ติดตาม twitter ได้ที่ @karnoi กด
ติดตามข้อมูลเว็บทาง FaceBook กด

อ่างเก็บน้ำแม่มอก เพชรเม็ดงามของแหล่งท่องเที่ยว อ.เถิน ลำปาง

อ่างเก็บน้ำแม่มอกเพชรเม็ดงามของแหล่งท่องเที่ยว อ.เถิน จ.ลำปาง ที่รอการเจียระไน

00000ในทริปนี้จะพาท่านไปเที่ยวชม อ่างเก็บน้ำแม่มอก อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ มีเนื้อที่ถึง 10,000 ไร่ กว้าง 2 กิโลเมตร ซึ่งเป็นโครงการพระราชดำริ(กปร.) เมื่อครั้งที่พระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราช ดำเนินไป ทรงเยี่ยมราษฏรในอำเภอทุ่งเสลี่ยม จ.สุโขทัย ได้มีพระ ดำรัสกับอธิบดีกรมชลประธาน ให้พิจารณาวางโครงการพัฒนาลุ่มน้ำแม่มอก และ มีพระราชดำริว่าควรสร้าง เขื่อนเก็บกักน้ำในลำน้ำแม่มอก

เพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์แหล่งน้ำเพื่อการเกษตรและอุปโภคบริโภค 2 จังหวัด คือ อำเภอทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย และพื้นที่ท้ายอ่าง 3 หมู่บ้าน ตำบลเวียงมอก อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง ในฤดูฝนเกณฑ์เฉลี่ย 45,000 ไร่ ในฤดูแล้ง 2,000 ไร่

อ่างเก็บน้ำแม่มอก เป็นเขื่อน ทำนบดินขนาดใหญ่ มีเนื้อที่ถึง 10,000 ไร่ กว้าง 2 กิโลเมตรเขื่อนยาว 1.9 กิโลเมตร ความจุของอ่างที่ระดับน้ำเก็บกัก 96 ล้านลูกบาศก์เมตร ความจุที่ระดับน้ำนองสูงสุด 138 ล้านลูกบาศก์ทางระบายน้ำล้นกว้าง 45 เมตร มีท่อส่งน้ำ 3 แห่ง ส่งน้ำให้กับอำเภอทุ่งเสลี่ยม และแปลงอพยพของประชาชนที่ย้ายออกจากพื้นในบริเวณการสร้างอ่างตั้งอยู่ หมู่ที่ 7 ตำบลเวียงมอก อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง อยู่ห่างจากปากทางแยกที่อำเภอเถิน ระยะทางประมาณ 50 กิโลเมตร

ในการถ่ายทำและสำรวจนี่ผมไปหลายครั้ง ช่วงแรกๆ จะเป็นการถ่ายทำเพื่อผลิตสื่อทั้งวีดิทัศน์ และโบว์ชัวรแนะนำสถานที่ ท่องเที่ยวของเทศบาล ตำบลเวียงมอก ก็อาจจะเห็นภาพที่ถ่ายไว้บางส่วนไปปรากฏในแวปอื่นก่อนแล้วก็มี

ส่วนช่วงอื่นๆ นั้นอาจเป็นเพราะติดใจ ความงามของพื้นที่ก็เลยไปบ่อยหน่อย คือเรียกได้ว่าไปให้ทั่วทั้งอ่างเลยว่างั้น ไม่ว่าจะเป็นบนสันอ่าง ท้ายอ่าง บนเนินเขาจากบริเวณบ้านพักไม่จุใจ

ก็เลยเช่าเรือชาวบ้านให้ช่วยพาไปวนในบริเวณ อ่างเก็บภาพสวยๆมาให้ชมกันในบริเวณอ่างเก็บน้ำเราจะพบซากเป้นส่วนยอดของ ต้นไม้ที่ถูกน้ำท่วมเหลือแต่ยอดให้ดูต่างหน้าว่าครั้งหนึ่งใต้ท้องเรือของ เราก็คือป่าด้วยเช่นกันบริเวณด้านทิศตะวันตกจะเป็นแนวเขาทอดยาว มีเกาะกลางน้ำด้วย ซึ่งมีแพชาวบ้านลากมาไว้ให้ นักท่องเที่ยวมาพักบ้างไม่กี่หลัง

