แพรร่ำ
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add แพรร่ำ's blog to your web]
Links
 

 

เพลงพระราชนิพนธ์ "ยามเย็น"




ยามเย็น

ทำนอง: พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช
คำร้อง: พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ





ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ "จวนจะลับยอดอินทนนท์"


แดดรอนรอน
เมื่อทินกรจะลับเหลี่ยมเมฆา
ทอแสงเรืองอร่ามช่างงามตา
ในนภาสลับจับอัมพร

แดดรอนรอน
เมื่อทินกรจะลาโลกไปไกล
ยามนี้จำต้องพรากจากดวงใจ
ไกลแสนไกลสุดห่วงยอดดวงตา

แต่ก่อนเคยคลอเคลียกัน
ทุกวันคืนรื่นอุรา
ต้องอยู่เดียวเปลี่ยววิญญาณ์
เหมือนดังนภาไร้ทินกร

แดดรอนรอน
หากทินกรจะลาโลกไปไกล
ความรักเราคงอยู่คู่กันไป
ในหัวใจคงอยู่คู่เชยชม

แดดรอนรอน
หมู่มวลภมรบินลอยล่องตามลม
คลอเคล้าพฤกษาชาติชื่นเชยชม
ชมสมตามอารมณ์ล่องเลยไป

ลิ่วลมโชย
กลิ่นพรรณไม้โปรยโรยร่วงห่วงอาลัย
ยามสายัณห์พลันพรากจากดวงใจ
คอยแสงทองวันใหม่กลับคืนมา

แต่ก่อนเคยคลอเคลียกัน
ทุกวันคืนชื่นอุรา
ต้องอยู่เดียวเปลี่ยววิญญาณ์
เหมือนดังนภาไร้ทินกร

โอ้ยามเย็น
จวบยามนี้เป็นเวลาสุดอาวรณ์
ยามไร้ความสว่างห่างทินกร
ยามรักจำจะจรจากกันไป


Love at Sundown

Music: H.M.K. Bhumibol Adulyadej
Lyric: Prof. Thanpuying Nopakhun Thongyai Na Ayudhya


‘Tis sundown
The golden sunlight tints the blue sea,
Paints the hill and gilds the palm tree.
Happy be, my love, at sundown.

‘Tis sundown
The multi-coloured dancing sunbeam
Brightly shines on in my heart’s dream
Of the one I love, at sundown.

The birds come to their nest-
At peace, they bill and coo.
The wide world sinks to rest,
And so do I and so do you.

“Tis sundown
In splendour sinks the sun, comes twilight,
Day is done, now greets the cool night.
Happy be, my love, at sundown.



เป็นเพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่สอง ทรงพระราชนิพนธ์ขณะทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระราชอนุชา ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสกับคณะกรรมการของสมาคมดนตรีแห่งประเทศไทย ในโอกาสเข้าเฝ้าทูลเกล้าฯ ถวายเงินเพื่อสมทบทุน โครงการพัฒนาตามพระราชประสงค์ ณ ศาลาดุสิตาลัย เมื่อวันพุธที่ 16 ธันวาคม 2524 ว่า
“เพลง ยามเย็น เพลงที่สองนั่นนะ เป็นเพลงพี่ของสายฝน แก่เดือนไป 1 เดือน เขาเกิดเดือนเมษายน (2489)”

เพลงพระราชนิพนธ์ยามเย็น เป็นเพลงพระราชนิพนธ์เพลงแรกที่พระราชทานให้บรรเลงสู่สาธารณชน โดยออกอากาศทางสถานีวิทยุกรมประชาสัมพันธ์ และต่อมาได้ออกในงานรื่นเริงที่สวนอัมพร เป็นที่นิยมของพสกนิกรมาก สาเหตุหนึ่งเพราะเป็นเพลงในจังหวะฟ็อกซ์ทร็อต ซึ่งเหมาะสำหรับการลีลาศในสมัยนั้น แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสว่า
“เพลงยามเย็นนี้เป็นที่รู้จัก แต่ไม่โด่งดังเหมือนสายฝน”

