ชิวิต...มันก็ยากอย่างนี้แหละน๊า...ชิมิส์

หลักปฏิบัติของบุตรต่อบิดามารดา

คุณแม่หนาหนักเพี้ยง พสุธา

คุณบิดรดุจอา กาศกว้าง



ความสำเร็จในชีวิตของคนคนหนึ่งนั้น หากพินิจดูอย่างละเอียดลึกซึ้งแล้ว เราอาจสรุปได้ว่า...การที่ใครคนใดคนหนึ่งสามารถพัฒนาตัวเองขึ้นมาจนถึงจุดสูงสุด...เป็นคนดีของสังคม น่าจะเป็นเพราะได้รับการอบรมบ่มเพาะอุปนิสัยการเรียนรู้และประสบการณ์ตลอดจนค่านิยม...ปรัชญาชีวิต...จากพ่อแม่ ซึ่งถือว่าเป็น “ครู” คนแรกและครูคนเดียวที่ทำงานหนัก สืบเนื่องต่อกันมาตลอดชีวิตของลูก



หากไม่มีท่าน เราจะมีชีวิตได้อย่างไร....การเลี้ยงลูกจนเติบใหญ่ ให้มีความพร้อมทั้งด้านร่างกาย สมอง สติปัญญา จิตใจ อารมณ์ สังคม และจริยธรรม แม่จำต้องใช้ความอดทน อุตสาหะ เพียรพยายามอย่างยิ่ง และยังต้องประกอบไปด้วยหัวใจแห่งพระพรหม (พรหมวิหาร 4) คือ



หัวใจแห่ง เมตตา : ปรารถนาให้ลูกเป็นสุข ไม่ว่าจะเติบใหญ่เพียงไร มีอายุเท่าไหร่ อยู่ไกลหรือใกล้ เมตตาก็ไม่เคยลบเลือนเหือดแห้ง ความสุขของลูกคือความสุขของแม่



หัวใจแห่ง กรุณา : ความสงสารต้องการให้ลูกไร้ทุกข์ ยามลูกป่วยไข้ ผู้ที่อยู่ข้างกายเสมอไม่ห่างคือแม่ หากลูกเจ็บ หัวใจแม่เจ็บยิ่งกว่า



หัวใจแห่ง มุทิตา : ชื่นชมยินดียามที่ลูกประสบความสำเร็จ ดังเห็นได้จากงานวันรับปริญญา ใบหน้าของแม่จะเต็มไปด้วยรอยยิ้มแห่งความภาคภูมิใจ สายตาปลื้มปิติยามมองดูลูกในชุดเสื้อครุย อากัปกิริยาที่โอบกอดจับต้องตัวลูก คอยจัดเสื้อผ้า จัดทรงผม ซับเหงื่อให้ลูก



หัวใจแห่ง อุเบกขา : การวางใจเป็นกลาง เมื่อลูกเรียนจบ มีงานทำ แต่งงานมีครอบครัว พ่อแม่จะวางใจเป็นกลาง คอยดูลูกอยู่ห่างๆ แต่หากเมื่อใดที่ลูกเดือดร้อน จะอยู่ไกลหรือใกล้ พ่อแม่จะรีบยื่นมือเข้าไปช่วยเหลือทันที



ขอบคุณ อกาลิโกบอร์ด




 

Create Date : 13 ธันวาคม 2551    
Last Update : 13 ธันวาคม 2551 11:20:46 น.
Counter : 285 Pageviews.  

พญานกแขเต้า....ผู้รักสันโดษ

ในสมัยหนึ่ง





พระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถี ทรงปรารภภิกษุรูปหนึ่ง ตรัสให้โอวาทว่า “ภิกษุ ธรรมดาสมณเมื่อมาถึงเสนาสนะเป็นที่สบายแล้ว ก็ไม่ควรโลภในอาหาร ยินดีตามมีตามได้ ปฏิบัติสมณธรรม โบราณบัณฑิตแม้เป็นสัตว์ดิรัจฉาน กินผงแห้งของต้นไม้ที่ตนอยู่อาศัย มีความสันโดษไม่ทำลายมิตธรรมหนีไปที่อื่นเลย”
แล้วได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธก ว่า…

