ชมวิวทิวทัศน์ เที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์ ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

แนะนำ Fanpage มีประโยชน์มาก ในการสร้างเมืองเขียว ของ อ.ธราดล ทันด่วน (ครูต้นไม้)



แนะนำ Fanpage มีประโยชน์มาก ในการสร้างเมืองเขียว ของ อ.ธราดลทันด่วน (ครูต้นไม้)

กด LIKE กันด้วยครับเป็นกรอบอยู่ท้ายบทความสั้นๆนี้ครับ



ธราดล ทันด่วน “ครูต้นไม้” กับ “ชีวิต”ที่ผลิใบในวัยใกล้ “เกษียณ”

เครดิตภาพ //men.sanook.com/7673/

เครดิตโพสต์ด้านล่าง อ.ธราดล ทันด่วน(ครูต้นไม้)

เพื่อนฝูง มิตรสหาย ญาติมิตร ที่นับถือทุกท่าน

ขอฝาก Fanpage: Urban Forestry WorkingGroup of Thailand ไว้ในความเมตตาของทุกท่าน ด้วยหวังว่า

ชุมชนแห่งนี้จักเป็นชุมชนของคนที่สนใจในงานด้านป่าในเมืองของประเทศไทย หวังว่าเราจะได้แชร์ประสบการณ์ บทเรียน แง่คิด ฯลฯ... ฯลฯ.... อันเป็นเรื่องส่วนตนมาให้ผู้คนในวงการได้รับรู้ วิพากวิจารณ์ ถกเถียงเพื่อให้เกิดความก้าวหน้าในงานด้านนี้ ขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมในประเทศไทยอันเป็นที่รักยิ่งของเรา

กด LIKE แฟนเพจด้านล่างนี้เลยครับ

https://www.facebook.com/Urban-Forestry-Working-Group-of-Thailand-1835226536722925/?pnref=story






 

Create Date : 30 ธันวาคม 2559    
Last Update : 30 ธันวาคม 2559 0:46:13 น.
Counter : 1443 Pageviews.  

โรงเรียน150 แห่ง เปลี่ยนที่จอดรถ เป็นหลังคาโซล่าเซลล์ ประหยัดค่าไฟฟ้ามหาศาล



เครดิตบทความ Facebook เพจ Sunshine Sketcher ขอขอบพระคุณ มา ณ ที่นี้ครับ

โรงเรียนในแคลิฟอร์เนียเปลี่ยนที่จอดรถเป็นแหล่งผลิตไฟฟ้า

SunEdison ผู้ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์รายใหญ่ประกาศว่าโรงเรียนในแคลิฟอร์เนีย25 แห่งได้ทำข้อตกลงปรับเปลี่ยนที่จอดรถแบบเดิมเป็นหลังคาโซลาร์เซลล์ซึ่งจะช่วยประหยัดค่าไฟได้กว่าพันล้านบาท หรือ 30 ล้านเหรียญสหรัฐในช่วงเวลา 20 ปีจากนี้

“ปกติค่าไฟคือรายจ่ายที่สูงที่สุดเป็นอันดับสองของโรงเรียนปัจจุบันโรงเรียนกว่า 150 แห่งได้หันมาติดตั้งโซลาร์เซลล์ซึ่งช่วยประหยัดงบประมาณและสามารถนำเงินไปใช้ซ่อมแซมและปรับปรุงอาคารเรียนด้านอื่นๆได้แทน"




โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการในครั้งนี้ได้เซ็นสัญญาการรับซื้อพลังงานจากรัฐบาลท้องถิ่นเป็นเวลา20 ปี โดยคาดว่าจะมีกำลังผลิตไฟฟ้าประมาณ 7.4 เมกกะวัตต์ ปัจจุบันการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังแสงอาทิตย์นับเป็นอุตสาหกรรมที่เติบโตเร็วที่สุดอย่างหนึ่งในสหรัฐอเมริกา