พอกลับมาออฟฟิตมานั้งชมภาพจากดาวเทียม เห็นบริเวณอ่างนั้นกินพื้นที่ไปถนนสายเก่า ก็ชักอยากจะไปย้อนรอย เส้นทาง เถิน-ทุ่งเสลี่ยมบริเวณที่ถูกน้ำจากอ่างเก็บน้ำท่วมไปแล้วซึ่งปัจจุันได้ตัด เส้นทางใหม่

ภาพจากดาวเทียม จุดที่หนึ่งทางสายเก่าที่ถูกน้ำท่วมไป จุดที่ 2 เส้นทางใหม่ที่ใช้ในปัจจุบัน

ทีมงานเราย้อนกลับไปค้นหาเส้นทางดังกล่าว ก็ได้ภาพมาฝากกันอย่างที่เห็นล่ะครับ สำหรับท่านที่เข้ามาชมที่ เถินทูเดย์นี่คุ้มเลยล่ะครับ เพราะว่าจะได้เห็นบรรยากาศกันแบบทุกซอกทุกมุมเพราะเราถ่ายทำจากสถานที่จริง ไม่ได้ถ่ายทำจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ รับรองได้ว่าได้ข้อมูลเชิงลึกแบบไม่ต้องขุดหลุมหาเลยล่ะครับ...

ภาพนี้ถ่ายได้บริเวณตรงจุโค้งที่เป็นถนนเก่าแล้วโดนน้ำท่วมไป

บริเวณตรงทางเข้าสันเขื่อนมีชาวบ้านมาขายอาหารพวกส้มตำ ข้าวเหนียวบ้าง ส่วนแพก็พอมี เท่าที่คุยกับชาวบ้านเค๊าบอกว่าถ้ามีคนมาเที่ยวเยอะก็กล้าทำแพเพิ่มได้ ส่วนที่มีอยู่แล้วก็พักได้ครับ ให้ดีผมว่าถ้าคิดจะมาพักเอาเต็นท์มาด้วยน่าจะดี

ช่วงเย็นมีชาวบ้านเอาจักรยานมาไว้ให้เช่าไว้ขี่เล่นชมวิว ต้องลองมาสัมผัสด้วยตัวเองนะครับใจหนึ่งผมก็ว่ามันสงบดี เพราจากสภาพโดยรวมของอ่างมีทิวทัศน์ที่สวยงามไม่ธรรมดาเลยทีเดียว

ที่เห็นเป็นถนนยาวไปนี่เป็นสันเขื่อนนะครับ ส่วนเขาที่เห็นยังมีถ้ำหลวงบ้านแม่พุ หลังเขาเข้าเขตสุโขทัยแล้วล่ะครับ

บรรยากาศประตูน้ำล้น หรือ Spillwayช่วงพระอาทิตย์ตกดิน

อีกมุมของประตูน้ำล้น หรือ Spillway

พอน้ำไหลล้นจากประตูน้ำล้น ชาวบ้านมารอจับปลาครับได้ปลาเยอะไปขายปากทางเข้าอ่างนี่ล่ะราคาไม่แพงด้วย


0000 เห็นไม๊ล่ะครับว่า ทิวทัศนืที่นี่ไม่ธรรมดาเลย แต่อาจมาติดที่วิสัยทัศน์ ของหลายๆฝ่ายที่อาจมองข้ามความน่าจะเป็นในการพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว สร้างรายได้ให้กับชุมชน จึงทำให้ไม่ว่าจะเป็นบ้านพักที่ มีอยู่ 6-7 หลังบนเนินเขา ศาลาชมวิว บ้านพักขนาด 2 ห้องนอน หรือแบบ ห้องรวม ห้องน้ำ แท็งค์น้ำ ใช้งบประมาณค่าก่อสร้างไปไม่น้อยแต่กลับกลายเป็นที่อยู่ของปลวกไปซะ อย่างน่าเสียดาย