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว



ที่ป่าไม้มะเดื่อแห่งหนึ่งอยู่ริม ฝั่งแม่น้ำคงคา มีนกแขกเต้าหลายแสนตัว ต่อมาในฤดูแล้งผลมะเดื่อได้หมดลง นกแขกเต้าทั้งหลายได้พากันบินหนีไปหากิน ณ ที่อื่น




ยังคงเหลือแต่พญานกแขกเต้าตัวหนึ่งเท่านั้น เป็นผู้มักน้อยสันโดษไม่หนีไปที่อื่น




เมื่อผลมะเดื่อหมดก็กินหน่อ ใบ เปลือก และสะเก็ดของต้นมะเดื่อตามลำดับโดยไม่คิดจะหนีไปไหน เป็นเหตุให้บัลลังก์ของท้าวสักกะแสดงอาการร้อน






เพื่อทดสอบจิตใจของพญานกแขกเต้า







ท้าวเธอจึงบันดาลให้ต้นมะเดื่อที่นกแขกเต้าอาศัยอยู่นั้นตายและแห้งลง มีลำต้นแตกเป็นช่องน้อยใหญ่ เวลาลมพัดจะมีเสียงดัง มีผงไม้ไหลออกมาตามช่องที่แตกนั้น นกแขกเต้าก็ไม่หนีไปไหน ก็ยังกินผงไม้ไหลออกมาตามช่องที่แตกนั้นแหละเป็นอาหาร จนสุดท้ายต้นไม้นั้นเหลือแต่ตอ พญานกแขกเต้าก็ไม่หนีไปไหน ยังคงจับอยู่ที่ตอต้นไม้นั้น ท้าวสักกะเมื่อทราบว่า พญานกแขกเต้ามีความมักน้อยสันโดษจริงๆ จึงแปลงร่างเป็นพญาหงส์ มีนางสุชาดาเป็นนางหงส์ติดตามไปด้วย บินไปจับที่ตอมะเดื่อใกล้พญานกแขกเต้านั้นแล้วเจรจาว่า







“นกแขกเต้า ผู้มีจะงอยปากสีแดงท่านควรไปที่อื่นได้แล้ว อย่ามาตายที่ตรงนี้เลย ท่านมาเยื่อใยอะไรกับต้นไม้แห้งนี้ ต้นไม้อื่นมีถมเถไป”

พญานกแขกเต้าร้องตอบว่า







”ท่านพญาหงส์… ใครเป็นเพื่อนในยามทุกข์ยาก ผู้นั้นเป็นสัตบุรุษ ย่อมไม่ทอดทิ้งเพื่อนผู้มีทรัพย์และไร้ทรัพย์ ต้นไม้นี้เป็นทั้งเพื่อนเป็นทั้งญาติของเรา เราเพียงต้องการมีชีวิตอยู่เท่านั้น จึงไม่อาจทิ้งต้นไม้นี้ไปได้ เพราะเหตุเพียงไม่มีผล นี่ไม่ยุติธรรมเลย”







พญาหงส์พอได้ฟังก็ยินดีและสรรเสริญว่า

“นกแขกเต้าความ เป็นเพื่อนไมตรีสนิทสนมคุ้นเคยกันกับต้นไม้ ท่านทำไว้ดีแล้ว ขอสรรเสริญท่านเราจะให้พรแก่ท่าน ท่านจงเลือกพรตามในประสงค์เถิด”







พญานกแขกเต้าขอพรว่า

“ท่านพญาหงส์..เราขอเพียงให้ต้นไม้นี้มีชีวิตมีผลหวานอร่อยเหมือนเดิมเท่านั้นก็พอ”







พญาหงส์จึงพูดว่า

“นกแขกเต้า..ขอท่านจงอยู่กับต้นมะเดื่อที่สมบูรณ์พร้อมตลอดไปเถิด” ว่าแล้วก็คืนร่างเป็นท้าวสักกะเหมือนเดิม แสดงอานุภาพทำให้ต้นมะเดื่อนั้นสมบูรณ์ พร้อมทั้งใบและผลยืนต้นอย่างสง่างามเหมือนเดิม







