ส.จัดตั้ง : Order is the foundation of all good things.
Group Blog
 
All Blogs
 

Visual – Spatial Intelligence อัจฉริยะภาพด้านมิติสัมพันธ์


3.       ปัญญาด้านมิติสัมพันธ์ (Visual – Spatial Intelligence)

 


-          ชอบวาดเขียน มีความสามารถทางศิลป

 


-          ชอบฝันกลางวัน ชอบหลับตาคิดถึงภาพในความคิด จินตนาการ

 


-          ชอบวาดภาพ ขีดเขียนสิ่งต่าง ๆ ลงในกระดาษ สมุดจดงาน

 


-          ชอบอ่านแผนที่ แผนภูมิต่าง ๆ

 


-          ชอบบันทึกเรื่องราวไว้ในภาพถ่ายหรือภาพวาด

 


-          ชอบเล่นเกมต่อภาพ (Jigsaw Puzzles) เกมจับผิดภาพ หรือเกมที่เกี่ยวกับภาพ

 


-          ชอบเรียนวิชาศิลปศึกษา เรขาคณิต พีชคณิต

 


-          ชอบวาดภาพในลักษณะมุมมองที่แตกต่างออกไปจากธรรมดา

 


-          ชอบดูหนังสือที่มีภาพประกอบมากกว่าหนังสือที่มีแต่ข้อความ

 


ข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาความสามารถ

 


-          ให้ทำงานศิลป งานประดิษฐ์ เพื่อเปิดโอกาสให้คิดได้อย่างอิสระ

 


-          พาไปชมนิทรรศการศิลป พิพิธภัณฑ์ต่าง ๆ

 


-          ฝึกให้ใช้กล้องถ่ายภาพ การวาดภาพ สเก็ตซ์ภาพ

 


-          จัดเตรียมอุปกรณ์การวาดภาพให้พร้อม จัดสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการทำงานด้านศิลป

 


-          ฝึกให้เล่นเกมปริศนาอักษรไขว้ เกมตัวเลข เกมที่ต้องแก้ปัญหา

 


-          เรียนได้ดีหากได้ใช้จินตนาการ หรือความคิดที่อิสระ ชอบเรียนด้วยการได้เห็นภาพ การดู การรับรู้ทางตา

 


-          ฝึกให้ใช้หรือเขียนแผนที่ความคิด (Mind Mapping) การใช้จินตนาการ

 


-          ให้เล่นเกมเกี่ยวกับภาพ เกมตัวต่อเลโก้ เกมจับผิดภาพ ฯลฯ

 


-          ยุทธศาสตร์ในการสอนคือการให้ดู ให้วาด ให้ระบายสี ให้คิดจินตนาการ

 


ผู้ที่มีความสามารถทางด้านนี้มีความเหมาะสมที่จะประกอบอาชีพเป็นศิลปิน สถาปนิก มัณฑนากร นักประดิษฐ์ ฯลฯ








Free TextEditor




 

Create Date : 15 เมษายน 2554    
Last Update : 15 เมษายน 2554 12:46:01 น.
Counter : 925 Pageviews.  

Logical – Mathmatical Intelligence อัจฉริยะภาพทางด้านตรรกศาสตร์ และคณิตศาสตร์


2.       ปัญญาด้านตรรกะและคณิตศาสตร์  (Logical – Mathmatical Intelligence)

 


-          ชอบทดลองแก้ปัญหา สนุกที่ได้ทำงานกับตัวเลข หรือเกมคิดเลข การคิดเลขในใจ เป็นต้น

 


-          ชอบและมีทักษะในการใช้เหตุผล การซักถามปัญหาให้คิดเชิงเหตุผล

 


-          ชอบทำตามสั่ง ทำอะไรที่เป็นระบบระเบียบตามลำดับขั้นตอนที่ชัดเจน

 


-          สนใจข่าวคราวความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ และวิทยาการต่าง ๆ

 


-          ชอบค้นหาเหตุผลมาหักล้างหรือวิพากษ์วิจารณ์การกระทำของผู้อื่น

 


-          เชื่อถือเฉพาะแต่สิ่งที่อธิบายได้ มีเหตุผลเพียงพอ

 


-          ชอบเรียนวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์

 


ข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาความสามารถ

 


-          ให้มีโอกาสได้ทดลอง หรือทำอะไรด้วยตนเอง

 


