองค์ 8 ย่อมงดงามและบริสุทธิ์ ประดุจดอกไม้แก้วแรกแย้ม กายภายนอกก็ผุดผ่องใสด้วยอานุภาพแห่งศีล กายธรรมภายในที่เป็นหน่อเนื้อแห่งพุทธะ ก็สุกใสสว่าง ด้วยอานุภาพแห่งสมาธิและปัญญา เช่นนี้จึงได้ชื่อว่า เป็นอุบาสิกาผู้นั่งใกล้พระรัตนตรัยอย่างแท้จริง ยิ่งบังเกิดขึ้นมากเพียงใด ประเทศชาติและพระพุทธศาสนาก็ยิ่งมั่นคงถาวรเพียงนั้น

จาก โครงการบวชอุบาสิกาแก้วหน่ออ่อน 1 แสนคน เมื่อวันที่ 8-15 มีนาคม 2553 และโครงการบวชอุบาสิกาแก้วหน่ออ่อน 5 แสนคน เมื่อวันที่ 16-29 เมษายน 2553 ที่ผ่านมา ทำให้สตรีชาวพุทธหลายแสนคน ได้ มีโอกาสบวชเป็นอุบาสิกาแก้วหน่ออ่อน ได้เรียนรู้ธรรมะทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ แม้หลังอบรมไปแล้ว ก็ตั้งใจรักษาศีล ปฏิบัติธรรมเป็นปกติ เกิดกระแสการทำความดี กระแสการปฏิบัติธรรม ไปทุกภาคส่วนในสังคมไทย จึงเกิดกระแสเรียกร้องจากทุกภาคส่วนให้จัดโครงการนี้อย่างต่อเนื่อง ดัง นั้น คณะสงฆ์ทั้งแผ่นดิน คณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร วัดพระธรรมกาย มูลนิธิธรรมกาย สมาคมกำนันผู้ใหญ่บ้านแห่งประเทศไทย ชมรมพุทธศาสตร์สากลในอุปถัมภ์สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ และองค์กรภาคีต่างๆ จึงได้ร่วมกันจัด โครงการบวชอุบาสิกาแก้วหน่ออ่อน 1,000,000 คน ขึ้นระหว่างวันที่ 29 พฤษภาคม - 5 มิถุนายน พุทธศักราช 2554 ณ ศูนย์อบรมประจำอำเภอทั่วประเทศ เพื่ออบรมปลูกฝังศีลธรรมและอุดมการณ์พระพุทธศาสนา ให้สตรีชาวพุทธนับล้านคน กลายเป็นอุบาสิกาแก้วหน่ออ่อนผู้มีความมั่นคงในพระรัตนตรัย อันหมายถึงความมั่นคงของพระพุทธศาสนา และการพัฒนาศีลธรรมของโลกให้รุ่งเรืองสืบต่อไป

วัตถุประสงค์โครงการ

1. เพื่ออบรมปลูกฝังศีลธรรมและอุดมการณ์พระพุทธศาสนาให้แก่สตรีชาวพุทธ ได้เป็นอุบาสิกาผู้นั่งใกล้พระรัตนตรัยอย่างแท้จริง
2. เพื่อการฟื้นฟูศีลธรรมและวัฒนธรรมชาวพุทธให้กลับมารุ่งเรืองอีกครั้ง ดังเช่นพุทธกาล
3. เพื่อการพัฒนาสังคม และประเทศชาติอย่างยั่งยืน โดยการพัฒนาศีลธรรมของประชาชน

คุณสมบัติผู้เข้าอบรม

1. หญิงแท้ อายุระหว่าง 15-65 ปี
2. นับถือพระพุทธศาสนา
3. สุขภาพแข็งแรง ไม่เป็นโรคติดต่อร้ายแรง โรคจิต โรคประสาท หรืออื่นๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการอบรม
4. สามารถรักษาศีล 8 ได้ตลอดการอบรม
5. เป็นผู้อยู่ง่ายกินง่าย ไม่เป็นภาระต่อผู้อื่น