เพลงพระราชนิพนธ์ยามเย็นนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงให้ความสำคัญแก่โน้ตบลูส์อยู่มาก เนื่องจากเวลานั้นการลีลาศแบบบอลล์รูม (Ballroom) เป็นที่นิยมในสังคม ดังนั้นเพลงนี้จึงมีอิทธิพลในแบบ สวิง (Swing) เข้ามาผสมผสานอยู่ด้วย จึงอาจเรียกแบบแผนของเพลงนี้ว่าเป็นสวิงบลูส์ (Swing blues) หรือสวิงแจส (Swing jazz) แบบอ่อนๆก็ได้

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาฯโปรดเกล้าให้พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริทรงนิพนธ์คำร้องภาษาไทย เนื้อหาพรรณนาถึงคนรักที่ต้องจากกันไกล โดยนำมาเปรียบเทียบกับธรรมชาติตอนอาทิตย์อัสดง สำหรับเนื้อร้องภาษาอังกฤษ ซึ่งได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ท่านผู้หญิง นพคุณ ทองใหญ่ ณ อยุธยา เป็นผู้ประพันธ์นั้นไม่มีอารมณ์ของความว้าเหว่ แต่เป็นความสุขสมหวังในรัก ที่ทำให้มองธรรมชาติในเวลาเย็นงดงามยิ่งขึ้น



รวบรวมและเรียบเรียงจากหนังสือ "งานช่างของในหลวง" โดยมหาวิทยาลัยศิลปากร
และ "ธ สถิตในดวงใจนิรันดร์" โดยโรงเรียนจิตรลดา




 

Create Date : 13 สิงหาคม 2549    
Last Update : 16 กันยายน 2549 20:51:12 น.
Counter : 5579 Pageviews.  

เพลงพระราชนิพนธ์ "แสงเทียน"

">


แสงเทียน

ทำนอง: พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช
คำร้อง: พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ





ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ "วัฏจักร"


จุดเทียนบวงสรวงปวงเทพเจ้า
สวดมนต์ค่ำเช้าถึงคราวระทมทน
โอ้ชีวิตหนอล้วนรอความตายทุกคน
หลีกไปไม่พ้นทุกข์ทนอาทรร้อนใจ
ต่างคนเกิดแล้วตายไป
ชดใช้เวรกรรมจากจร

นิจจังสังขารนั้นไม่เที่ยงเสี่ยงบุญกรรม
ทุกคนเคยทำกรรมไว้ก่อน
เชิญปวงเทวดาข้าไหว้วอน
ขอพรคุ้มไปชีวิตหน้า
ทนทรมานมามากแล้วจะกราบลา
หนีปวงโรคาที่เบียดเบียน
แสงแววชีวาเปรียบแสงเทียน

เปรียบเทียนสิ้นแสงยามแรงลมเป่า
ชีพดับอับเฉาเหมือนเงาไร้ดวงเทียน
จุดเทียนถวายหมายบนบูชาร้องเรียน
โรคภัยเบียดเบียนแสงเทียนทานลมพัดโบย
โรครุมเร้าร้อนแรงโรย
หวนโหยอาวรณ์อ่อนใจ

ทำบุญทำทานกันไว้เถิดเกิดเป็นคน
ไว้เตรียมผจญชีวิตใหม่
เคยทำบุญทำคุณปางก่อนใด
ขอบุญคุ้มไปชีวิตหน้า
ทนทรมานมามากแล้วจะกราบลา
แสงเทียนบูชาจะดับพลัน
แสงเทียนบูชาดับลับไป



Candlelight Blues

Music: H.M.K. Bhumibol Adulyadej
Lyric: Assoc. Prof. Sodsai Pantoomkomol


The candlelight is shining low,
My only love, I’m missing you so.
I know I’ve lost
But still I dream of you.

I’ll hope and dream
Till all my dreams come true.
Just by the candlelight
You used to hold me tight.

This candlelight reminds me so of you;
By candlelight you kissed me.
Still the candle’s burning for two,
But darling, where can you be?