-          ส่งเสริมให้ทำงานสร้างสรรค์ งานศิลปที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์

 


-          ให้เล่นเกมที่ฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เช่น เกมไพ่ เกมตัวเลข ปริศนาตัวเลข ฯลฯ

 


-          ให้ช่วยทำงานบ้าน งานประดิษฐ์ ตกแต่ง

 


-          ฝึกการใช้เหตุผล การแก้ปัญหา การศึกษาด้วยโครงงานในเรื่องที่นักเรียนสนใจ

 


-          ฝึกฝนทักษะการใช้เครื่องคิดเลข เครื่องคำนวณ เครื่องคอมพิวเตอร์ ฯลฯ

 


-          ยุทธศาสตร์ในการสอนคือให้ฝึกคิดแบบมีวิจารณญาณ วิพากษ์ วิจารณ์ ฝึกกระบวนการสร้างความคิดรวบยอด การชั่ง ตวง วัด การคิดในใจ การคิดเลขเร็ว ฯลฯ

 


ผู้ที่มีความสามารถทางด้านนี้มีความเหมาะสมที่จะประกอบอาชีพเป็นนักบัญชี นักคณิตศาสตร์ นักตรรกศาสตร์ โปรแกรมเมอร์ นักวิทยาศาสตร์ ครู-อาจารย์ เป็นต้น

 








 

Create Date : 15 เมษายน 2554    
Last Update : 15 เมษายน 2554 12:40:09 น.
Counter : 1132 Pageviews.  

Linguistic Intelligence อัจฉริยะภาพทางด้านภาษา



1. ปัญญาด้านภาษา (Linguistic Intelligence) 

 


-          มีนิสัยรักการอ่าน ติดหนังสือ ชอบเขียน ชอบพูด สามารถเล่าเรื่องต่าง ๆ ได้ดี

 


-          มักจะได้ยินเสียงของคำก้องอยู่ในหูก่อนที่จะได้อ่าน พูด หรือเขียน 

 


-          จำชื่อสถานที่ เรื่องราว รายละเอียดต่าง ๆ ได้ดี

 


-          เจ้าบทเจ้ากลอน มีอารมณ์ขัน ตลก ชอบเล่นปริศนา คำทาย

 


-          ชอบพูดเล่นคำ สำนวน คำผวน คำพ้อง

 


-          ชอบเรียนวิชาภาษาไทย ภาษาต่างประเทศ ประวัติศาสตร์ มากกว่าคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์

 


ข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาความสามารถ

 


-          จัดกิจกรรมให้ได้รับประสบการณ์ตรง เพื่อนำมาเขียนเรื่องราว

 


-          จัดกิจกรรมให้ได้พูด ได้อ่าน ได้ฟัง ได้เห็น ได้เขียนเรื่องราวที่สนใจ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้

 


-          ครูควรรับฟังความคิดเห็น คำถาม และตอบคำถามด้วยความเต็มใจ กระตือรือร้น

 


-          จัดเตรียมหนังสือ สื่อการเรียนการสอนเพื่อการค้นคว้าที่หลากหลาย เช่น เทปเสียง วิดีทัศน์ จัดเตรียมกระดาษเพื่อการเขียน อุปกรณ์การเขียนให้พร้อม

 


-          ยุทธศาสตร์ในการสอนคือ ให้อ่าน ให้เขียน ให้พูด และให้ฟังเรื่องราวต่าง ๆ ที่นักเรียนสนใจ อภิปรายแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้อื่น

 


ผู้ที่มีความสามารถทางด้านนี้มีความเหมาะสมที่จะประกอบอาชีพเป็น นักพูด นักเล่านิทาน นักการเมือง กวี นักเขียน บรรณาธิการ นักหนังสือพิมพ์ ครูสอนภาษา เป็นต้น

 









 

Create Date : 15 เมษายน 2554    
Last Update : 15 เมษายน 2554 12:38:35 น.
Counter : 1177 Pageviews.  