การรับสมัคร

1. สมัครหรือสอบถามรายละเอียดได้ที่ Call Center โทร 02-831-1234, 087-707-7771-3
2. สมัครผ่านระบบอินเตอร์เน็ตที่ //www.บวช.com ,www.dmycenter.com
3. สมัครด้วยตนเอง ณ ศูนย์อบรมประจำอำเภอทั่วประเทศ
4. สมัครผ่านผู้ประสานงานโครงการในอำเภอของท่าน

ดาวน์โหลดใบสมัครอุบาสิกาแก้ว คลิกที่นี่

ที่ปรึกษาโครงการ

ประธานที่ปรึกษา
สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ

กรรมการที่ปรึกษา

1. สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ วัดสัมพันธวงศารามวรวิหาร
2. พระวิสุทธาธิบดี (วีระ ภทฺทจารี ป.ธ.๙) วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร
3. พระพรหมเวที (สนิท ชวนปญฺโญ ป.ธ.๙) วัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร
4. พระพรหมวชิรญาณ (ประสิทธิ์ เขมงฺกโร ป.ธ.๓) วัดยานนาวา
5. พระพรหมโมลี (สมศักดิ์ อุปสโม ป.ธ.๙ ) วัดพิชยญาติการามวรวิหาร
6. พระพรหมสุธี ( เสนาะ ปญฺญาวชิโร ป.ธ.๖) วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร
7. พระวิสุทธิวงศาจารย์ (วิเชียร อโนมคุโณ ป.ธ.๙) วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ
8. พระพรหมจริยาจารย์ (สงัด ปญฺญาวุโธ ป.ธ.๗) วัดกะพังสุรินทร์ จ.ตรัง
9. พระพุทธวรญาณ(ทอง สุวณฺณสาโร ป.ธ.๖) วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร
10. พระธรรมวโรดม (สมเกียรติ กิตฺติวฑฺฒโน ป.ธ.๙) วัดทินกรนิมิต
11. พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙) วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร
12.พระธรรมกิตติเมธี (จำนงค์ ธมฺมจารี) วัดสัมพันธวงศารามวรวิหาร
13. พระธรรมราชานุวัตร (สุทัศน์ สุทสฺสโน ป.ธ.๖) วัดพระแก้ว จ.เชียงราย
14. พระธรรมเจดีย์ (ประกอบ ธมฺมเสฏฺโฐ ป.ธ.๙) วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร
15. พระธรรมปัญญาภรณ์ (สุชาติ ธมฺมรตโน ป.ธ.๙) วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ
16. พระธรรมคุณาภรณ์ (เอื้อน หาสธมฺโม ป.ธ.๙) วัดสามพระยาวรวิหาร
17. พระธรรมปริยัติเวที (สุเทพ ผุสฺสธมฺโม ป.ธ.๙) วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร
18. พระธรรมปิฎก (ชวลิต อภิวฑฺฒโน ป.ธ.๙) วัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร
19. พระธรรมรัตนดิลก (เชิด จิตฺตคุตฺโต ป.ธ.๙) วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร
20. พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต ป.ธ.๙) วัดประยูรวงศาวาสวรวิหาร
21. พระธรรมธีรราชมหามุนี (เที่ยง อคฺคธมฺโม ป.ธ.๙) วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร
22. พระธรรมวิมลโมลี (รุ่น ธีรปญฺโญ ป.ธ.๙) วัดชลประทานรังสฤษฎ์
23. พระธรรมปริยัติโมลี (อาทร อินฺทปญฺโญ ป.ธ.๙) วัดบพิตรพิมุขวรวิหาร
24. พระเทพวีราภรณ์ (นิมิต ทนฺตจิตฺโต ป.ธ.๔) วัดโคกสมานคุณ จ.สงขลา
25. พระเทพสุธี (สงคราม อสิญาโณ ป.ธ.๙) วัดไตรธรรมาราม จ.สุราษฏร์ธานี
26. พระราชปริยัตยาภรณ์ (สมศักดิ์ โชตินฺธโร ป.ธ.๕) วัดเขียนเขต เจ้าคณะจังหวัดปทุมธานี
27. เจ้าคณะจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ

