ชมวิวทิวทัศน์ เที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์ ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
การวางผังเมือง (พื้นที่นันทนาการริมน้ำ) ของมหานครอื่น เค้าปฏิบัติจนสำเร็จกันแล้ว บ้านเราจะเป็นอย่างไรเมื่อเห็นตัวอย่างแบบนี้



บทความเรื่อง “แนวทางการวางผังและออกแบบพื้นที่นันทนาการริมน้ำ(Waterfront: Planning and Design Guideline)”


บทความดีๆ ที่มีประโยชน์มากมาย ของ ผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการผังเมืองอ.ฐาปนา บุณยประวิตร บน Facebook //www.facebook.com/SmartGrowthThailand ที่เขียนเกี่ยวกับเรื่อง การวางผังเมืองพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนตามแนวทางการเติบโตอย่างชาญฉลาด(Smart Growth) ซึ่งผมนำมาตั้งชื่อ Blog ผมอีกบล็อกหนึ่งครับ เพราะตั้งใจจะนำข้อคิดข้อเขียนของอาจารย์ทั้งจากใน Facebook ของอาจารย์และในเว็บไซต์ของอาจารย์ //asiamuseum.co.th/ มานำเสนอเท่าที่จะเป็นไปได้ความจริงหลายเรื่องที่อาจารย์เขียน โดยนำข้อมูลจากเว็บไซต์ต่างประเทศที่เป็นตัวอย่างที่ดีมากๆ หลาย Case Study ครับ เพราะส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องราวที่ดีๆ เกี่ยวกับผังเมืองในอนาคตที่ก่อประโยชน์ต่อส่วนรวมอย่างมหาศาล และแน่นอนทีเดียวหลายอย่างก็สามารถประยุกต์มาใช้ในประเทศไทยได้แน่นอน






เข้าสู่บทความ โดย อ.ฐาปนา บุณยประวิตร ผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการด้านผังเมือง

Smart Growth Thailand/ asiamuseums@hotmail.com

แนวทางการวางผังและออกแบบพื้นที่นันทนาการริมน้ำ(Waterfront : Planning and Design Guideline)

1) การกำหนดให้บริเวณที่ออกแบบเป็นสถานที่สาธารณะมีหลักเกณฑ์การออกแบบสถานที่สาธารณะ (Public Space) 5 ข้อ ได้แก่

1.1 ระบบการเชื่อมต่อที่ดีกับโครงสร้างพื้นฐานอื่น ๆ ที่มีอยู่แล้ว

1.2 ความพยายามที่จะใช้ประโยชน์สถานที่ให้เกิดความหลากหลาย

1.3 การออกแบบให้เหมาะสมและสอดคล้องกับบริบทของพื้นที่รวมทั้งสถานที่ต้องเป็นพื้นที่ส่วนกลางของชุมชนในอนาคต

1.4การออกแบบสถานที่ให้เป็นจุดหมายปลายทางที่มีคุณภาพสำหรับผู้เยี่ยมเยือน

1.5 ให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับการเชื่อมต่อระหว่างสถานที่ที่ออกแบบใหม่กับชุมชนด้วยทางเดินทางจักรยาน และถนนที่มีคุณภาพ




การออกแบบแนวความคิด “คลองชองเก(Chonggae Canal)” สถานที่สาธารณะใจกลางเมือง(Public Spaces) ของประเทศเกาหลีใต้

จาก : //www.asia.org/2009awards/091.html

2) ให้แน่ใจว่าสถานที่ที่ออกแบบปรับปรุงเป็นความต้องการของชุมชนหรือของสาธารณะอย่างแท้จริง

การวางผังและออกแบบกายภาพใด ๆ ก็ตาม หากไม่สามารถนำความต้องการของชุมชนหรือนำเอาความคาดหวังชองชุมชนมาเป็นแนวทางในการออกแบบสถานที่ดังกล่าวนั้นจะไม่ได้การยอมรับและจะไม่มีการใช้ประโยชน์ให้มีความคุ้มค่าตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้




“คลองชองเก (ChonggaeCanal)” สถานที่สาธารณะใจกลางเมือง (PublicSpaces) ของประเทศเกาหลีใต้

บัดนี้กลายเป็น Landmark เป็นแม่เหล็กดึงดูดนักท่องเที่ยวทุกคนที่ไปเกาหลีใต้จะพลาดกันไม่ได้






3) การสร้างสรรค์งานลงบทพื้นที่และเนื้อหาดั้งเดิมของชุมชน

ในการก่อสร้างหรือการปรับปรุงฟื้นฟูสถานที่สาธารณะ หากพื้นที่และเนื้อหาของโครงการถูกแยกออกไปไม่เกี่ยวเนื่องกับชุมชนทั้งในด้านกายภาพวิถีชีวิต และประวัติความเป็นมา จะทำให้โครงการนั้น ไม่ได้รับการตอบสนองจากชุมชนในทางตรงกันข้ามหากมีการเริ่มต้นโครงการซึ่งได้นำเอาจิตวิญญาณหรือประวัติความเป็นมาของท้องถิ่นเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในรายละเอียดของการวางผังและออกแบบแล้วโครงการนี้จะเป็นเสมือนหนึ่งการได้เชื่อมโยงความผูกพันของผู้คนในชุมชนกับสถานที่ให้มีความสันพันธ์ที่เหนียวแน่นและเป็นเนื้อเดียวกัน