พหุปัญญา โดย Howard Gardner



เด็กแต่ละคนมีวิธีการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน เปรียบเหมือนสายรุ้งที่หลากสี บุคคลจึงมีหลากหลาย   รสนิยม มีความแตกต่างของบุคลิกภาพ ครู พ่อแม่และผู้ปกครองต้องสำเหนียกตระหนักและมองเห็นคุณค่าของความแตกต่างเพื่อการค้นหาให้พบว่า เด็กมีลักษณะการเรียนรู้หรือความสามารถที่จะเรียนรู้ในทางใด เพื่อจะได้ดำเนินกิจกรรมการพัฒนาเด็กให้เต็มตามศักยภาพและได้ใช้ความสามารถได้สูงสุด

 


          ดร. โฮเวิร์ด การ์ดเนอร์  (Howard Gardner) แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด  ประเทศสหรัฐอเมริกา  ผู้ก่อตั้งทฤษฎีพหุปัญญา (Theory of Multiple Intelligences) ให้คำจำกัดความของคำว่า “ปัญญา” ไว้ดังนี้

 


          “ปัญญา คือความสามารถที่จะค้นหาและแก้ปัญหาและสร้างผลผลิตที่มีคุณค่าเป็นที่ยอมรับในสังคม”

 


          ลักษณะสำคัญของทฤษฎีพหุปัญญา

 


1.       มนุษย์มีความสามารถทางปัญญาแบ่งออกได้อย่างน้อย 8 ด้าน

 


2.       จากการศึกษาเรื่องสมองปัญญามีลักษณะเฉพาะด้าน

 


3.       คนทุกคนมีสติปัญญาทั้ง 8 ด้านที่อาจจะมากน้อยแตกต่างกันไป บางคนอาจจะสูงทุกด้าน

 


     บางคนอาจจะสูงเพียงด้าน หรือสองด้าน ส่วนด้านอื่น ๆ ปานกลาง

 


4.       ทุกคนสามารถพัฒนาปัญญาแต่ละด้านให้สูงขึ้นถึงระดับใช้การได้ถ้ามีการฝึกฝนที่ดี มีการให้กำลังใจที่เหมาะสม ในสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้

 


5.       ปัญญาด้านต่าง ๆ สามารถทำงานร่วมกันได้ เช่นในการดำรงชีวิตประจำวันเราอาจต้องใช้ปัญญาในด้านภาษาในการพูด อ่าน เขียน ปัญญาด้านคิดคำนวณ ในการคิดเงินทอง ปัญญาด้านมนุษย์ สัมพันธ์ในการพบปะเข้าสังคมทำให้ตนเองมีความสุขด้วยการใช้ปัญญาด้านการเข้าใจตนเอง

 


6.       ปัญญาแต่ละด้านจะมีความสามารถในหลาย ๆ ทาง ยกตัวอย่างเช่นคนที่อ่านหนังสือไม่ออกก็ไม่ได้หมายความว่าไม่มีปัญญาทางภาษา แต่เขาอาจจะเป็นคนเล่าเรื่องที่เก่งหรือพูดได้น่าฟัง

 


ความสามารถทางปัญญาของมนุษย์ตามทฤษฎีพหุปัญญา แบ่งออกเป็น  8 ด้าน ได้แก่

 


1.       ปัญญาด้านภาษา (Linguistic Intelligence)

 


2.       ปัญญาด้านตรรกะและคณิตศาสตร์  (Logical – Mathmatical Intelligence)

 


3.       ปัญญาด้านมิติสัมพันธ์ (Visual – Spatial Intelligence)

 


4.       ปัญญาด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว (Bodily – Kinesthetic Intelligence)

 


5.       ปัญญาด้านดนตรี (Musical Intelligence)

 


6.       ปัญญาด้านมนุษย์สัมพันธ์ (Interpersonal Intelligence)

 


7.       ปัญญาด้านความเข้าใจตนเอง (Intrapersonal Intelligence)

 


8.       ปัญญาด้านธรรมชาติวิทยา (Naturalist Intelligence)

 










 

Create Date : 15 เมษายน 2554    
Last Update : 15 เมษายน 2554 12:36:45 น.
Counter : 955 Pageviews.  