พญานกแขกเต้าเห็นเช่นนั้นจึงสรรเสริญท้าวสักกะว่า

“ท้าวสักกะ ขอพระองค์พร้อมด้วยคณาญาติ มีความสุขเหมือนข้าพระองค์มีความสุข เพราะได้เห็นต้นผลิตผลในวันนี้ด้วยเถิด”







ท้าวสักกะครั้นประทานพรให้นกแขกเต้าได้สมประสงค์แล้วพร้อมนางสุชาดา
ก็กลับคืนวิมานของตนตามเดิม





นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า
จงพอใจในสิ่งที่ตนมีตนได้
และเพื่อนที่ดีไม่ละทิ้งเพื่อนไปในยามทุกข์ยาก




 

Create Date : 25 ตุลาคม 2551    
Last Update : 25 ตุลาคม 2551 12:58:43 น.
Counter : 135 Pageviews.  

อันเชิญเทวดาและขอพรก่อนสวดมนต์

ข้าพเจ้าขอขมากรรม หากกรรมใดที่ข้าพเจ้าได้กระทำแล้วผิดพลาดประการใด ด่วยกาย วาจา และด้วยใจก็ดี ตั้งแต่อดีตชาติเป็นต้นมาจวบจนในวันนี้ทั้งที่ดั้งใจก็ดี ไม่ตั้งใจก็ดี ทั้งที่ข้าพเจ้าระลึกได้ก็ดี ระลึกไม่ได้ก็ดี ทั้งที่ข้าพเจ้ารู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็ดี และรู้เท่าถึงการณ์ก็ดี ขอทุกๆพระองค์ จงโปรดเมตตาอโหสิกรรมให้แก่ข้าพเจ้าด้วยเทอญฯ

ข้าพเจ้าขอถวายพระพร ขอทุกๆพระองค์จงทรงพระเกษมสำราญ จงทรงพระชนม์อายุยืนนาน จงทรงพระญาณบารมีสูงยิ่งๆขึ้นไปเทอญ





(ใช้อธิษฐานก่อนเริ่มต้นสวดมนต์)


เอามาจากอกาลิโก




 

Create Date : 25 ตุลาคม 2551    
Last Update : 25 ตุลาคม 2551 11:54:00 น.
Counter : 297 Pageviews.  

ทำกุศลอย่างไร....จึงจะไม่อดอยาก

ทำกุศลอย่างไรจึงจะไม่อดอยาก

ถาม ทำกุศลอย่างไร จึงจะทำให้มีโภคทรัพย์ ไม่อดอยาก

ตอบ ปัญหานี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแก่สุภมาณพ บุตรของโตเทยยพราหมณ์ในจูฬกัมมวิภังคสูตร ม.อุปริ. ว่า

บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นหญิงก็ตาม เป็นชายก็ตาม เป็นผู้ให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อาศัย เครื่องตามประทีปแก่สมณะพราหมณ์ เขาตายไปจะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพรากรรมคือการให้ข้าวน้ำเป็นต้นนั้น หากตายไปไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ มาเกิดเป็นมนุษย์ ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นผู้มีโภคะมาก นี้เป็นผลของทานคือการให้ข้าวให้น้ำเป็นต้นนั้น

สรุปได้จากพระพุทธดำรัสนี้ว่า ทานคือการให้ปันสิ่งของที่เป็นประโยชน์แก่ผู้รับ มีข้าวน้ำเป็นต้นนั่นเอง ทำให้เขาเป็นคนมีโภคะมากในชาติต่อไป ความจริงในชาตินี้ ถ้าเราเป็นผู้มีใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่มิตรสหาย หรือคนบ้านใกล้เรือนเคียง มีอะไรแบ่งปันให้กัน มิตรสหายหรือคนบ้านใกล้เรือนเคียงนั้น เขาก็แบ่งปันของของเขาให้แก่เราเหมือนกัน ทั้งๆ ที่เวลาให้เราก็ไม่เคยหวังผลตอบแทนเลย คือให้ด้วยน้ำใจ ให้ด้วยความนับถือ มิได้คิดที่จะได้สิ่งตอบแทน แต่เพราะความมีน้ำใจของเรา เราก็ได้รับความมีน้ำใจจากผู้อื่นเช่นกัน ทั้งนี้เพราะการให้เป็นการผูกไมตรีต่อกัน ทั้งผู้ให้ย่อมเป็นที่รักของผู้รับเสมอ

