space
space
space
space

เห็นด้วยก็ยกมือขึ้น
อย่างไรก็ไม่รู้สินะ สำหรับเวลา ณ ขณะนี้

ดูเหมือนว่า จะมีความรู้สึกอย่างหนึ่งเกิดขึ้นมา

การอ่านอะไรต่อมิอะไร บนเน็ต หรือจากหนังสือทั่วไป ไม่เหมือนกันซะทีเดียว อ่านบนเน็ต เราต้องค้นหา ค้นไปค้นมาได้มาหลากหลาย อ่านแต่ละเรื่องไม่ปะติดปะต่อ เป็นในลักษณะอย่างละนิดละหน่อย เรื่องละเล็กละน้อย กลายเป็นคล้ายความคิดที่ฟุ้งซ่าน รู้อะไรรู้ไม่จริง มิติแห่งความลึกไม่มีซะอย่างนั้น หากเป็นหนังสือ กว่าจะได้สักเล่ม ต้องกลั่นกรองค้นหา ได้มาก็เป็นเล่มใหญ่เล่มหนา อ่านทีนึงก็เข้าสู่โลกของเรื่องที่อ่านเพียงเรื่องเดียว ด้วยเวลาต่อเนื่อง กระทั่งอ่านจบ ผิดและต่างมากกับการอ่านอะไรต่อมิอะไรบนเน็ต

แต่ที่เหมือนกันก็คือ .. ล้วนมิได้ฝึกการใช้สมองในการก่อร่างสร้างความคิดใหม่หรือสร้างอะไรๆด้วยมันสมองของตัวเอง เพราะการอ่านคือการรับเอาความคิดของคนอื่นเข้ามาในมโนนึกของตัวเองเป็นหลักเท่านั้น

ดังนั้น อ่านอย่างเดียวก็ย่อมไม่ได้สมดุลการทำงานของสมอง การวิเคราะห์ สังเคราะห์ ไม่ครบถ้วนกระบวนถ้อย

หลังอ่านอะไรต่ออะไรบนเน็ต ก่อนเข้านอน เราจึงต้องนอนหลับตาภาวนาสวดมนตร์สักพัก ก็จึงช่วยลบความคิดย่อยๆที่เกือบเรียกว่าฟุ้งซ่าน ออกไปได้

อ่านแล้วจับใจความสำคัญ เก็บไว้เป็นวัตถุดิบเพื่อการสังเคราะห์ในภายภาคหน้า อันนี้จึงเป็นประโยชน์อย่างแท้จริง .. และควรกระทำผสมผสานปนเปกันไปให้เหมาะและได้ดุลยภาพ ทั้งหมดนี้จึงจะเพิ่มประสิทธิภาพให้การทำงานของสมอง ทำให้สมองไม่ชราภาพเร็ว .. เห็นด้วยไหม เห็นด้วยจงยกมือขึ้นนนนน


Create Date : 15 กุมภาพันธ์ 2554
Last Update : 15 กุมภาพันธ์ 2554 6:39:54 น. 2 comments
Counter : 501 Pageviews.

 
การอ่าน คือ การเก็บข้อมูลจากหลายแหล่งข้อมูลมาไว้ที่เดียวกัน เพื่อให้เห็นภาพรวมของความรู้เรื่องนั้นๆ ว่ามีความคืบหน้าไปอย่างไร

การเขียน คือ การฝึกคิด ฝึกพูด ฝึกแสดงเหตุผลอย่างเป็นระบบ โดยใช้ภาษาที่ง่ายต่อความเข้าใจ อ่านปุ๊บเข้าใจได้ทันที

อินเตอร์เน็ตเป็นแหล่งข้อมูลที่กว้างขวาง หากเราสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลได้หลากหลายภาษา จะช่วยประหยัดเวลามาก เพียงแค่เข้าไปดูรายชื่อหนังสือใหม่ใน Amazon หรือที่ต่างๆ ก็จะเห็นหัวข้อใหม่ๆ เพิ่มขึ้นทุกเดือน และเมื่อดูหน้าสารบัญของหนังสือประเภทเดียวกันหลายๆ เล่ม ก็จะเห็นภาพรวมของประเด็นทั้งหมดในหัวข้อนั้นๆ ทันที

ผมเคยเข้าไปค้นเรื่องวิธีการเลี้ยงลูกจากหน้า Amazon ปรากฏว่า ดูเฉพาะหน้าสารบัญของหนังสือเลี้ยงลูกประมาณ 200 เล่ม แล้วเอาประเด็นจากหน้าสารบัญทุกเล่มมาเทียบกัน หัวข้อไหนเหมือนกันก็ยุบรวม หัวข้อไหนต่างกันก็เพิ่มเข้ามา พอจัดกรุ๊ปประเด็นใหม่แล้ว ได้ภาพรวมทั้งหมดของประเด็นเรื่องการเลี้ยงลูก

หลังจากนั้น เราก็ลองมาอธิบายด้วยตัวเองว่า หัวข้อไหนเรามีความรู้บ้าง ถ้าหัวข้อไหนไม่มีก็ไปค้นเพิ่มเติมจากแหล่งอื่นๆ หัวข้อไหนมีความรู้แล้วก็จะเขียนได้มากหน่อย ขณะเดียวกันก็จะสังเกตพบว่า หัวข้อไหนยังไม่มีการพูดถึง เราก็ไปหาข้อมูลมาเพิ่ม หรือถ้ามีประสบการณ์ก็เขียนเพิ่มลงไป

นี่ก็เป็นวิธีหนึ่งนะครับ ขอเพียงแต่เราได้แหล่งข้อมูลดีๆ ก็จะประหยัดเวลาไปมาก


โดย: ฤดูกาลใต้แสงจันทร์ วันที่: 15 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา:8:16:49 น.  

 
แวะมาอ่านจร้าว่างๆแวะไปเยี่ยมblogเราบ้างนะ bigeye


โดย: NSA (tewtor ) วันที่: 13 เมษายน 2554 เวลา:10:27:47 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
space

จันทร์เกตุ
Location :
ขอนแก่น Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]






space
space
[Add จันทร์เกตุ's blog to your web]
space
space
space
space
space