ความเครียด


ความเครียด(Stress) เป็นคำที่มาจากภาษาละติน คือ Strict หมายถึงความกดดันที่ทำให้มีความรู้สึกไม่สบายใจ เป็นภาวะที่ทำให้เกิดความวุ่นวายทางจิตใจ ทำให้บุคคลนั้นๆเสียความสมดุลของตัวเองอันเป็นแรงผลักดันให้มีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไป เพื่อให้ความรู้สึกดังกล่าวลดน้อยลง และรักษาความสมดุลไว้

ตัวก่อความเครียด มี 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ

1. ความเครียดทางกาย ได้แก่ ภัยคุกคามต่างๆ ที่มีต่อความสุขสบายทางกาย เช่น ร้อนเกินไป หนาวเย็นเกินไป การเจ็บป่วย หรือการบาดเจ็บที่เกิดกับร่างกาย
2. ความเครียดทางสังคม หรือ ความเครียดทางใจ ได้แก่ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตของเรา ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งเรื่องที่น่ายินดีหรือไม่น่ายินดี

ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเครียด

ปัจจัยทางร่างกาย
1. ภาวะสารเคมีในสมองผลิตไม่ดีพอ ได้ถ่ายทอดทางพันธุกรรมมาในโครโมโซม
2. สมองได้รับการกระทบกระเทือนเนื่องจากอุบัติเหตุ หรือการเกิดโรคทางสมอง จะทำให้สารเคมีในสมองผลิตไม่ดีพอ และเกิดความเครียดขึ้นได้
3. การติดยาเสพติด
4. การทำงานหนักและใช้ร่างกายเกินกำลัง หรือดื่มแอลกอฮอล์จำนวนมาก
5. ความเจ็บป่วยทางร่างกาย ทั้งจากโรคภัยไข้เจ็บ หรืออุบัติเหตุ
6. ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม เช่น การอยู่ในที่อากาศหนาวเกินไปหรือร้อนเกินไป ทำให้คนเกิดรู้สึกเครียดได้
7. การสูบบุหรี่
8. วัยเจริญพันธุ์
9.สำหรับผู้หญิงในทุกรอบเดือนก่อนการมีประจำเดือน

ปัจจัยจากสิ่งแวดล้อม
1.ปัจจัยด้านความสัมพันธ์
ปัจจัยด้านความสัมพันธ์ เมื่อเกิดขัดแย้ง โต้เถียง ทะเลาะวิวาท แตกแยก หรือผิดหวังจากที่อีกฝ่ายไม่ให้ความรัก หรือประพฤติอย่างที่ตนต้องการ
ความสัมพันธ์กับบุคคลในครอบครัว
เป็นไปได้หลายแบบทั้งความสัมพันธ์ระหว่างพ่อ แม่ กับลูก พี่กับน้อง หรือญาติ
ความสัมพันธ์กับเพื่อน
มักเกิดขึ้นบ่อยในกลุ่มคนโสด และอาศัยอยู่คนเดียว ไม่ได้มีความสัมพันธ์กับบุคคลในครอบครัวมาก และมีเพื่อนเป็นที่ยึดเหนี่ยวทางใจ

ความสัมพันธ์กับผู้ร่วมงาน
มักเกิดขึ้นในกรณีของคนที่ให้ความสำคัญกับการทำงานมาก และทุ่มเทกับงาน โดยไม่ได้มีกิจกรรมพบปะกับกลุ่มอื่นมากนัก
ความสัมพันธ์กับคนอื่นในสังคม
แม้จะไม่ได้มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดใดๆ แต่บางคนถือสาความคิดที่คนในสังคมมีต่อตัวเอง กลัวการถูกนินทาว่าร้าย
2.ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ
ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจนี้ บางครั้งมาจากความเครียดในปัญหาเรื่องงาน การกลัวงานไม่ประสบความสำเร็จ ไม่ได้รับการเลื่อนตำแหน่ง หรือไม่ได้รับการจ้างงานต่อทำให้คนเกิดความหวาดหวั่นเกรงเรื่องปัญหาด้านเศรษฐกิจ และเกิดความเครียดได้ นอกเหนือจากที่บางคนอาจเกิดความเครียด เพราะความวิตกกังวลจากค่าใช้จ่ายใหม่ที่เพิ่มขึ้น
ปัจจัยต่อมา คือ การใช้เงินเกินกำลังที่หาได้ ทำให้คนมีปัญหารายได้ไม่พอค่าใช้จ่าย หรือต้องกู้ยืมเงิน จ่ายดอกเบี้ย ทำให้เกิดความเครียด สาเหตุนี้ดูเหมือนจะเกิดขึ้นทั่วไปในคนฐานะระดับกลางถึงล่าง

อาการของความเครียด โดยทั่วไปอาการของความเครียดสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่มได้แก่