ในทางตรงข้าม ถ้าเรามีแต่ความตระหนี่ ให้อะไรใครก็ไม่ได้ เสียดายหวงแหนไปหมด ผลที่ได้รับก็คือความอดอยากยากจน ไม่มีใครต้องการคบหาสมาคมด้วย เราไม่เคยมีของไปให้ใครเลยแล้วจะมีใครเขาเอาของมาให้เราเล่า ในเมื่อเราไม่เคยผูกมิตรไมตรีกับใครเลย เพราะฉะนั้นผู้ที่ตระหนี่หวงแหน ตายไปแล้วจะมักเกิดเป็นเปรตได้รับความลำบาก อดอยาก หิวโหยอยู่เสมอ ต้องรอเวลาที่มีผู้ทำบุญอุทิศไปให้จากโลกมนุษย์นี้เท่านั้น จึงจะบรรเทาความหิวโหย ได้อิ่มหนำกันทีหนึ่ง เพราะฉะนั้น ถ้าไม่ต้องการอดอยาก ก็ไม่ควรตระหนี่หวงแหน

อีกประการหนึ่ง นอกจากทานจะให้ผลทำให้เป็นผู้มีโภคะมากแล้ว แม้ศีลคือการรักษาศีลก็สามารถให้โภคสมบัติเช่นเดียวกัน พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ผู้มีศีลย่อมได้รับโภคทรัพย์ใหญ่ เพราะความไม่ประมาทเป็นเหตุ การรักษาศีลด้วยความสำรวมระวังไม่ล่วงละเมิด ชื่อว่ารักษาศีลด้วยความไม่ประมาท การรักษาศีลด้วยความไม่ประมาท นี่แหละเป็นเหตุให้ได้รับโภคทรัพย์ใหญ่ ทั้งนี้เพราะผู้มีศีลตายแล้วย่อมเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ก็สมบัติในสวรรค์นั้นเมื่อเทียบกับสมบัติในเมืองมนุษย์แล้ว ย่อมเทียบกันไม่ได้เลย

เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ผู้มีศีลย่อมได้รับโภคทรัพย์ใหญ่ ซึ่งหมายถึงสมบัติอันมโหฬารในสวรรค์นั่นเอง นั่นเป็นเรื่องของการได้รับผลในชาติหน้า ส่วนผลในชาตินี้ของผู้มีศีลในข้อนี้ก็มีอยู่ แต่ไม่อาจเทียบกับผลที่ได้รับในชาติหน้าได้เท่านั้นเอง

ไม่ต้องดูอื่นไกล ลองสังเกตุดูพระภิกษุทั้งหลายที่ท่านมีลาภสักการะมาก แล้วจะเห็นว่า ท่านเป็นผู้มีศีลทั้งสิ้น ไม่มีใครที่ต้องการทำบุญกับพระทุศีล

สรุปว่า ทั้งทานและศีลเป็นเหตุให้ร่ำรวยไม่อดอยาก

__________________




 

Create Date : 12 ตุลาคม 2551    
Last Update : 12 ตุลาคม 2551 12:04:19 น.
Counter : 138 Pageviews.  

จุดแก้อวิชชา

สิ่งมีชีวิตทุกชนิด เริ่มต้นมาจากอวิชชาและภวตัณหา
อวิชชา เป็นกิเลสตัวสำคัญที่สุด เป็นยอดกิเลส ดั่งพระพุทธภาษิตว่า"อวิชฺชา ปรมํ มลํ อวิชชาป็นมลทินอย่างยิ่ง"
ส่วน ภวตัณหา หมายถึง เจตจำนงเพื่อเกิดเป็นสิ่งมีชีวิต ซึ่งได้แก่ กรรม อันเป็นโครงสร้างภายในดวงจิต


