indyFengshui โลกฮวงจุ้ยในมุมมันๆ กับคนคันๆ

วิธีทำการตลาดโดย “ภาพเคลื่อนไหว”(ฮวงจุ้ย)

ภาพเคลื่อนไหว(motion picture) เป็นวิธีทำการตลาดอีกรูปแบบหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อกลุ่มเป้าหมายเป็นอย่างยิ่ง ภาพเคลื่อนไหวจะอยู่ในสื่อต่างๆ เช่น ทีวี ภาพยนตร์ โฆษณา หรือ อินเตอร์เน็ต เป็นต้น

มีการศึกษาและทดลองอยู่หลายชิ้นที่บ่งชี้ว่า ภาพเคลื่อนไหวมีผลต่อพฤติกรรมมนุษย์โดยตรง เช่น การเลียนแบบ ความก้าวร้าว ความต้องการทางเพศ

อารมณ์เหล่านี้อาจเกิดขึ้นได้ เมื่อคุณได้รับรู้ “ภาพเคลื่อนไหว” ผ่าน “สื่อ” เช่น ทีวี โรงหนัง

โฆษณาเป็นเพียงก้าวแรกของการใช้ภาพเคลื่อนไหวในการทำตลาด

วิวัฒนาการต่อมา คือ การสอดแทรกภาพสินค้าลงในหนัง หรือ ละคร

หนังเรื่อง The Italian Job หนังเรื่องนี้เป็นหนังแอ๊คชั่น ไม่ได้มีเรื่องราวอะไรมากมาย เพราะเป้าหมายของหนังคือการขายภาพลักษณ์ความเป็น mini cooper ที่โดดเด่น เท่ห์ ไม่เหมือนใคร

The Italian Job เวอร์ชั่นแรกถูกผลิตในปี 1977 และถูกนำมาปัดฝุ่นทำใหม่ในปี 2003 พร้อมกับในช่วงที่รถ mini cooper ออกโฉมใหม่และกำลังทำตลาดทั่วโลก

ผลที่ได้รับเกินคาดตอนนี้ mini cooper มีความหมายมากเกินรถยนต์ธรรมดาไปซะแล้ว

การใช้ภาพเคลื่อนไหวให้สัมฤทธิ์ผลทางการตลาด มีทฤษฏีและหลักการอยู่มากมายที่น่าศึกษา

ภาพเคลื่อนไหวที่เราเห็นบนหน้าจอภาพยนตร์ เคลื่อนไหว 1 วินาทีต่อภาพ 24 เฟรม เป็นภาพปรกติที่สายตาคนเราเห็น

ถ้าจำนวนเฟรมใน 1 วินาทีมีภาพมากขึ้น เช่น 1:500 (วินาที/ภาพ) ภาพที่เห็นก็จะเป็นภาพสโลโมชั่น หรือถ้าน้อยลง เช่น 1:15 (วินาที/ภาพ) ภาพที่เห็นจะเร็วและกระตุกเหมือนกับภาพในหนังของ ชาลี แชปปลิ้น

หลายคนคงคิดเหมือนกันว่า ถ้าใส่ภาพสินค้าในหนังหรือละครบ่อยๆนานๆคงเป็นเรื่องที่ดี เพราะคนดูจะได้จดจำได้

แต่เรื่องนี้เป็นความคิดที่ผิดอยู่ไม่น้อย เพราะว่าเพียงคุณมีรูปสินค้าอยู่ในภาพประมาณ 7 เฟรมใน 24 เฟรมต่อวินาที หรือไม่ถึงหนึ่งวินาทีในหนัง เท่านี้ก็ได้ผลแล้ว

มีการทดลองชิ้นหนึ่งในลอนดอนประเทศอังกฤษ ทดลองนำคนประมาณ 100 คนเข้าโรงหนัง ดูหนังสั้นประมาณ 15 นาที เป็นหนังแอ๊กชั่น

ขณะที่หนังดำเนินอยู่ มีภาพกล้วยสีเหลือง แทรกขึ้นมาประมาณไม่ถึง 1 วินาที มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น และไม่มีใครในโรงหนังสะดุดตาเลย