1. อาการทางพฤติกรรม (Behavioral Symptoms)
ความเครียดทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในแบบอย่างของพฤติกรรมของคนได้ เช่น การหลีกหนี การผัดวันประกันพรุ่ง การแยกตัวออกจากเพื่อนฝูงและครอบครัว เบื่ออาหาร อารมณ์หงุดหงิด ฉุนเฉียว รุนแรง ก้ามร้าว เริ่มสูบบุหรี่จัด การใช้เหล้า ยา และสารเสพติด แบบอย่างของการนอนเปลี่ยนแปลงไป มักนอนไม่หลับ นอนกระวนกระวาย พลิกไปพลิกมา ละเลยความรับผิดชอบ ประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงานลดลง มีความเสื่อมเสียในการประกอบอาชีพการงานและการเข้า

2. อาการทางอารมณ์ (Emotive symptoms)
อาการทางอารมณ์ที่พบบ่อย คือ ความวิตกกังวล ความกลัว ความหวาดหวั่น ความหงุดหงิด และอาการซึมเศร้า อาการอย่างอื่นได้แก่ การปฏิเสธความคับข้องใจ ความลังเลใจ ความไม่กล้าตัดสินใจ ความรู้สึกว่าควบคุมตัวเองไม่ได้ การขาดขวัญและกำลังใจในการทำงาน

3. อาการทางการรู้ (Cognitive symptoms)
อาการทางจิตที่สัมพันธ์กับความเครียดและพบได้บ่อยคือ การขาดแรงจูงใจ ขาดสมาธิ และการวินิจฉัยที่ผิด (Miscalculation) จิตใจไม่จดจ่ออยู่กับงานที่ทำ และขาดความสามารถที่จะทำงานให้เป็นผลสำเร็จ หลงๆลืมๆจำอะไรไม่ค่อยได้ งุนงง สับสน การรับรู้ผิดปกติ(Misperception) มองคนในแง่ร้าย ความสามารถในการตัดสินใจและการแก้ปัญหาลดลง รู้สึกขาดที่พึ่ง ขาดความหวัง ขาดการช่วยเหลือ


4. อาการทางร่างกาย (Physical symptoms)
อาการทางร่างกายถือว่าเป็น “ภาษาทางร่ายกายของความเครียด” (The body language of stress) ที่พบบ่อยคือ อ่อนเพลีย ไม่มีแรง ปวดศีรษะ ปวดหลังกล้ามเนื้อตึงเครียด หรือเกร็ง หัวใจเต้นแรงหรือเร็ว ใจสั่น เจ็บหน้าอก ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น ระบบการหายใจคือ อัตราการหายใจเร็วขึ้น แน่นหน้าอก แน่นท้อง ท้องอืด ท้องปั่นป่วน ท้องเดิน บางคนมีอาการปัสสาวะบ่อย สะบัดร้อนสะบัดหนาว

ผลกระทบของความเครียด
ผลของความเครียดอาจแบ่งได้ 2 ประเภท คือ ผลทางด้านร่างกาย และผลทางด้านจิตใจ ดังนี้
ผลทางด้านร่างกาย ทำให้ร่างกายอยู่ในสภาพเหมือนทำงานหนัก อ่อนเพลีย อ่อนแอ อาจเกิดโรคต่างๆ ได้ถ้าเครียดเป็นเวลานาน เช่น ปวดศีรษะเป็นประจำ ไมเกรน ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดหัวใจตีบตัน อวัยวะเพศไม่ทำงาน ผมหงอกเร็ว แก่เร็ว อายุสั้น
ผลเสียต่อจิตใจ ทำให้จิตใจไม่มีความสุข นอนไม่หลับ อาจเป็นตัวนำให้เกิดโรคจิต โรคประสาท เกิดความรู้สึกท้อแท้หมดอาลัยตายอยาก ติดสุรา ยาเสพติด เกิดอุบัติเหตุเพราะความเมื่อยล้า ใจลอย คิดฆ่าตัวตาย ครอบครัวไม่มีความสุข อุปนิสัยเปลี่ยนแปลง







 

Create Date : 21 สิงหาคม 2552    
Last Update : 15 เมษายน 2554 10:53:43 น.
Counter : 1475 Pageviews.  

1  2  

ส.จัดตั้ง
Location :
สงขลา Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




สร้างสรรค์สังคม เข้าถึงปมปัญหา พัฒนาตามรูปธรรม
Friends' blogs
[Add ส.จัดตั้ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.