บ้านเราใช้งบประมาณมากมายอย่างสิ้นเปลืองไร้เหตุผลทำไมจึงไม่คิดลงทุนในเรื่องที่จะเป็นประโยชน์ระยะยาวจริงๆอย่างนี้บ้างซึ่งความจริงก็ไม่ใช่แค่ประโยชน์ทางด้านสิ่งแวดล้อม แต่เป็นการลดต้นทุนและสร้างความยั่งยืนให้กับสังคมโดยรวม

ที่มา: SunEdison To Cover 25 California School Parking Lots With Solar

bit.ly/1n7wBUK

อ้างอิง

https://www.facebook.com/sunshine.sketcher/photos/a.121194994596727.13457.119055914810635/923674191015466/?type=3&theater




 

Create Date : 17 มกราคม 2559    
Last Update : 17 มกราคม 2559 13:13:15 น.
Counter : 1834 Pageviews.  

เปลี่ยนขวดใช้แล้ว เป็นแจกันสีสันสวยงาม ทำกันเองง่ายๆ นำไปตกแต่งบ้าน ตกแต่งชุมชนกันได้ตามอัธยาศัย

เครดิต //www.facebook.com/iUrban.in.th

How to make vases with painted bottles

วันนี้ เราจะมาเปลี่ยนขวดแก้วใช้แล้ว ที่แสนจะธรรมดา ให้กลายเป็นแจกันสีหวานๆไว้ประดับห้อง หรือโต๊ะทำงาน รับอากาศร้อนๆช่วงนี้.. เห็นแจกันหวานๆดอกไม้สวยๆ แล้วจะได้เย็นลงบ้างค่ะ ไปดุกันเลยค่ะ





มาเริ่มกันที่เตรียมอุปกรณ์ค่ะ หาขวดใสในแบบที่ชอบ จะเป็นขวดไวน์ ขวดน้ำปลา ขวดน้ำหวานได้ทั้งหนั้นค่ะให้เป็นขวดใส ก็ใช้ได้ แล้วก็สี เป็นสีอคริลิคก็จะดี จะใช้สีทาบ้านกระปุกเล็กๆก็คงได้ แล้วก็เลือกว่าจะให้เป็นสีอะไรบ้าง ก็ลงมือผสมสีเลยค่ะ เอาให้ได้หลายๆเฉดในโทนเดียวกัน ก็จะวางแล้วสวย




ผสมสีเสร็จแล้วก็จัดการเอาหลอดสริงค์ดูดสีขึ้นมาตามภาพเลยค่ะ ถ้าเป็นขวดใหญ่ก็จะใช้สีมากหน่อย ประมาณ 80 ml.- 100 ml.




ใช้สริงค์หยอดสีลงไปในขวดและ หมุนขวดไปเรื่อยๆ จนสีกระจายไปจนทั่วด้านในของขวด







เทสีที่เหลือออกและเช็ดส่วนที่เลอะออก ทิ้งไว้ให้แห้ง ต้องแห้งสนิทจริงๆนะคะ อาจใช้เวลาหลายวัน







ในกรณีที่ใช้สีน้ำในการเคลือบด้านในขวด ก็จะต้องมีหลอดที่ใส่น้ำเพื่อไม่ให้น้ำโดนกับสี แต่ถ้าใช้สีอคริลิค ก็หมดปัญหาเรื่องนี้ไป







เสร็จแล้วค่ะ ที่เหลือก็นำดอกไม้มาจัดแต่งได้เลย เพียงเท่านี้..ก็ได้แจกันสวยๆสีสันสดใสมาประดับโต๊ะ มาประดับบ้าน ได้ใช้ประโยชน์จากขยะ ให้มันมีคุณค่าขึ้นมาอีกครั้ง ^__^









ที่มา : //www.lachicadelacasadecaramelo.com/2013/04/jarrones-con-botellas-pintadas.html




 

Create Date : 22 เมษายน 2556    
Last Update : 22 เมษายน 2556 8:08:24 น.
Counter : 1758 Pageviews.  