ผู้รับผิดชอบโครงการ

1.คณะสงฆ์ทั้งแผ่นดิน
2.คณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร
3.วัดพระธรรมกาย และมูลนิธิธรรมกาย
4.สมาคมกำนัน ผู้ใหญ่บ้านแห่งประเทศไทย
5.ชมรมพุทธศาสตร์สากล ในอุปถัมภ์สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์

ผู้ร่วมสนับสนุนโครงการ

1. คณะกรรมาธิการการศาสนาคุณธรรม จริยธรรม ศิลปะและวัฒนธรรม วุฒิสภา
2. คณะอนุกรรมาธิการกิจการพระพุทธศาสนา สภาผู้แทนราษฎร
3. คณะอนุกรรมาธิการพระพุทธศาสนา วุฒิสภา
4. กระทรวงมหาดไทย
5. กระทรวงศึกษาธิการ
6. กระทรวงวัฒนธรรม
7. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคง ของมนุษย์
8. สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
9. จังหวัดปทุมธานี
10. องค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก
11. องค์การยุวพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก
12. กรมกิจการพลเรือนทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย
13. กรมกิจการพลเรือนทหารบก
14. กรมกิจการพลเรือนทหารเรือ
15. กรมกิจการพลเรือนทหารอากาศ
16. กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
17. กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ๑
18. กรมพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย
19. กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน กระทรวงสาธารณสุข
20. สมาพันธ์องค์การพัฒนาชุมชนแห่งประเทศไทย
21. สมาคมองค์การบริหารส่วนจังหวัดแห่งประเทศไทย
22.สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย
23.สมาคมองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งประเทศไทย
24. ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขแห่งประเทศไทย
25. สมาคมสภาวัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
26. สภาวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร
27. สภาองค์กรชุมชนตำบลระดับชาติ
28. V-Peace องค์กรอาสาสมัครเพื่อสันติภาพโลก
29. สหพันธ์รวมใจไทยทั้งชาติและเครือข่าย
30. สมาคมวัฒนธรรมเพื่อความดีสากล
31. คณะกรรมการพัฒนาสตรีทุกระดับ ทุกจังหวัด
32. สมาคมผู้นำสตรีพัฒนาชุมชนไทย
33. ชมรมอุบาสิกาแก้วทั่วประเทศ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ได้อุบาสิกาแก้ว ผู้ทำนุบำรุง และอุปถัมภ์ปกป้องพระพุทธศาสนาถึง 1 ล้านคน
2.ได้ฟื้นฟูศีลธรรม และวัฒนธรรมชาวพุทธในชุมชนทุกภาคส่วนทั่วประเทศไทย
3.เป็นมหากุศล สร้างความร่มเย็นและนำความเจริญรุ่งเรืองมาสู่แผ่นดินไทย
4.ผู้บวชอุบาสิกาแก้วได้หลักธรรมนำไปใช้ในการดำเนินชีวิตอย่างถูกต้อง


//www.dmc.tv/pages/scoop/superwoman1m.html




 

Create Date : 16 พฤษภาคม 2554   
Last Update : 16 พฤษภาคม 2554 14:36:45 น.   
Counter : 470 Pageviews.  

พิธีตักบาตรพระ 12,600 รูป ฉลองพุทธชยันตี 2,600 ปี แห่งการตรัสรู้ธรรม ในวันอาทิตย์ ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ.2554 ณ ถนนราชดำริ









 

Create Date : 15 พฤษภาคม 2554   
Last Update : 15 พฤษภาคม 2554 13:53:44 น.   
Counter : 498 Pageviews.  

