Group Blog
 
All Blogs
 
ข้อสงสัยในชื่อชนิดย่อยของนกกินปลีหางเขียว



วันนี้เพิ่งสังเกตสิ่งผิดปกติในชื่อชนิดย่อยวิทยาศาสตร์ของนกกินปลีหางเขียวชนิดย่อยดอยอ่างกา Aethopyga nipalensis angkanensis Riley, 1929

ซึ่งชื่อชนิดย่อย บ่งบอกแหล่งที่ค้นพบตัวอย่างนกชนิดย่อยนี้ คือ ดอยอ่างกา หรือ ดอยอินทนนท์ที่ทุกคนรู้จัก ซึ่งการทำให้ชื่ออ่างกา ให้เป็นอักษรโรมันจะได้
Angka และทำให้เป็นคำคุณศัพท์ละตินโดยเติมปัจจัย บ่งบอกที่มาสถานที่ คือ -ensis , -ense ดังนั้น เราจะได้ angkaensis , angkaense

ซึ่งก็มีใช้ในแมลงริ้นน้ำเค็ม และริ้นดำ ดังนี้

ริ้นดำดอยอ่างกา หรือ คุ่นดอยอ่างกา Simulium (Montisimutium) angkaense Takaoka and Choochote, 2005 (Simuliidae Newman, 1834)

และ ริ้นดอยอ่างกา Culicoides angkaensis Kitaoka, Takaoka and Choochote, 2005 (Ceratopogonidae Newman, 1834)

ดังนั้น ชื่อชนิดย่อยของนกกินปลีหางเขียวดอยอ่างกา น่าจะเป็นการสะกดผิดพลาด ในขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่ง ในการจัดพิมพ์ หรืออาจจะเป็นการจงใจเพื่อให้ออกเสียงง่าย หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อตรวจสอบกฎเรียกชื่อสากลทางสัตวศาสตร์ iczn 4th edition (2000) Article 32, 33 พบว่า ในกรณีนี้ กฎไม่อนุญาตให้มีการแก้ไข เพราะในกรณีนี้น่าจะไม่ได้จัดเป็นการผิดพลาดโดยไม่ตั้งใจของผู้ตั้งชื่อ หรือสำนักพิมพ์ not an inadvertent error หากแต่มีข้อยกเว้นว่า หากมีการใช้แบบแก้ไขโดยทั่วไปจนเป็นที่ยอมรับ ก็ถือเป็น การสะกดแก้ไขที่ถูกกฎได้ correct subsequent spelling และถือเป็น การแก้ไขที่เป็นที่ยอมรับหรือพิสูจน์แล้ว Justified emendation แต่ในกรณีนี้ไม่เข้าเกณฑ์ เพราะเอกสารอ้างอิงทางปักษีวิทยาส่วนใหญ่ยังคงสะกดแบบมีแผลง n เข้าไปอยู่เหมือนตอนตีพิมพ์ แม้จะมีบางแหล่งทำการแก้โดยตัด n ออก แต่น่าจะถือเป็น incorrect subsequent spelling การสะกดแก้ที่ผิดกฎ

ดังนั้นชื่อที่ถูกต้องของ
นกกินปลีหางเขียวดอยอ่างกา คือ Aethopyga nipalensis angkanensis Riley, 1929
เหมือนเดิมครับ

ขอบคุณภาพโดย Apisit Wilaijit

ค้นเพิ่มเติมครับแบ่งเป็นสามช่วงนะครับ

--------------------------------------------------

จากที่ค้นมา ภาษาละติน ไม่มี infix-n- ครับ

แม้ภาษาลูกจากภาษาละตินจะมีก็ตาม ก็ไม่ได้แปลว่าภาษาแม่มีครับ

จากการที่เอาหลักภาษาลูกมาใส่ในภาษาแม่จึงผิดหลักไวยากรณ์ครับ

อย่าง Java javan javanensis

ปราญช์ของอังกฤษได้ให้ความเห็นไว้ว่า
javan
มาจาก java + -anus -ana -anum
แล้วย่อให้เป็น ภาษาอังกฤษ javan
และการที่ เอา Javan + ensis เป็นjavanensis จึงเป็นการซ้อนsuffix ที่ทำหน้าที่ในแบบเดียวกัน