ไอเดีย นำของเหลือใช้ สร้างเป็นร้านกาแฟ (รักษ์โลก) ลองทำกันดูครับ สร้างมูลค่าเพิ่มกับร้านได้แน่นอนครั

เครดิต //www.iurban.in.th/highlight/trash-cafe-newcastle-students-unveil-pop-up-coffee-shop-recycled-cardboard/

//www.facebook.com/iUrban.in.th





นักศึกษาจากมหาวิทยาลัย Newcastle ประเทศอังกฤษ ได้รวบรวมวิศวกร และสถาปนิก เป็นกลุ่มเพื่อสร้าง ร้านคาเฟ่ จากขวดพลาสติกรีไซเคิล และกระดาษกล่อง และให้ชื่อว่า Trash Café

Trash Café เป็นส่วนหนึ่งในความคิดริเริ่ม การรีไซเคิลที่ใหญ่ที่สุดของมหาวิทยาลัย โดยมีความมุ่งหวังที่จะเผยแพร่ และปลูกฝังจิตสำนึกในเรื่องสิ่งแวดล้อมในกลุ่มเยาวชน นักออกแบบรุ่นใหม่ เพื่อกระตุ้นให้พวกเขาใช้วัสดุที่ยั่งยืน คิดถึงผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อมในการออกแบบ และการเลือกวัสดุเสมอ

หลังจากการจัดแสดงในครั้งนี้ เก้าอี้จากขวดพลาสติก ผนังจากกระดาษกล่อง ในร้าน Trash Café แห่งนี้ จะถูกถอดออกและเคลื่อนย้ายไปจัดแสดงในสถานที่อื่นๆภายใน เมือง Newcastle ต่อไป น่าชื่นชม และน่าส่งเสริมค่ะ..เพราะพวกเขานี่ล่ะ ที่จะเป็นผู้กำหนดอนาคตของโลกเรา ในวันข้างหน้า


































 

Create Date : 21 เมษายน 2556    
Last Update : 21 เมษายน 2556 0:06:10 น.
Counter : 2233 Pageviews.  

รถรางเบา Streetcar ลงทุนไม่มาก น่าจะเข้าถึงกลุ่มคนในเมืองมากกว่า ภาครัฐไม่สนใจ ลองอ่านแล้วช่วยกันคิด

ในขณะที่บ้านเรา คุยกันเรื่องกู้เงินประมาณ 2 ล้านล้านบาทพร้อมดอกเบี้ยอีกประมาณ 3 ล้านล้านบาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้นประมาณ 5.2 ล้านล้านบาท พร้อมกับภาระเป็นหนี้ของคนในชาติอีก 50ปี ซึ่งนับจากถ้าเราเป็นหนี้แล้ว ฟากรัฐก็ต้องหาเงินมาใช้ในการบริหารหนี้ซึ่งแน่นอนทีเดียว ภาระทั้งหมดก็ต้องเป็นของเราๆ ทั้งนั้นซึ่งทุกคนเป็นห่วงเรื่องความโปร่งใสเป็นอย่างยิ่งในเรื่องที่สภาผ่านวาระแรก ให้กระทรวงการคลังใช้จ่ายนอกงบประมาณซึ่งความห่วงใยก็คือ จะไม่สามารถตรวจสอบการใช้เงินของภาครัฐได้เลยก็น่าเป็นห่วงจริงๆ ครับ เพราะมันไม่น่าจะถูกหลักการครับ




อย่างไรก็แล้วแต่ครับ วันนี้จะเขียนบทความสั้นๆ เรื่องเรื่องรถรางเบา Streetcar ในเยอรมัน ว่าทำไมเค้าถึงมีใช้กันร่วม50 เมือง (ตามลิ้งก์ //en.wikipedia.org/wiki/Trams_in_Germany ) ซึ่งแตกต่างจากรถไฟความเร็วสูง คือ Streetcar กล่าวคือ