การออกแบบสถานที่นันทนาการริมน้ำของมหานครโตรอนโตเพื่อฟื้นฟูสภาพพื้นที่ให้มีประโยชน์ใช้สอยดีขึ้นกว่าเดิม

จาก //www.asla.org/2009awards/518.html


4) การร่วมกันสร้างสรรค์ผลงานออกแบบ การเติบโตอย่างชาญฉลาด

ให้ความสำคัญกับการริเริ่มและสร้างสรรค์โครงการที่เกิดขึ้นจากความพยายามร่วมกันของชุมชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งการแลกเปลี่ยนรายละเอียดในการออกแบบการสร้างอัตลักษณ์ที่แตกต่างและโดดเด่นของสถานที่พิเศษซึ่งบ่อยครั้งเกิดขึ้นจากการระดมความคิดเห็นของสมาชิกภายในชุมชนโดยพลังในการสร้างสรรค์ผลงานออกแบบร่วมกันจะเป็นบ่อเกิดแห่งความภาคภูมิใจที่ทรงคุณค่าซึ่งจะได้รับการกล่าวขวัญยาวนานต่อเนื่องหลายชั่วอายุคน








การร่วมกันสร้างสรรค์ผลงานออกแบบ/ภาพระดมความเห็นของCity of Charlotte

จาก //www.cornelius.org


5) การสร้างสรรค์โครงการให้เป็นสถานที่พิเศษใช้ประโยชน์ได้อย่างหลากหลาย

พื้นที่นันทนาการริมน้ำและสถานที่พิเศษริมทะเลต้องมีคุณลักษณะการตอบสนองความต้องการได้มากกว่าที่โล่ง(Open Spaces) หรือสวนสาธารณะ (Park) โดยทั่วไป ดังเช่นการเป็นศูนย์รวมและกระจายการเดินทางการเป็นพื้นที่ที่ต่อขยายจากศูนย์กลางธุรกิจพาณิชยกรรม (Downtown) ท่าเรือ ท่องเที่ยวและท่าเรือสำราญนอกจากนั้นยังต้องตอบสนองต่อกิจกรรมการใช้ประโยชน์ของประชาชนหลากหลายสาขาไม่ว่าการนันทนาการของผู้อยู่อาศัยการประกอบกิจกรรมทางธุรกิจ การพักผ่อนหย่อนใจของนักท่องเที่ยวกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรม ตลอดจนกิจกรรมอื่น ๆ ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย




ภาพแนวคิดการออกแบบ Waterfront ด้านหน้าอาคาร Evergladesbay จาก ;

//www.thekleerteam.com/Confos/Everglades-on-the-Bay.htm


6) การเชื่อมต่อกับสถานที่พิเศษและศูนย์บริการชุมชนอื่นๆ

แม้โครงการอกแบบปรับปรุงแหล่งนันทนาการริมน้ำจะเป็นโครงการพัฒนากายภาพแต่อีกภารกิจหนึ่งที่ผู้ออกแบบต้องคำนึงถึง ก็คือ การเป็นสถานที่เชื่อมโยงกิจกรรมเด่น ๆของชุมชนให้มีความสัมพันธ์กันในเชิงกายภาพ ดังเช่น การเชื่อมโยงที่มีคุณภาพระหว่างแหล่งนันทนาการกับหน่วยบริการชุมชนศูนย์บริการนักท่องเที่ยว โรงแรม โรงพยาบาล โรงเรียน สถานีตำรวจ และสถานีดับเพลิงเป็นต้นและให้กายภาพที่เชื่องโยงนั้นเป็นปัจจัยพื้นฐานในการสร้างสรรค์คุณภาพชีวิตที่ดีแก่ประชาชนและผู้เยี่ยมเยือนซึ่งได้แก่ การเพิ่มพื้นที่พักผ่อนนันทนาการ การเพิ่มพื้นที่กีฬาทางน้ำและกิจกรรมด้านการท่องเที่ยวประเภทต่าง ๆหรือแม้แต่

การสร้างสรรค์โอกาสในด้านเศรษฐกิจแก่พื้นที่ เป็นต้น





ภาพการออกแบบแนวคิดการเชื่อมต่อระหว่างเขตพาณิชยกรรมใจกลางเมืองกับWaterfront ของ Philadelphia’sWaterfront

จาก : //whyy.org/blogs/itsourcity/2009/06/12/will-sugar-houses-new-look-satisfy-philadelphia-planners/