กิเลสและกรรมเป็นปัจจัยให้วิญญาณธาตุเกิดเป็นสัตว์ ในจุดเริ่มแรกเกิดเป็นสิ่งมีชีวิต ประกอบด้วย 3 ปัจจัยคือ 1. กิเลส2.อภิสังขาร(กรรม)3.วิบาก(ขันธ์)
ปัจจัยทั้งสามนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติศัพท์ เรียกว่า "สังสารจักร" และ "วัฏจักร" สิ่งทั้งสามพาสัตว์ท่องเที่ยวเกิดตายในสังสารวัฏ(โลก)ตลอดกาลยาวนาน จนนับชาติไม่ถ้วน ต้องนับกาลเวลาเป็นอสงไขยกัป อสงไขยปี
อวิชชาและภวตัณหา เป็นเครื่องผูกสัตว์โลกไว้ในโลก เครื่องผูกนี้แน่นเหนียวมั่นคง ยากที่จะแก้ให้หลุดได้ ต้องศึกษาให้รู้จักจุดที่มันผูก จึงจะรู้จักทางแก้ พระผู้มีพระภาคทรงบอกจุดที่อวิชชาสถิตไว้แล้ว เรียกว่า "อวิชชาอัฏฐวัตถุกา" แปลว่า "อวิชชาสถิตในวัตถุแปด" ดังต่อไปนี้

1. ปุพฺพนฺเต อญาณํ ความไม่รู้จุดเริ่มต้นแห่งการเกิดเป็นสิ่งมีชีวิต2. อปรนฺเต อญาณํ ความไม่รู้จุดสุดท้ายแห่งสิ่งมีชีวิต3. ปุพฺพนฺเตปรนฺเต อญาณํ ความไม่รู้จุดตอนกลาง จากจุดเริ่มต้นไปยังสุดท้ายของสิ่งมีชีวิต4.ปฏิจฺจสมุปฺปาเท อญาณํ ความไม่รู้จักเหตุปัจจัยแห่งสุขและทุกข์ที่เกี่ยวโยงกันเหมือนสายโซ่5.ทุกฺเข อญาณํ ความไม่รู้จักทุกข์ที่แท้จริง6. ทุกฺขสมุทเย อญาณํ ความไม่รู้จักเหตุให้เกิดทุกข์ที่แท้จริง เหตุแห่งทุกข์ที่แท้จริง ได้แก่ ตัณหาทั้งสาม คือ กามตัณหา ภวตัณหา และวิภวตัณหา7. ทุกฺขนิโรเธ อญาณํ ความไม่รู้จักพระนิพพาน อันเป็นภูมิจิตดับทุกข์ที่แท้จริง 8. ทุกฺขนิโรธคามินีภปฏิปทาย อญาณํ ความไม่รู้จักปฏิปทาที่พาบรรลุพระนิพพาน ปฏิปทานี้ ได้แก่ พระอริยมรรคแปด

อวิชชาเกิดจากความไม่สงบของจิต วิธีแก้ต้องแก้ที่จุดแรกคือ ทำความสงบของจิต ได้แก่ การเจริญสมาธิจนบรรลุฌานขั้นใดขั้นหนึ่ง ฌานขั้นที่สี่ ชื่อ จตุตถฌาน ดีที่สุด เพราะอวิชชาดับในฌานนี้เป็นการชั่วคราว จากนั้นจึงอาศัยฌานเจริญวิปัสสนา เพื่อแก้อวิชชาในวัตถุแปดให้หมดไป ถ้าแก้อวิชชาไม่หมดก็จะวนกลับมาสู่สังสารวัฏต่อไปใหม่ วนไปเวียนมาในสังสารวัฏจนเป็นวัฏจักร

ที่มา: ธรรมะ ของอดีตพระอริยคุณาธาร (เส็ง ปุสฺโส),โลกทิพย์ ฉบับที่ 147 ปีที่ 8 กุมภาพันธ์ 2532//www.dhammathai.org/indexthai.php




 

Create Date : 12 ตุลาคม 2551    
Last Update : 12 ตุลาคม 2551 12:02:24 น.
Counter : 238 Pageviews.  

1  2  

maikarut
Location :
นครสวรรค์ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




ชีวิต...มันก็ยากอย่างนี้แหละน๊า...ชิมิส์
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add maikarut's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.