พอหนังจบ ผู้นำการทดลองได้นำผลไม้มาให้เลือก 2 ชนิด คือ กล้วย กับ ส้ม
ผลปรากฏว่าผู้ชมในโรงหนังเลือกกล้วยมากกว่าร้อยละ 80 เลยทีเดียว

เรื่องนี้อธิบายตามหลักวิทยาศาสตร์ได้ว่า สายตาของมนุษย์มีความสามารถในการมองเห็นภาพทุกภาพได้ แต่ถ้าภาพที่ผ่านเข้ามามีความเร็วมากกว่าที่สายตาคนปรกติเห็น

ภาพเหล่านั้นจะถูกเก็บเอาไว้ในสมองโดยที่สมองไม่ตีความหมายใดๆทั้งสิ้น

แต่เมื่อถึงเวลาที่ต้องตัดสินใจเลือกสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ภาพในสมองจะเป็นตัวตัดสินให้มนุษย์เลือกสิ่งนั้น

การทำการตลาดโดยใช้ภาพเคลื่อนไหวไม่ใช่มีแต่ผลดีเพียงด้านเดียว ถ้าใช้ไม่ถูกที่ถูกทางอาจเป็นผลลบต่อแบรนส์สินค้าได้เช่นกัน

เมื่อเร็วๆนี้ผมมีโอกาสได้ดูหนังเรื่อง ปักษ์ใต้บ้านเรา ของสองสาวคนทำหนัง คุณป๊อบ อารียา กับ คุณนก นิสา

ด้วยความประทับใจเดิมจากหนังเรื่องเด็กโต๋เป็นทุนเดิม ประกอบกับได้เห็นสองสาวไปออกรายการ 7 club ของคุณไตรภพ รู้สึกว่านานๆจะมีคนหาญกล้าไปทำหนังสารคดีกันที่ภาคใต้สักที

ส่วนตัวแล้วผมชื่นชมคุณป๊อป อารียาเป็นพิเศษ เพราะนอกจากเธอจะดูมีสมองกว่านางงามทั่วไปแล้ว ผมยังเห็นความอยากเป็นศิลปินในแววตาของเธอที่ฉายอยู่ตลอดเวลา

คุณนก นิสา กล่าวอย่างน่าประทับใจว่า หนังเรื่องนี้เกี่ยวกับ “น้ำใจของคนใต้” ทำให้ตัดสินใจไม่ยากเลย ที่จะไปดูหนังเรื่องปักษ์ใต้บ้านเรา

หนังจบผมเดินออกจากโรงหนัง พร้อมด้วย “ความไม่ประทับใจ” ที่ติดอยู่ในสมอง

เพราะหนังเรื่องปักษ์ใต้บ้านเรา แท้ที่จริงแล้วคือหนังประชาสัมพันธ์บริษัทโค๊กหาดทิพย์ที่อยู่ในภาคใต้ ทุก 5 นาทีของหนังเต็มไปด้วยภาพของลังโค๊ก ขวดโค๊ก กล่องโค๊ก รถโค๊ก โปสเตอร์โค๊ก

ภาพโค๊กที่อยู่ในหนังยัดเยียดมากจนเกินไป หนังเรื่องนี้ทำให้ผมเกิดคำถามขึ้นมาว่า “เราเสียเงินไปดูทำไมเนี่ย” เพราะไม่ได้อยากดูโค๊กเลยสักนิดเดียว

สิ่งที่สองสาวคนทำหนังสัมภาษณ์ในรายการทีวี หรือในหนังสือพิมพ์ กลับเป็นความจริงในหนังเพียงบางส่วนเท่านั้น

หนังเรื่องนี้แสดงความไม่จริงใจอยู่ 2 อย่าง หนึ่งคือไม่จริงใจในงานที่ทำ สองคือไม่จริงใจกับคนดู อันตรายมากครับ

ว่าไปแล้วออกมาจากโรงหนังผมกระหายน้ำมาก แต่คงไม่เลือกดื่มโค๊กเพราะน้ำตาลมากไปเดี๋ยวจะอ้วน ขอเป็นน้ำเปล่าดีกว่าชื่นใจกว่า



Create Date : 26 พฤษภาคม 2552
Last Update : 28 พฤษภาคม 2552 11:11:27 น. 0 comments
Counter : 268 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ฮวงจุ้ยแมน
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




[Add ฮวงจุ้ยแมน's blog to your web]