-anus
-ensis
เป็น suffix ที่นำมาต่อท้ายรากคำนาม เพื่อทำให้เป็นคำคุณศัพท์ครับ

ดังนั้น จะเห็นได้ว่าในการตั้งชื่อสมัยใหม่
ก็เริ่มมีการใช้
javaensis
มากขึ้นเรื่อยๆครับ

แต่จากกฎ ICBN & ICZN ไม่เปิดโอกาสให้แก้การสะกดผิดหลักไวยากรณ์ในกรณีนี้ครับ

แต่อยู่ที่นักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ที่จะใช้ภาษาละตินในทางวิทยาศาสตร์ให้ถูกต้องครับ


ค้นเพิ่ม พบ Latin infix แต่มีลักษณะassimilation โดยการเหนี่ยวนำของพยัญชนะที่ติดกันดังนี้

VbV > VnbV
VgV > VngV

-n-
Infix used to denote an action (not lasting); becomes -m- in front of b, m, p
accubō (“I lie”) + -n- → accumbō (“I recline, lie down”)
Infix used to denote a lasting action; becomes -m- in front of b, m, p
iugō (“I tie”) + -n- → iungō (“I tie for a long time”)
coniugō (“I tie firmly”) + -n- → coniungō (“I tie firmly for a long time”)

-------------------------------------------------------------------------

ลองมาดู ความเป็นไปเป็นมาของการใช้ คำละติน Java + -ensis ในชื่อวิทยาศาสตร์
ครับ
1.
แบบมี –an- ซ้อน
1.1 Javanensis
เพศชาย หรือเพศหญิง
Prionailurus javanensis (Desmarest, 1816)
Mydaus javanensis (Desmarest, 1820)
Selenocosmia javanensis (Charles Athanase Walckenaer, 1837)
Calamus javanensis Blume (1847)
Arthroascus javanensis (Klöcker,1909) Arx, 1972
Ompok javanensis (Hardenberg, 1938)
Bactrocera javanensis (Perkins,1938)

1.2 Javanense อเพศ

Dinopium javanense (Ljungh, 1797)
Amblyomma javanense Supino, 1897

2. แบบไม่มี –an-ซ้อน
2.1 Javaensis
เพศชาย หรือเพศหญิง
Endoclita javaensis Viette, 1950
Linda javaensis Breuning, 1954
Oochoristica javaensis Kennedy, Killick & Beverley-Burton, 1982
Falsoropica javaensis Breuning, 1982
Topomyia javaensis Miyagi and Toma, 1995
Thorelliola javaensis GARDZINSKA & PATOLETA, 1997

Amiota javaensis Chen & Toda,1998
Neobythites javaensis Nielsen, 2002
Nomada javaensis SCHWARZ & GUSENLEITNER, 2004
Himantura javaensis Last & White, 2013
Polymastigos javaensis Pamungkas, 2015
Camponotus javaensis Ward, Blaimer & Fisher, 2016

2.2 Javaense อเพศ
Pelagonemella javaense Kreis, 1932
Mesophyllum javaense J.H.Johnson & B.J.Ferris 1949
Tikusnema javaense Hasegawa, Shiraishi & Rochman, 1992





Create Date : 17 พฤษภาคม 2560
Last Update : 9 มิถุนายน 2560 0:27:48 น. 1 comments
Counter : 694 Pageviews.

 


โดย: เพรางาย วันที่: 20 ธันวาคม 2560 เวลา:14:51:37 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Paphmania
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add Paphmania's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.