ถ้าอยากไปสวรรค์จะทำอย่างไร? โดย พระมหาบุญไทย ปุญญมโน

คำสอนของพระพุทธศาสนาที่มีคนสอบถามมากที่สุดเรื่องหนึ่งคือนรกสวรรค์ บางคนสงสัยว่ามีอยู่จริงหรือไม่ ถ้ามีอยู่ที่ไหน จะไปได้อย่างไร พระสงฆ์ทั้งหลายก็พยายามตอบ ผู้ถามก็เชื่อบ้างไม่เชื่อบ้าง เพราะผู้ตอบเองก็ไม่สามารถจะหาตัวอย่างที่ชัดเจนได้ แต่คำสอนที่พระพุทธศาสนาที่คนมักจะจำได้ติดปากมากที่สุดเรื่องหนึ่งคือทำดี ไปสวรรค์ ทำชั่วไปนรก แล้วคนประเภทไหนที่ควรไปสวรรค์

ครั้งหนึ่งพราหมณ์และ คฤหบดีชาวเวฬุทวารคามได้สอบถามพระพุทธเจ้าสรุปความว่าพวกเขายังอยากครอง เรือนยังยินดีในการครองเรือน ยินดีในทรัพย์สินเงินทอง แต่เมื่อตายแล้วอยากไปสวรรค์จะทำอย่างไร

พระพุทธเจ้าจึงได้แสดงวิธีไปสวรรค์สำหรับชาวบ้านผู้ครองเรือนทั้งหลายไว้ใน เวฬุทวารสูตร สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค (19/1459-1467/353-356)สรุปความว่า “อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราอยากเป็นอยู่ ไม่อยากตาย รักสุข เกลียดทุกข์ ผู้ใดจะปลงเราผู้อยากเป็นอยู่ ไม่อยากตาย รักสุข เกลียดทุกข์ เสียจากชีวิตข้อนั้นไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา อนึ่ง เราพึงปลงคนอื่นผู้อยากเป็นอยู่ ไม่อยากตาย รักสุขเกลียดทุกข์ เสียจากชีวิต ข้อนั้นก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของคนอื่น ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา ธรรมข้อนั้น ก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของผู้อื่น ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา เราจะพึงประกอบผู้อื่นไว้ด้วยธรรมข้อนั้นอย่างไร อริย สาวกนั้นพิจารณาเห็นดังนั้นแล้วตนเองย่อมงดเว้นจากปาณาติบาตด้วย ชักชวนผู้อื่นเพื่องดเว้นจากปาณาติบาตด้วย กล่าวสรรเสริญคุณแห่งการงดเว้นปาณาติบาตด้วย กายสมาจารของอริยสาวกนั้น ย่อมบริสุทธิ์โดยส่วนสามอย่างนี้



ดูกร พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ผู้ใดพึงถือเอาสิ่งของที่เรามิได้ให้ด้วยอาการขโมย ข้อนั้นไม่เป็นที่รักที่ชอบของเรา อนึ่ง เราพึงถือเอาสิ่งของที่ผู้อื่นมิได้ให้ด้วยอาการขโมย ข้อนั้นก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของผู้อื่น ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักที่รักที่ชอบใจของเรา ธรรมข้อนั้น ก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของผู้อื่น ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา เราจะพึงประกอบผู้อื่นไว้ด้วยธรรมข้อนั้นอย่างไร อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็น ดังนี้แล้ว ตนเองย่อมงดเว้นจากอทินนาทานด้วย ชักชวนผู้อื่นเพื่อให้งดเว้นจากอทินนาทานด้วย กล่าวสรรเสริญคุณแห่งการงดเว้นจากอทินนาทานด้วย กายสมาจารของอริยสาวกนั้น ย่อมบริสุทธิ์โดยส่วนสามอย่างนี้
อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ผู้ใดพึงถึงความประพฤติ (ผิด) ในภริยาของเรา ข้อนั้นไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา อนึ่ง เราพึงถึงความประพฤติ (ผิด)ในภริยาของคนอื่น ข้อนั้นก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของคนอื่น ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา ธรรมข้อนั้น ก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของผู้อื่น ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา เราจะพึงประกอบผู้อื่นไว้ด้วยธรรมข้อนั้นอย่างไร อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็น ดังนี้แล้ว ตนเองย่อมงดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจารด้วย ชักชวนผู้อื่นเพื่อให้งดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจารด้วย กล่าวสรรเสริญคุณแห่งการงดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจารด้วยกายสมาจารของอริยสาวก นั้น ย่อมบริสุทธิ์โดยส่วนสามอย่างนี้



อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ผู้ใดพึงทำลายประโยชน์ของเราด้วยการกล่าวเท็จ ข้อนั้นไม่เป็นที่รักใคร่ชอบใจของเรา อนึ่ง เราพึงทำลายประโยชน์ของคนอื่นด้วยการกล่าวเท็จ ข้อนั้นก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของคนอื่น ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา ธรรมข้อนั้น ก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของผู้อื่น ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา เราจะพึงประกอบผู้อื่นไว้ด้วยธรรมข้อนั้นอย่างไร อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ตนเองย่อมงดเว้นจากมุสาวาทด้วย ชักชวนผู้อื่นเพื่อให้งดเว้นจากมุสาวาทด้วย กล่าวสรรเสริญคุณแห่งการงดเว้นจากมุสาวาทด้วย วจีสมาจารของอริยสาวกนั้น ย่อมบริสุทธิ์โดยส่วนสามอย่างนี้
อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ผู้ใดพึงยุยงให้เราแตกจากมิตรด้วยคำส่อเสียด ข้อนั้นไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา อนึ่ง เราพึงยุยงคนอื่นให้แตกจากมิตรด้วยคำส่อเสียด ข้อนั้นก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของคนอื่นธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา ธรรมข้อนั้น ก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของคนอื่นธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา เราจะพึงประกอบผู้อื่นไว้ด้วยธรรมข้อนั้นอย่างไร อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็น ดังนี้แล้ว ตนเองย่อมงดเว้นจากปิสุณาวาจาด้วย ชักชวนผู้อื่นเพื่อให้เว้นจากปิสุณาวาจาด้วย กล่าวสรรเสริญคุณแห่งการงดเว้นจากปิสุณาวาจาด้วย วจีสมาจารของอริยสาวกนั้น ย่อมบริสุทธิ์โดยส่วนสามอย่างนี้



อีก ประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ผู้ใดพึงพูดกะเราด้วยคำหยาบ ข้อนั้นไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา อนึ่ง เราพึงพูดกะคนอื่นด้วยคำหยาบ ข้อนั้นก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของคนอื่น ธรรมข้อใดไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา ธรรมข้อนั้น ก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของผู้อื่น ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา เราจะพึงประกอบผู้อื่นไว้ด้วยธรรมข้อนั้นอย่างไร อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้วตนเองย่อมงดเว้นจากผรุสวาจาด้วย ชักชวนผู้อื่นเพื่อให้งดเว้นจากผรุสวาจาด้วย กล่าวสรรเสริญคุณแห่งการงดเว้นจากผรุสวาจาด้วย วจีสมาจารของอริยสาวกนั้น ย่อมบริสุทธิ์โดยส่วนสามอย่างนี้
อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ผู้ใดพึงพูดกะเราด้วยถ้อยคำเพ้อเจ้อ ข้อนั้นไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา อนึ่ง เราพึงพูดกะคนอื่นด้วยถ้อยคำเพ้อเจ้อ ข้อนั้นก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของคนอื่น ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา ธรรมข้อนั้น ก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของผู้อื่น ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา เราจะพึงประกอบผู้อื่นไว้ด้วยธรรมข้อนั้นอย่างไร อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ตนเองย่อมงดเว้นจากสัมผัปปลาปะด้วย ชักชวนผู้อื่นเพื่อให้งดเว้นจากสัมผัปปลาปะด้วยกล่าวสรรเสริญคุณแห่งการงด เว้นจากสัมผัปปลาปะด้วย วจีสมาจารของอริยสาวกนั้น ย่อมบริสุทธิ์โดยส่วนสามอย่างนี้