Come back, my love,
If you’re feeling this blue
By candlelight you’ll meet me.
But darling where can you be?



เกร็ดประวัติ

เป็นเพลงแรกที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ.2489 ขณะที่ทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระราชอนุชา แต่ยังไม่ทรงโปรดเกล้าฯให้นำออกบรรเลง เนื่องจากมีพระราชประสงค์จะทรงแก้ไขให้ดีกว่าเดิมก่อน เพลงนี้จึงปรากฏต่อสาธารณชนหลังจากเพลงที่สองคือ ยามเย็น และเพลงที่สามคือสายฝน ซึ่ง ศ.ดร. ประเสริฐ ณ นคร เล่าว่า
“สมเด็จพระอนุชาฯ (พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช) ตรัสว่า เพลงเสียงเทียนนี่เศร้าเกินไปในตอนท้ายๆคล้ายว่า ทนทรมานมามากแล้วจะกราบลา ท่านจักรพันธุ์ฯก็กราบบังคมทูลว่าเนื่องจากเป็นเพลงบลูส์ เพลงบลูส์ของอเมริกันนิโกรก็เศร้าๆอย่างนี้ แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรับสั่งว่า ถึงแม้จะเศร้าก็จริง แต่ตอนท้ายของเพลงนั้นต้องมีปรัชญาชีวิตว่าจะสู้ต่อไป ยังมีความหวังอยู่”
เพลงพระราชนิพนธ์แสงเทียนนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงใช้แบบแผนของดนตรีบลูส์ในการพระราชนิพนธ์ แต่จะพบว่ามีอิทธิพลของแจสปรากฏในการใช้คอร์ดซึ่งหลากหลายไล่เรียงกันไปมา คอร์ดเหล่านี้เล่นไล่เสียงสูงต่ำเป็นชุด นักดนตรีแจสนิยมใช้คอร์ดแบบนี้กันมาก และเมื่อทรงนำมาใช้ก็ทำให้เกิดความรู้สึกละเอียดอ่อนขึ้น กับทั้งทำให้ความแตกต่างของความเป็นไมเนอร์-เมเจอร์ เด่นชัด ซึ่งไม่ค่อยพบในเพลงบลูส์เท่าใดนัก แต่อย่างไรก็ตามเพลงพระราชนิพนธ์เพลงนี้ก็ยังคงใช้โน้ตในสเกล (Scale) บลูส์แท้ และสามารถรักษาความเป็นบลูส์แท้ไว้ได้ การใช้คอร์ดอื่นๆเข้ามาผสมเพียงเพื่อให้เพลงนี้มีสีสันของเสียงที่หลากหลายและไพเราะยิ่งขึ้น

เนื้อร้องของเพลงนี้มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าจักรพันธุ์เพ็ญศิริทรงนิพนธ์คำร้องภาษาไทยขึ้นในปี พ.ศ. 2489 โดยทรงใช้ทำนองเพลงเป็นแรงบันดาลพระทัย เนื้อหาพรรณนาถึงความทุกข์และกรรมตามคติพุทธ โดยใช้เทียนเป็นสัญลักษณ์เปรียบเทียบกับชีวิตมนุษย์ที่ต้องผจญชะตากรรม

อีก 7 ปีต่อมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ รศ. สดใส พันธุมโกมล ประพันธ์คำร้องภาษาอังกฤษขึ้น คำร้องภาษาอังกฤษพรรณนาถึงความอาวรณ์และความคิดถึงผู้เป็นที่รักที่จากมาโดยมีแสงเทียนเป็นสิ่งเตือนความจำ




รวบรวมและเรียบเรียงจากหนังสือ "งานช่างของในหลวง" โดยมหาวิทยาลัยศิลปากรและ "ธ สถิตในดวงใจนิรันดร์" โดยโรงเรียนจิตรลดา




 

Create Date : 13 สิงหาคม 2549    
Last Update : 3 กันยายน 2549 23:13:58 น.
Counter : 1700 Pageviews.  

1  2  3  4  5  
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.