สมาคมครูหนุ่มหล่อแห่งประเทศไทย
Group Blog
 
All Blogs
 
หลักสูตรการศึกษา 1

หลักสูตรการศึกษา
Q.1) ผู้สอนสามารถจัดการเรียนรู้ โดยเชื่อมโยงสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ กับหัวข้อเรื่องที่สอดคล้องกับชีวิตจริง หรือสาระที่กำหนดขึ้นมา เช่น เรื่องสิ่งแวดล้อม น้ำ เป็นต้น ผู้สอนสามารถเชื่อมโยงสาระ และกระบวนการเรียนรู้ของกลุ่มสาระต่าง ๆ เช่น การอ่าน การเขียน การคิดคำนวณ การคิดวิเคราะห์ต่าง ๆ ทำให้ผู้เรียนได้ใช้ทักษะและกระบวนการเรียนรู้ไปแสวงหาความรู้ความจริงจากหัวข้อเรื่องที่กำหนด จากหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 เป็นการบูรณาการในรูปแบบใด

A. การบูรณาการแบบคู่ขนาน
B. การบูรณาการแบบสหวิทยา
C. การบูรณาการแบบโครงการ
D. การบูรณาการแบบผู้สอนคนเดียว



Q.2) จากหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 สถานศึกษาต้องจัดสาระการเรียนรู้ให้ครบทั้ง 8 กลุ่มในทุกช่วงชั้น ให้เหมาะสมกับธรรมชาติการเรียนรู้ และระดับพัฒนาการของผู้เรียนโดยมีการจัดอย่างไร

A. ในช่วงการศึกษาภาคบังคับ คือ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จัดหลักสูตร เป็นรายปี และละชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 จัดเป็นหน่วยกิต
B. ในช่วงการศึกษาภาคบังคับ คือ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จัดหลักสูตร เป็นรายปี และละชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 จัดเป็นรายปี
C. ในช่วงการศึกษาภาคบังคับ คือ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จัดหลักสูตร เป็นรายภาค และละชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 จัดเป็นหน่วยกิต
D. ในช่วงการศึกษาภาคบังคับ คือ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จัดหลักสูตร เป็นหน่วยกิต และละชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 จัดเป็นหน่วยกิต


Q.3) ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 การประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน จะต้องพิจารณาทั้งเวลาการเข้าร่วมกิจกรรม การปฏิบัติกิจกรรมและผลงานของผู้เรียน ตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด และให้ผลการเข้าร่วมกิจกรรมเป็นเช่นไรบ้าง

A. ผ่านและไม่ผ่าน
B. ดีมาก ดี และผ่าน
C. ดีมาก ดี ผ่าน และไม่ผ่าน
D. ดีเยี่ยม ดี ผ่าน และไม่ผ่าน


Q.4) การจัดการเรียนรู้ที่ต้องสนองตอบต่อความสนใจของผู้เรียน โดยคำนึงถึงหลักจิตวิทยาพัฒนาการ และจิตวิทยาการเรียนรู้ ทั้งนี้ ในแต่ละคาบเวลาเรียนนั้น ไม่ควรใช้เวลานานเกินความสนใจของผู้เรียน สถานศึกษาต้องจัดการเรียนรู้ให้ครบทุกกลุ่มสาระ ในลักษณะบูรณาการที่มีภาษาไทยและคณิตศาสตร์เป็นหลัก เน้นการเรียนรู้ตามสภาพจริง มีความสนุกสนาน ได้ปฏิบัติจริง เพื่อพัฒนาความเป็นมนุษย์ ทักษะพื้นฐานการติดต่อสื่อสารในการคิดคำนวณ การคิดวิเคราะห์ และพัฒนาลักษณะนิสัยและสุนทรียภาพ จากหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 เป็นแนวการจัดการเรียนรู้ในช่วงชั้นใด

B. ช่วงชั้นที่ 2 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6
C. ช่วงชั้นที่ 3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3
D. ช่วงชั้นที่ 4 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6


