indyFengshui โลกฮวงจุ้ยในมุมมันๆ กับคนคันๆ

เปลี่ยน dead zone ให้เป็น red Zone(ฮวงจุ้ย)

ทำเลการค้าขายทุกสถานที่จะมีจุดที่คนเข้ามาใช้บริการมาก(red zone) กับจุดที่มีคนมาใช้บริการน้อย(dead zone)

ก่อนอื่นเรามาขยายความหมายของ red Zone กับ dead zone กันก่อนดีกว่า

red zone คือ จุดที่ลูกค้าเข้าออกบ่อยๆ ใช้บริการบ่อย ส่วนมากจะอยู่ที่ทางเข้าออก ทางสามแพร่ง หัวมุม หรือ ทางโค้ง

dead zone คือ จุดที่ลูกค้าไม่ค่อยเข้ามาใช้บริการ อาจเป็นเพราะว่าอยู่มุมอับ อยู่ในที่ลึกเกินกว่าความจำเป็นของลูกค้าที่จะเข้าไปใช้บริการ

การรู้เรื่อง red Zone กับ dead zone มีความสำคัญมาก เพราะมีส่วนสร้างความเจริญกับธุรกิจไม่ใช่น้อย ถ้าเรามีห้างร้าน ห้างสรรพสินค้า มินิมาร์ท ตลาด

เราคงอยากให้ทำเลของเรามี red zone มากกว่า dead zone นั่นหมายถึง อยากให้ลูกค้าเดินเข้ามาทุกซอกทุกมุม แต่ในความเป็นจริงแล้วเป็นเรื่องที่ยากมาก

ถ้าทำเลนั้นๆมี red zone มากกว่า ถือว่าเป็นเรื่องที่ดี เพราะว่าลูกค้าก็จะคึกคัก ผู้คนที่มองผ่านไปมาก็อยากเข้ามาใช้บริการ

แต่ถ้ามี dead zone มาก นั่นถือว่าข่าวร้ายกำลังจะมาเยือน เพราะลูกค้าคุณจะน้อย ผู้เช่าก็จะเกิดความไม่มั่นใจ และย้ายออกไปตามๆกัน

แล้วถ้ามี red zone กับ dead zone อย่างเท่าๆกันล่ะ นั่นก็ส่งผลลบให้แก่ทำเล เพราะร้านค้า หรือ สินค้าเองจะแย่งเข้ามาอยู่ใน red zone และทิ้ง dead zone ให้รกร้างย่อมส่งผลไม่ดีแน่

ทางที่ดีที่สุดควรทำให้ทำเลนั้นๆมี red zone มากกว่า dead zone โดยการใช้หลักฮวงจุ้ยบวกกับหลักจิตวิทยาจะสามารถช่วยแก้ไขได้

ทีนี้เราลองมาดูกันว่าธุรกิจใหญ่ๆเขามีวิธีจัดการเรื่อง red zone กับ dead zone ได้อย่างไร

ร้านสะดวกซื้อ 7-eleven มีวิธีการปรับ dead zone ให้กลายเป็น red zone ได้อย่างน่าสนใจ และเป็นรูปแบบที่มีคนนำไปใช้กันมาก

เป็นอันรู้กันว่าจุดที่เป็น dead zone ของร้านค้าคือ ข้างในสุด เพราะมีผู้มาใช้บริการน้อย

ในฮวงจุ้ยแต้องแก้ด้วยการเพิ่มพลังชี่ ด้วยเหตุนี้เอง 7-eleven เอาสินค้าที่มียอดขายดีที่สุด นั่นคือ เครื่องดื่ม ไปไว้ในจุด dead zone เท่านี้เอง

ทำให้ลูกค้าจำนวนมากที่จะมาซื้อเครื่องดื่มจำเป็นต้องเดินมาข้างในสุด นั่นหมายถึง ลูกค้าต้องผ่านชั้นวางของภายในร้าน

ระหว่างผ่านชั้นวางของ สมองก็จะสั่งทำการทบทวนว่ามีสินค้าอีกไหมที่เราจำเป็นจะต้องซื้อ ถ้ามีเราก็จะได้ตัดสินใจซื้อเลย

หรือถ้าที่สุดแล้วเรามาซื้อเครื่องดื่ม ฝั่งตรงกันข้ามก็จะเป็นชั้นวางของขนมขบเคี้ยวทำให้ยั่วกิเลส พร้อมที่จะให้เราซื้อไปทานเล่นกับเครื่องดื่ม

ถ้าในซุปเปอร์มาเก็ตต่างประเทศ เขาจะแบ่งสินค้าให้เป็น a b c d ทั้งนี้ทั้งนั้นเขาใช้ “ยอดขาย” เป็นเกณฑ์ในการแบ่งเกรด

จุดทางเข้าที่ถือว่าเป็น red zone เขาจะวางสินค้าเกรด d เพื่อให้ผู้คนมีโอกาสตัดสินใจ

ส่วนสินค้าเกรด b และ c เขาจะนิยมวางไว้ที่หัวมุม เพราะว่าสินค้าทั้งสองเกรด เป็นสินค้าที่นิยมเล่นโปรโมชั่น เพื่อดึงยอดขายให้สู้กับ เกรด a ได้

ส่วนสินค้าเกรด a ที่มียอดขายสูงอยู่แล้ว เขาจะวางไว้ข้างใน เพราะเมื่อมียอดขายที่ดีอยู่แล้ว ควรให้ลูกค้าได้เปรียบเทียบบ้าง

เท่านี้เองจะเป็นการจัดสมดุลระหว่าง red zone กับ dead zone ได้

แต่ถ้าเขาคิดแบบวางสินค้าเกรด a ไว้อยู่ใน red zone เพียงอย่างเดียว

สินค้าเกรด b c c และ d ก็จะขายไม่ออก ลูกค้าจะกระจุกอยู่ที่ red zone โดยไม่ยอมเดินไปรอบซุปเปอร์มาเก็ต



Create Date : 26 พฤษภาคม 2552
Last Update : 28 พฤษภาคม 2552 11:10:59 น. 0 comments
Counter : 1416 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ฮวงจุ้ยแมน
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




[Add ฮวงจุ้ยแมน's blog to your web]