7) การขยายโอกาสในการเข้าถึงสถานที่สาธารณะ

ในการออกแบบโครงการนันทนาการริมน้ำนอกจากผู้ออกแบบจะต้องคำนึงถึงการเพิ่มทางเลือกในการสัญจรและการเดินทางที่หากหลายระหว่างแหล่งกับชุมชนและหน่วยบริการสำคัญของพื้นที่แล้วพื้นที่สาธารณะขนาดใหญ่จะต้องมีบทบาทในการเป็นแหล่งดึงดูดที่ดีในด้านการเข้าถึงสถานที่อย่างมีคุณภาพของประชาชนและผู้เยี่ยมเยือนทั้งนี้ ความสะดวกในกรเข้าถึงแหล่งเพื่อพบปะสังสรรค์หรือประกอบกิจกรรมนันทนาการร่วมกันของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจะเป็นเครื่องชีวัดความสำเร็จประการหนึ่งของโครงการพัฒนาแหล่งนันทนาการริมน้ำ





ภาพโครงการ Buffalo Bayou Prommenade, Houston, TX

จาก : //www.asia.org/2009awards/104.html







8) การสร้างประโยชน์ที่สมดุลระหว่างสภาพแวดล้อมกับความต้องการของมนุษย์

แหล่งนันทนาการริมน้ำจะเป็นสะพานนำไปสู่ความสัมพันธ์ที่มากขึ้นระหว่างสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติกับความต้องการในการพักผ่อนหย่อนใจของมนุษย์ในรายละเอียดการออกแบบ นักผังเมืองและสถาปนิกจะเชื่อมต่อคุณค่าความงดงามของธรรมชาติกับการตอบสนองด้านความรู้สึกของมนุษย์ให้ถักทอประสานเพี่อให้โครงการตอบสนองความต้องการของชุมชนและผู้เยี่ยมเยือนได้อย่างแท้จริง





ภาพการสร้างสรรค์สภาพแวดล้อมให้ตอบสนองความต้องการของมนุษย์ของแหล่งนันทนาการริมน้ำมหานครโตรอนโต

จาก //www.asia.org/2009awards/518.html






9) การสร้างสรรค์ความเปลี่ยนแปลงแก่พื้นที่จากจุดเล็กไปหาจุดใหญ่

สถานที่พิเศษไม่ได้สร้างขึ้นได้ภายในวันเดียว การคิดค้นและก่อกำเนิดโครงการและกิจกรรมต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้มีส่วนได้เสียและเริ่มต้นจากความต้องการเล็ก ๆนำไปสู่การขยายโอกาสขนาดใหญ่ให้เกิดขึ้นกับพื้นที่กระบวนการระดมความคิดเห็นในการพัฒนาเมือง (Peace making) ได้บอกกับเราว่าความเปลี่ยนแปลงที่ดีของชุมชนไม่จำเป็นเสมอไปที่จะต้องซับซ้อนและยิ่งใหญ่หรือมีมูลค่าของโครงการที่สูงลิ่ว แต่การเริ่มต้นโครงการที่ดีนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยการออกแบบให้สามารถใช้ทรัพยากรที่ชุมชนมีอยู่ให้มีคุณภาพตอบสนองได้ทั้งการยกระดับคุณภาพชีวิตคูณภาพด้านเศรษฐกิจ และคุณภาพของชุมชนโดยรวม









ภาพความเปลี่ยนแปลงสถานที่จากจุดเล็กไปหาจุดใหญ่ของโครงการScadina Wavedeck, Toronto ประเทศแคนาดา

จาก //www.asia.org/2009awards/454.html

ชมวีดีโอ

คลองชองเก (Chongae Canal) สถานที่สาธารณะใจกลางเมือง (PublicSpaces ) ของประเทศเกาหลีใต้ ดูตามคลิป







ติดตามข่าวสารผังเมืองยุคใหม่ได้ที่ www.facebook.com/SmartGrowth Thailand


ท่านใดสนใจ แนวความคิด Smarth Growth (การวางผังเมืองพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนตามแนวทางการเติบโตอย่างชาญฉลาด)เข้าไป กด like fanpage กับอาจารย์ได้ตามลิ้งก์ Facebookนี้ครับ //www.facebook.com/smartgrowththailand

อ่านเนื้อเรื่อง “ย้อนหลัง” ลิ้งก์ตามที่อยู่ด้านล่างนี้(เพื่อจะได้รับทราบข้อมูล “ผังเมือง” ในระดับโลกเค้าไปถึงไหนกันแล้ว //www.oknation.net/blog/smartgrowth 






Create Date : 17 มิถุนายน 2556
Last Update : 17 มิถุนายน 2556 11:55:25 น. 0 comments
Counter : 2832 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

เที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 11 คน [?]




ภาพอดีต ภาพปัจจุบัน และอนาคต และความเป็นไปของเกาะรัตนโกสินทร์
เล่าเรื่องทริป ที่สุดแสนจะธรรมด๊า ธรรมดา แต่หลายคนอาจมองข้ามไป แต่ในสายตาของนักท่องเที่ยวทั่วโลกแล้ว มัน อเมซิ่ง มากมาย
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add เที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.