Q.5) นำเนื้อหาจากหลายกลุ่มสาระมาเชื่อมโยงเพื่อจัดการเรียนรู้ ซึ่งโดยทั่วไปผู้สอนมักจัดการเรียนการสอนแยกตามรายวิชา หรือกลุ่มวิชา แต่ในบางเรื่อง ผู้สอนจัดการเรียนการสอนร่วมกันในเรื่องเดียวกัน เช่น เรื่องวันสิ่งแวดล้อมของชาติ ผู้สอนภาษาไทยจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนรู้ภาษา คำศัพท์เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ผู้สอนวิทยาศาสตร์จัดกิจกรรมค้นคว้าเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ผู้สอนสังคมศึกษาให้ผู้เรียนค้นคว้าหรือทำกิจกรรมชมรมเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม และครู ผู้สอนสุขศึกษาอาจจัดให้ทำกิจกรรมเกี่ยวกับการรักษาสิ่งแวดล้อมให้ถูกสุขลักษณะ เป็นต้น จากหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 เป็นการบูรณาการในรูปแบบใด

A. การบูรณาการแบบคู่ขนาน
B. การบูรณาการแบบสหวิทยา
C. การบูรณาการแบบโครงการ
D. การบูรณาการแบบผู้สอนคนเดียว


Q.6) สาระการเรียนรู้ มีองค์ประกอบ 3 ด้าน ข้อใดไม่ใช่องค์ประกอบดังกล่าว

A. องค์ความรู้
B. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
C. คุณลักษณะอันพึงประสงค์
D. ทักษะหรือกระบวนการเรียนรู้


Q.7) จากหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 หน่วยงานใดเป็นผู้จัดทำหลักเกณฑ์ และแนวปฏิบัติในการวัดและประเมินผลการเรียนของสถานศึกษา ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544

A. สถานศึกษา
B. คณะกรรมการสถานศึกษา
C. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
D. สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สพฐ.


Q.8) ผู้สอนต้องกำหนดเป้าหมายที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน ให้ครอบคลุมในด้านบ้าง

A. ความรู้ ความเข้าใจ ทักษะกระบวนการ
B. ความรู้ ความเข้าใจ คุณลักษณะอันพึงประสงค์
C. ความรู้ความเข้าใจ ความคงทน ทักษะกระบวนการ
D. ความรู้ ทักษะกระบวนการ คุณลักษณะอันพึงประสงค์


Q.9) ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการตัดสินผลการเรียนในระดับประถมศึกษาตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

A. ผู้เรียนต้องได้รับการตัดสินผลการเรียนในรายวิชาพื้นฐาน
B. ผู้เรียนต้องมีเวลาเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐ ของเวลาเรียนทั้งหมด
C. ผู้เรียนต้องได้รับการประเมินทุกตัวชี้วัด และผ่านตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด
D. ผู้เรียนต้องได้รับการประเมิน และมีผลการประเมินผ่านตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด ในการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน


Q.10) ข้อใดไม่ใช่ประโยชน์ของบันทึกผลหลังสอน

A. แก้ไขปัญหาของผู้เรียน
B. ใช้ในการกำหนดสาระการเรียนรู้
C. สามารถนำไปวิจัยในชั้นเรียนต่อได้
D. ได้เห็นปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นในการสอน


Q.11) การจัดโครงสร้างเวลาเรียนของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กำหนดเวลาเรียนกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในแต่ละระดับชั้นเป็นจำนวนกี่ชั่วโมง

A. 40 ชั่วโมง
B. 90 ชั่วโมง
C. 100 ชั่วโมง
D. 120 ชั่วโมง


Q.12) การสร้างหลักสูตรสถานศึกษาตามแนวทางหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ข้อใดเรียงลำดับได้ถูกต้อง
1) กำหนดวิสัยทัศน์
2) การจัดหลักสูตรสถานศึกษา
3) การออกแบบการเรียนการสอน
4) การกำหนดเวลาเรียนและจำนวนหน่วยกิต
5) การกำหนดสาระการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปีหรือรายภาค

A. 1 2 3 4 5
B. 1 3 4 5 2
C. 1 5 4 3 2
D. 1 2 5 3 4


Q.13) การจัดเวลาเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ให้จัดเวลาเรียนเป็นรายภาค โดยมีเวลาเรียนเช่นไร

A. วันละไม่เกิน 5 ชั่วโมง
B. วันละไม่น้อยกว่า 5 ชั่วโมง
C. วันละไม่เกิน 6 ชั่วโมง
D. วันละไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง


Q.14) จากหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ข้อใดเป็นสาระการเรียนรู้ที่เสริมสร้างพื้นฐานความเป็นมนุษย์ และสร้างศักยภาพในการคิดและการทำงานอย่างสร้างสรรค์

A. สุขศึกษาและพลศึกษา ศิลปะ การงานอาชีพและเทคโนโลยี และวิทยาศาสตร์
B. สุขศึกษาและพลศึกษา ศิลปะ การงานอาชีพและเทคโนโลยี และคณิตศาสตร์
C. สุขศึกษาและพลศึกษา ศิลปะ การงานอาชีพและเทคโนโลยี และภาษาต่างประเทศ
D. สุขศึกษาและพลศึกษา ศิลปะ การงานอาชีพและเทคโนโลยี และสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม


Q.15) การคิดน้ำหนักของรายวิชาที่เรียนเป็นหน่วยกิต ใช้เกณฑ์กี่ชั่วโมงต่อภาคเรียน มีค่าน้ำหนักวิชา เท่ากับ ๑ หน่วยกิต (นก.)

A. 20 ชั่วโมง
B. 40 ชั่วโมง
C. 60 ชั่วโมง
D. 120 ชั่วโมง


Q.16) ข้อใดไม่น่าจะมีปรากฏในหน่วยการเรียนรู้ที่ยึดหลักการ Backward Design

A. การนิเทศผู้เรียน
B. มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น
C. แนวทางการให้คะแนน(rubric)
D. ผลงาน/การปฏิบัติงานรวบยอด


Q.17) การจัดโครงสร้างเวลาเรียนของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 จัดไว้อย่างไรบ้าง

A. ระดับประถมศึกษา (ป.1-6) ไม่เกิน 1,000 ชั่วโมง/ปี
B. ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.1-3) ไม่เกิน 1,200 ชั่วโมง/ปี
C. ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.4-6) รวม 3 ปี ไม่น้อยกว่า 3,600 ชั่วโมง
D. ทุกข้อที่กล่าวมา


Q.18) จากหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน แบ่งเป็น ๓ ลักษณะ มีอะไรบ้าง

A. กิจกรรมแนะแนว กิจกรรมนักเรียน กิจกรรมดูแลช่วยเหลือนักเรียน
B. กิจกรรมแนะแนว กิจกรรมนักเรียน กิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด
C. กิจกรรมแนะแนว กิจกรรมนักเรียน กิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม
D. กิจกรรมแนะแนว กิจกรรมนักเรียน กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์


Q.19) หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ได้กำหนดโครงสร้างของหลักสูตรเป็นกี่ช่วงชั้น

A. 3 ช่วงชั้น
B. 4 ช่วงชั้น
C. 5 ช่วงชั้น
D. 6 ช่วงชั้น


Q.20) การจัดเวลาเรียนระดับชั้นประถมศึกษา ให้จัดเวลาเรียนเป็นรายปี โดยมีเวลาเรียนเช่นไร

A. วันละไม่เกิน 5 ชั่วโมง
B. วันละไม่น้อยกว่า 5 ชั่วโมง
C. วันละไม่เกิน 6 ชั่วโมง
D. วันละไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง


Create Date : 29 มีนาคม 2554
Last Update : 29 มีนาคม 2554 22:40:37 น. 0 comments
Counter : 744 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

hangclub
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 29 คน [?]




Friends' blogs
[Add hangclub's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.