อริย สาวกนั้นประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ... ในพระธรรม ... ในพระสงฆ์ ... ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ... เป็นไปเพื่อสมาธิ
ดูกรพราหมณ์และคฤหบดี ทั้งหลาย เมื่อใดอริยสาวกประกอบด้วยสัทธธรรมเจ็ดประการนี้ เมื่อนั้น อริยสาวกนั้นหวังอยู่ ด้วยฐานะเป็นที่ตั้งแห่งความหวังสี่ประการนี้ พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า เรามีนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ปิตติวิสัย อบาย ทุคติ วินิบาตสิ้นแล้ว เราเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า
คำตอบเรื่องสวรรค์นรกใน เวฬุทวารสูตรนี้แปลกไปจากพระสูตรอื่น ข้อแรกเหมือนจะเป็นศีลห้า แต่พออ่านไปกลับไม่ใช่ทั้งหมด มีศีลห้าอยู่เพียงสี่ข้อ ส่วนอีกสามข้อที่เหลือเป็นเรื่องการพูดคือนอกจากจะพูดเท็จ ยังมีพูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ ซึ่งเกี่ยวกับกาพูดถึงสี่ประการ แสดงให้เห็นว่าเรื่องของคำพูดนั้นสามารถทำให้คนทำผิดและเป็นเหตุให้ตกนรกได้ มากกว่าอย่างอื่น หากทำได้ทุกข้อนั่นเป็นการดี แต่ถ้าทำได้ไม่หมดก็เลือกทำข้อใดข้อหนึ่งก็จะเป็นหนทางไปสู่สวรรค์ได้เหมือน กัน เพราะสวรรค์มีหลายชั้น



วันนี้ อ่านพระไตรปิฎกยาวหน่อย เห็นว่าไม่ควรตัดตอนใดตอนหนึ่งออกไป อยากให้ทนอ่านพร้อมทั้งพิจารณาไปด้วย สำนวนพระไตรปิฎกแม้จะอ่านยาก แต่เมื่อต้องการหลักฐานอ้างอิง ก็ไม่มีหลักฐานอื่นที่น่าเชื่อถือมากไปกว่า ไปไตรปิฎก ที่สำคัญช่วงนี้หากใครอยากไปสวรรค์ไม่ควรไปที่สี่แยกราชประสงค์ เพราะที่นั่นพวกนักปราศัยพูดถ้อยคำที่รุนแรง พวกเขาไม่อยากไปสวรรค์แต่อยากให้ยุบสภา........!


พระมหาบุญไทย ปุญญมโน
20/04/53

เนื้อหาจาก
//www.mbu.ac.th




 

Create Date : 14 พฤษภาคม 2554   
Last Update : 14 พฤษภาคม 2554 11:16:15 น.   
Counter : 607 Pageviews.  

ถ่ายทอดสดพิเศษ-7 ปีแห่งการหยัดสู้ มูลนิธิธรรมกาย ส่งกำลังใจถึง 286 วัด 4 จังหวัดภาคใต้

สถานีถ่ายทอดสด ออนไลน์
//www.dmc.tv/pages/scoop/special-broadcast-live-286วัด.html


ขอเชิญรับชม พิธีทอดผ้าป่า 286 วัด 4 จังหวัดภาตใต้
ณ จังหวัดสงขลา

วันเสาร์ที่ 14 พฤษภาคม 2554
เวลา 08.00-12.00 น.

ส่งกำลังครั้งยิ่งใหญ่สู่แดนใต้
ถวายสังฆทาน 286 วัด 4 จังหวัดภาคใต้ ครั้งที่ 72
และพิธีมอบทุนหนุนแรงใจช่วยครูใต้

ผู้มีบุญจากทั่วโลก สามารถเข้ามาร่วมรับชมและเป็นส่วนหนึ่ง
กับพิธีถวายสังฆทานในครั้งนี้ผ่าน ทาง //www.dmc.tv
ได้ในวันและเวลาดังกล่าว ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่านมา ณ โอกาสนี้



ร่วมเป็นเจ้าภาพถวายสังฆทาน ได้ที่
Tel. 02-831-1234 หรือ contact @ dmc.tv





 

Create Date : 12 พฤษภาคม 2554   
Last Update : 12 พฤษภาคม 2554 20:57:10 น.   
Counter : 450 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  56  57  58  59  

อู่ต่อเรือ
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




นึกแล้วเชียว ว่าต้องเข้ามาดู

555
[Add อู่ต่อเรือ's blog to your web]