บ้านพักที่ถุกปล่อยให้เป้นที่รกร้างไม่มีใครดูแลบำรุงรักษา

ดูห่างๆ ยังสวยและสภาพดี แต่ถ้าเข้าไปใกล้ๆ ประตูโดนปลวกกินไปแล้วน่าเสียมากๆ

ไม่มีการดูแลน่าเสียดายมากๆ โดยเฉพาะบ้านพักสร้างได้สวยงาม ถูกปล่อยให้รกร้างว่างเปล่าไปอย่างไรค่าไรคนดุแลทั้งที่เป็นโครงการในพระราช ดำริ ก็ต้องช่วยกันไถ่ถามไปในฐานะประชาชนคนเดินดินกินข้าวแกง(อันนี้อย่างเพิ่ง โกรธกันนะครับ ขออนุญาตแสดงความคิดเห็นอย่างตรงไปตรงมาครับท่าน) จริงๆ แล้วหากมีการบริหารจัดการที่ดีเชื่อได้ว่าที่นี่จะเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ ขึ้นชื่อของจังหวัดลำปางอีกที่หนึ่งอย่างแน่นอน เพราะในบริเวณรอบๆ อ่างยังมีสถาน ท่องเที่ยวที่น่าสนใจอีก 3 จุดไม่ว่าจะเป็นประตูผ่านแดน จากล้านนาเข้าสู่อาณาจักรสุโขทัย ที่น่าจะเป็นแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ (ถูกปล่อยให้รกร้างว่าเปล่าเช่นกัน ) ถ้ำหลวงบ้านแม่พุ, ถ้ำโด่ปางอ้า ซึ่งท่านจะได้ชมกันในบทความต่อไป

ตรงนี้ก็ขอฝากไปยังหลายท่านก็ลองเก็บไปพิจารณาดูนะครับ ว่าควรจะมีการบริหารจัดการเช่นไร เพราะหากมีการฟื้นฟูและจัดการที่ดีจนเกิดเป็นแหล่งท่องเที่ยวซึ่งจะก่อให้ เกิดรายได้แก่ชุมชน และจังหวัดในภาครวมเลยทีเดียว นี่ล่ะครับเพชรเม็ดงามของแหล่งท่องเที่ยวเถินที่ยังขาดคนเจียระไน ผมเองเป็นแค่คนงานขุดคนหนึ่งเท่านั้นเองก็คงบอกกล่าวมาได้แค่นี้ล่ะครับท่าน ด้วยความปราถนาดีจากใจจริง.

BY.ThoenToday.com




Create Date : 22 สิงหาคม 2554
Last Update : 22 สิงหาคม 2554 19:56:33 น. 6 comments
Counter : 1991 Pageviews.  

 
แวะมาทักทายและเข้ามาชมครับ


โดย: กัปตันลูกชุบ วันที่: 22 สิงหาคม 2554 เวลา:21:02:15 น.  

 
โอ น่าไปเที่ยวจัง แต่ท่าจะติดเรื่องที่พักนี่สิ บ้านสวย ๆ โดนปลวกยึดไปเสียแล้ว จขบ.วานแนะนำเส้นทางอย่างละเอียดหน่อยจ้ะ อยากพาแม่ไปเที่ยว ส่วนตัวเดินทางผ่านเถินบ่อยมาก


โดย: BAHAMAS วันที่: 22 สิงหาคม 2554 เวลา:23:18:27 น.  

 


โดย: Kavanich96 วันที่: 23 สิงหาคม 2554 เวลา:8:12:58 น.  

 
ขอบคุณครับ
ชมเรื่องราวนี้แล้วหวนระลึกถึงอ่างฯแม่มอกและคนที่เคยข้างตัว

ขอบคุณครับ สวยงามมาก


โดย: spindle IP: 110.77.250.108 วันที่: 25 สิงหาคม 2554 เวลา:21:54:54 น.  

 
เรื่องราวน่าสนใจมากครับ


โดย: jetmom3425 วันที่: 29 สิงหาคม 2554 เวลา:17:53:26 น.  

 
บ้านเค้าเลยอ่ะ เสียน่าจะพัฒนากว่านี้


โดย: เด็กแถวนั้น IP: 49.230.183.169 วันที่: 14 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา:10:08:45 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

zulander
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 77 คน [?]




หวยซอง เลขเด็ด
หวยซอง เลขเด็ด หวยซองแม่นๆ หวยซองดัง รวมหวยซอง






ติดตามข้อมูลของเว็บทาง twitter ได้ที่ @karnoi กด
ติดตามข้อมูลเว็บทาง FaceBook กด







Online Users


New Comments
[Add zulander's blog to your web]