รถรางเบา (Streetcar)ส่วนใหญ่จะวิ่งภายในเมืองนั้นๆ ไม่ได้เชื่อมระหว่างเมือง คือเชื่อมโครงข่ายภายในเมือง หรือภายในจังหวัด ส่วนเรื่องการลงทุนก็ไม่ได้มากมายอย่างกับรถไฟความเร็วสูง

บทความย้อนหลัง เรื่อง Streetcar

“นักผังเมืองทั่วโลก” ยกให้ รถไฟฟ้า Streetcarเป็นระบบการขนส่งที่ดีที่สุดในโลกขณะนี้ ไม่ทราบว่าผังเมืองบ้านเราเริ่มคิดกันแล้วหรือยัง?

//www.oknation.net/blog/smartgrowth/2012/03/20/entry-1

เครดิต Smart Growth Thailand ตามลิ้งก์//www.facebook.com/SmartGrowthThailand


ส่วนรถไฟความเร็วสูง อย่างที่ทราบกันดีครับจะวิ่งระหว่างเมือง หรือระหว่างประเทศ ซึ่งก็แน่นอนทีเดียวมันเร็วกว่า Streetcar รถรางเบาที่วิ่งบริการประชาชนภายในเมืองนั้นๆ เป็นหลัก

ในความเห็นส่วนตัวของผม (ผู้เผยแพร่)เนื่องจากติดตามข้อมูลมาอย่างต่อเนื่อง ผมคิดว่าในหลายจังหวัดในประเทศไทย น่าจะมี Streetcar แบบนี้ใช้ครับเช่น อุดร ขอนแก่น โคราช สมุย เชียงใหม่ ภูเก็ต หนองคาย พิษณุโลก ฯลฯอีกมากมายหลายจังหวัด หรืออาจจะทั่วประเทศ ก็น่าจะมีกันน่ะครับเพราะมันจะสะดวกสบาย และบริการได้กว้างขวาง เช่นเดียวกับรถบริการสาธารณะอื่นๆส่วนปัญหาอื่นๆ ต่างๆมากมาย ที่บางท่านเคยยกมา ผมว่าถ้าผู้บริหารเมืองที่จริงใจย่อมแสวงหาทางออกกันได้น่ะครับ หรือสุดท้าย ประชาชนในชุมชนก็ต้องรวมกลุ่มกันแล้วล่ะครับ ถ้าภาครัฐขาดความจริงใจที่จะทำเรื่องดีๆ....อย่างไรก็แล้วแต่ครับ นี่เป็นความเห็นส่วนบุคคลของประชาชนคนหนึ่งครับซึ่งอยากเห็นความเปลี่ยนแปลงบ้านเมืองในทางที่ดีขึ้นครับ


ชมภาพตัวอย่าง Streetcar รถรางเบาในเยอรมันครับ 



รถรางเบา Streetcar ในเมืองมิวนิค



รถรางเบา Streetcar ในเมืองเบอร์ลิน



รถรางเบา Streetcar ในเมืองโคลญจน์

ในเยอรมัน จะมีใช้ Streetcar ร่วม 50 เมือง รายชื่อเมือง ชมได้ตามลิ้งก์ ใน วิกิพีเดีย

//en.wikipedia.org/wiki/Trams_in_Germany







ชมตัวอย่างวีดีโอ Streetcar วิ่งพาดผ่านภายในเมืองจะเกิดกิจกรรมพาณิชยกรรม ในเมืองอย่างมากมายตามมาครับ





 

Create Date : 01 เมษายน 2556    
Last Update : 1 เมษายน 2556 18:31:36 น.
Counter : 1161 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  

เที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 11 คน [?]




ภาพอดีต ภาพปัจจุบัน และอนาคต และความเป็นไปของเกาะรัตนโกสินทร์
เล่าเรื่องทริป ที่สุดแสนจะธรรมด๊า ธรรมดา แต่หลายคนอาจมองข้ามไป แต่ในสายตาของนักท่องเที่ยวทั่วโลกแล้ว มัน อเมซิ่ง มากมาย
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add เที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.